สภาพคล่องทางการเงินขาดมือหลังเศรษฐกิจซบส่งผลผู้รับเหมาทิ้งงานยอดพุ่งต่อเนื่อง จากจำนวน 21 รายเมื่อเดือนมกราคมมาเป็น 78 รายในเดือนกุมภาพันธ์ อธิบดีกรมบัญชีกลางยันเกิดจากหลายสาเหตุ
นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางในฐานะเลขานุการคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ได้รับเรื่องจากส่วนราชการต่างๆ เพื่อขอให้พิจารณาผู้ละทิ้งงานในกรณีต่างๆ เพื่อการลงโทษผู้ทิ้งงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายของส่วนราชการจากผู้ทิ้งงาน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 145 ทวิ (1) – (4) ข้อ 145 ตรี และข้อ 145 จัตวา
ทั้งนี้ ส่วนราชการคู่สัญญาจะทำรายงานพร้อมความเห็นของส่วนราชการนั้นไปยังปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด และเมื่อปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณาแล้วเห็นว่าบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นสมควรเป็น ผู้ทิ้งงานก็จะส่งเรื่องมายังปลัดกระทรวงการคลัง ผู้รักษาการตามระเบียบเพื่อพิจารณาสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานโดยเร็วตามระเบียบฯ ข้อ 145 วรรคสอง และระบุชื่อผู้ทิ้งงานไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานพร้อมทั้งแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงานดังกล่าวให้ส่วนราชการอื่นทราบต่อไปตามระเบียบฯ ข้อ 12 (6) และมติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 70 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2524 ซึ่งหลังจากได้รับคำสั่งลงโทษเป็นผู้ทิ้งงานแล้วผู้ทิ้งงานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 44
สำหรับเหตุผลที่จะถูกลงโทษเป็นผู้ทิ้งงานอาจเกิดได้จากความไม่พร้อมของผู้รับจ้างในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปัญหาด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์และการเงิน เป็นต้น จึงไม่อาจอ้างว่าเหตุผลทั้งหมดเกิดจากขาดสภาพคล่องด้านการเงินเพียงอย่างเดียว เพียงแต่ปัญหาในด้านการเงิน เป็นองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งวงเงินของผู้ทิ้งงานก็เป็นไปตามสัญญาและไม่จำกัดว่าการทิ้งงานจะเกิดกับผู้ประกอบการรายเล็กหรือรายใหญ่ เนื่องจากต้องดูพฤติการณ์และข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องว่ามีเจตนาที่จะ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่เป็นสำคัญ
ในส่วนของจำนวนอัตราการทิ้งงานของผู้ประกอบการในแต่ละปีอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งไม่อาจสะท้อนสภาพปัญหาของภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นได้โดยตรง เพราะแต่ละสัญญามีระยะเวลาการทำงาน ไม่เท่ากัน เช่น ในงานใหญ่ย่อมมีระยะเวลาการทำงานยาว 3-5 ปี การทิ้งงานอาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดของสัญญา ก็เป็นได้ เป็นต้น
“ที่ผ่านมาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 – กุมภาพันธ์ 2551 มีส่วนราชการส่งเรื่องให้พิจารณา จำนวน 79 ราย โดยคณะกรรมการฯ พิจารณาและแจ้งเวียนรายชื่อผู้ทิ้งงาน จำนวน 78 ราย มีเพียงรายเดียว ที่ผ่านการพิจารณาไม่เป็นผู้ทิ้งงาน” นายปิยพันธุ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ เดือนมกราคม 2551 ยอดผู้รับเหมาทิ้งงานอยู่ที่ 21 ราย ส่วนใหญ่มีปัญหาขาดสภาพคล่องทำให้ไม่สามารถทำงานได้แล้วเสร็จ และส่วนหนึ่งไม่มาเซ็นสัญญาหลังจากที่ชนะประมูลแล้ว ทำให้กรมบัญชีกลางได้ทำหนังสือเวียนให้ส่วนราชการรับทราบถึงการขึ้นบัญชีดำ หรือแบล็กลิสต์รายชื่อของผู้รับเหมากลุ่มนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ว่าจ้างเข้ามารับทำงานภาครัฐจนกว่าจะขอเพิกถอนรายชื่อออกจากแบล็กลิสต์ดังกล่าวก่อน
"หากเศรษฐกิจไม่ดีแนวโน้มของการทิ้งงานก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในกลุ่มของผู้ทิ้งงานนั้นมีถึง 60-70% ขาดสภาพคล่อง โดยสาเหตุหลักอาจมาจากธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ และส่วนหนึ่งจากต้นทุนที่สูงขึ้นมาก โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง ทำให้งานโยธาก่อสร้างเป็นกลุ่มที่ผู้รับเหมาทิ้งงานมากที่สุด ผู้รับเหมามักจะคุมต้นทุนไม่อยู่หลังราคาวัสดุก่อสร้างปรับสูงขึ้น เป็นผลพวงจากการปรับตัวของราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม"
นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางในฐานะเลขานุการคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ได้รับเรื่องจากส่วนราชการต่างๆ เพื่อขอให้พิจารณาผู้ละทิ้งงานในกรณีต่างๆ เพื่อการลงโทษผู้ทิ้งงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายของส่วนราชการจากผู้ทิ้งงาน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 145 ทวิ (1) – (4) ข้อ 145 ตรี และข้อ 145 จัตวา
ทั้งนี้ ส่วนราชการคู่สัญญาจะทำรายงานพร้อมความเห็นของส่วนราชการนั้นไปยังปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด และเมื่อปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณาแล้วเห็นว่าบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นสมควรเป็น ผู้ทิ้งงานก็จะส่งเรื่องมายังปลัดกระทรวงการคลัง ผู้รักษาการตามระเบียบเพื่อพิจารณาสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานโดยเร็วตามระเบียบฯ ข้อ 145 วรรคสอง และระบุชื่อผู้ทิ้งงานไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานพร้อมทั้งแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงานดังกล่าวให้ส่วนราชการอื่นทราบต่อไปตามระเบียบฯ ข้อ 12 (6) และมติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 70 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2524 ซึ่งหลังจากได้รับคำสั่งลงโทษเป็นผู้ทิ้งงานแล้วผู้ทิ้งงานมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 44
สำหรับเหตุผลที่จะถูกลงโทษเป็นผู้ทิ้งงานอาจเกิดได้จากความไม่พร้อมของผู้รับจ้างในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปัญหาด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์และการเงิน เป็นต้น จึงไม่อาจอ้างว่าเหตุผลทั้งหมดเกิดจากขาดสภาพคล่องด้านการเงินเพียงอย่างเดียว เพียงแต่ปัญหาในด้านการเงิน เป็นองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งวงเงินของผู้ทิ้งงานก็เป็นไปตามสัญญาและไม่จำกัดว่าการทิ้งงานจะเกิดกับผู้ประกอบการรายเล็กหรือรายใหญ่ เนื่องจากต้องดูพฤติการณ์และข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องว่ามีเจตนาที่จะ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่เป็นสำคัญ
ในส่วนของจำนวนอัตราการทิ้งงานของผู้ประกอบการในแต่ละปีอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งไม่อาจสะท้อนสภาพปัญหาของภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นได้โดยตรง เพราะแต่ละสัญญามีระยะเวลาการทำงาน ไม่เท่ากัน เช่น ในงานใหญ่ย่อมมีระยะเวลาการทำงานยาว 3-5 ปี การทิ้งงานอาจจะเกิดขึ้นในช่วงใดของสัญญา ก็เป็นได้ เป็นต้น
“ที่ผ่านมาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2550 – กุมภาพันธ์ 2551 มีส่วนราชการส่งเรื่องให้พิจารณา จำนวน 79 ราย โดยคณะกรรมการฯ พิจารณาและแจ้งเวียนรายชื่อผู้ทิ้งงาน จำนวน 78 ราย มีเพียงรายเดียว ที่ผ่านการพิจารณาไม่เป็นผู้ทิ้งงาน” นายปิยพันธุ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ เดือนมกราคม 2551 ยอดผู้รับเหมาทิ้งงานอยู่ที่ 21 ราย ส่วนใหญ่มีปัญหาขาดสภาพคล่องทำให้ไม่สามารถทำงานได้แล้วเสร็จ และส่วนหนึ่งไม่มาเซ็นสัญญาหลังจากที่ชนะประมูลแล้ว ทำให้กรมบัญชีกลางได้ทำหนังสือเวียนให้ส่วนราชการรับทราบถึงการขึ้นบัญชีดำ หรือแบล็กลิสต์รายชื่อของผู้รับเหมากลุ่มนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ว่าจ้างเข้ามารับทำงานภาครัฐจนกว่าจะขอเพิกถอนรายชื่อออกจากแบล็กลิสต์ดังกล่าวก่อน
"หากเศรษฐกิจไม่ดีแนวโน้มของการทิ้งงานก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในกลุ่มของผู้ทิ้งงานนั้นมีถึง 60-70% ขาดสภาพคล่อง โดยสาเหตุหลักอาจมาจากธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ และส่วนหนึ่งจากต้นทุนที่สูงขึ้นมาก โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง ทำให้งานโยธาก่อสร้างเป็นกลุ่มที่ผู้รับเหมาทิ้งงานมากที่สุด ผู้รับเหมามักจะคุมต้นทุนไม่อยู่หลังราคาวัสดุก่อสร้างปรับสูงขึ้น เป็นผลพวงจากการปรับตัวของราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจโดยรวม"