แบงก์นครหลวงไทยจับมือ กบข. คลอด "โครงการสวัสดิการธนาคารหลวงไทยเพื่อสมาชิกกบข." ชู 3 ผลิตภัณฑ์การเงินเงื่อนไขพิเศษ ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพ เดินหน้าแผนการขยายฐานลูกค้ารายย่อยตามแผลกลยุทธ์ 3 ปี โชว์ไตรมาสแรกรายได้ค่าธรรมเนียมเกินเป้าที่ตั้งไว้ 18-20%
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เสนอบริการทางการเงินแบบครบวงจรและครอบคลุมทั้งในเรื่องของสินเชื่อและเงินออม พร้อมเงื่อนไขตลอดจนสิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิก กบข. ซึ่งมีอยู่ 1.17 ล้านคนทั่วประเทศ ในโครงการ "สวัสดิการธนาคารนครหลวงไทยเพื่อสมาชิก กบข.
ทั้งนี้ บริการที่เสนอให้แก่สมาชิก กบข.นั้น ได้แก่ เงินออมเพื่อการมีบ้าน สินเชื่อเพื่อการศึกษา และสินเชื่อเคหะ โดยบริการเงินออมเพื่อการมีบ้านนั้น สมาชิก กบข.สามารถเลือกฝากเงินได้ 4 ประเภท คือ เงินออมเพื่อการมีบ้าน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยอิงเงินฝากประจำ 12 เดือน ซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยที่ 2.375% เงินออมเพื่อการมีบ้าน 18 เดือน อิงเงินฝากประจำ 12 เดือนบวก 0.25% เงินออมเพื่อการมีบ้าน (ปลอดภาษี 24 เดือน) และเงินออมเพื่อการมีบ้า (ปลอดภาษี 36 เดือน) โดยผู้ฝากจะต้องฝากเงินเท่ากันทุกเดือนขั้นต่ำ 3,000 บาท และเมื่อฝากครบกำหนดจะได้รับ 3 สิทธิพิเศษ เมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อเคหะ โดยจะได้รับเงินคืน 0.5% ของต้นเงินฝาก ซึ่งต้นเงินฝากที่จะใช้คำนวณสูงสุดไม่เกิน 600,000 บาท และฟรีค่าธรรมเนียมการให้กู้และค่าธรรมเนียมประเมินหลักประกันเมื่อขอสินเชื่อเคหะกับธนาคาร โดยผู้ฝากจะต้องใช้สิทธิภายใน 12 เดือนหลังสิ้นสุดระยะเวลาการฝากเงินและให้เฉพาะผู้ที่เปิดบัญชีภายใน 30 มิถุนายน 2552 โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจใช้บริการวงเงิน 1,000 ล้านบาท
ส่วนบริการสินเชื่อเพื่อการศึกษา จะให้สิทธิกับสมาชิก กบข. คู่สมรสและบุตรธิดา วงเงินกู้ขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท หากวงเงินสูงกว่า 1 แสนบาทจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน หากประวัติชำระดีสามารถกู้ใหม่ได้ อัตราดอกเบี้ยคิดแบบลดต้นลดดอกเบี้ย อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อประเภทลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) บวก 2% ต่อปี ปัจจุบัน MRR อยู่ที่ 7.625% ระยะเวลายื่นขอกู้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 โดยผู้กู้จะต้องมีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป รายได้ขั้นต่ำ 7,000 บาท และภาระผ่อนสินเชื่อรวมทุกประเภทที่มีกับทุกสมาบันการเงินจะต้องไม่เกิน 50% ของรายได้ประจำเฉลี่ยรวม โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจร่วมโครงการคิดเป็นวงเงิน 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบริการเงินออมเพื่อการมีบ้านและสินเชื่อเพื่อการศึกษาจะเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป
สำหรับบริการสินเชื่อเคหะ ธนาคารเสนอเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว 2 ปีแรก ประเภทลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลบ 2% ต่อปี หลังจากนั้นคิด MLR ลบ 1% ต่อปี มีผลถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 สำหรับสมาชิกที่ยื่นขอกู้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 ธนาคารเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษคงที่ 2 ปีแรก โดยปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.99% ต่อปี ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.99%ต่อปี ปีที่ 3 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 1 ต่อปี และคาดว่าจะมีผู้สนใจใช้บริการในวงเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
"โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นส่วนที่ช่วยผลักดันการขยายฐานลูกค้ารายย่อยตามแผนกลยุทธ์ 3 ปี (2551-2553) ของธนาคารภายใต้วิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ให้บริการอย่างครบวงจรและยั่งยืนบนพื้นฐานของความสัมพันธ์และผูกพันระหว่างธนาคารกับลูกค้า หรือ Right Business Partner for Life"
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ในส่วนของการเติบโตของสินเชื่อยังมีทิศทางการเติบโตดีขึ้น เนื่องจากธนาคารได้ปรับลดสัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่ลง และเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยและรายกลางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารเติบโตเกินเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 18-20% จากฐานรายได้ค่าธรรมเนียมปี 2550 ที่ 23,000 ล้านบาท สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารเติบโตขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการลดภาษีของรัฐบาลซึ่งช่วยสนับสนุนให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเติบโตขึ้น
สำหรับการหาพันธมิตรเพื่อเข้ามาถือหุ้นของธนาคารในส่วนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถืออยู่ ยังไม่ได้คุยกับพันธมิตรรายใดเป็นหลัก เนื่องจากในปีนี้ธนาคารไม่มีความรีบเร่งในการหาพันธมิตรแล้ว โดยเป็นผลมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและการปล่อยสินเชื่อที่เติบโตขึ้น รวมถึงธนาคารได้มีการพัฒนาบุคลากรให้ดีขึ้นแล้ว
ด้านนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า การร่วมมือในโครงการดังกล่าวจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพให้กับสมาชิก กบข. ท่ามกลางแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตที่ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ และเชื่อว่าธนาคารนครหลวงไทยมีศักยภาพในการที่จะเสนอบริการให้แก่สมาชิกได้เป็นอย่างดีผ่านช่องทางเครือข่ายสาขาของธนาคารที่มีอยู่กว่า 400 แห่งทั่วประเทศ
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เปิดเผยว่า ธนาคารได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เสนอบริการทางการเงินแบบครบวงจรและครอบคลุมทั้งในเรื่องของสินเชื่อและเงินออม พร้อมเงื่อนไขตลอดจนสิทธิพิเศษเฉพาะสมาชิก กบข. ซึ่งมีอยู่ 1.17 ล้านคนทั่วประเทศ ในโครงการ "สวัสดิการธนาคารนครหลวงไทยเพื่อสมาชิก กบข.
ทั้งนี้ บริการที่เสนอให้แก่สมาชิก กบข.นั้น ได้แก่ เงินออมเพื่อการมีบ้าน สินเชื่อเพื่อการศึกษา และสินเชื่อเคหะ โดยบริการเงินออมเพื่อการมีบ้านนั้น สมาชิก กบข.สามารถเลือกฝากเงินได้ 4 ประเภท คือ เงินออมเพื่อการมีบ้าน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยอิงเงินฝากประจำ 12 เดือน ซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยที่ 2.375% เงินออมเพื่อการมีบ้าน 18 เดือน อิงเงินฝากประจำ 12 เดือนบวก 0.25% เงินออมเพื่อการมีบ้าน (ปลอดภาษี 24 เดือน) และเงินออมเพื่อการมีบ้า (ปลอดภาษี 36 เดือน) โดยผู้ฝากจะต้องฝากเงินเท่ากันทุกเดือนขั้นต่ำ 3,000 บาท และเมื่อฝากครบกำหนดจะได้รับ 3 สิทธิพิเศษ เมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อเคหะ โดยจะได้รับเงินคืน 0.5% ของต้นเงินฝาก ซึ่งต้นเงินฝากที่จะใช้คำนวณสูงสุดไม่เกิน 600,000 บาท และฟรีค่าธรรมเนียมการให้กู้และค่าธรรมเนียมประเมินหลักประกันเมื่อขอสินเชื่อเคหะกับธนาคาร โดยผู้ฝากจะต้องใช้สิทธิภายใน 12 เดือนหลังสิ้นสุดระยะเวลาการฝากเงินและให้เฉพาะผู้ที่เปิดบัญชีภายใน 30 มิถุนายน 2552 โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจใช้บริการวงเงิน 1,000 ล้านบาท
