xs
xsm
sm
md
lg

ทำเป็นเล่นไป...แก่ กระดูกบาง ล้มแล้วอาจไม่ได้ลุก ไปตรวจมวลกระดูกซะ / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

‘โปรเทพแกยังไม่ได้ออกจากโรงพยาบาลเลย..เมื่อวานเฮียไปเยี่ยมแก ปรากฏว่าแผลผ่าตัด (เปลี่ยนข้อสะโพก) ของแกยังไม่ค่อยดี หมอเลยยังไม่ให้กลับ’ คุณชูสง่ารายงาน อาการเพื่อนซี้ของแก (ลุงสุเทพ) ให้ลูกก๊วนทราบ ‘อ้อ...ครับลุงแกเป็นเบาหวานด้วย แผลเลยหายช้า’ พี่หมอรับทราบและให้ความเห็น ’เฮียก็เป็นเบาหวานเหมือนกันนะ เพราะฉนั้นห้ามหกล้ม’ เจ้าเก่งแจมด้วยความหวังดี ‘งั้นหมอช่วยจองคิวตรวจ ความหนาแน่นกระดูกให้เฮียด้วยจะบางหรือพรุนแล้วก็ไม่รู้ ? ’ ‘ ตรวจเจ็บไหมครับพี่หมอ ถ้าไม่เจ็บ ผมด้วยคนนะครับ’

-กระดูก (bone) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ กระดูกส่วนนอก (Cortical Bone) และกระดูกสวนใน (trabeetan bone) ปัญหากระดูกในประชากรผู้สูงวัยซึ่งเกิดจากการมวลของกระดูก (bone mineral density ย่อว่า BMD) หรือความหนาแน่นของกระดูกส่วนนอกลดลง ทำให้กระดูกเกิดภาวะทุพลภาพขึ้น

ภาวะที่กระดูกหักง่ายนี้ เรียกว่า ภาวะหรือโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ตำแหน่งกระดูกที่หักได้ง่ายบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง

โดยทั่วไปนิยมตรวจใน - ตำแหน่งได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar spine) กระดูกข้อสะโพก (Hip) และกระดูกปลายแขน (Fourarm) ซึ่งมีโอกาสหักได้ง่ายจากภาวะกระดูกพรุน

แปรผลการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกอย่างไร?

ค่าความหนาแน่นมวลกระดูก ที่วัดได้ มีหน่วยเป็นมวล/ตารางพื้นที่กระดูก (กรัม/ตารางเซนติเมตร แต่จากค่านี้ ยังไม่สามารถบอกได้ว่ากะดูกบางหรือไม่ ) เราต้องนำค่านี้ไปเทียบกับค่าปกติในกลุ่มคนที่อายุ เท่ากัน เชื้อชาติเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน (เรียกว่าค่า Z) เช่นคนเอเชียด้วยกัน และ คำนวณเป็นค่าความแปรผันทางสถิติที่เรียกว่า T-score (T) ซึ่งใช้เป็นค่าวินิจฉัยภาวะความหนาแน่นแทนมวลกระดูกโดย

-ค่า T score ที่มากกว่า -1 (ลบ1) ถือว่าความหนาแน่นกระดูปกติ

-ค่า T score ที่อยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5 ถือว่ากระดูกบาง (Osteopenia)

-ค่า -ค่า T score ที่น้อยกว่า -2.5 คือกระดูกพรุน (Osteoporosis)

อนึง ในกรณีที่ต้องการ ตรวจติดตามเพื่อดูความเปลี่ยนแปลง ของความหนาแน่นมวลกระดูก ควรต้องได้รับการตรวจด้วยเครื่องตรวจเดิม เพราะจะมีความแปรผันในตัวเองที่ต่างกัน ผู้ใดสมควรได้รับการตวจคัดกรอง ความหนาแน่นมวลกระดูก?

โดยทั่วไปได้แก่ สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีอัตราเสี่ยงสูงที่กระดูกจะหักหรือสูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป หรือ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เช่นสูบบุหรี่ หรือ มีตนกระดูกหักในครอบครัวเป็นต้น

มีขั้นตอนการตรวจความหนาแน่นกระดูกอย่างไร?

การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกด้วยเทคนิค DEXA ซึ่งเป็นการตรวจที่แพร่หลายที่สุด จะเริ่มด้วยการที่ผู้รับการตรวจจะเปลียนเสื้อผ้าในชุดที่สบาย นำชิ้นส่วนโลหะรอยจากกร่างกาย จากนั้นผู้รับการตรวจจะนอนบนเตียงตรวจ เจ้าหน้าที่จะจัดตำแหน่งร่างกายที่เหมาะสมแล้วเริ่มการตรวจด้วยการปล่อยรังสีเอกซฺ พลังงานต่ำไปยังตำแหน่งของร่างกายที่ต้องการตรวจโดยผู้รับการตรวจจะไม่รู้สึกผิดปกติใดๆทั้งสิ้น ใช้เวลาประมาณ10-15 นาที อนึงไม่ควรตรวจในสตรีตั้งครรภ์ เมื่อตรวจเสร็จก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ กลับบ้านทำงานได้เลย ไม่มีรังสีใดๆ หลงเหลืออยู่ในตัว

‘เยี่ยม! ถ้างั้นนัดตรวจได้เลย หมอ แถม ‘ซ้อ’ อีกคนนะ’ คุณชูสง่าคนรักเมีย บอกพี่หมอ
กำลังโหลดความคิดเห็น