xs
xsm
sm
md
lg

แก่ได้...แต่ห้ามล้ม! / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

รถคุณชูสง่า วิ่งเข้าเทียบหน้าคลับเฮาส์ มีพี่หมอกับเจ้าเก่งรอรับอยู่ “เมื่อกี้ รถหรอวิ่งสวนออกไป เข้ามารับใครหรอหมอ” ‘อ๋อโปรเทพครับ เข้าก้าวพลาดบันไดขั้นเดียวแท้ๆ ถึงกับสะโพกหักเลย ผมเข้าไปช่วย แล้วให้ไอ้เก่งโทรเรียกรถพยาบาลมารับ’ พี่หมอบรรยายความ ‘โธ่ ลุงเทพแกอายุ 80 แล้วมั้ง แต่แกดูแข็งแรงอยู่นะ’ ‘ครับ เฮียก็ต้องระวังไว้นะ ฝึกทรงตัวตามที่ผมเคยแนะนำ อย่าประมาท’ พี่หมอเตือนด้วยความหวังดี ‘เป็นไรไป...มีหวังต้องยุบก๊าน แน่เจ้าเก่งพูดนะไม่ได้แช่ง’

ปัญหาที่พบบ่อย ในผู้สูงอายุ ที่ได้รับอุบัติเหตุผลัดตก หกล้มส่วนมาก คือกระดูกสะโพกหักและศรีษะได้รับความกระทบกระเทือน เป็นสาเหตุทำให้พิการ และมีอัตราการเสียชีวิตคอนข้างสูงมาก ที่สำคัญหากผู้สูงอายุในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ปู ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ หากหกล้มแล้วย่อมไม่ใช่คนเดียวที่เจ็บแต่สมาชิกในบ้านทุกคนเจ็บด้วย

จากข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุมักมีสาเหตุมาจากความเสื่องของร่างกาย อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บ เป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลงซึ่งมักเกิดกับผู้มีอายุระหว่าง 65-75 ปี และเนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีภาวะกระดูกบาง หรือ กระดูกพรุน เมื่อหกล้มกระดุกจึงแตกหักได้ง่าย

-ในแต่ละปี 1ใน3 ของผู้สูงอายุมีการลื่นล้ม และครั้งหนึ่งจะมีการลื่นล้มมากกว่า 1ครั้ง

-ร้อยละ 10 ของการสับสนจะทำให้ กระดูกสะโพกหัก

-ร้อยละ25% ของผู้สูงอายุที่บาดเจ็บกระดูกสะโพก จะมีโอกาสเสียชีวิต

-การลื่นล้มมักเกิดขึ้นในบ้าน โดยเฉพาะในห้องน้ำและบันได

-ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่กระดุกในครั้งแรก ไม่เคยตรวจหรือรักษาโรคกระดูกพรุนเลย

-ผู้สูงอายุ ที่เคยหกล้มในครั้งแรกแล้ว มีแนวโน้ม ที่จะหกล้มเพอ่มอีก 2-3 เท่า

-มีผู้ป่วย กระดูกหัก จากการลื่นล้มในบ้าน มีโรคประจำตัวเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ บางรายมีไตวายเรื้อรัง ดังนั้นจึงทำให้การดูแลรักษาซับซ้อนมากขึ้น ทำให้สมาชิกในบ้านต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

สาเหตุการลื่นล้มของผู้สูงอายุ

-สาเหตุร่างกาย ได้แก่ การทรงตัวไม่ดี ขาอ่อนแรง ชา อ่อนเพลีย หน้ามืด มีปัฐหาด้านสายตาและการได้ยิน การรับยาที่มี ผลกระทบต่อระบบการไกลเวียนโลหิต เป็นต้น

-สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นลื่น เปียกมีหยดน้ำ พื้นผิว ขรถขระ ขอบไม่เรียบ แสงสว่างไม่เพียงพอ อุปกรณืของใช้ชำรุดไม่มั่นคง ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินไม่เหมาะสม สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า ไม่พอดี เป็นต้น

สำหรับการดูแลสุขภาพร่างกายสำหรับผูสูงวัยได้แก่

-รับประทานอาหารให้เพียงพอ เป็นผักและผลไม้ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย

-ไม่ควร งดอาหาร เพราะทำให้อ่อนเพลียมึนงง

-เคลื่อนไหวทุกวัน เดินหรือออกกำลังกายตามวัย เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของข้อและสมดุลของร่างกาย

-สอบถาม แพทยืหรือเภสัชทุกครั้งที่รับยา ถึงผลข้างเขียงของยา เช่นยาที่ทำให้ง่วงซึม ยากล่อมประสาท ยาลดความดันโลหิต หรือมีประวัติการใช้ยาเป็นประจำตั้งแต่ 4 ชนิดขึ้นไป (ไม่รวมวิตามิน) ถ้ารับยาที่มีผลทำให้ง่วงซึมหลับ ต้องปรับเปลี่ยนการทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อลดการเสี่ยงต่อการลื่นล้ม ห้ามผสมยากับแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการลื่นล้ม

-ไม่อายที่จะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน และปรับอุปกรณ์ให้มั่นคงและมีความสูงที่เหมาะสม
กำลังโหลดความคิดเห็น