แบงก์ชาติอังกฤษ อัดฉีดระบบธนาคารพาณิชย์ 5 หมื่นล้านปอนด์ เพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยนำสัญญาจำนองความเสี่ยงสูง มาแลกเป็นพันธบัตร โดยถือเป็นมาตรการกู้วิกฤตในตลาดเงินครั้งใหญ่
วันนี้(22 เม.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เปิดเผยแผนการกู้วิกฤตในตลาดการเงินครั้งใหญ่ เมื่อวานนี้ โดยอนุญาตให้ภาคธนาคารสามารถนำสัญญาจำนองที่มีความเสี่ยงสูงมาแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีมูลค่าอย่างน้อย 5 หมื่นล้านปอนด์ โดยมาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดในการช่วยเหลืออังกฤษให้ผ่านพ้นวิกฤติสินเชื่อหดตัวในตลาดโลก
ทั้งนี้ ธนาคารกลางในหลายประเทศ ได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในตลาด อย่างไรก็ดี หลังจากเวลาผ่านมานาน 8 เดือน และมีการใช้เม็ดเงินไปแล้วหลายพันล้านดอลลาร์ ธนาคารต่างๆ ก็ยังคงไม่กล้าปล่อยกู้ เพราะว่าไม่แน่ใจว่าธนาคารแห่งอื่นๆ ได้รับความเสียหายมากเพียงใดจากปัญหาหนี้เสียในภาคจำนองในสหรัฐ
ส่วนในอังกฤษนั้น ภาวะสินเชื่อหดตัวส่งผลให้ธนาคารนอร์ทเธิร์น ร็อคต้องปิดกิจการและมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในระบบการเงินและในเศรษฐกิจ ในขณะที่ผู้ซื้อบ้านรายใหม่ไม่สามารถซื้อบ้านได้ เนื่องจากผู้ปล่อยกู้ประสบภาวะขาดแคลนเงินสด และจำกัดการทำสัญญาปล่อยกู้จำนอง
นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษกำหนดให้การยุติภาวะสินเชื่อหดตัวถือเป็นประเด็นสำคัญในลำดับต้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นเรื่องตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และความนิยมในตัวนายบราวน์ดิ่งลงในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนสูญเสียความศรัทธาที่มีต่อตัวเขาในเรื่องการจัดการกับเศรษฐกิจ
นายแอลิสเตอร์ ดาร์ลิง รมว.คลังอังกฤษกล่าวว่า เขาจะประชุมกับสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ในวันนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และช่วยเหลือประชาชนในการรีไฟแนนซ์ (การกู้เงินใหม่มาชำระหนี้เก่า) สัญญาจำนอง
หลังจาก BOE ประกาศมาตรการใหม่ นายเมอร์วิน คิง ผู้ว่าการ BOE ก็กล่าวว่า มาตรการสภาพคล่องพิเศษ (SLS) นี้จะไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นภายในช่วงข้ามคืน แต่อย่างน้อยก็จะช่วยให้ภาคธนาคารสามารถเข้าถึงแหล่งเงินสดได้มากยิ่งขึ้น
นายคิง กล่าวว่า สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำคือการสร้างภาวะแวดล้อมที่ธนาคารแต่ละแห่งจะได้รับรู้ว่า ทั้งธนาคารแห่งนั้นและธนาคารแห่งอื่นๆต่างก็สามารถติดต่อกับธนาคารกลางอังกฤษเพื่อนำสินทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่อง มาแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง โดยเป้าหมายสำคัญของมาตรการนี้คือการทำให้ธนาคารมีความเชื่อมั่นที่จะทำข้อตกลงกับธนาคารแห่งอื่นๆ
วันนี้(22 เม.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เปิดเผยแผนการกู้วิกฤตในตลาดการเงินครั้งใหญ่ เมื่อวานนี้ โดยอนุญาตให้ภาคธนาคารสามารถนำสัญญาจำนองที่มีความเสี่ยงสูงมาแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีมูลค่าอย่างน้อย 5 หมื่นล้านปอนด์ โดยมาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดในการช่วยเหลืออังกฤษให้ผ่านพ้นวิกฤติสินเชื่อหดตัวในตลาดโลก
ทั้งนี้ ธนาคารกลางในหลายประเทศ ได้ใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในตลาด อย่างไรก็ดี หลังจากเวลาผ่านมานาน 8 เดือน และมีการใช้เม็ดเงินไปแล้วหลายพันล้านดอลลาร์ ธนาคารต่างๆ ก็ยังคงไม่กล้าปล่อยกู้ เพราะว่าไม่แน่ใจว่าธนาคารแห่งอื่นๆ ได้รับความเสียหายมากเพียงใดจากปัญหาหนี้เสียในภาคจำนองในสหรัฐ
ส่วนในอังกฤษนั้น ภาวะสินเชื่อหดตัวส่งผลให้ธนาคารนอร์ทเธิร์น ร็อคต้องปิดกิจการและมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในระบบการเงินและในเศรษฐกิจ ในขณะที่ผู้ซื้อบ้านรายใหม่ไม่สามารถซื้อบ้านได้ เนื่องจากผู้ปล่อยกู้ประสบภาวะขาดแคลนเงินสด และจำกัดการทำสัญญาปล่อยกู้จำนอง
นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษกำหนดให้การยุติภาวะสินเชื่อหดตัวถือเป็นประเด็นสำคัญในลำดับต้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นเรื่องตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และความนิยมในตัวนายบราวน์ดิ่งลงในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนสูญเสียความศรัทธาที่มีต่อตัวเขาในเรื่องการจัดการกับเศรษฐกิจ
นายแอลิสเตอร์ ดาร์ลิง รมว.คลังอังกฤษกล่าวว่า เขาจะประชุมกับสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ในวันนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และช่วยเหลือประชาชนในการรีไฟแนนซ์ (การกู้เงินใหม่มาชำระหนี้เก่า) สัญญาจำนอง
หลังจาก BOE ประกาศมาตรการใหม่ นายเมอร์วิน คิง ผู้ว่าการ BOE ก็กล่าวว่า มาตรการสภาพคล่องพิเศษ (SLS) นี้จะไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นภายในช่วงข้ามคืน แต่อย่างน้อยก็จะช่วยให้ภาคธนาคารสามารถเข้าถึงแหล่งเงินสดได้มากยิ่งขึ้น
นายคิง กล่าวว่า สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำคือการสร้างภาวะแวดล้อมที่ธนาคารแต่ละแห่งจะได้รับรู้ว่า ทั้งธนาคารแห่งนั้นและธนาคารแห่งอื่นๆต่างก็สามารถติดต่อกับธนาคารกลางอังกฤษเพื่อนำสินทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่อง มาแลกเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง โดยเป้าหมายสำคัญของมาตรการนี้คือการทำให้ธนาคารมีความเชื่อมั่นที่จะทำข้อตกลงกับธนาคารแห่งอื่นๆ