บล.กิมเอ็งฯ หวังขึ้นแท่นวาณิชธนกิจอันดับ 1 หลังดึง "บุญชัย ศรีปรัชญาอนันต์" นั่งเอ็มดีสายวาณิชธนกิจ จากเดิมเป็นแชมป์ด้านนายหน้าค้าหลักทรัพย์อยู่แล้ว พร้อมตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาดปีนี้ 8-9% "มนตรี" เผยพร้อมจับมือแบงก์ต่างประเทศ ออกตราสารทางการเงินหลากรูปแบบ และเตรียมพอร์ตพันล้านลงทุนตรงในบจ.ไทย ก่อนจะขยายลู่ทางลงทุนสู่ประเทศเวียดนาม
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานในอนาคต ว่า ในช่วงอีก 2 ปีข้างหน้าบริษัทตั้งเป้ารุกงานด้านวาณิชย์ธนกิจให้มีความแข็งแกร่ง และสามารถแข่งขันกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นอันดับหนึ่งให้ได้ หลังจากบริษัทได้รับนายบุญชัย ศรีปรัชญาอนันต์ เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชกิจ เพื่อรับผิดชอบงานด้านวาณิชธนกิจของบริษัท และทำให้ปัจจุบันบริษัทมีทีมวาณิชธนกิจรวมทั้งสิ้น 3 ทีม
สำหรับนายบุญชัย เป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงขึ้นทำงานมาเป็นเวลา 16 ปี มีมูลค่าที่ปรึกษาการะดมทุน 1 แสนล้านบาท และเป็นที่ปรึกษาในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเกือบทุกบริษัทในประเทศไทย เช่น บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)หรือ PTT, บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ PTTEP, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)หรือ THAI,บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ AOT เป็นต้น
"การที่บริษัทได้ชวนนายนายบุญชัย เข้ามาร่วมงานจากที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องงานวาณิชธนกิจ และมีผลงานการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินแปรรูปรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก จากประสบการที่ทำงานมาถึง 16 ปี จะช่วยทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งด้านวาณิชย์ธนกิจ สามารถทำดีลแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้ในอนาคต ทำให้บริษัทสามารถแข่งขันกับเบอร์ 1 ในขณะนี้ได้"นายมนตรี กล่าว
ส่วนงานด้านค้าหลักทรัพย์ บริษัทจะรักษาส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) อันดับ 1 เป็นปีที่ 7 โดยคาดว่าปีนี้จะมีมาร์เกตแชร์ประมาณ 8-9% ซึ่งคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังภาวะตลาดหุ้นจะปรับตัวดีขึ้น แม้ในช่วงต้นปีมาร์เกตแชร์ของบริษัทจะปรับตัวลดลงบ้างจากปัจจัยลบต่างๆ ซึ่งบริษัทจะไม่แนะนำให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายในช่วงที่ภาวะตลาดไม่ดี โดยคาดว่าสิ้นปีนี้มูลค่าการซื้อขายจะอยู่ที่ระดับ 18,000 -20,000 ล้าบาท
ขณะที่ด้านการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) คาดจัดตั้งได้ในช่วงกลางหรือปลายปีนี้ และในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคม คาดจะเปิดให้บริการธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะมีการออกตราสารทางการเงินต่างๆ มากขึ้น เช่น ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หุ้นกู้ควบใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยขาลง แต่บริษัทจะต้องออกแบบตราสารหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยส่วนของตราสารหนี้กึ่งทุน จะช่วยให้บริษัทระดมทุนในต้นทุนที่ถูกลง และหากมีการแปลงสภาพวอร์แรนต์จะทำให้บริษัทได้รับมูลค่าการระดมที่เพิ่มขึ้น
"ขณะนี้มีธนาคารต่างประเทศหลายแห่งเข้ามาติดต่อบริษัท ที่จะเข้ามาร่วมกันออกและเสนอขายตราสารประเภทดังกล่าว ซึ่งบริษัทจะพิจารณาเลือกธนาคารที่จะร่วมกันออกเป็นรายกรณีไป โดยจะเลือกตามความเชี่ยวชาญของแต่ละแบงก์"
นายบุญชัย ศรีปรัชญาอนันต์ กรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชกิจ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ส่วนตัวมั่นใจว่าทีมงานของบล.กิมเอ็ง พร้อมที่จะให้บริการด้านวาณิชธนกิจ ทั้งองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน การระดมทุนในรูปหุ้นทุน ตราสารหนี้ ที่ปรึกษาแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปรับโครงสร้างทางการเงิน จัดหากเงินกู้โครงการ ซึ่งในช่วง 2551-2552 ผู้บริหารบริษัทต่างๆจ ะมีความมั่นใจที่จะเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มากขึ้น กว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในระยะสั้นยังมีปัจจัยลบจากปัญหาการเมือง เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ ราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) ทำให้ตลาดหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศผันผวน แต่เมื่อมีช่วงที่ภาวะตลาดเอื้อก็จะเป็นช่องทางในการเอื้อการระดมทุน ขึ้นอยู่กับบล.ไหนจะใช้จังหวะดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ได้
"ตลาดทุนถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนคิดเป็น 1.8 เท่าของเงินกู้ที่กู้จากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในอนาคตนั้นตลาดทุนจะมีความสำคัญมากขึ้นจึงทำให้ในระยาวนั้นงานด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินจะเติบโตที่ดี ปัจจุบันบริษัทมีงานด้านวาณิชธนกิจในมือจำนวน 20 บริษัท ซึ่งประกอบด้วย งานเสนอขายหุ้นไอพีโอ เสนอขายหุ้นเพิ่มทุน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ควบรวมกิจการ ออกหุ้นกู้ ฯลฯ"
สำหรับงานด้านที่ปรึกษาแปรรูปรัฐวิสาหกิจในช่วง 1-2 ปีนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เพราะต้องรอพระราชบัญญัติแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หากมีการบังคับใช้พรบ.ใหม่จะใช้เวลานาน ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มีการแปรรูปแล้วนั้นก็มีการเพิ่มทุนไปแล้ว และเพียงพอต่อต่อการดำเนินงานไปอีกหลายปี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายไตรมาส 2-3/51 บริษัทจะมีการนำเงินเข้าลงทุนตรงในบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งในเบื้องต้นได้เสนอที่จะขอวงเงินจำนวน 500 -1,000 ล้านบาทที่จะนำไปลงทุนตรง จากเงินทุนที่บริษัทมีจำนวน 4,000 ล้านบาท โดยบริษัทตั้งเป้าหมายที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 15% ต่อปี โดยสาเหตุที่บริษัทจะมีการลงทุนเนื่องจาก โบรกเกอร์มีการแข่งขันที่สูง ทำให้รายได้ และอัตรากำไรขั้นต้น (มาร์จิน) ลดลง จึงต้องการที่จะหารายได้อื่นเข้ามาเสริมบริษัทให้มีผลประกอบการเติบโต ต่อเนื่อง
นายบุญชัย กล่าวว่า ในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ผู้บริหารบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จะเดินทางไปประเทศเวียดนาม เพื่อไปร่วมงานการเปิดสาขาของบล.กิมเอ็ง (ประเทศสิงคโปร์) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และบริษัทก็จะเข้าไปดูแนวทางเข้าไปทำธุรกิจกับบล.กิมเอ็งประเทศเวียดนาม
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานในอนาคต ว่า ในช่วงอีก 2 ปีข้างหน้าบริษัทตั้งเป้ารุกงานด้านวาณิชย์ธนกิจให้มีความแข็งแกร่ง และสามารถแข่งขันกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นอันดับหนึ่งให้ได้ หลังจากบริษัทได้รับนายบุญชัย ศรีปรัชญาอนันต์ เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชกิจ เพื่อรับผิดชอบงานด้านวาณิชธนกิจของบริษัท และทำให้ปัจจุบันบริษัทมีทีมวาณิชธนกิจรวมทั้งสิ้น 3 ทีม
สำหรับนายบุญชัย เป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงขึ้นทำงานมาเป็นเวลา 16 ปี มีมูลค่าที่ปรึกษาการะดมทุน 1 แสนล้านบาท และเป็นที่ปรึกษาในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเกือบทุกบริษัทในประเทศไทย เช่น บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)หรือ PTT, บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ PTTEP, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)หรือ THAI,บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ AOT เป็นต้น
"การที่บริษัทได้ชวนนายนายบุญชัย เข้ามาร่วมงานจากที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องงานวาณิชธนกิจ และมีผลงานการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินแปรรูปรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก จากประสบการที่ทำงานมาถึง 16 ปี จะช่วยทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งด้านวาณิชย์ธนกิจ สามารถทำดีลแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้ในอนาคต ทำให้บริษัทสามารถแข่งขันกับเบอร์ 1 ในขณะนี้ได้"นายมนตรี กล่าว
ส่วนงานด้านค้าหลักทรัพย์ บริษัทจะรักษาส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) อันดับ 1 เป็นปีที่ 7 โดยคาดว่าปีนี้จะมีมาร์เกตแชร์ประมาณ 8-9% ซึ่งคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังภาวะตลาดหุ้นจะปรับตัวดีขึ้น แม้ในช่วงต้นปีมาร์เกตแชร์ของบริษัทจะปรับตัวลดลงบ้างจากปัจจัยลบต่างๆ ซึ่งบริษัทจะไม่แนะนำให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายในช่วงที่ภาวะตลาดไม่ดี โดยคาดว่าสิ้นปีนี้มูลค่าการซื้อขายจะอยู่ที่ระดับ 18,000 -20,000 ล้าบาท
