แกรมมี่เดินหน้ารุกนิวมีเดีย บรอดคาสติ้ง ใน 5 ปี พร้อมโฟกัสตลาดเอเชียมากขึ้น หลังมีการปรับโครงสร้างบิซิเนสโมเดลใหม่ ชูกลยุทธ์ โททอล มิวสิค บิซิเนส ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป มั่นใจสิ้นปีรายได้กระเตื้องอีก 8% มูลค่า 8,000 ล้านบาท
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้ทางบริษัทฯจะรุกนิว มีเดียมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปถือหุ้นชาแนลวี ตั้งแต่เดือนตุลาคมในปี 2550โดยถือหุ้นอยู่ 25% ขณะที่ถือในทรู วิชั่นส์ 26% และถือหุ้นในสตาร์ 49% ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป
กรณี หากทางภาครัฐอนุญาต ในเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมให้มีความเสรี จากพรบ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ทางแกรมมี่ก็พร้อมที่จะเข้ามาทำเรื่องของบรอดคาสติ้งทันที โดยจะทำเป็นช่องเอ็นเตอร์เทนเม้น คาดว่าจะเห็นได้ในปีหน้าในรูปแบบเนชั่นแนลเน็ตเวิร์ค
"ระหว่างนี้ทางบริษัทฯก็สามารถนำเอาคอนเท้นต์ต่างๆที่มีอยู่ มานำเสนอผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบ Portal เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ยังเว็บไซต์ของบริษัทฯที่มีกว่า 10 เว็บไซต์โดยเฉพาะเว็บไซต์ www.gmember.com ที่จะมีรายได้จากการสมัครเป็นสมาชิก โดยในช่วงเดือนเม.ย.นี้ จะเริ่มเห็นว่า จะมีการนำเอาคอนเท้นต์คอนเสิร์ตมาออนแอร์ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรจากต่างประเทศที่ได้ร่วมมือกันในการนำเอาคอนเท้นต์มาเผยแพร่ด้วย"
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ธุรกิจนิวมีเดีย ที่จะรุกใน5 ปีนับจากนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากการที่บริษัทฯได้วางโมเดลบิซิเนสมาถูกทาง ซึ่งทางบริษัทฯเชื่อว่าแนวโน้มธุรกิจเพลงกำลังมีอนาคตที่สดใส จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการฟังเพลงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพลงกำลังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในภาคธุรกิจ เพื่อใช้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการทำตลาด รวมถึงการศึกษาตลาดมาตลอดปี 48-49 ซึ่งทำให้บริษัทฯได้มีการวางโมเดลบิซิเนสขึ้นมาใหม่ มุ่งเน้นด้านดิจิตอล โชว์บิซ การบริหารศิลปิน บริหารลิขสิทธิ์คาราโอเกะ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จึงมั่นใจว่าปีนี้แกรมมี่จะมีรายได้รวมถึง 8,000 ล้านบาท หรือโตจากปีที่ผ่านมา 8% แบ่งเป็น ธุรกิจมีเดีย 44% หรือกว่า 3,500ล้านบาท และธุรกิจเพลง 56% คิดเป็นมูลค่า 4,000 ล้านบาท โตขึ้น 11%
สำหรับโมเดลบิซิเนสที่ทางแกรมมี่วางไว้มาประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา จะอยู่ภายใต้กลยุทธ์ Total Music Business คือ 1.Singing Businessเกี่ยวกับ การร้องคาราโอเกะ ที่พบว่าปัจจุบันเริ่มเป็นอีกหนึ่งไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี 2.Listening Business หรือการฟังเพลงในปัจจุบัน ที่ผู้บริโภคมีการฟังเพลงผ่านช่องทางต่างๆมากขึ้น และ3.Watching Businessเกี่ยวกับการรับชมคอนเท้นต์เพลง ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตหรืออื่นๆ ซึ่งโมเดลบิซิเนสใหม่นี้ เชื่อว่าจะสร้างรายได้โตขึ้น 15-20% จากเดิมที่มีรายได้แต่ละปีโตขึ้นเพียง 10% จะเป็นธุรกิจที่จะมาต่อยอดรายได้จากธุรกิจเพลงมูลค่า 4,000 ล้านบาท ที่วางไว้ในปีนี้ โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้ถึง 50% จากเดิมในปีก่อนอยู่ที่ 45% และอีก 50% มาจากรายได้ของการขายซีดีและวีซีดี ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะคงที่ไปแบบนี้เรื่อยๆ
อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯยังได้วางกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจเพลงไว้ดังนี้ คือ 1.กลยุทธ์ เซกเม้นต์เตชั่น มาร์เก็ตติ้ง โดยแบ่งกลุ่มเพลงออกเป็น 6 กลุ่ม คือ ทีน ไอดอล, ป๊อป ไอดอล, ร็อค, วินเทจส์ (Vintages), นิช มาร์เก็ต และคันทรี 2.กลยุทธ์การหาพันธมิตรเข้าร่วมธุรกิจ ให้มีการทำธุรกิจในลักษณะเอ็กซ์คลูซีฟมากขึ้น
นอกจากนี้ทางบริษัทฯยังได้มองตลาดเพลงในระดับเอเชียด้วย หลังจากที่พบว่ามีกลุ่มผู้บริโภคในบางประเทศเปิดกว้างในการรับฟังเพลงไทยมากยิ่งขึ้น ล่าสุด เช่น มาเลเซีย ที่มีวัยรุ่นของมาเลเซียให้ความสนใจกับเพลงไทย และมีเพลงไทยไปวางจำหน่าย ทั้งนี้บริษัทฯจะพยายามพัฒนาหน่วยธุรกิจที่ดูแลศิลปินให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น พยายามที่จะให้ศิลปินสามารถร้องเพลงของแต่ละประเทศในเอเชียเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะสามารถทำธุรกิจในระดับเอเชียต่อไป โดยคาดว่า จะเห็นเพลงไทยเข้าไปจำหน่ายในแต่ละประเทศของเอเชีย ได้ทั้งหมดเร็วๆนี้ รวมทั้งการนำเอาเพลงจากประเทศเหล่านั้นเข้ามาจำหน่ายในไทยเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
ทางด้านของธุรกิจมีเดีย ปีนี้บริษัทฯได้วางเป้ารายได้โตขึ้นอีก 8% คิดเป็นมูลค่า 3,500 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ทีวี 39% คิดเป็นมูลค่า 1,300 ล้านบาท 2.อีเว้นท์ 29% คิดเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท โตขึ้นจากปีก่อน 15% 3.วิทยุ 21% มูลค่า 750 ล้านบาท โตขึ้น 10% 4.สิ่งพิมพ์ 7% มูลค่า 250 ล้านบาท และ 5.อื่นๆอีก 4%
โดยกลุ่มมีเดีย โดยเฉพาะวิทยุปีนี้ได้วางกลยุทธ์ของการทำงานไว้ 2 ทาง คือ 1. สร้างแบรนด์และมุ่งเป็นที่ 1 ในเซกเม้นต์นั้นๆ 2. นำมูลค่าเพิ่มของแบรนด์ไปต่อยอดรายได้ โดยอาศัยฐานลูกค้าที่มีอยู่ เช่น IRADIO ขณะนี้มีฐานผู้ฟังใหม่เข้ามา ไม่ต่ำกว่าวันละ 30,000-40,000 คน ซึ่งมองว่ามีแนวโน้มที่ดี
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้ทางบริษัทฯจะรุกนิว มีเดียมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปถือหุ้นชาแนลวี ตั้งแต่เดือนตุลาคมในปี 2550โดยถือหุ้นอยู่ 25% ขณะที่ถือในทรู วิชั่นส์ 26% และถือหุ้นในสตาร์ 49% ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะต่อยอดธุรกิจต่อไป
กรณี หากทางภาครัฐอนุญาต ในเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมให้มีความเสรี จากพรบ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ทางแกรมมี่ก็พร้อมที่จะเข้ามาทำเรื่องของบรอดคาสติ้งทันที โดยจะทำเป็นช่องเอ็นเตอร์เทนเม้น คาดว่าจะเห็นได้ในปีหน้าในรูปแบบเนชั่นแนลเน็ตเวิร์ค
"ระหว่างนี้ทางบริษัทฯก็สามารถนำเอาคอนเท้นต์ต่างๆที่มีอยู่ มานำเสนอผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบ Portal เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ยังเว็บไซต์ของบริษัทฯที่มีกว่า 10 เว็บไซต์โดยเฉพาะเว็บไซต์ www.gmember.com ที่จะมีรายได้จากการสมัครเป็นสมาชิก โดยในช่วงเดือนเม.ย.นี้ จะเริ่มเห็นว่า จะมีการนำเอาคอนเท้นต์คอนเสิร์ตมาออนแอร์ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรจากต่างประเทศที่ได้ร่วมมือกันในการนำเอาคอนเท้นต์มาเผยแพร่ด้วย"
