กระทรวงการคลัง แถลงมาตรการชุดใหญ่กระตุ้นเศรษฐกิจ ประกาศออกขายพันบัตร 3 รุ่น ระดมเม็ดเงินกว่า 9.2 หมื่นล้านบาท ลงทุนเมกะโปรเจกต์ 2 เฟส พร้อมเดินหน้าขายทันที ต้นเดือน เม.ย.นี้
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2551 ช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2551 กระทรวงการคลังมีแผนออกพันธบัตรรัฐบาล 3 รุ่น วงเงินรวม 92,550 ล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลวงเงินรุ่นอายุ 3-20 ปี วงเงิน 75,550 ล้านบาท , พันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษ รุ่น 2 ปี วงเงิน 12,000 ล้านบาท และพันธบัตรรุ่นอายุ 30 ปี วงเงิน 5,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนของพันธบัตรอายุ 30 ปี รวงเงิน 5,000 ล้านบาทจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ในเดือนเมษายน และมิถุนายน เพื่อทดสอบความต้องการนักลงทุนในตลาด และเตรียมพร้อมสำหรับระดมทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ (Mega Projects)
ส่วนพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่นอายุ 2 ปี จะจำหน่ายในวันที่ 2-11 เม.ย.51 กำหนด 3 วันแรกของการจัดจำหน่ายให้สิทธิเฉพาะผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไปสามารถซื้อได้ วงเงินขั้นต่ำ 10,000 บาทต่อผู้มีสิทธิซื้อ 1 รายแต่ไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง เพื่อเพิ่มทางเลือกในการออมให้กับประชาชน และให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุได้มีโอกาสออมเงินเพื่อการใช้จ่ายหลังเกษียณ
ผู้อำนวยการ สบน. ยังระบุว่า พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3-20 ปี แบ่งเป็น พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 5 ปี วงเงิน 30,000 ล้านบาท ออก 2 ครั้งๆ ละ 15,000 ล้านบาท , พันธบัตรรัฐบาล รุ่นอายุ 10 ปี วงเงิน 11,000 ล้านบาท, พันธบัตรรัฐบาล รุ่นอายุ 15 ปี วงเงิน 12,050 ล้านบาทโดยออก 2 ครั้ง เป็น 6,000 ล้านบาท และ 6,050 ล้านบาท , พันธบัตรรัฐบาล รุ่นอายุ 20 ปี วงเงิน 6,000 ล้านบาท
พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นอายุ 3 ปี วเงิน 1,500 ล้านบาท จะออก 3 ครั้งๆละ 500 ล้านบาท, พันธบัตรรัฐบาล รุ่นอายุ 14 ปี วงเงิน 15,000 ล้านบาท ออก 3 ครั้งๆละ 5,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ เฟสแรก จะระดมทุนในระบบราง วงเงิน 2,600 ล้านบาท ซึ่งวงเงินส่วนเกินจากการระดมทุนและการกู้ในประเทศจะมาจากการร่วมทุนของภาคเอกชนและการกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น
สำหรับเฟส 2 โครงการรถรางระบบวงแหวนรอบนอก จะกู้ในประเทศ ร้อยละ 35 หรือประมาณ 200,000 ล้านบาทซึ่งมีการเฉลี่ยออกพันธบัตร 5 ปี ปีละ 50,000ล้านบาท
ผู้อำนวยการ สบน.กล่าวด้วยว่ากระทรวงการคลัง ได้ทำ Back up Facility จากธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KTB เพื่อเสริมสภาพคล่องในการออกพันธบัตรและส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสานหนี้ในประเทศ รวมถึงลดความเสี่ยงเงินในคงคลังกรณีที่พันธบัตรจำหน่ายไม่เป็นไปตารมเป้าที่ตั้งไว้ วงเงิน10,000 ระยะเวลาเวลา 14 วัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามราคาตลาด
นายจักรกฤศฎ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักเงินกู้ตลาดเงินทุนต่างประเทศ ในฐานะโฆษก สบน. กล่าวว่า การออกพันธบัตรสำหรับโครงการเมกะโปรเจกต์ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการระดมเงินครั้งเดียว 2 แสนล้านบาท แต่เป็นการออกแบบทะยอยหลายครั้ง และได้ชี้แจงว่าจะไม่กระทบ benchmark
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษก กระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมวอร์รูมเศรษฐกิจว่า รัฐบาลจะไม่เพิ่มงบประมาณกลางปี 51 แต่จะใช้ปรับโยกงบประมาณเดิมมาใช้ในส่วนที่มีประสิทธฺภาพมากกว่า โดยคาดว่า วงเงินที่จะปรับโยกงบประมาณในเบื้องต้น น่าจะมีมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท