ขุนคลัง โปรยยาหอม ตลาดทุนไทยหัวใจในการพัฒนาประเทศ ชูการเชื่อมต่อรัฐบาลในระดับนโยบาย รวมถึงเชื่อมต่อสาธารณะเป็นเรื่องจำเป็น ตอบรับเร่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน "บรรยง" กระทุ้งต้องก้าวให้ทันตลาดทุนโลก ขณะที่"ไพบูลย์" ชี้ตลาดหุ้นไทยโตแค่ 32% ส่วนตลาดหุ้นเอเชียโตเกือบ 800% ในช่วงเวลาแค่ 13 ปี ด้านก.ล.ต.วอนรัฐออกกฎปกป้องพนักงาน ด้าน "สันติ" หวังรัฐออกกฎให้บริษัทนอกต้องจดทะเบียนในตลาดก่อนมีสิทธิลงทุน
วานนี้ (27 ก.พ.) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาเรื่อง "ตลาดทุนไทย...ใครผ่าตัด" ว่า ตลาดทุนมีบทบาทและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เห็นได้จากหลายประเทศทั่วโลกต่างพึ่งพิงการพัฒนาระบบเศรษฐกิจจากภาคตลาดทุน ซึ่งถือเป็นแหล่งออมเงินของประชาชนและเป็นช่องทางในการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
สำหรับองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่สำคัญประกอบด้วย 1. ความรู้ ความเข้าใจ ต่อสถานการณ์ต่างๆ ของผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการ เพื่อสรุปเป็นแผนแม่บทที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดทุน 2. การเชื่อมต่อ ในระดับนโยบายทั้งเชื่อมต่อรัฐมนตรีในกระทรวงที่มีความเกี่ยวข้อง รวมถึงการเชื่อมต่อในระดับรัฐบาลเพื่อให้เป็นการขับเคลื่อนอย่างเต็มรูปแบบ และ 3. การเชื่อมต่อในระดับสาธารณะ เนื่องจากปัจจุบันประชาชนยังมีทั้งกลุ่มที่เข้าใจในเรื่องการลงทุนไม่กลุ่มที่ยังไม่เข้าใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้นจะช่วยให้การพัฒนาทำได้อย่างมีระบบมากขึ้น
นอกจากนี้ การจัดตั้งองค์กร หรือคณะทำงานในเรื่องต่างๆ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เช่น คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งในหลักการเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะในการจัดตั้ง ขณะที่การปรับโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอย่างจริงจัง รวมทั้งการเร่งพัฒนาด้านการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ และการสร้างประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการซื้อขายหลักทรัพย์ และการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการปั่นหุ้น เป็นต้น
"เราต้องหมุนและเคลื่อนที่ให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลก เรื่องใดที่ยังทำให้เกิดข้อจำกัดจะต้องเร่งพิจารณาเพื่อปลดล็อก ขณะที่เรื่องใดที่สามารถจัดการได้ก็ต้องยิ่งเร่งดำเนินการในทันที" น.พ.สุรพงษ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตลาดทุนไทยโดยเฉพาะในส่วนของตลาดหุ้นซึ่งยังถือว่าขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค สะท้อนได้จากมูลค่าการซื้อขายที่น้อยมากโดยเฉลี่ยซื้อขายต่อวันเพียง 500 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ขณะที่มาเลเซีย 700 ล้านดอลลาร์ต่อวัน และสิงคโปร์ 1,500 ล้านดอลลาร์ต่อวัน
