บสก.โชว์ศักยภาพผลการดำเนินงานปี 50 ยอดผลการจัดเก็บและกำไรทะลุเป้าที่เสนอกองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมแต่งตั้งมืออาชีพบล.ทรีนีตี้ฯเป็นที่ปรึกษาการเงิน ทำแผนผลักดันบสก.เข้าระดมทุนในตลาดหุ้น ชี้แนวโน้มอาจต้องดึงผู้ร่วมทุนเข้ามาเสริม ถือร่วมครึ่งหนึ่งของกองทุนฟื้นฟูฯก่อนเข้าตลาดหุ้น เหตุทุนของกองทุนฯในบสก.มีมูลค่าสูงประมาณ 13,675 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ที่ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศในปี 2550 ค่อนข้างชะลอตัว ส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ ระมัดระวังในการลงทุน รวมถึงแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ หวั่นเกรงกับปัญหาดังกล่าว ขณะที่บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด หรือบสก. เป็นองค์กรที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน( FIDF) ถือหุ้นใหญ่ และธุรกิจของบสก.ทั้งการติดตามหนี้และเร่งจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย(NPA) เชื่อมโยงกับแนวโน้มเศรษฐกิของประเทศ แต่ในช่วงที่ผ่านมา ทางกองทุนฯ ได้กำหนดเป้าหมายผลการดำเนินงานต่อบสก.ในอัตราที่สูง
ซึ่งล่าสุดตัวเลขที่ทางกองทุนฯได้รับข้อมูลจากบสก.เกี่ยวกับผลการดำเนินงานในปี 2550 ปรากฎว่า ค่อนข้างออกมาดีเมื่อเทียบกับภาพรวมของประเทศ โดยในส่วนของผลการเรียกเก็บหนี้และการจำหน่ายเอ็นพีเอ สามารถดำเนินการได้ 12,100 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายของบสก.ที่ตั้งไว้ 11,000 ล้านบาท สูงกว่าของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯที่วางไว้ 12,000 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขกำไรสุทธิสูงขึ้น โดยมีกำไรสุทธิ 1,800 ล้านบาท สูงกว่าเป้าที่มีการตั้งไว้ที่ 1,559 ล้านบาท โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม 2550 ทางบสก.สามารถปิดยอดขายNPA ได้ปริมาณที่มาก เนื่องจากทางบสก.ได้ออกแคมเปญ "Big 4" เพื่อสมนาคุณให้แก่ผู้ที่ซื้อและโอนทรัพย์ก่อนปลายปี 50
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความคืบหน้าในการแปรรูปบสก.ว่า ขณะนี้ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด มาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ในการศึกษาและทำแผนเกี่ยวกับการนำบสก.เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ และหากพิจารณาไปแล้ว ฐานะการเงินของบสก.มีความแข็งแกร่ง มีการสำรองสูงกว่าเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
และในระยะยาวแล้ว เมื่อสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ สำรองจะกลับมาเป็นตัวเลขกำไรของบสก.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทางบสก.อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาการแปรรูป แต่เป็นการเตรียมความพร้อมไว้ก่อน ซึ่งก่อนที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็อาจจะมีแผนที่จะดึงพันธมิตรเข้ามาถือหุ้นบางส่วนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ก่อนที่จะแปรรูป เนื่องจากทางกองทุนฯมีทุนที่ยังคงอยู่กับบสก.มูลค่าสูงถึง 13,675 ล้านบาท หากไปปรับลดในช่วงที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าจะสูงมากและอาจจะมีผลในเรื่องของราคา
" การดึงพันธมิตรเข้ามาเสริมในช่วงแรก ก็น่าจะเป็นการดีกับบสก. และแผนในระยะยาวแล้ว พันธมิตรที่ควรเข้ามาร่วมหุ้นในบสก.หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว ควรเป็นสถาบันการเงิน เนื่องจากตรงกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของบสก. ขณะเดียวกัน ทางที่ปรึกษาทางการเงิน ก็มองว่า สิ่งสำคัญของบสก.เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว น่าจะเป็นเรื่องของเสถียรภาพทางธุรกิจ การหาโอกาสไปขยายธุรกิจแนวใหม่ และผู้บริหารจะต้องเข้าใจและบริหารบสก.ได้ "
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ที่ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศในปี 2550 ค่อนข้างชะลอตัว ส่งผลให้ภาคธุรกิจต่างๆ ระมัดระวังในการลงทุน รวมถึงแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ หวั่นเกรงกับปัญหาดังกล่าว ขณะที่บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด หรือบสก. เป็นองค์กรที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน( FIDF) ถือหุ้นใหญ่ และธุรกิจของบสก.ทั้งการติดตามหนี้และเร่งจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย(NPA) เชื่อมโยงกับแนวโน้มเศรษฐกิของประเทศ แต่ในช่วงที่ผ่านมา ทางกองทุนฯ ได้กำหนดเป้าหมายผลการดำเนินงานต่อบสก.ในอัตราที่สูง
ซึ่งล่าสุดตัวเลขที่ทางกองทุนฯได้รับข้อมูลจากบสก.เกี่ยวกับผลการดำเนินงานในปี 2550 ปรากฎว่า ค่อนข้างออกมาดีเมื่อเทียบกับภาพรวมของประเทศ โดยในส่วนของผลการเรียกเก็บหนี้และการจำหน่ายเอ็นพีเอ สามารถดำเนินการได้ 12,100 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายของบสก.ที่ตั้งไว้ 11,000 ล้านบาท สูงกว่าของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯที่วางไว้ 12,000 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขกำไรสุทธิสูงขึ้น โดยมีกำไรสุทธิ 1,800 ล้านบาท สูงกว่าเป้าที่มีการตั้งไว้ที่ 1,559 ล้านบาท โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม 2550 ทางบสก.สามารถปิดยอดขายNPA ได้ปริมาณที่มาก เนื่องจากทางบสก.ได้ออกแคมเปญ "Big 4" เพื่อสมนาคุณให้แก่ผู้ที่ซื้อและโอนทรัพย์ก่อนปลายปี 50
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความคืบหน้าในการแปรรูปบสก.ว่า ขณะนี้ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด มาเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ในการศึกษาและทำแผนเกี่ยวกับการนำบสก.เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ และหากพิจารณาไปแล้ว ฐานะการเงินของบสก.มีความแข็งแกร่ง มีการสำรองสูงกว่าเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
และในระยะยาวแล้ว เมื่อสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ สำรองจะกลับมาเป็นตัวเลขกำไรของบสก.ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทางบสก.อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาการแปรรูป แต่เป็นการเตรียมความพร้อมไว้ก่อน ซึ่งก่อนที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก็อาจจะมีแผนที่จะดึงพันธมิตรเข้ามาถือหุ้นบางส่วนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ก่อนที่จะแปรรูป เนื่องจากทางกองทุนฯมีทุนที่ยังคงอยู่กับบสก.มูลค่าสูงถึง 13,675 ล้านบาท หากไปปรับลดในช่วงที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าจะสูงมากและอาจจะมีผลในเรื่องของราคา
" การดึงพันธมิตรเข้ามาเสริมในช่วงแรก ก็น่าจะเป็นการดีกับบสก. และแผนในระยะยาวแล้ว พันธมิตรที่ควรเข้ามาร่วมหุ้นในบสก.หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว ควรเป็นสถาบันการเงิน เนื่องจากตรงกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของบสก. ขณะเดียวกัน ทางที่ปรึกษาทางการเงิน ก็มองว่า สิ่งสำคัญของบสก.เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว น่าจะเป็นเรื่องของเสถียรภาพทางธุรกิจ การหาโอกาสไปขยายธุรกิจแนวใหม่ และผู้บริหารจะต้องเข้าใจและบริหารบสก.ได้ "