สคร.เตรียมเสนอร่างหลักเกณฑ์การคัดเลือก-แต่งตั้งคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ หลังโดนตีตกไม่ผ่าน ครม.เมื่อวันที่ 1 เมษาฯ ที่ผ่านมา ให้ รมว.คลัง พิจารณาอีกครั้ง เผยเหตุที่ฝ่ายการเมืองพยายามค้าน หวั่นขวางอำนาจ รมว.ในการตั้งคนใกล้ชิดเข้าเป็นกรรมการ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เตรียมนำเสนอรายงานเรื่องร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ และการแต่งตั้งกรรมการ จัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ ซึ่งโดนตีตกไม่ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รับทราบ และผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมให้ได้ เพื่อให้การแต่งตั้งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีความโปร่งใส และปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ (Directors’ Pool) เพื่อแต่งตั้งกรรมการอื่นที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ (บอร์ด) ซึ่งสิ่งที่กระทรวงการคลังเสนอไปนั้น เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา โดยได้อนุมัติหลักเกณฑ์ให้การแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจจะต้องคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจในจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นในรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เสนอหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบัญชีรายชื่อขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายการเมืองมีความพยายามที่จะคัดค้านแนวคิดในการจัดทำบัญชีรายชื่อมาตลอด โดยอ้างว่าไม่มีความรู้เฉพาะด้านและอื่นๆ แต่ความจริงแล้ว ประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีต้นสังกัดพยายามคัดค้าน คือ เรื่องของการกำหนดว่าการแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจจะต้องคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจในจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นในรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น เพราะจะเป็นการลดทอนอำนาจของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่จะแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดเข้ามาเป็นกรรมการ ดังนั้น จึงพยายามคัดค้านไม่ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจดัทบัญชีรายชื่อขึ้นมา
“ประเด็นอยู่ที่จำนวนโควตาซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังพยายามให้การตั้งคณะกรรมการในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิให้มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะความโปร่งใสของการได้บุคคลที่สอดคล้องตามลักษณะของธุรกิจ และการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้น รวมถึงการได้บุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรม อันจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของวิชาชีพกรรมการ แต่ทางการเมืองก็พยายามคัดค้านไม่ให้บัญชีนี้เกิดขึ้นมา เพราะระหว่างที่ไม่มีบัญชีการเมืองก็ยังใช้อำนาจในการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยเฉพาะในรัฐวสิาหกิจที่มีผลกประโยชน์จำนวนมาก เมื่อกระทรวงการคลังเสนอเข้า ครม.โดยที่ นพ.สุรพงษ์ เจ้ากระทรวงไม่อยู่ กระทรวงอื่นๆ ก็รวมหัวกันคัดค้าน” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เตรียมนำเสนอรายงานเรื่องร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ และการแต่งตั้งกรรมการ จัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ ซึ่งโดนตีตกไม่ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รับทราบ และผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมให้ได้ เพื่อให้การแต่งตั้งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีความโปร่งใส และปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ (Directors’ Pool) เพื่อแต่งตั้งกรรมการอื่นที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ (บอร์ด) ซึ่งสิ่งที่กระทรวงการคลังเสนอไปนั้น เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา โดยได้อนุมัติหลักเกณฑ์ให้การแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจจะต้องคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจในจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นในรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เสนอหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบัญชีรายชื่อขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายการเมืองมีความพยายามที่จะคัดค้านแนวคิดในการจัดทำบัญชีรายชื่อมาตลอด โดยอ้างว่าไม่มีความรู้เฉพาะด้านและอื่นๆ แต่ความจริงแล้ว ประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีต้นสังกัดพยายามคัดค้าน คือ เรื่องของการกำหนดว่าการแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจจะต้องคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจในจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นในรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น เพราะจะเป็นการลดทอนอำนาจของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่จะแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิดเข้ามาเป็นกรรมการ ดังนั้น จึงพยายามคัดค้านไม่ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจดัทบัญชีรายชื่อขึ้นมา
“ประเด็นอยู่ที่จำนวนโควตาซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังพยายามให้การตั้งคณะกรรมการในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิให้มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะความโปร่งใสของการได้บุคคลที่สอดคล้องตามลักษณะของธุรกิจ และการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้น รวมถึงการได้บุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรม อันจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของวิชาชีพกรรมการ แต่ทางการเมืองก็พยายามคัดค้านไม่ให้บัญชีนี้เกิดขึ้นมา เพราะระหว่างที่ไม่มีบัญชีการเมืองก็ยังใช้อำนาจในการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปนั่งในบอร์ดรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยเฉพาะในรัฐวสิาหกิจที่มีผลกประโยชน์จำนวนมาก เมื่อกระทรวงการคลังเสนอเข้า ครม.โดยที่ นพ.สุรพงษ์ เจ้ากระทรวงไม่อยู่ กระทรวงอื่นๆ ก็รวมหัวกันคัดค้าน” แหล่งข่าวกล่าว