**ตลาดทุนหัวใจขับเคลื่อนศก.
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความสำคัญของตลาดทุนไทยต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ว่า จากปัญหาในอดีตที่ผ่านมาสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า ตลาดทุนมีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งระดมทุนให้กับเอกชน ขณะที่ตลาดเงินแม้ว่าจะสามารถเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาไม่ให้ลุกลามได้ แต่สุดท้ายต้องมาใช้กลไกตลาดทุนในการแก้ไข
ทั้งนี้ ยอดการระดมทุนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสูงกว่าการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินถึง 1.8 เท่า โดยหากย้อน 18 ปีที่ผ่านมามียอดการระดมทุนมากถึง 4.6 ล้านล้านบาท ซึ่งหากไม่มีการพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ต้นทุนของทรัพยากรต่างๆจะยังคงอยู่ในระดับสูง ศักยภาพในการแข่งขันในเชิงธุรกิจก็จะลดลง ขณะที่ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ควบคุมก็จะมีปัญหาไปด้วย เป็นต้น
"ตลาดทุนถือว่าเป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของทุกประเทศ ซึ่งประเทศใดให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตลาดทุนก็จะสะท้อนถึงการเติบโตของระบบเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ" นายบรรยง กล่าว
**ตลาดหุ้นไทย 13 ปีโตแค่ 32%
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ขนาดของตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ถือได้ว่าเป็นตลาดหุ้นที่เกือบเล็กที่สุด โดยหากเทียบการเติบจากปี 1995 ซึ่งมีมาร์เกตแคปอยู่ที่ 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ตลาดทุนในเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นมีมาร์เกตแคป 1.3 ล้านดอลลาร์ โดยอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับปัจจุบันซึ่งมาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 1.85 แสนล้านดอลลาร์ เติบโต 32% ขณะที่มาร์เกตแคปตลาดหุ้นเอเชียรวมอยู่ที่ 11.72 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโตเกือบ 800%
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากน้ำหนักการลงทุนในดัชนี MSCI จะพบว่าเมื่อปี 1995 น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับ 10.7% ขณะที่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 1.6% ซึ่งเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นจีนที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาปัจจุบันน้ำหนักการลงทุนในดัชนีดังกล่าวสูงถึง 33%
ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้บทบาทของตลาดหุ้นไทยลดลงเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศในภูมิภาค เนื่องจากหากพิจารณาแยกบริษัทจดทะเบียนตามขนาดมาร์เก็ตแคป จะพบว่ามีเพียงไม่ถึง 40 บริษัทที่นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้ ขณะที่มีถึง 377 บริษัทที่ไม่ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่ลดลงได้เนื่องจากมีขนาดเล็กจนเกินไปหรืออาจจะมีสภาพคล่องที่ต่ำเกินกว่าเกณฑ์
**ก.ล.ต.วอนดูแลพนักงาน
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า จากการที่ก.ล.ต.มีหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทุจริตของบริษัทจดทะเบียนจึงอยากให้รัฐบาลมีการออกกฎหมายที่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ดูแลในการดำเนินการตรวจสอบทุจริตมากกว่านี้ เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าบริษัทจดทะเบียนมีการกระทำทุจริตและได้มีการส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และทาง DSI พิจารณาเห็นว่ามีความผิดจริงจากนั้นมีการส่งฟ้องให้ศาลแต่ศาลพิจารณาไม่มีความผิด บริษัทนั้นก็มีการฟ้องคดีอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของก.ล.ต.
ทั้งนี้ ก.ล.ต.ต้องการให้รัฐบาลออกกฎในเรื่องการฟ้องเจ้าหน้าที่นั้นไม่ควรที่จะให้มีการฟ้องโดยตรงต่อศาล แต่ควรที่จะต้องฟ้องแก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และปปช.ควรที่จะต้องหาทีมงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ จึงอยากให้รมว.คลังมีการพิจารณาเรื่องนี้ โดยขณะนี้ก.ล.ต.ได้มีการติดตามดูและในเรื่องการทุจริตของบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น เช่น การไซฟ่อนเงินออกจากบริษัทอย่างต่อเนื่องซึ่งขณะนี้ได้มีการติดตามดูในเรื่องงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนอยู่ 50-60 บริษัท ทุกไตรมาส ซึ่งหากพบว่ามีความผิดปกติก.ล.ต.ก็จะมีการสอบถามไปยังบริษัท
**เสนอตั้งเงื่อนไขก่อนลงทุน
นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานและบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร กล่าวว่า ตลอด 31 ปีของตลาดหุ้นไทยไม่มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาจดทะเบียน ทั้งที่ประเทศไทยมีบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จำนวนเข้ามาลงทุนจำนวนมาก ซึ่งเรื่องดังกล่าวรัฐบาลควรที่จะกำหนดเงื่อนไขบางอย่าง เช่น เมื่อบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยควรจะให้ต้องนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เพื่อคืนกำไรให้กับประเทศไทย ไม่ใช่แต่เข้ามาเพื่อรับประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุนเพียงอย่างเดียว
ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจนั้นก็ไม่เข้ามาเทรดในตลาดหุ้นไทยเนื่องจากที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการใช้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุน ซึ่งจากที่ได้มีการไปจัดงานมหกรรมการเงินได้มีการพบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ถึง 10,000 ล้านบาท ซึ่งไม่สนใจที่จะเข้ามาจดทะเบียนเพราะ ไม่มีความรู้เรื่องดังกล่าว โดยเรื่องดังกล่าวถือว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องมีการดำเนินการให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของตลาดทุน
"ตลท.จัดตั้งมา31ปี แต่ไม่มีการเติบโตน้อยมาก นักลงทุนมีเพียง 5-6 แสนคน ขณะที่ซื้อขายแอกทีฟเพียง1-2 แสนคน สาเหตุเป็นเพราะนักลงทุนยังไม่รู้จักตลาดทุน นอกจากนี้บริษัทใหญ่เข้ามาจดทะเบียนน้อย และไม่มีบริษัทเข้าชาติเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นเลยแม้เราจะเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ของค่ายรถยนต์ทุกค่ายจึงทำให้ความน่าสนใจน้อยลง"นายสันติกล่าว
**จี้รัฐวิสาหกิจระดมทุน
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหารบล.เอเชียพลัส จำกัด (มหาชน)หรือ ASPกล่าวว่า การให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่บริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะขณะนี้มีบริษัทขนาดเล็กจำนวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียนซึ่งหากเข้ามาจดทะเบียนภาครัฐก็จะได้ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น และจะสะท้อนถึงความโปร่งใสในบริษัทดังกล่าวเนื่องจากต้องมีการจัดทำบัญชีที่มีมาตรฐาน
ส่วนบริษัทรัฐวิสาหกิจนั้นก็ควรที่จะมีการปรับปรุงสิทธิภาพการบริหารงานโดยการเข้ามาระดมทุน ซึ่งรัฐวิสาหกิจนั้นถือว่าเป็นทรัพย์สินของประชาชน ทุกคนควรที่จะมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูล ซึ่งหากไม่เข้ามาจดทะเบียนก็จะมีการตรวจสอบที่ลำบากซึ่งหากมีการบริหารไม่ดี
**เชียร์ซื้อหุ้นกระจายความเสี่ยง
นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)วรรณ จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกองทุนในปี2550นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 27%หรือ ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ คือได้ประโยชน์ทางภาษีต่างๆ จึง ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในกองทุนมากขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการลงทุนในหุ้นนั้นให้ผลตอบแทน 13% ผลตอบแทนจากการฝากเงิน3% และผลตอบแทนตราสารหนี้ 5.7% ซึ่งแม้ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนบ้างแต่นักลงทุนก็ควรที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อเป็นการกระจายการลงทุน
วานนี้ (27 ก.พ.) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาเรื่อง "ตลาดทุนไทย...ใครผ่าตัด" ว่า ตลาดทุนมีบทบาทและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เห็นได้จากหลายประเทศทั่วโลกต่างพึ่งพิงการพัฒนาระบบเศรษฐกิจจากภาคตลาดทุน ซึ่งถือเป็นแหล่งออมเงินของประชาชนและเป็นช่องทางในการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
สำหรับองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่สำคัญประกอบด้วย 1. ความรู้ ความเข้าใจ ต่อสถานการณ์ต่างๆ ของผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการ เพื่อสรุปเป็นแผนแม่บทที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดทุน 2. การเชื่อมต่อ ในระดับนโยบายทั้งเชื่อมต่อรัฐมนตรีในกระทรวงที่มีความเกี่ยวข้อง รวมถึงการเชื่อมต่อในระดับรัฐบาลเพื่อให้เป็นการขับเคลื่อนอย่างเต็มรูปแบบ และ 3. การเชื่อมต่อในระดับสาธารณะ เนื่องจากปัจจุบันประชาชนยังมีทั้งกลุ่มที่เข้าใจในเรื่องการลงทุนไม่กลุ่มที่ยังไม่เข้าใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้นจะช่วยให้การพัฒนาทำได้อย่างมีระบบมากขึ้น
นอกจากนี้ การจัดตั้งองค์กร หรือคณะทำงานในเรื่องต่างๆ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เช่น คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งในหลักการเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะในการจัดตั้ง ขณะที่การปรับโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอย่างจริงจัง รวมทั้งการเร่งพัฒนาด้านการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ และการสร้างประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการซื้อขายหลักทรัพย์ และการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการปั่นหุ้น เป็นต้น
"เราต้องหมุนและเคลื่อนที่ให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลก เรื่องใดที่ยังทำให้เกิดข้อจำกัดจะต้องเร่งพิจารณาเพื่อปลดล็อก ขณะที่เรื่องใดที่สามารถจัดการได้ก็ต้องยิ่งเร่งดำเนินการในทันที" น.พ.สุรพงษ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตลาดทุนไทยโดยเฉพาะในส่วนของตลาดหุ้นซึ่งยังถือว่าขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค สะท้อนได้จากมูลค่าการซื้อขายที่น้อยมากโดยเฉลี่ยซื้อขายต่อวันเพียง 500 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ขณะที่มาเลเซีย 700 ล้านดอลลาร์ต่อวัน และสิงคโปร์ 1,500 ล้านดอลลาร์ต่อวัน
**ตลาดทุนหัวใจขับเคลื่อนศก.
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความสำคัญของตลาดทุนไทยต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ว่า จากปัญหาในอดีตที่ผ่านมาสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า ตลาดทุนมีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งระดมทุนให้กับเอกชน ขณะที่ตลาดเงินแม้ว่าจะสามารถเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาไม่ให้ลุกลามได้ แต่สุดท้ายต้องมาใช้กลไกตลาดทุนในการแก้ไข
ทั้งนี้ ยอดการระดมทุนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสูงกว่าการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินถึง 1.8 เท่า โดยหากย้อน 18 ปีที่ผ่านมามียอดการระดมทุนมากถึง 4.6 ล้านล้านบาท ซึ่งหากไม่มีการพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ต้นทุนของทรัพยากรต่างๆจะยังคงอยู่ในระดับสูง ศักยภาพในการแข่งขันในเชิงธุรกิจก็จะลดลง ขณะที่ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ควบคุมก็จะมีปัญหาไปด้วย เป็นต้น
"ตลาดทุนถือว่าเป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของทุกประเทศ ซึ่งประเทศใดให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตลาดทุนก็จะสะท้อนถึงการเติบโตของระบบเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ" นายบรรยง กล่าว
**ตลาดหุ้นไทย 13 ปีโตแค่ 32%
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ขนาดของตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ถือได้ว่าเป็นตลาดหุ้นที่เกือบเล็กที่สุด โดยหากเทียบการเติบจากปี 1995 ซึ่งมีมาร์เกตแคปอยู่ที่ 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ตลาดทุนในเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นมีมาร์เกตแคป 1.3 ล้านดอลลาร์ โดยอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับปัจจุบันซึ่งมาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 1.85 แสนล้านดอลลาร์ เติบโต 32% ขณะที่มาร์เกตแคปตลาดหุ้นเอเชียรวมอยู่ที่ 11.72 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโตเกือบ 800%
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากน้ำหนักการลงทุนในดัชนี MSCI จะพบว่าเมื่อปี 1995 น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับ 10.7% ขณะที่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 1.6% ซึ่งเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นจีนที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาปัจจุบันน้ำหนักการลงทุนในดัชนีดังกล่าวสูงถึง 33%
ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้บทบาทของตลาดหุ้นไทยลดลงเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศในภูมิภาค เนื่องจากหากพิจารณาแยกบริษัทจดทะเบียนตามขนาดมาร์เก็ตแคป จะพบว่ามีเพียงไม่ถึง 40 บริษัทที่นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้ ขณะที่มีถึง 377 บริษัทที่ไม่ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่ลดลงได้เนื่องจากมีขนาดเล็กจนเกินไปหรืออาจจะมีสภาพคล่องที่ต่ำเกินกว่าเกณฑ์
**ก.ล.ต.วอนดูแลพนักงาน
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า จากการที่ก.ล.ต.มีหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทุจริตของบริษัทจดทะเบียนจึงอยากให้รัฐบาลมีการออกกฎหมายที่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ดูแลในการดำเนินการตรวจสอบทุจริตมากกว่านี้ เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าบริษัทจดทะเบียนมีการกระทำทุจริตและได้มีการส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และทาง DSI พิจารณาเห็นว่ามีความผิดจริงจากนั้นมีการส่งฟ้องให้ศาลแต่ศาลพิจารณาไม่มีความผิด บริษัทนั้นก็มีการฟ้องคดีอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของก.ล.ต.
