วันที่ 20 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 24 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย ฝ่ายจัดการแข่งขันและกิจกรรม ร่วมกับ ฝ่ายฟุตบอลหญิงสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัดงานแถลงข่าวการแข่งขันฟุตบอลหญิง ไทยวีเมนส์ลีก ฤดูกาล 2020-2021 ซึ่งการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น ไทยวีเมนส์ลีกดิวิชั่น 1 และ ไทยวีเมนส์ลีกดิวิชั่น 2
ภายในงานแถลงข่าว นำโดย พล.ต.อ.ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ, พลัฏฐ์ สุวรรณาเมธากร ผู้อำนวยการกองบริหารงานและมาตรฐานกีฬาอาชีพการกีฬาแห่งประเทศไทย, พาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมฯ, ศิริมา พานิชชีวะ อุปนายกฝ่ายฟุตบอลหญิงสมาคมฯ, ปิยภัทร สิโรบล รองเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศสมาคมฯ, เอกพล พลนาวี หัวหน้าฝ่ายจัดการแข่งขันสมาคมฯ และเชน ขำวิลัย หัวหน้าฝ่ายเทคนิคสมาคมฯ พร้อมด้วยตัวแทนทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหญิง ไทยวีเมนส์ลีก ฤดูกาล 2020/2021 ทั้ง 16 ทีม ประกอบด้วย
ดิวิชั่น 1 ดังนี้ โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี (แชมป์เก่าร่วม), บีจี-บัณฑิตเอเชีย (แชมป์เก่าร่วม), ฟุตบอลหญิง สโมสรทหารอากาศ ,กรุงเทพมหานคร ,โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง ,บีอาร์ยู บุรีราษฏร์ ,เอ็มเอช นครศรี เอฟซี และสมาคมกีฬาฟุตบอลจังหวัดชลบุรี
ส่วน ดิวิชั่น 2 ประกอบด้วย ลพบุรี ซิตี้ ,พราม แบงค็อก ,หินโคน ยูไนเต็ด ,สโมสรกีฬาราชประชา ,สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ซิตี้, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เอฟซี,โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร และบี.เอส.แอล ดับเบิ้ลยู เอฟซี
โดย พล.ต.อ.ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฯ กล่าวว่า "การพัฒนาฟุตบอลหญิง เราก็คุยกันว่าถึงเวลาที่เราจะต้องทำฟุตบอลหญิงมีลีก สิ่งแรกที่สมาคมฯ ทำก็คือทำให้สโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เหมือนทีมฟุตบอลชาย ทำไมต้องเป็นนิติบุคคล ทำไมสโมสรฟุตบอลหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขันลีกฟุตบอลหญิง ต้องเป็นนิติบุคคล เพราะว่าฟุตบอลชายอาชีพ ได้รับเงินสนับสนุนจากสมาคมฯ เงินที่มาเหล่านั้น ทั้งจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สปอนเซอร์ ได้นำไปใช้อย่างถูกต้อง ตามข้อบังคับ”
“แต่ที่ผ่านมา เราไม่สามารถให้เงินสนับสนุนสโมสรฟุตบอลลีกหญิงได้ เพราะสโมสรยังไม่เป็นนิติบุคคล ผมก็ได้มีการพูดคุยว่าเราจะทำให้ถูกต้อง ทำให้สโมสรที่เข้าร่วมฟุตบอลลีกหญิงเป็นนิติบุคคล เพื่อที่จะรับเงินสนับสนุนจากสมาคมฯ"
"ในเบื้องต้นหลายท่านอึดอัด เพราะสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกหญิง มีที่มาหลายๆที่แตกต่างกัน และการที่จะแปรเป็นนิติบุคคลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราได้ทำงานร่วมกัน ทั้งสโมสรของท่าน และสมาคมฯ จนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และทำให้สโมสรฟุตบอลหญิงเป็นนิติบุคคล นับแต่นี้ต่อไป สมาคมฯ สามารถจ่ายเงินสนับสนุนให้กับสโมสรท่านได้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าไม่เป็นนิติบุคคล สมาคมฯ ผมเอง ถึงแม้อยากให้เงินสนับสนุน ผมจะสนับสนุนไปในนามใคร ถ้าท่านไม่ใช่นิติบุคคล"
"แต่วันนี้ท่านเป็นนิติบุคคล มันเกิดความชอบ และความถูกต้อง นับเป็นครั้งแรกที่สโมสรฟุตบอลหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหญิง เป็นนิติบุคคลสมบูรณ์ และนับแต่นี้ต่อไป สิทธิใดๆที่ฟุตบอลชายได้ ฟุตบอลหญิงก็จะได้เช่นกัน ตามความเหมาะสม เงินสนับสนุนอาจจะไม่เท่ากัน แต่เราก็มีให้แล้ว ทั้งเงินสนับสนุนทีม เงินรางวัลต่างๆนานา ซึ่งมันมีผลกับสโมสรของท่าน”
“ผมในฐานะนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ต้องขอบคุณผู้บริหารสโมสร นักกีฬาทุกคน รวมทั้งแฟนบอล สื่อมวลชน ที่ร่วมกันเสียสละ และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาฟุตบอลหญิง ผมก็ขออวยพรให้ทุกทีมสมหวังในการแข่งขันที่จะมีขึ้นในฤดูกาล 2020/21 ที่จะมาถึงนี้"
ด้าน ศิริมา พานิชชีวะ อุปนายกฝ่ายฟุตบอลหญิงสมาคมฯ กล่าวว่า “ในการจัดการแข่งขันฟุตบอล Thai Women’s League 2020-21 เราหวังว่าจะเป็นเวทีให้นักฟุตบอลแสดงฝีเท้า และพัฒนาศักยภาพนักกีฬาให้แกร่งขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสโมสรใหญ่หรือสโมสรเล็กต้องพัฒนาไปพร้อมกัน เพื่อก้าวไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายให้ได้อีกครั้ง อยากฝากทุกท่านเป็นกำลังใจให้ฟุตบอลหญิงด้วย ช่วยกันสนับสนุนฟุตบอลลีกหญิงให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป ขอยืนยันว่าฟุตบอลหญิงสนุก เล่นด้วยสปิริตไม่ต่างจากฟุตบอลชายแน่นอน”
สำหรับรูปแบบการแข่งขันของ ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 1 จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 เลก ในเลกแรกจะทำการแข่งขันแบบพบกันหมด ทำการแข่งขัน ณ สนามกีฬาฟุตบอลศูนย์พัฒนาศักยภาพกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยอันดับที่ 1-4 เมื่อจบเลกแรก จะแข่งขันแบบพบกันหมดอีกครั้ง แบบเหย้า-เยือน ภายในอันดับ 1-4 ด้วยกันเอง เพื่อหาทีมชนะ ขณะที่อันดับ 5-8 เมื่อจบเลกแรกจะแข่งขันแบบเหย้า-เยือน และพบกันเองภายในอันดับที่ 5-8 เช่นกัน สำหรับอันดับที่ 6-7 จะทำการแข่งขันรอบเพลย์ออฟกับอันดับ 2-3 จากดิวิชั่น 2 ส่วนอันดับ 8 ตกชั้นทันที
การแข่งขันของ ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 2 ในเลกแรกจะทำการแข่งขันแบบพบกันหมด มีสนามกลางในการจัดการแข่งขัน สำหรับฤดูกาลนี้ คือ สนามกีฬาฟุตบอลศูนย์พัฒนาศักยภาพกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยอันดับ 1-4 เมื่อจบเลกแรกจะมีการแข่งขันแบบประกบคู่น็อคเอ้าท์ เพื่อหาทีมชนะเลิศ ซึ่งทีมที่ชนะเลิศจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นใน ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 1 อัตโนมัติ ส่วนทีมรองชนะเลิสจะต้องไปเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 7 ของดิวิชั่น 1 ขณะที่ทีมอันดับ 3 จะเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 6 ของดิวิชั่น 1 ส่วนอันดับที่ 5-8 เมื่อจบเลกแรกจะแข่งขันแบบประกบคู่น็อคเอ้าท์ โดย 2 ทีมที่ชนะจะได้เล่นใน ดิวิชั่น 2 ต่อ
ขณะที่เงินรางวัลสำหรับการแข่งขันฟุตบอลไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 1 มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 300,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 100,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 80,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 จำนวน 70,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 จำนวน 60,000 บาท
ทุกทีมจะได้รับเงินสนับสนุนสโมสรจากสมาคมฯ ทีมละ 100,000 บาท แบ่งเป็น เงินสนับสนุนแบบให้เปล่า 50,000 บาท และ เงินสนับสนุนอุปกรณ์ 50,000 บาท
เงินรางวัลสำหรับการแข่งขันฟุตบอลไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 2 มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 50,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 40,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 30,000 บาท
ทุกทีมจะได้รับเงินสนับสนุนสโมสรจากสมาคมฯ ทีมละ 75,000 บาท แบ่งเป็น เงินสนับสนุนแบบให้เปล่า 50,000 บาท และเงินสนับสนุนอุปกรณ์ 25,000 บาท
นอกจากนี้ทั้ง 16 ทีม จะได้รับเงินสนับสนุนค่าเดินทางมาสนามแข่งขัน (คิดตามระยะทาง) ระยะทางไม่เกิน 150 กิโลเมตร ครั้งละ 10,000 บาท ระยะทาง 150-300 กิโลเมตรขึ้นไป ครั้งละ 15,000 บาท และระยะทาง 300 กิโลเมตรขึ้นไป ครั้งละ 20,000 บาท
สำหรับโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลหญิง ไทยวีเมนส์ลีก นัดแรกของฤดูกาล 2020-2021
ดิวิชั่น 1
วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 16.00 น. สมาคมกีฬาฟุตบอลจังหวัดชลบุรี พบกับ ทหารอากาศ
วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 19.00 น. บีอาร์ยู บุรีราษฎร์ อะคาเดมี พบกับ โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.00 น. กรุงเทพมหานคร พบกับ เอ็มเอช นครศรี เอฟซี
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 19.00 น. โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง พบกับ บีจี-บัณฑิตเอเชีย
ดิวิชั่น 2
วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 16.00 น. ราชประชา พบกับ BSL WFC
วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 19.00 น. ลพบุรี ซิตี้ พบกับ หินโคน ยูไนเต็ด
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.00 น. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เอฟซี พบกับ โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 19.00 น. ขอนแก่น ซิตี้ พบกับ พราม แบงค็อก
ภายในงานแถลงข่าว นำโดย พล.ต.อ.ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ, พลัฏฐ์ สุวรรณาเมธากร ผู้อำนวยการกองบริหารงานและมาตรฐานกีฬาอาชีพการกีฬาแห่งประเทศไทย, พาทิศ ศุภะพงษ์ เลขาธิการสมาคมฯ, ศิริมา พานิชชีวะ อุปนายกฝ่ายฟุตบอลหญิงสมาคมฯ, ปิยภัทร สิโรบล รองเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศสมาคมฯ, เอกพล พลนาวี หัวหน้าฝ่ายจัดการแข่งขันสมาคมฯ และเชน ขำวิลัย หัวหน้าฝ่ายเทคนิคสมาคมฯ พร้อมด้วยตัวแทนทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหญิง ไทยวีเมนส์ลีก ฤดูกาล 2020/2021 ทั้ง 16 ทีม ประกอบด้วย
ดิวิชั่น 1 ดังนี้ โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี (แชมป์เก่าร่วม), บีจี-บัณฑิตเอเชีย (แชมป์เก่าร่วม), ฟุตบอลหญิง สโมสรทหารอากาศ ,กรุงเทพมหานคร ,โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง ,บีอาร์ยู บุรีราษฏร์ ,เอ็มเอช นครศรี เอฟซี และสมาคมกีฬาฟุตบอลจังหวัดชลบุรี
ส่วน ดิวิชั่น 2 ประกอบด้วย ลพบุรี ซิตี้ ,พราม แบงค็อก ,หินโคน ยูไนเต็ด ,สโมสรกีฬาราชประชา ,สโมสรฟุตบอลขอนแก่น ซิตี้, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เอฟซี,โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร และบี.เอส.แอล ดับเบิ้ลยู เอฟซี
โดย พล.ต.อ.ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฯ กล่าวว่า "การพัฒนาฟุตบอลหญิง เราก็คุยกันว่าถึงเวลาที่เราจะต้องทำฟุตบอลหญิงมีลีก สิ่งแรกที่สมาคมฯ ทำก็คือทำให้สโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เหมือนทีมฟุตบอลชาย ทำไมต้องเป็นนิติบุคคล ทำไมสโมสรฟุตบอลหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขันลีกฟุตบอลหญิง ต้องเป็นนิติบุคคล เพราะว่าฟุตบอลชายอาชีพ ได้รับเงินสนับสนุนจากสมาคมฯ เงินที่มาเหล่านั้น ทั้งจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สปอนเซอร์ ได้นำไปใช้อย่างถูกต้อง ตามข้อบังคับ”
“แต่ที่ผ่านมา เราไม่สามารถให้เงินสนับสนุนสโมสรฟุตบอลลีกหญิงได้ เพราะสโมสรยังไม่เป็นนิติบุคคล ผมก็ได้มีการพูดคุยว่าเราจะทำให้ถูกต้อง ทำให้สโมสรที่เข้าร่วมฟุตบอลลีกหญิงเป็นนิติบุคคล เพื่อที่จะรับเงินสนับสนุนจากสมาคมฯ"