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ธุรกิจนิวมีเดีย ที่จะรุกใน5 ปีนับจากนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากการที่บริษัทฯได้วางโมเดลบิซิเนสมาถูกทาง ซึ่งทางบริษัทฯเชื่อว่าแนวโน้มธุรกิจเพลงกำลังมีอนาคตที่สดใส จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการฟังเพลงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพลงกำลังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในภาคธุรกิจ เพื่อใช้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการทำตลาด รวมถึงการศึกษาตลาดมาตลอดปี 48-49 ซึ่งทำให้บริษัทฯได้มีการวางโมเดลบิซิเนสขึ้นมาใหม่ มุ่งเน้นด้านดิจิตอล โชว์บิซ การบริหารศิลปิน บริหารลิขสิทธิ์คาราโอเกะ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จึงมั่นใจว่าปีนี้แกรมมี่จะมีรายได้รวมถึง 8,000 ล้านบาท หรือโตจากปีที่ผ่านมา 8% แบ่งเป็น ธุรกิจมีเดีย 44% หรือกว่า 3,500ล้านบาท และธุรกิจเพลง 56% คิดเป็นมูลค่า 4,000 ล้านบาท โตขึ้น 11%
สำหรับโมเดลบิซิเนสที่ทางแกรมมี่วางไว้มาประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา จะอยู่ภายใต้กลยุทธ์ Total Music Business คือ 1.Singing Businessเกี่ยวกับ การร้องคาราโอเกะ ที่พบว่าปัจจุบันเริ่มเป็นอีกหนึ่งไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี 2.Listening Business หรือการฟังเพลงในปัจจุบัน ที่ผู้บริโภคมีการฟังเพลงผ่านช่องทางต่างๆมากขึ้น และ3.Watching Businessเกี่ยวกับการรับชมคอนเท้นต์เพลง ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตหรืออื่นๆ ซึ่งโมเดลบิซิเนสใหม่นี้ เชื่อว่าจะสร้างรายได้โตขึ้น 15-20% จากเดิมที่มีรายได้แต่ละปีโตขึ้นเพียง 10% จะเป็นธุรกิจที่จะมาต่อยอดรายได้จากธุรกิจเพลงมูลค่า 4,000 ล้านบาท ที่วางไว้ในปีนี้ โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้ถึง 50% จากเดิมในปีก่อนอยู่ที่ 45% และอีก 50% มาจากรายได้ของการขายซีดีและวีซีดี ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะคงที่ไปแบบนี้เรื่อยๆ
อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯยังได้วางกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจเพลงไว้ดังนี้ คือ 1.กลยุทธ์ เซกเม้นต์เตชั่น มาร์เก็ตติ้ง โดยแบ่งกลุ่มเพลงออกเป็น 6 กลุ่ม คือ ทีน ไอดอล, ป๊อป ไอดอล, ร็อค, วินเทจส์ (Vintages), นิช มาร์เก็ต และคันทรี 2.กลยุทธ์การหาพันธมิตรเข้าร่วมธุรกิจ ให้มีการทำธุรกิจในลักษณะเอ็กซ์คลูซีฟมากขึ้น
นอกจากนี้ทางบริษัทฯยังได้มองตลาดเพลงในระดับเอเชียด้วย หลังจากที่พบว่ามีกลุ่มผู้บริโภคในบางประเทศเปิดกว้างในการรับฟังเพลงไทยมากยิ่งขึ้น ล่าสุด เช่น มาเลเซีย ที่มีวัยรุ่นของมาเลเซียให้ความสนใจกับเพลงไทย และมีเพลงไทยไปวางจำหน่าย ทั้งนี้บริษัทฯจะพยายามพัฒนาหน่วยธุรกิจที่ดูแลศิลปินให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น พยายามที่จะให้ศิลปินสามารถร้องเพลงของแต่ละประเทศในเอเชียเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะสามารถทำธุรกิจในระดับเอเชียต่อไป โดยคาดว่า จะเห็นเพลงไทยเข้าไปจำหน่ายในแต่ละประเทศของเอเชีย ได้ทั้งหมดเร็วๆนี้ รวมทั้งการนำเอาเพลงจากประเทศเหล่านั้นเข้ามาจำหน่ายในไทยเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
ทางด้านของธุรกิจมีเดีย ปีนี้บริษัทฯได้วางเป้ารายได้โตขึ้นอีก 8% คิดเป็นมูลค่า 3,500 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ทีวี 39% คิดเป็นมูลค่า 1,300 ล้านบาท 2.อีเว้นท์ 29% คิดเป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท โตขึ้นจากปีก่อน 15% 3.วิทยุ 21% มูลค่า 750 ล้านบาท โตขึ้น 10% 4.สิ่งพิมพ์ 7% มูลค่า 250 ล้านบาท และ 5.อื่นๆอีก 4%
โดยกลุ่มมีเดีย โดยเฉพาะวิทยุปีนี้ได้วางกลยุทธ์ของการทำงานไว้ 2 ทาง คือ 1. สร้างแบรนด์และมุ่งเป็นที่ 1 ในเซกเม้นต์นั้นๆ 2. นำมูลค่าเพิ่มของแบรนด์ไปต่อยอดรายได้ โดยอาศัยฐานลูกค้าที่มีอยู่ เช่น IRADIO ขณะนี้มีฐานผู้ฟังใหม่เข้ามา ไม่ต่ำกว่าวันละ 30,000-40,000 คน ซึ่งมองว่ามีแนวโน้มที่ดี