ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดหนักนักลงทุนไม่เชื่อน้ำยามาตรการรัฐบาลสหรัฐฯ กระตุ้นเศรษฐกิจจากพิษซับไพรม์ ด้านตลาดหุ้นทั่วไทยผันผวนหนักจากบวก 13 จุด ปิดลบ 23 จุด หรือ 2.93% ดัชนีจ่อหลุด 750 จุด ฝรั่งกระหน่ำขาย PTT รูดหนัก 7.5% หลุด 300 บาท "ก้องเกียรติ" เชื่อปีนี้เฟดลดดอกเบี้ย 1% พยุงเศรษฐกิจ ระบุซับไพรม์ล่ามถึงต้นปีหน้า ขณะที่บล.ซิตี้คอร์ป ระบุผลขาดทุนสถานบันการเงินจ่อถล่มหุ้นเพิ่ม ด้านเลขาฯ กบข. เตือนอย่าเร่งยกเลิกมาตรการ 30% ห่วงเงินนอกทะลักดันค่าเงินบาทแข็งไม่หยุด
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (21 ม.ค.) ดัชนีปรับตัวผันผวนอย่างรุนแรงโดยในช่วงเช้าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสวนทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวลดลงอย่างมากจากความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่อนโยบายในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ แต่ในช่วงบ่ายมีแรงขายออกมาอย่างหนักจากนักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่จุดต่ำสุดของวันที่ 766.53 จุด ลดลง 23.14 จุด หรือ 2.93% โดยระหว่างวันดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 802.77 จุด เพิ่มขึ้น 13.10 จุด มูลค่าการซื้อขาย 27,839.32 ล้านบาท
ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,128.54 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 387.41 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,515.95 ล้านบาท
สำหรับหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 296 บาท ลดลง 24 บาท หรือ 7.50% มูลค่าการซื้อขาย 4,914.92 ล้านบาท, บมจ.ปตท.ผลิตและสำรวจปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 144 บาท ลดลง 8 บาท หรือ 5.26% มูลค่าการซื้อขาย 2,165.25 ล้านบาท และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ปิดที่ 79.50 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.45% มูลค่าการซื้อขาย 2,133.74 ล้านบาท
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจต่างประเทศยังแย่ต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาซับไพรม์ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบและมีการคาดการณ์จะคงยืดเยื้อต่อไปจนถึงต้นปีหน้าจากเดิมที่คาดว่าจะสิ้นสุดสิ้นปี 50 ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 1% เพื่อเป็นการพยุงเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เชื่อว่าในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ เนื่องจากมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดี แต่ต้องขึ้นอยู่กับความสนใจและความสามารถในการดึงเม็ดเงินของตลาดหุ้นเกิดใหม่ โดยปี 2550 พบว่าจำนวนกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) กว่า 9.7 พันกองทุนซึ่งมีเงินภายใต้การบริหาร 1.74 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น ในปีที่ผ่านมามีจำนวน 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 50% ของจากเม็ดเงินใหม่ทั่วโลกที่มี 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
"สถานการณ์ต่างประเทศเลวร้ายมากขึ้นจากปัญหาซับไพรม์ ทำให้ตัวเลขการเสียหายบานปลายมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ทำให้เม็ดเงินไหลไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ขณะเดียวกันมาร์เกตแคปของตลาดหุ้นสหรัฐฯปี 50 ปรับตัวลดลงเหลือ 35% จากเดิมที่ 44%ของมาร์เกตแคปทั่วโลก" นายก้องเกียรติกล่าว
ขณะที่ทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกเองจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถดถอยทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นทั่วโลกเพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ถึงแม้นักลงทุนต่างประเทศจะมีการขายหุ้นไทยสุทธิ 2.8 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับตั้งแต่เปิดตลาดหุ้นไทยมาต่างประเทศยังซื้อสุทธิ 1 ใน 4 ของมูลค่าหุ้นในประเทศไทย และจากราคาหุ้นไทยมีค่า P/E เพียง 10 เท่า มีอัตรากำไรต่อหุ้นมีอัตราการเติบโตที่ดี และจากการเมืองที่ชัดเจนมากขึ้น ก็จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุน
อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นไทยสิ้นปีนี้มีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะที่ 1,000 จุดได้ โดยจะมีค่าP/E ที่ 13 เท่า ผลตอบแทนเงินปันผลอยู่ที่ 3% ซึ่งถือว่าราคาหุ้นไม่แพง แต่สิ่งที่จะต้องเร่งสร้างความชัดเจน คือ เรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่างๆ เช่น พ.ร.บ.ค้าปลีก รวมถึงการถือครองหุ้นต่างด้าว และเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
"การดึงเม็ดเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยมี 4 ประการ คือ นโยบายต้องถูกใจนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนไทย นโยบายต้องมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และจะต้องมีการไปลงทุนตรงในต่างประเทศบ้าง เพื่อใช้โอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อน บาทแข็งให้เกิดประโยชน์ "นายก้องเกียรติกล่าว
**วิกฤตซับไพรม์ยังไม่จบ
มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้อำนวยการฝ่ายตลาดทุน บล.ซิตี้กรุ๊ป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าตอบรับปัจจัยการเมืองในประเทศทั้งเรื่องความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล และคำพิพากษายกฟ้องคดียุบพรรคพลังประชาชนของศาลฎีกา แต่ช่วงบ่ายนักลงทุนต่างชาติยังคงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวลงอย่างรุนแรง เนื่องจากนักลงทุนหวาดกลัวผลกระทบของปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯ ที่รุนแรงมากขึ้น
"ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมา แสดงให้เห็นสัญญานความถดถอยอย่างชัดเจน ขณะที่สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ยังรายงานผลขาดทุนออกมาไม่หมด ประกอบกับมาตรการของประธานาธิบดีสหรัฐที่ออกมานั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่า อาจไม่เพียงพอต่อการบรรเทาความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว"
**"วิสิฐ"หวังคงมาตรการ30%
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า สถาบันต่างประเทศทั้งโกลด์แมนแซคส์ และมอร์แกนสแตนเลย์ ต่างคาดการณ์จีดีพีสหรัฐจะขยายตัวอยู่ที่ 0.8% และ 1.1% ตามลำดับ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันให้เฟดลดดอกเบี้ยลง โดยโอกาสที่จะปรับตัวลดลง 0.5% มีมากถึง 52% ขณะที่ส่วนอีก 48% คาดว่าจะลดดอกเบี้ย 0.75%
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยปีนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้นได้จากกำไรบจ.เติบโต 15% บวกกับการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ดีนั้นจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย แม้ว่าจะไม่เข้ามาลงทุนทันที เพราะนักลงทุนยังมีความกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ โดยอาจจะเป็นการเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตรของไทย ดังนั้นจึงมองว่ามาตรการกันเงินสำรอง 30% คงจะต้องมีอยู่หากมีการยกเลิกอาจมีความเสี่ยงได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าได้อีก
**คาดเฟดลดดบ.เหลือ3%
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเหลือ 3.00-3.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.25% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยไทยน่าจะทรงตัวในระดับนี้เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในไตรมาส 2/51 นี้
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะเติบโต 4-4.5% เพราะปัจจัยการเมืองปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการผลักดันในเรื่องการลงทุน โดยเม็ดเงินจากต่างประเทศจะไหลเข้ามาลงทุนมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะเป็นพันธมิตรกับนักลงทุนต่างประเทศแค่ไหน
ทั้งนี้ จากปัญหาซับไพรม์นั้นจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินไทยและต่างประเทศทั่วโลกมีการเลิกจ้างพนักงานในช่วงเดือน มีนาคมและเมษายน จำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องการว่างงาน ซึ่งภาครัฐจะต้องเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ
***หุ้นเอเชีย-ยุโรปทรุดหนักเป็นทิวแถว
ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า ราคาหุ้นแถบเอเชียและยุโรปพากันดำดิ่งเป็นแถวเมื่อวานนี้(21) โดยบรรดาดีลเลอร์บอกว่าเพราะนักลงทุนรู้สึกเซ็งกับแผนการชุบชีวิตเศรษฐกิจสหรัฐฯของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
ดีลเลอร์เหล่านี้กล่าวว่า หลังจากตั้งความหวังเอาไว้สูง ว่าบุชจะประกาศมาตรการอันหนักแน่นแข็งแรง ที่น่าเชื่อถือว่าสามารถป้องกันไม่ให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ต้องจมถลำลงสู่ภาวะถดถอย แต่แล้วตลาดกลับไม่ได้พบอะไรที่เพียงพอจะชดเชยบรรดาข่าวร้ายๆ ซึ่งยังคงโผล่ผุดออกมาจากภาคธนาคาร ตลอดจนตลาดที่พักอาศัยในสหรัฐฯที่ยังคงย่ำแย่ลงเรื่อยๆ
"ความสงสัยข้องใจของนักลงทุนเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการตัดลดภาษีชั่วคราว ว่าจะสามารถปกปักรักษาไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลออัตราเติบโตลงอย่างแรงได้หรือ คือตัวเร่งให้เกิดการเทขายอย่างหนัก" เป็นความเห็นของ ดีเรค ฮัลเฟนนี แห่ง แบงก์ออฟโตเกียว-มิตซูบิชิ ในกรุงลอนดอน
เช่นเดียวกับ นาจีบ จาร์ฮอม หัวหน้าฝ่ายวิจัยเพื่อลูกค้ารายย่อย แห่งบริษัทหลักทรัพย์เฟรเซอร์ ซีเคียวริตีส์ ในสิงคโปร์ ซึ่งบอกว่า แพกเกจกอบกู้เศรษฐกิจของบุช "ถูกมองว่าออกมาช้าเกินไปและยังไม่แข็งแรงหนักแน่นเพียงพอที่จะสร้างผลกระทบได้" เขากล่าวด้วยว่า "มันดูเหมือนกับว่าสหรัฐฯกำลังบ่ายหน้าสู่ภาวะถดถอย หรือไม่ก็อาจจะกำลังอยู่ในภาวะถดถอยแล้วด้วยซ้ำ ถ้าหากดูกันที่ข้อมูลตัวเลข"
ในตลาดหลักทรัพย์ทางเอเชียวานนี้ โตเกียวปิดติดลบ 3.86% ลงสู่ระดับต่ำสุดนับแต่เดือนตุลาคม 2005 แต่ยังไม่สาหัสเท่าฮ่องกง ซึ่งดิ่งลง 5.5% เพราะนอกจากผิดหวังมาตรการของบุชแล้ว ยังเจอฤทธิ์ความปั่นป่วนของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ที่ปิดวานนี้หดหายไป 5.14% เนื่องจากความกังวลที่ว่า บริษัทประกันภัยผิงอัน กำลังจะออกหุ้นจำนวนมหาศาล ซึ่งจะกระทบความต้องการซื้อหุ้นตัวอื่นๆ ไปด้วย
ทางด้านตลาดสิงคโปร์ลบ 6.03%, โซล ลบ 3.0%, และหุ้นอินเดียร่วงหนักถึง 7.41%
เมื่อถึงช่วงตลาดแถบยุโรปเปิดทำการ หุ้นก็ถลาลงมากันระนาวอีก ลอนดอนทรุด 3.83% ระหว่างการซื้อขายช่วงเช้า ส่วนแฟรงเฟิร์ตปักหัวลงมา 5.02% และปารีสดำดิ่ง 4.55%
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (21 ม.ค.) ดัชนีปรับตัวผันผวนอย่างรุนแรงโดยในช่วงเช้าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสวนทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับตัวลดลงอย่างมากจากความไม่มั่นใจของนักลงทุนต่อนโยบายในการแก้ไขปัญหาสินเชื่อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ แต่ในช่วงบ่ายมีแรงขายออกมาอย่างหนักจากนักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่จุดต่ำสุดของวันที่ 766.53 จุด ลดลง 23.14 จุด หรือ 2.93% โดยระหว่างวันดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 802.77 จุด เพิ่มขึ้น 13.10 จุด มูลค่าการซื้อขาย 27,839.32 ล้านบาท
ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,128.54 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 387.41 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 2,515.95 ล้านบาท
สำหรับหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 296 บาท ลดลง 24 บาท หรือ 7.50% มูลค่าการซื้อขาย 4,914.92 ล้านบาท, บมจ.ปตท.ผลิตและสำรวจปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 144 บาท ลดลง 8 บาท หรือ 5.26% มูลค่าการซื้อขาย 2,165.25 ล้านบาท และธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ปิดที่ 79.50 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.45% มูลค่าการซื้อขาย 2,133.74 ล้านบาท
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจต่างประเทศยังแย่ต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาซับไพรม์ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบและมีการคาดการณ์จะคงยืดเยื้อต่อไปจนถึงต้นปีหน้าจากเดิมที่คาดว่าจะสิ้นสุดสิ้นปี 50 ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 1% เพื่อเป็นการพยุงเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เชื่อว่าในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ เนื่องจากมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดี แต่ต้องขึ้นอยู่กับความสนใจและความสามารถในการดึงเม็ดเงินของตลาดหุ้นเกิดใหม่ โดยปี 2550 พบว่าจำนวนกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) กว่า 9.7 พันกองทุนซึ่งมีเงินภายใต้การบริหาร 1.74 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น ในปีที่ผ่านมามีจำนวน 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 50% ของจากเม็ดเงินใหม่ทั่วโลกที่มี 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
"สถานการณ์ต่างประเทศเลวร้ายมากขึ้นจากปัญหาซับไพรม์ ทำให้ตัวเลขการเสียหายบานปลายมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อตลาดหุ้นในสหรัฐฯ ทำให้เม็ดเงินไหลไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ขณะเดียวกันมาร์เกตแคปของตลาดหุ้นสหรัฐฯปี 50 ปรับตัวลดลงเหลือ 35% จากเดิมที่ 44%ของมาร์เกตแคปทั่วโลก" นายก้องเกียรติกล่าว
ขณะที่ทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกเองจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถดถอยทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นทั่วโลกเพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ถึงแม้นักลงทุนต่างประเทศจะมีการขายหุ้นไทยสุทธิ 2.8 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับตั้งแต่เปิดตลาดหุ้นไทยมาต่างประเทศยังซื้อสุทธิ 1 ใน 4 ของมูลค่าหุ้นในประเทศไทย และจากราคาหุ้นไทยมีค่า P/E เพียง 10 เท่า มีอัตรากำไรต่อหุ้นมีอัตราการเติบโตที่ดี และจากการเมืองที่ชัดเจนมากขึ้น ก็จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุน
อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นไทยสิ้นปีนี้มีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะที่ 1,000 จุดได้ โดยจะมีค่าP/E ที่ 13 เท่า ผลตอบแทนเงินปันผลอยู่ที่ 3% ซึ่งถือว่าราคาหุ้นไม่แพง แต่สิ่งที่จะต้องเร่งสร้างความชัดเจน คือ เรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่างๆ เช่น พ.ร.บ.ค้าปลีก รวมถึงการถือครองหุ้นต่างด้าว และเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
"การดึงเม็ดเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยมี 4 ประการ คือ นโยบายต้องถูกใจนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนไทย นโยบายต้องมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และจะต้องมีการไปลงทุนตรงในต่างประเทศบ้าง เพื่อใช้โอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อน บาทแข็งให้เกิดประโยชน์ "นายก้องเกียรติกล่าว
**วิกฤตซับไพรม์ยังไม่จบ
มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้อำนวยการฝ่ายตลาดทุน บล.ซิตี้กรุ๊ป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเช้าตอบรับปัจจัยการเมืองในประเทศทั้งเรื่องความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาล และคำพิพากษายกฟ้องคดียุบพรรคพลังประชาชนของศาลฎีกา แต่ช่วงบ่ายนักลงทุนต่างชาติยังคงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับตัวลงอย่างรุนแรง เนื่องจากนักลงทุนหวาดกลัวผลกระทบของปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯ ที่รุนแรงมากขึ้น
"ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมา แสดงให้เห็นสัญญานความถดถอยอย่างชัดเจน ขณะที่สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ยังรายงานผลขาดทุนออกมาไม่หมด ประกอบกับมาตรการของประธานาธิบดีสหรัฐที่ออกมานั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่า อาจไม่เพียงพอต่อการบรรเทาความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว"
**"วิสิฐ"หวังคงมาตรการ30%
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า สถาบันต่างประเทศทั้งโกลด์แมนแซคส์ และมอร์แกนสแตนเลย์ ต่างคาดการณ์จีดีพีสหรัฐจะขยายตัวอยู่ที่ 0.8% และ 1.1% ตามลำดับ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันให้เฟดลดดอกเบี้ยลง โดยโอกาสที่จะปรับตัวลดลง 0.5% มีมากถึง 52% ขณะที่ส่วนอีก 48% คาดว่าจะลดดอกเบี้ย 0.75%
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยปีนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้นได้จากกำไรบจ.เติบโต 15% บวกกับการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ดีนั้นจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย แม้ว่าจะไม่เข้ามาลงทุนทันที เพราะนักลงทุนยังมีความกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ โดยอาจจะเป็นการเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้และพันธบัตรของไทย ดังนั้นจึงมองว่ามาตรการกันเงินสำรอง 30% คงจะต้องมีอยู่หากมีการยกเลิกอาจมีความเสี่ยงได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าได้อีก
**คาดเฟดลดดบ.เหลือ3%
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเหลือ 3.00-3.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.25% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยไทยน่าจะทรงตัวในระดับนี้เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในไตรมาส 2/51 นี้
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะเติบโต 4-4.5% เพราะปัจจัยการเมืองปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการผลักดันในเรื่องการลงทุน โดยเม็ดเงินจากต่างประเทศจะไหลเข้ามาลงทุนมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะเป็นพันธมิตรกับนักลงทุนต่างประเทศแค่ไหน
ทั้งนี้ จากปัญหาซับไพรม์นั้นจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินไทยและต่างประเทศทั่วโลกมีการเลิกจ้างพนักงานในช่วงเดือน มีนาคมและเมษายน จำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องการว่างงาน ซึ่งภาครัฐจะต้องเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ
***หุ้นเอเชีย-ยุโรปทรุดหนักเป็นทิวแถว
ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า ราคาหุ้นแถบเอเชียและยุโรปพากันดำดิ่งเป็นแถวเมื่อวานนี้(21) โดยบรรดาดีลเลอร์บอกว่าเพราะนักลงทุนรู้สึกเซ็งกับแผนการชุบชีวิตเศรษฐกิจสหรัฐฯของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
ดีลเลอร์เหล่านี้กล่าวว่า หลังจากตั้งความหวังเอาไว้สูง ว่าบุชจะประกาศมาตรการอันหนักแน่นแข็งแรง ที่น่าเชื่อถือว่าสามารถป้องกันไม่ให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ต้องจมถลำลงสู่ภาวะถดถอย แต่แล้วตลาดกลับไม่ได้พบอะไรที่เพียงพอจะชดเชยบรรดาข่าวร้ายๆ ซึ่งยังคงโผล่ผุดออกมาจากภาคธนาคาร ตลอดจนตลาดที่พักอาศัยในสหรัฐฯที่ยังคงย่ำแย่ลงเรื่อยๆ
"ความสงสัยข้องใจของนักลงทุนเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการตัดลดภาษีชั่วคราว ว่าจะสามารถปกปักรักษาไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลออัตราเติบโตลงอย่างแรงได้หรือ คือตัวเร่งให้เกิดการเทขายอย่างหนัก" เป็นความเห็นของ ดีเรค ฮัลเฟนนี แห่ง แบงก์ออฟโตเกียว-มิตซูบิชิ ในกรุงลอนดอน
เช่นเดียวกับ นาจีบ จาร์ฮอม หัวหน้าฝ่ายวิจัยเพื่อลูกค้ารายย่อย แห่งบริษัทหลักทรัพย์เฟรเซอร์ ซีเคียวริตีส์ ในสิงคโปร์ ซึ่งบอกว่า แพกเกจกอบกู้เศรษฐกิจของบุช "ถูกมองว่าออกมาช้าเกินไปและยังไม่แข็งแรงหนักแน่นเพียงพอที่จะสร้างผลกระทบได้" เขากล่าวด้วยว่า "มันดูเหมือนกับว่าสหรัฐฯกำลังบ่ายหน้าสู่ภาวะถดถอย หรือไม่ก็อาจจะกำลังอยู่ในภาวะถดถอยแล้วด้วยซ้ำ ถ้าหากดูกันที่ข้อมูลตัวเลข"
ในตลาดหลักทรัพย์ทางเอเชียวานนี้ โตเกียวปิดติดลบ 3.86% ลงสู่ระดับต่ำสุดนับแต่เดือนตุลาคม 2005 แต่ยังไม่สาหัสเท่าฮ่องกง ซึ่งดิ่งลง 5.5% เพราะนอกจากผิดหวังมาตรการของบุชแล้ว ยังเจอฤทธิ์ความปั่นป่วนของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ที่ปิดวานนี้หดหายไป 5.14% เนื่องจากความกังวลที่ว่า บริษัทประกันภัยผิงอัน กำลังจะออกหุ้นจำนวนมหาศาล ซึ่งจะกระทบความต้องการซื้อหุ้นตัวอื่นๆ ไปด้วย
ทางด้านตลาดสิงคโปร์ลบ 6.03%, โซล ลบ 3.0%, และหุ้นอินเดียร่วงหนักถึง 7.41%
เมื่อถึงช่วงตลาดแถบยุโรปเปิดทำการ หุ้นก็ถลาลงมากันระนาวอีก ลอนดอนทรุด 3.83% ระหว่างการซื้อขายช่วงเช้า ส่วนแฟรงเฟิร์ตปักหัวลงมา 5.02% และปารีสดำดิ่ง 4.55%