ขณะที่ด้านการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) คาดจัดตั้งได้ในช่วงกลางหรือปลายปีนี้ และในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคม คาดจะเปิดให้บริการธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะมีการออกตราสารทางการเงินต่างๆ มากขึ้น เช่น ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หุ้นกู้ควบใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยขาลง แต่บริษัทจะต้องออกแบบตราสารหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยส่วนของตราสารหนี้กึ่งทุน จะช่วยให้บริษัทระดมทุนในต้นทุนที่ถูกลง และหากมีการแปลงสภาพวอร์แรนต์จะทำให้บริษัทได้รับมูลค่าการระดมที่เพิ่มขึ้น
"ขณะนี้มีธนาคารต่างประเทศหลายแห่งเข้ามาติดต่อบริษัท ที่จะเข้ามาร่วมกันออกและเสนอขายตราสารประเภทดังกล่าว ซึ่งบริษัทจะพิจารณาเลือกธนาคารที่จะร่วมกันออกเป็นรายกรณีไป โดยจะเลือกตามความเชี่ยวชาญของแต่ละแบงก์"
นายบุญชัย ศรีปรัชญาอนันต์ กรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชกิจ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ส่วนตัวมั่นใจว่าทีมงานของบล.กิมเอ็ง พร้อมที่จะให้บริการด้านวาณิชธนกิจ ทั้งองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน การระดมทุนในรูปหุ้นทุน ตราสารหนี้ ที่ปรึกษาแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปรับโครงสร้างทางการเงิน จัดหากเงินกู้โครงการ ซึ่งในช่วง 2551-2552 ผู้บริหารบริษัทต่างๆจ ะมีความมั่นใจที่จะเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มากขึ้น กว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในระยะสั้นยังมีปัจจัยลบจากปัญหาการเมือง เศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ ราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) ทำให้ตลาดหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศผันผวน แต่เมื่อมีช่วงที่ภาวะตลาดเอื้อก็จะเป็นช่องทางในการเอื้อการระดมทุน ขึ้นอยู่กับบล.ไหนจะใช้จังหวะดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ได้
"ตลาดทุนถือว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนคิดเป็น 1.8 เท่าของเงินกู้ที่กู้จากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในอนาคตนั้นตลาดทุนจะมีความสำคัญมากขึ้นจึงทำให้ในระยาวนั้นงานด้านการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินจะเติบโตที่ดี ปัจจุบันบริษัทมีงานด้านวาณิชธนกิจในมือจำนวน 20 บริษัท ซึ่งประกอบด้วย งานเสนอขายหุ้นไอพีโอ เสนอขายหุ้นเพิ่มทุน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ควบรวมกิจการ ออกหุ้นกู้ ฯลฯ"
สำหรับงานด้านที่ปรึกษาแปรรูปรัฐวิสาหกิจในช่วง 1-2 ปีนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เพราะต้องรอพระราชบัญญัติแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หากมีการบังคับใช้พรบ.ใหม่จะใช้เวลานาน ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มีการแปรรูปแล้วนั้นก็มีการเพิ่มทุนไปแล้ว และเพียงพอต่อต่อการดำเนินงานไปอีกหลายปี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายไตรมาส 2-3/51 บริษัทจะมีการนำเงินเข้าลงทุนตรงในบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งในเบื้องต้นได้เสนอที่จะขอวงเงินจำนวน 500 -1,000 ล้านบาทที่จะนำไปลงทุนตรง จากเงินทุนที่บริษัทมีจำนวน 4,000 ล้านบาท โดยบริษัทตั้งเป้าหมายที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 15% ต่อปี โดยสาเหตุที่บริษัทจะมีการลงทุนเนื่องจาก โบรกเกอร์มีการแข่งขันที่สูง ทำให้รายได้ และอัตรากำไรขั้นต้น (มาร์จิน) ลดลง จึงต้องการที่จะหารายได้อื่นเข้ามาเสริมบริษัทให้มีผลประกอบการเติบโต ต่อเนื่อง
นายบุญชัย กล่าวว่า ในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ผู้บริหารบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จะเดินทางไปประเทศเวียดนาม เพื่อไปร่วมงานการเปิดสาขาของบล.กิมเอ็ง (ประเทศสิงคโปร์) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และบริษัทก็จะเข้าไปดูแนวทางเข้าไปทำธุรกิจกับบล.กิมเอ็งประเทศเวียดนาม