ขุนคลังชงแพคเก็จมาตราการลดภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 10 มาตรการเข้า ครม.วันนี้ หวังเร่งให้เกิดการลงทุนในประเทศได้ภายใน 6 เดือน ตามเป้า ขณะที่ "ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์" เน้นการผันเงินคืนสู่กระเป๋าภาคสาธารณะ สูญรายได้เพื่อแลกกับจีดีพีขยายเพิ่มอีก 1%
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “แนวทางชัดๆ รัฐบาลใหม่กับการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ” ว่า รัฐบาลจะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างความเชื่อมั่น และเร่งรัดให้เกิดการลงทุนให้ได้ภายใน 6 เดือน ซึ่งการที่รัฐบาลประกาศเริ่มลงทุนโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ มูลค่า 150,000 ล้านบาท เป็นการส่งสัญญาณเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนขยายการลงทุนตาม โดยยอมรับว่า งบประมาณลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในสิ้นปีนี้ หรือประมาณต้นปี 2552
ทั้งนี้ จากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุนจึงจะสนับสนุนมาตรการทางภาษีให้เอกชนที่ลงทุนในปีนี้ได้ประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งจะใช้มาตรการลดหย่อนภาษีให้กับประชาชนระดับรากฐาน เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเตรียมนำมาตรการกระตุ้นภาษีดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (4 มี.ค.)
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวในโอกาสเดินทางไปมอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมสรรพากรเป็นครั้งแรก หลังเข้ารับตำแหน่ง ว่า มาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังจะนำเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่ออนุมัติ อาจจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้กว่า 40,000 ล้านบาท แต่เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ ขยายตัวได้สูงขึ้นอีกร้อยละ 1 จากประมาณการเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 4.5-5.5 และทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อมาชดเชยในส่วนที่เสียไป
"มาตรการต่างๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 19 มาตรการ เน้นการผันเงินคืนสู่กระเป๋าภาคสาธารณะ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และเร่งฟื้นฟูการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ การลดภาษีจะทำให้ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าที่ประชาชนเตรียมไว้จ่ายภาษี ที่สำคัญกว่านั้น จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนทุกคน รวมไปถึงผู้ที่ไม่ต้องเสียภาษี จากผลในเชิงบวกที่มีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมที่เกิดขึ้นจากการลดภาษี" รมช.คลังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตรการภาษีที่จะเสนอ ครม.ได้แก่ 1.มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนของรายได้ 1.5 แสนบาท แรก จากเดิมที่กำหนดที่ 1 แสนบาทซึ่ งมาตรการดังกล่าวจะมีส่วนช่วยผู้มีเงินได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีจากเดิมทีมีเงินได้ 1.6 หมื่นบาทต่อเดือน จะไม่เสียภาษี 2.มาตรการช่วยเหลือผู้มีบุตรหรือบิดา มารดาทุพพลภาพ (พิการ) สามารถให้หักค่าใช่จ่ายส่วนตัวเพิ่มจากปกติที่ 6 หมื่นบาทได้เพิ่มเป็น 9 หมื่นบาท 3.มาตรการในการช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนในส่วนของรายได้ 1 ล้านบาท แรก 4.มาตรการในการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเอสเอ็มอีในส่วนของกำไร 1.5 แสนบาท แรก จากเดิมรายได้ของเอสเอ็มอี 1 ล้านบาท แรก จะเสียภาษี 15% ส่วนที่เกิน 1-3 ล้านบาท จะเสียภาษี 25%และเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป จะเสียภาษี 30%
5.ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียนจากเดิมที่หมดอายุเมื่อสิ้นปีสินค้า 2550 โดยขยายถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 หรืออีก 2 ปี ในการเสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 25% เป็นเวลา 3 รอบบัญชี เพื่อจูงใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ 6.บริษัทจดทะเบียนเดิม จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากเดิม 30% เป็น 25% สำหรับกำไรสุทธิไม่เกิน 300 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินให้เสียภาษีอัตรา 30% 7.มาตรการตค่ออายุการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระดับ 7% ไปอีก 2 ปี นับจากวันที่ 30 กันยายน 2551 เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และหวังว่าจะช่วยให้ประชนเกิดความมั่นใจในการใช้จ่ายมากขึ้น
8.เพิ่มอัตราค่าลดหย่อนสำหรับเบี้ยประกันจาก 5 หมื่นบาทเป็น 1 แสนบาท 9.มาตรการเพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเกษียณอายุ (อาร์เอ็มเอฟ) จาก 3 แสนบาทต่อปี เป็น 5 แสนบาทต่อปี และ10.มาตรการปรับโครงสร้างการผลิตและปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปใช้พลังงานทดแทนหรือประหยัดพลังงาน โดยให้นำรายการจากการลงทุนดังกล่าวไปใช้คำนวณภาษีได้ 1.25 เท่าหรือ 125% จากการลงทุนจริง 11.เพิ่มค่าลดหย่อนภาษีจากการหักดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้เงินซื้อบ้านให้มากกว่า 1 แสนบาท เฉพาะผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกและมีการอยู่อาศัยจริง เสนอให้ลดภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% เหลือ 0.01% 12.ลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิมที่เก็บ 2% ให้เหลือ 0.01% 13.ลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองจากปัจจุบันที่คิดอยู่ 1% ให้เหลือ 0.01%
นายประดิษฐ์ยังกล่าวถึงกรณีคดีการทุจริตภาษีจากการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร ว่า ขณะนี้อยู่ในชั้นของคณะกรรมการอุทธรณ์ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย และจะกำกับดูแลให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม และอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “แนวทางชัดๆ รัฐบาลใหม่กับการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ” ว่า รัฐบาลจะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างความเชื่อมั่น และเร่งรัดให้เกิดการลงทุนให้ได้ภายใน 6 เดือน ซึ่งการที่รัฐบาลประกาศเริ่มลงทุนโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ มูลค่า 150,000 ล้านบาท เป็นการส่งสัญญาณเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนขยายการลงทุนตาม โดยยอมรับว่า งบประมาณลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในสิ้นปีนี้ หรือประมาณต้นปี 2552
ทั้งนี้ จากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุนจึงจะสนับสนุนมาตรการทางภาษีให้เอกชนที่ลงทุนในปีนี้ได้ประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งจะใช้มาตรการลดหย่อนภาษีให้กับประชาชนระดับรากฐาน เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเตรียมนำมาตรการกระตุ้นภาษีดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (4 มี.ค.)
