รมช.คลังสั่งกรมบัญชีกลาง ร่างกฎหมายรองรับกฎระเบียบพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เพื่อให้สอดคล้องกับการจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนแบบใหม่ของข้าราชการ หลังเตรียมยกเลิกระบบซีปลายปีนี้ เน้นว่าไม่เพิ่มภาระงบประมาณหรือเพิ่มขึ้นไม่มากนักและไม่รอนสิทธิเดิมที่ข้าราชการเคยได้รับ
จากนโยบายของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่จะให้ข้าราชการทุกคนปรับเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ หลังจาก พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ร.ต. (หญิง) ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมช.คลัง กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าว ทำให้กระทบต่อการกำหนดกฎระเบียบในเรื่องสิทธิและวิธีปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ " ซี " เป็นเกณฑ์ จึงได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลาง เตรียมการและเร่งดำเนินร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนแบบใหม่ของข้าราชการ โดยเน้นว่าการแก้ไขดังกล่าว ต้องไม่เพิ่มภาระงบประมาณและไม่ลิดรอนสิทธิ์เดิมที่ข้าราชการเคยได้รับ
นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการรองรับ พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว โดยคาดว่าจะเพิ่มภาระงบประมาณในปีหน้าเพิ่มขึ้น 70 ล้านบาท และรองรับการปรับระบบการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำอีก 46 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติงบกลางจากสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ คณะกรรมการได้กำหนดกรอบการปฏิบัติงานออกเป็น 5 ด้าน ซึ่งมีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้ 1.ด้านการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง โดยมีกฎหมายที่ต้องปรับปรุงแก้ไข จำนวน 38 ฉบับ วางแผนจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 35 ฉบับ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่อยู่ระหว่างดำเนินการยกร่าง 2.ด้านการวิเคราะห์ภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และกฎระเบียบที่จะมี การปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว ซึ่งจากการวิเคราะห์แล้วคาดว่าจะเพิ่มภาระงบประมาณในปี พ.ศ. 2552 ประมาณ 70 ล้านบาท 3.ด้านการปรับระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านนี้กรมบัญชีกลางจำเป็นต้องปรับระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เพื่อให้รองรับกับโครงสร้างตำแหน่งใหม่ โดยจะใช้งบประมาณ จำนวน 46 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติงบกลางจากสำนักงบประมาณ เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณนี้
4.ด้านการชี้แจงทำความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นจากส่วนราชการต่างๆ ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการ แจ้งให้ส่วนราชการทราบแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและระบบงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2551 และจะดำเนินการในภูมิภาคต่อไป และ 5.ด้านการปรับค่าใช้จ่ายของข้าราชการประเภทอื่นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการปรับค่าใช้จ่ายของข้าราชการพลเรือน ในด้านนี้จะดำเนินการร่วมกับสำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
จากนโยบายของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ที่จะให้ข้าราชการทุกคนปรับเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ หลังจาก พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ร.ต. (หญิง) ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมช.คลัง กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าว ทำให้กระทบต่อการกำหนดกฎระเบียบในเรื่องสิทธิและวิธีปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ " ซี " เป็นเกณฑ์ จึงได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลาง เตรียมการและเร่งดำเนินร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนแบบใหม่ของข้าราชการ โดยเน้นว่าการแก้ไขดังกล่าว ต้องไม่เพิ่มภาระงบประมาณและไม่ลิดรอนสิทธิ์เดิมที่ข้าราชการเคยได้รับ
นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการรองรับ พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว โดยคาดว่าจะเพิ่มภาระงบประมาณในปีหน้าเพิ่มขึ้น 70 ล้านบาท และรองรับการปรับระบบการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำอีก 46 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติงบกลางจากสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ คณะกรรมการได้กำหนดกรอบการปฏิบัติงานออกเป็น 5 ด้าน ซึ่งมีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้ 1.ด้านการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง โดยมีกฎหมายที่ต้องปรับปรุงแก้ไข จำนวน 38 ฉบับ วางแผนจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 35 ฉบับ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่อยู่ระหว่างดำเนินการยกร่าง 2.ด้านการวิเคราะห์ภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และกฎระเบียบที่จะมี การปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว ซึ่งจากการวิเคราะห์แล้วคาดว่าจะเพิ่มภาระงบประมาณในปี พ.ศ. 2552 ประมาณ 70 ล้านบาท 3.ด้านการปรับระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านนี้กรมบัญชีกลางจำเป็นต้องปรับระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เพื่อให้รองรับกับโครงสร้างตำแหน่งใหม่ โดยจะใช้งบประมาณ จำนวน 46 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติงบกลางจากสำนักงบประมาณ เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณนี้
4.ด้านการชี้แจงทำความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นจากส่วนราชการต่างๆ ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการ แจ้งให้ส่วนราชการทราบแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและระบบงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2551 และจะดำเนินการในภูมิภาคต่อไป และ 5.ด้านการปรับค่าใช้จ่ายของข้าราชการประเภทอื่นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการปรับค่าใช้จ่ายของข้าราชการพลเรือน ในด้านนี้จะดำเนินการร่วมกับสำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552