ทั้งนี้ ก.ล.ต.ต้องการให้รัฐบาลออกกฎในเรื่องการฟ้องเจ้าหน้าที่นั้นไม่ควรที่จะให้มีการฟ้องโดยตรงต่อศาล แต่ควรที่จะต้องฟ้องแก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และปปช.ควรที่จะต้องหาทีมงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ จึงอยากให้รมว.คลังมีการพิจารณาเรื่องนี้ โดยขณะนี้ก.ล.ต.ได้มีการติดตามดูและในเรื่องการทุจริตของบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น เช่น การไซฟ่อนเงินออกจากบริษัทอย่างต่อเนื่องซึ่งขณะนี้ได้มีการติดตามดูในเรื่องงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนอยู่ 50-60 บริษัท ทุกไตรมาส ซึ่งหากพบว่ามีความผิดปกติก.ล.ต.ก็จะมีการสอบถามไปยังบริษัท
**เสนอตั้งเงื่อนไขก่อนลงทุน
นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานและบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร กล่าวว่า ตลอด 31 ปีของตลาดหุ้นไทยไม่มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาจดทะเบียน ทั้งที่ประเทศไทยมีบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จำนวนเข้ามาลงทุนจำนวนมาก ซึ่งเรื่องดังกล่าวรัฐบาลควรที่จะกำหนดเงื่อนไขบางอย่าง เช่น เมื่อบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยควรจะให้ต้องนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เพื่อคืนกำไรให้กับประเทศไทย ไม่ใช่แต่เข้ามาเพื่อรับประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุนเพียงอย่างเดียว
ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจนั้นก็ไม่เข้ามาเทรดในตลาดหุ้นไทยเนื่องจากที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการใช้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุน ซึ่งจากที่ได้มีการไปจัดงานมหกรรมการเงินได้มีการพบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ถึง 10,000 ล้านบาท ซึ่งไม่สนใจที่จะเข้ามาจดทะเบียนเพราะ ไม่มีความรู้เรื่องดังกล่าว โดยเรื่องดังกล่าวถือว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องมีการดำเนินการให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของตลาดทุน
"ตลท.จัดตั้งมา31ปี แต่ไม่มีการเติบโตน้อยมาก นักลงทุนมีเพียง 5-6 แสนคน ขณะที่ซื้อขายแอกทีฟเพียง1-2 แสนคน สาเหตุเป็นเพราะนักลงทุนยังไม่รู้จักตลาดทุน นอกจากนี้บริษัทใหญ่เข้ามาจดทะเบียนน้อย และไม่มีบริษัทเข้าชาติเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นเลยแม้เราจะเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ของค่ายรถยนต์ทุกค่ายจึงทำให้ความน่าสนใจน้อยลง"นายสันติกล่าว
**จี้รัฐวิสาหกิจระดมทุน
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหารบล.เอเชียพลัส จำกัด (มหาชน)หรือ ASPกล่าวว่า การให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่บริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะขณะนี้มีบริษัทขนาดเล็กจำนวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียนซึ่งหากเข้ามาจดทะเบียนภาครัฐก็จะได้ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น และจะสะท้อนถึงความโปร่งใสในบริษัทดังกล่าวเนื่องจากต้องมีการจัดทำบัญชีที่มีมาตรฐาน
ส่วนบริษัทรัฐวิสาหกิจนั้นก็ควรที่จะมีการปรับปรุงสิทธิภาพการบริหารงานโดยการเข้ามาระดมทุน ซึ่งรัฐวิสาหกิจนั้นถือว่าเป็นทรัพย์สินของประชาชน ทุกคนควรที่จะมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูล ซึ่งหากไม่เข้ามาจดทะเบียนก็จะมีการตรวจสอบที่ลำบากซึ่งหากมีการบริหารไม่ดี
**เชียร์ซื้อหุ้นกระจายความเสี่ยง
นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)วรรณ จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกองทุนในปี2550นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 27%หรือ ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ คือได้ประโยชน์ทางภาษีต่างๆ จึง ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในกองทุนมากขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการลงทุนในหุ้นนั้นให้ผลตอบแทน 13% ผลตอบแทนจากการฝากเงิน3% และผลตอบแทนตราสารหนี้ 5.7% ซึ่งแม้ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนบ้างแต่นักลงทุนก็ควรที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อเป็นการกระจายการลงทุน