ส่วนบริการสินเชื่อเพื่อการศึกษา จะให้สิทธิกับสมาชิก กบข. คู่สมรสและบุตรธิดา วงเงินกู้ขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท หากวงเงินสูงกว่า 1 แสนบาทจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน หากประวัติชำระดีสามารถกู้ใหม่ได้ อัตราดอกเบี้ยคิดแบบลดต้นลดดอกเบี้ย อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อประเภทลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) บวก 2% ต่อปี ปัจจุบัน MRR อยู่ที่ 7.625% ระยะเวลายื่นขอกู้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 โดยผู้กู้จะต้องมีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป รายได้ขั้นต่ำ 7,000 บาท และภาระผ่อนสินเชื่อรวมทุกประเภทที่มีกับทุกสมาบันการเงินจะต้องไม่เกิน 50% ของรายได้ประจำเฉลี่ยรวม โดยคาดว่าจะมีผู้สนใจร่วมโครงการคิดเป็นวงเงิน 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบริการเงินออมเพื่อการมีบ้านและสินเชื่อเพื่อการศึกษาจะเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป
สำหรับบริการสินเชื่อเคหะ ธนาคารเสนอเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว 2 ปีแรก ประเภทลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลบ 2% ต่อปี หลังจากนั้นคิด MLR ลบ 1% ต่อปี มีผลถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2551 สำหรับสมาชิกที่ยื่นขอกู้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 ธนาคารเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษคงที่ 2 ปีแรก โดยปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 2.99% ต่อปี ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.99%ต่อปี ปีที่ 3 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ 1 ต่อปี และคาดว่าจะมีผู้สนใจใช้บริการในวงเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
"โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นส่วนที่ช่วยผลักดันการขยายฐานลูกค้ารายย่อยตามแผนกลยุทธ์ 3 ปี (2551-2553) ของธนาคารภายใต้วิสัยทัศน์ที่ต้องการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ให้บริการอย่างครบวงจรและยั่งยืนบนพื้นฐานของความสัมพันธ์และผูกพันระหว่างธนาคารกับลูกค้า หรือ Right Business Partner for Life"
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ในส่วนของการเติบโตของสินเชื่อยังมีทิศทางการเติบโตดีขึ้น เนื่องจากธนาคารได้ปรับลดสัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่ลง และเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยและรายกลางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารเติบโตเกินเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 18-20% จากฐานรายได้ค่าธรรมเนียมปี 2550 ที่ 23,000 ล้านบาท สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารเติบโตขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการลดภาษีของรัฐบาลซึ่งช่วยสนับสนุนให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเติบโตขึ้น
สำหรับการหาพันธมิตรเพื่อเข้ามาถือหุ้นของธนาคารในส่วนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถืออยู่ ยังไม่ได้คุยกับพันธมิตรรายใดเป็นหลัก เนื่องจากในปีนี้ธนาคารไม่มีความรีบเร่งในการหาพันธมิตรแล้ว โดยเป็นผลมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและการปล่อยสินเชื่อที่เติบโตขึ้น รวมถึงธนาคารได้มีการพัฒนาบุคลากรให้ดีขึ้นแล้ว
ด้านนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า การร่วมมือในโครงการดังกล่าวจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพให้กับสมาชิก กบข. ท่ามกลางแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตที่ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ และเชื่อว่าธนาคารนครหลวงไทยมีศักยภาพในการที่จะเสนอบริการให้แก่สมาชิกได้เป็นอย่างดีผ่านช่องทางเครือข่ายสาขาของธนาคารที่มีอยู่กว่า 400 แห่งทั่วประเทศ