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวในโอกาสเดินทางไปมอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมสรรพากรเป็นครั้งแรก หลังเข้ารับตำแหน่ง ว่า มาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจที่กระทรวงการคลังจะนำเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่ออนุมัติ อาจจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้กว่า 40,000 ล้านบาท แต่เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ ขยายตัวได้สูงขึ้นอีกร้อยละ 1 จากประมาณการเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 4.5-5.5 และทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อมาชดเชยในส่วนที่เสียไป
"มาตรการต่างๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 19 มาตรการ เน้นการผันเงินคืนสู่กระเป๋าภาคสาธารณะ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และเร่งฟื้นฟูการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ การลดภาษีจะทำให้ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าที่ประชาชนเตรียมไว้จ่ายภาษี ที่สำคัญกว่านั้น จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนทุกคน รวมไปถึงผู้ที่ไม่ต้องเสียภาษี จากผลในเชิงบวกที่มีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมที่เกิดขึ้นจากการลดภาษี" รมช.คลังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตรการภาษีที่จะเสนอ ครม.ได้แก่ 1.มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนของรายได้ 1.5 แสนบาท แรก จากเดิมที่กำหนดที่ 1 แสนบาทซึ่ งมาตรการดังกล่าวจะมีส่วนช่วยผู้มีเงินได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีจากเดิมทีมีเงินได้ 1.6 หมื่นบาทต่อเดือน จะไม่เสียภาษี 2.มาตรการช่วยเหลือผู้มีบุตรหรือบิดา มารดาทุพพลภาพ (พิการ) สามารถให้หักค่าใช่จ่ายส่วนตัวเพิ่มจากปกติที่ 6 หมื่นบาทได้เพิ่มเป็น 9 หมื่นบาท 3.มาตรการในการช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนในส่วนของรายได้ 1 ล้านบาท แรก 4.มาตรการในการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเอสเอ็มอีในส่วนของกำไร 1.5 แสนบาท แรก จากเดิมรายได้ของเอสเอ็มอี 1 ล้านบาท แรก จะเสียภาษี 15% ส่วนที่เกิน 1-3 ล้านบาท จะเสียภาษี 25%และเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป จะเสียภาษี 30%
5.ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียนจากเดิมที่หมดอายุเมื่อสิ้นปีสินค้า 2550 โดยขยายถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 หรืออีก 2 ปี ในการเสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 25% เป็นเวลา 3 รอบบัญชี เพื่อจูงใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ 6.บริษัทจดทะเบียนเดิม จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากเดิม 30% เป็น 25% สำหรับกำไรสุทธิไม่เกิน 300 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินให้เสียภาษีอัตรา 30% 7.มาตรการตค่ออายุการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ระดับ 7% ไปอีก 2 ปี นับจากวันที่ 30 กันยายน 2551 เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และหวังว่าจะช่วยให้ประชนเกิดความมั่นใจในการใช้จ่ายมากขึ้น
8.เพิ่มอัตราค่าลดหย่อนสำหรับเบี้ยประกันจาก 5 หมื่นบาทเป็น 1 แสนบาท 9.มาตรการเพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อเกษียณอายุ (อาร์เอ็มเอฟ) จาก 3 แสนบาทต่อปี เป็น 5 แสนบาทต่อปี และ10.มาตรการปรับโครงสร้างการผลิตและปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปใช้พลังงานทดแทนหรือประหยัดพลังงาน โดยให้นำรายการจากการลงทุนดังกล่าวไปใช้คำนวณภาษีได้ 1.25 เท่าหรือ 125% จากการลงทุนจริง 11.เพิ่มค่าลดหย่อนภาษีจากการหักดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้เงินซื้อบ้านให้มากกว่า 1 แสนบาท เฉพาะผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกและมีการอยู่อาศัยจริง เสนอให้ลดภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 3.3% เหลือ 0.01% 12.ลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิมที่เก็บ 2% ให้เหลือ 0.01% 13.ลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองจากปัจจุบันที่คิดอยู่ 1% ให้เหลือ 0.01%
นายประดิษฐ์ยังกล่าวถึงกรณีคดีการทุจริตภาษีจากการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร ว่า ขณะนี้อยู่ในชั้นของคณะกรรมการอุทธรณ์ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย และจะกำกับดูแลให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม และอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย