นายกสมาคมโบรกเกอร์ ฟันธงธุรกิจหลักทรัพย์ปีหนูไฟต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เหตุ 2 หน่วยงานกำกับ "ก.ล.ต.-ตลท." เตรียมปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ตลาดทุน ชี้โบรกเกอร์ต้องเร่งปรับตัวรับสภาพการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหาแหล่งรายได้เพิ่มเติม ชูรายได้จากพอร์ตการลงทุนสำคัญ ขณะที่เทรนใหม่การควบรวมแบงก์-ประกัน ร่วมแจมถกรวบบล.หวังขยายธุรกิจให้ครบวงจร
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวถึง ภาพรวมธุรกิจหลักทรัพย์ในปี 2551 ว่า ในปีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของธุรกิจหลักทรัพย์ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างของหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต. จะมีการแยกการกำกับดูแลจากเดิมที่มีคณะกรรมการเพียง 1 ชุด เป็น 2 ชุด โดยจะแบ่งหน้าที่ดูแลในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ซึ่งขณะนี้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้มีการเสนอขอแก้ไขได้ผ่านกระบวนการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) เป็นที่เรียบร้อยรอเพียงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้ต่อไป
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับกระแสทุนโลกที่เปลี่ยนแปลงจนอาจจะต้องมีการเปลี่ยนสภาพกลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) หรือจะต้องมีการแปรรูปเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือเป็นประเด็นที่จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นแรงผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจหลักทรัพย์ที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่กำลังใกล้ช่วงเวลาที่ต้องเปิดเสรีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
"การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทำให้ต้องมีคนใหม่เข้ามาทำงาน ซึ่งเรายังไม่รู้ว่านโยบายหรือแนวทางในการพัฒนาจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ในปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการหลักทรัพย์" นายกัมปนาท กล่าว
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างของทั้ง 2 หน่วยงานซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผู้ที่เข้ามารับผิดชอบในการกำกับดูแล รวมถึงการวางกรอบนโยบายในการพัฒนาตลาดทุนยังเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงดำเนินไปในทิศทางเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ มุมมองในเรื่องธุรกิจที่จะต้องเพิ่มขึ้นของตลาดหลักทรัพย์หลังการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในขณะนี้ยังประเมินได้ยากว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมจะมีมากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการสบายใจได้ในระดับหนึ่งคือก็การเปิดให้มีการรับฟังข้อเสนอเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎเกณฑ์บางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการรับฟังเพื่อการปรับแก้ไขในเรื่องต่างๆให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมากกว่าในอดีต
นายกัมปนาท กล่าวอีกว่านอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างของหน่วยงานต่างๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจและผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเพื่อตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้บริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งจะต้องเร่งในการหารายได้จากด้านอื่นนอกเหนือจากรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ รายได้จากด้านอื่นๆที่จะเข้ามาเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รายได้จากตลาดอนุพันธ์ (TFEX) รายได้จากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) รวมถึงสินค้าประเภทต่างๆ เช่น การนำหลักทรัพย์ต่างประเทศมาจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในรูปแบบใบรับฝากหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) เป็นต้น
นอกจากนี้ รายได้อีกด้านหนึ่งซึ่งควรจะเข้ามาส่วนสำคัญในรายได้ของบริษัทหลักทรัพย์ คือ พอร์ตการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาหลายบริษัทเริ่มหันมาให้ความสนใจและเริ่มมีรายได้จากส่วนดังกล่าวมากขึ้น
ส่วนเรื่องการควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มศักภาพในการแข่งขันนั้น ในช่วงที่ผ่านมามีการหารือกันระหว่างบริษัทหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปการควบรวมได้ ซึ่งรูปแบบที่เริ่มได้เห็นในช่วงนี้จะเป็นการหารือระหว่างบริษัทหลักทรัพย์กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินในรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทประกัน ธนาคาร ฯลฯ เพื่อเป็นการขยายและสร้างความครบวงจรให้กับธุรกิจ
ด้านแหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า นอกเหนือจากการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในแข่งขันกับบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศแล้ว การปรับตัวเพื่อให้พร้อมกับการเข้ามามากขึ้นของบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศภายหลังการเปิดเสรีถือว่าเป็นอีกเรื่องที่ทุกบริษัทต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากศักยภาพของบริษัทในต่างประเทศรวมถึงสินค้า บริการที่หลากหลายและความชำนาญจะทำให้ได้รับความน่าสนใจมากกว่าบริษัทในประเทศ
ทั้งนี้ ในช่วงที่เหลือเวลาก่อนการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทหลักทรัพย์ไทยต้องเร่งความชำนาญทั้งการให้คำแนะนำสินค้าใหม่ รวมถึงการสร้างบริการที่หลากหลายเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อขายอยู่ในปัจจุบันไม่ย้ายการซื้อขายหุ้นรวมถึงการใช้บริการต่างๆไปยังบริษัทอื่น
"นอกจากต้องมีการแข่งขันกับบริษัทในไทย การที่ต้องแข่งขันกับบริษัทต่างประเทศถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นและเป็นเรื่องเร่งด่วน เรามีข้อได้เปรียบตรงที่เรามีฐานลูกค้ามาก่อนการรักษาลูกค้าให้อยู่กับบริษัทถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายหลังการเปิดเสรี" แหล่งข่าวกล่าว
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวถึง ภาพรวมธุรกิจหลักทรัพย์ในปี 2551 ว่า ในปีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของธุรกิจหลักทรัพย์ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างของหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต. จะมีการแยกการกำกับดูแลจากเดิมที่มีคณะกรรมการเพียง 1 ชุด เป็น 2 ชุด โดยจะแบ่งหน้าที่ดูแลในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ซึ่งขณะนี้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้มีการเสนอขอแก้ไขได้ผ่านกระบวนการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) เป็นที่เรียบร้อยรอเพียงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้ต่อไป
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับกระแสทุนโลกที่เปลี่ยนแปลงจนอาจจะต้องมีการเปลี่ยนสภาพกลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) หรือจะต้องมีการแปรรูปเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือเป็นประเด็นที่จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นแรงผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจหลักทรัพย์ที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่กำลังใกล้ช่วงเวลาที่ต้องเปิดเสรีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
"การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทำให้ต้องมีคนใหม่เข้ามาทำงาน ซึ่งเรายังไม่รู้ว่านโยบายหรือแนวทางในการพัฒนาจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ในปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการหลักทรัพย์" นายกัมปนาท กล่าว
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างของทั้ง 2 หน่วยงานซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผู้ที่เข้ามารับผิดชอบในการกำกับดูแล รวมถึงการวางกรอบนโยบายในการพัฒนาตลาดทุนยังเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงดำเนินไปในทิศทางเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ มุมมองในเรื่องธุรกิจที่จะต้องเพิ่มขึ้นของตลาดหลักทรัพย์หลังการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในขณะนี้ยังประเมินได้ยากว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมจะมีมากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการสบายใจได้ในระดับหนึ่งคือก็การเปิดให้มีการรับฟังข้อเสนอเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎเกณฑ์บางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการรับฟังเพื่อการปรับแก้ไขในเรื่องต่างๆให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมากกว่าในอดีต
นายกัมปนาท กล่าวอีกว่านอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างของหน่วยงานต่างๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจและผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเพื่อตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้บริษัทหลักทรัพย์ทุกแห่งจะต้องเร่งในการหารายได้จากด้านอื่นนอกเหนือจากรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ รายได้จากด้านอื่นๆที่จะเข้ามาเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รายได้จากตลาดอนุพันธ์ (TFEX) รายได้จากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) รวมถึงสินค้าประเภทต่างๆ เช่น การนำหลักทรัพย์ต่างประเทศมาจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในรูปแบบใบรับฝากหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้ (TCR) เป็นต้น
นอกจากนี้ รายได้อีกด้านหนึ่งซึ่งควรจะเข้ามาส่วนสำคัญในรายได้ของบริษัทหลักทรัพย์ คือ พอร์ตการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาหลายบริษัทเริ่มหันมาให้ความสนใจและเริ่มมีรายได้จากส่วนดังกล่าวมากขึ้น
ส่วนเรื่องการควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มศักภาพในการแข่งขันนั้น ในช่วงที่ผ่านมามีการหารือกันระหว่างบริษัทหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์ค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปการควบรวมได้ ซึ่งรูปแบบที่เริ่มได้เห็นในช่วงนี้จะเป็นการหารือระหว่างบริษัทหลักทรัพย์กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินในรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทประกัน ธนาคาร ฯลฯ เพื่อเป็นการขยายและสร้างความครบวงจรให้กับธุรกิจ
ด้านแหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า นอกเหนือจากการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในแข่งขันกับบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศแล้ว การปรับตัวเพื่อให้พร้อมกับการเข้ามามากขึ้นของบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศภายหลังการเปิดเสรีถือว่าเป็นอีกเรื่องที่ทุกบริษัทต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากศักยภาพของบริษัทในต่างประเทศรวมถึงสินค้า บริการที่หลากหลายและความชำนาญจะทำให้ได้รับความน่าสนใจมากกว่าบริษัทในประเทศ
ทั้งนี้ ในช่วงที่เหลือเวลาก่อนการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทหลักทรัพย์ไทยต้องเร่งความชำนาญทั้งการให้คำแนะนำสินค้าใหม่ รวมถึงการสร้างบริการที่หลากหลายเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อขายอยู่ในปัจจุบันไม่ย้ายการซื้อขายหุ้นรวมถึงการใช้บริการต่างๆไปยังบริษัทอื่น
"นอกจากต้องมีการแข่งขันกับบริษัทในไทย การที่ต้องแข่งขันกับบริษัทต่างประเทศถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นและเป็นเรื่องเร่งด่วน เรามีข้อได้เปรียบตรงที่เรามีฐานลูกค้ามาก่อนการรักษาลูกค้าให้อยู่กับบริษัทถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายหลังการเปิดเสรี" แหล่งข่าวกล่าว