รมว.คลังอังกฤษ เตรียมสอนเชิงไอเอ็มเอฟ โดยจี้ให้ทบทวนบทบาทในการเป็นตัวแทนในการป้องกันวิกฤตการเงินโลกมากขึ้น ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ป้องกันศก.ถดถอย ส่วนธนาคารกลางยุโรป คงดอกเบี้ยที่ 4% เพราะกำลังเผชิญเงินเฟ้อ
วันนี้(11 เม.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายอลิสแตร์ ดาร์ลิ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอังกฤษ เตรียมเรียกร้องให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพิ่มบทบาทในการติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ และมีส่วนในการป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
ทั้งนี้ รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอม ระบุว่า นายดาร์ลิ่ง เตรียมกล่าวสุนทรพจน์ที่กรุงวอชิงตันวันนี้ว่า ไอเอ็มเอฟควรเปลี่ยนบทบาทจากการติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในระดับประเทศเป็นระดับโลกแทน เพื่อให้สามารถติดตามปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อระบบการเงินโลกได้ทันท่วงที
โดยในปีที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟประสบความล้มเหลวที่จะส่งสัญญาณเตือนว่า ตลาดเงินจะเกิดวิกฤตซับไพรม์ ในสหรัฐ แต่กลับยืนยันว่า สหรัฐจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตการเงินดังกล่าวไปได้ เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ดังนั้น ไอเอ็มเอฟ มีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเกิดวิกฤต
ล่าสุด ธนาคารกลางอังกฤษ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เนื่องจากต้นทุนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวมากที่สุดในรอบ 16 ปี เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
โดยรายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอม ยังระบุอีกว่า ธนาคารกลางอังกฤษ ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 5% ขณะเดียวกันธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
วันนี้(11 เม.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายอลิสแตร์ ดาร์ลิ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอังกฤษ เตรียมเรียกร้องให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพิ่มบทบาทในการติดตามความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ และมีส่วนในการป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
ทั้งนี้ รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอม ระบุว่า นายดาร์ลิ่ง เตรียมกล่าวสุนทรพจน์ที่กรุงวอชิงตันวันนี้ว่า ไอเอ็มเอฟควรเปลี่ยนบทบาทจากการติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจในระดับประเทศเป็นระดับโลกแทน เพื่อให้สามารถติดตามปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อระบบการเงินโลกได้ทันท่วงที
โดยในปีที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟประสบความล้มเหลวที่จะส่งสัญญาณเตือนว่า ตลาดเงินจะเกิดวิกฤตซับไพรม์ ในสหรัฐ แต่กลับยืนยันว่า สหรัฐจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตการเงินดังกล่าวไปได้ เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ดังนั้น ไอเอ็มเอฟ มีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเกิดวิกฤต
ล่าสุด ธนาคารกลางอังกฤษ ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เนื่องจากต้นทุนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวมากที่สุดในรอบ 16 ปี เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
โดยรายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอม ยังระบุอีกว่า ธนาคารกลางอังกฤษ ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 5% ขณะเดียวกันธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