ทิพยประกันภัย ตั้งเป้าเบี้ยประกันภัยรับโต 8% สูงกว่าภาพรวมอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยเล็กน้อย มุ่งรักษาลูกค้าเก่าและขยายตลาดสู่ลูกค้าใหม่ พร้อมส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด พร้อมตั้งเป้ากำไรจากการลงทุนเพิ่มเป็น 350 ล้านบาท ขณะที่ผลงานปี 50 ยังครองแชมป์เบี้ยประกันและกำไรจากการรับประกันสูงสุดในกลุ่มบริษัทประกันที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
นายจารึก กังวานพณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานในปี 2551 ว่า บริษัทตั้งเป้าเบี้ยประกันภัยรับรวมขยายตัวประมาณ 7-8% ซึ่งใกล้เคียงกับภาพรวมอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยที่คาดจะมีการขยายตัว 6% โดยมุ่งเน้นรักษาอัตราการต่ออายุกรมธรรม์และขยายฐานรายได้เบี้ยประกันภัยจากกลุ่มลูกค้าเดิม รวมถึงการขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ
ขณะเดียวกัน ทิพยประกันภัยยังมุ่งมั่นในการพัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ การขยายพื้นที่การให้บริการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า อาทิ การประกันภัยโรคร้ายและ (Critical Ikkness) สำหรับสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หลังจากได้นำเสนอกรมธรรม์ประกันภัยโรคมะเร็งเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา
"ในปีนี้บริษัทจะเน้นการพัฒนาช่องทางการตลาด และสินค้าใหม่ๆ เพื่อสนองความต้องการให้ครอบคลุมลูกค้ามากขึ้น รวมถึงมีแผนจะเปิดสาขาเพิ่มอีก 4 แห่ง คือ สระบุรี มุกดาหาร ลำปาง และตรัง"
นายจารึก กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินการดังกล่าวแล้ว บริษัทยังคงรักษาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน โดยในปีนี้ตั้งเป้ากำไรจากการลงทุนไว้ที่ 350 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรจากการลงทุน 328 ล้านบาท จากพอร์ตการลงทุนรวมทั้งสิ้นเกือบ 7,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีนโยบายแบ่งสัดส่วนการลงทุนคือ ลงทุนในตลาดการเงิน 20% ตลาดตราสารหนี้ 55% และตราสารทุน 25%
"ทิพยประกันภัยยึดนโยบายลงทุนอย่างระมัดระวัง มีรายได้เข้ามาคงที่ ขณะเดียวกันการลงทุนในตลาดหุ้นยังคงผันผวนทำให้คงเหลือสัดส่วนการลงทุนไว้ที่ 25% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด"
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2550 ที่ผ่านมานั้น นายจารึก กล่าวว่า บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 8,671.75 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันอัคคีภัย 730.95 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 275.58 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 1,872.46 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด 5,792.76 ล้านบาท โดยมีกำไรจากการรับประกันภัย 1,214.61 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยและดำเนินงานรวม 2,434.06 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 535.70 ล้านบาท
ด้านฐานะความแข็งแกร่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 10,198.89 ล้านบาท หนี้สินความ 6,483.65 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 3,715.24 ล้านบาท
"ในปี 2550 ที่ผ่านมา ทิพยประกันภัย ยังคงเป็นผู้นำในธุรกิจประกันวินาศภัย โดยมีเบี้ยประกันภัยและกำไรจากการรับประกันภัยเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มบริษัทประกันวินาศภัยทั้งหมดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ โดยมีกรมธรรม์รวมทุกประเภทกว่า 1. 5 ล้านฉบับ"
นายจารึก กังวานพณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานในปี 2551 ว่า บริษัทตั้งเป้าเบี้ยประกันภัยรับรวมขยายตัวประมาณ 7-8% ซึ่งใกล้เคียงกับภาพรวมอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยที่คาดจะมีการขยายตัว 6% โดยมุ่งเน้นรักษาอัตราการต่ออายุกรมธรรม์และขยายฐานรายได้เบี้ยประกันภัยจากกลุ่มลูกค้าเดิม รวมถึงการขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ
ขณะเดียวกัน ทิพยประกันภัยยังมุ่งมั่นในการพัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ การขยายพื้นที่การให้บริการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า อาทิ การประกันภัยโรคร้ายและ (Critical Ikkness) สำหรับสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หลังจากได้นำเสนอกรมธรรม์ประกันภัยโรคมะเร็งเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา
"ในปีนี้บริษัทจะเน้นการพัฒนาช่องทางการตลาด และสินค้าใหม่ๆ เพื่อสนองความต้องการให้ครอบคลุมลูกค้ามากขึ้น รวมถึงมีแผนจะเปิดสาขาเพิ่มอีก 4 แห่ง คือ สระบุรี มุกดาหาร ลำปาง และตรัง"
นายจารึก กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินการดังกล่าวแล้ว บริษัทยังคงรักษาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน โดยในปีนี้ตั้งเป้ากำไรจากการลงทุนไว้ที่ 350 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรจากการลงทุน 328 ล้านบาท จากพอร์ตการลงทุนรวมทั้งสิ้นเกือบ 7,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีนโยบายแบ่งสัดส่วนการลงทุนคือ ลงทุนในตลาดการเงิน 20% ตลาดตราสารหนี้ 55% และตราสารทุน 25%
"ทิพยประกันภัยยึดนโยบายลงทุนอย่างระมัดระวัง มีรายได้เข้ามาคงที่ ขณะเดียวกันการลงทุนในตลาดหุ้นยังคงผันผวนทำให้คงเหลือสัดส่วนการลงทุนไว้ที่ 25% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด"
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2550 ที่ผ่านมานั้น นายจารึก กล่าวว่า บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 8,671.75 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันอัคคีภัย 730.95 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 275.58 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 1,872.46 ล้านบาท และเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด 5,792.76 ล้านบาท โดยมีกำไรจากการรับประกันภัย 1,214.61 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยและดำเนินงานรวม 2,434.06 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 535.70 ล้านบาท
ด้านฐานะความแข็งแกร่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 10,198.89 ล้านบาท หนี้สินความ 6,483.65 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้น 3,715.24 ล้านบาท
"ในปี 2550 ที่ผ่านมา ทิพยประกันภัย ยังคงเป็นผู้นำในธุรกิจประกันวินาศภัย โดยมีเบี้ยประกันภัยและกำไรจากการรับประกันภัยเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มบริษัทประกันวินาศภัยทั้งหมดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ โดยมีกรมธรรม์รวมทุกประเภทกว่า 1. 5 ล้านฉบับ"