"ในเบื้องต้นหลายท่านอึดอัด เพราะสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกหญิง มีที่มาหลายๆที่แตกต่างกัน และการที่จะแปรเป็นนิติบุคคลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราได้ทำงานร่วมกัน ทั้งสโมสรของท่าน และสมาคมฯ จนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และทำให้สโมสรฟุตบอลหญิงเป็นนิติบุคคล นับแต่นี้ต่อไป สมาคมฯ สามารถจ่ายเงินสนับสนุนให้กับสโมสรท่านได้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าไม่เป็นนิติบุคคล สมาคมฯ ผมเอง ถึงแม้อยากให้เงินสนับสนุน ผมจะสนับสนุนไปในนามใคร ถ้าท่านไม่ใช่นิติบุคคล"
"แต่วันนี้ท่านเป็นนิติบุคคล มันเกิดความชอบ และความถูกต้อง นับเป็นครั้งแรกที่สโมสรฟุตบอลหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหญิง เป็นนิติบุคคลสมบูรณ์ และนับแต่นี้ต่อไป สิทธิใดๆที่ฟุตบอลชายได้ ฟุตบอลหญิงก็จะได้เช่นกัน ตามความเหมาะสม เงินสนับสนุนอาจจะไม่เท่ากัน แต่เราก็มีให้แล้ว ทั้งเงินสนับสนุนทีม เงินรางวัลต่างๆนานา ซึ่งมันมีผลกับสโมสรของท่าน”
“ผมในฐานะนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ต้องขอบคุณผู้บริหารสโมสร นักกีฬาทุกคน รวมทั้งแฟนบอล สื่อมวลชน ที่ร่วมกันเสียสละ และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาฟุตบอลหญิง ผมก็ขออวยพรให้ทุกทีมสมหวังในการแข่งขันที่จะมีขึ้นในฤดูกาล 2020/21 ที่จะมาถึงนี้"
ด้าน ศิริมา พานิชชีวะ อุปนายกฝ่ายฟุตบอลหญิงสมาคมฯ กล่าวว่า “ในการจัดการแข่งขันฟุตบอล Thai Women’s League 2020-21 เราหวังว่าจะเป็นเวทีให้นักฟุตบอลแสดงฝีเท้า และพัฒนาศักยภาพนักกีฬาให้แกร่งขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสโมสรใหญ่หรือสโมสรเล็กต้องพัฒนาไปพร้อมกัน เพื่อก้าวไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายให้ได้อีกครั้ง อยากฝากทุกท่านเป็นกำลังใจให้ฟุตบอลหญิงด้วย ช่วยกันสนับสนุนฟุตบอลลีกหญิงให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป ขอยืนยันว่าฟุตบอลหญิงสนุก เล่นด้วยสปิริตไม่ต่างจากฟุตบอลชายแน่นอน”
สำหรับรูปแบบการแข่งขันของ ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 1 จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 เลก ในเลกแรกจะทำการแข่งขันแบบพบกันหมด ทำการแข่งขัน ณ สนามกีฬาฟุตบอลศูนย์พัฒนาศักยภาพกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยอันดับที่ 1-4 เมื่อจบเลกแรก จะแข่งขันแบบพบกันหมดอีกครั้ง แบบเหย้า-เยือน ภายในอันดับ 1-4 ด้วยกันเอง เพื่อหาทีมชนะ ขณะที่อันดับ 5-8 เมื่อจบเลกแรกจะแข่งขันแบบเหย้า-เยือน และพบกันเองภายในอันดับที่ 5-8 เช่นกัน สำหรับอันดับที่ 6-7 จะทำการแข่งขันรอบเพลย์ออฟกับอันดับ 2-3 จากดิวิชั่น 2 ส่วนอันดับ 8 ตกชั้นทันที
การแข่งขันของ ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 2 ในเลกแรกจะทำการแข่งขันแบบพบกันหมด มีสนามกลางในการจัดการแข่งขัน สำหรับฤดูกาลนี้ คือ สนามกีฬาฟุตบอลศูนย์พัฒนาศักยภาพกีฬาฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยอันดับ 1-4 เมื่อจบเลกแรกจะมีการแข่งขันแบบประกบคู่น็อคเอ้าท์ เพื่อหาทีมชนะเลิศ ซึ่งทีมที่ชนะเลิศจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นใน ไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 1 อัตโนมัติ ส่วนทีมรองชนะเลิสจะต้องไปเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 7 ของดิวิชั่น 1 ขณะที่ทีมอันดับ 3 จะเพลย์ออฟกับทีมอันดับ 6 ของดิวิชั่น 1 ส่วนอันดับที่ 5-8 เมื่อจบเลกแรกจะแข่งขันแบบประกบคู่น็อคเอ้าท์ โดย 2 ทีมที่ชนะจะได้เล่นใน ดิวิชั่น 2 ต่อ
ขณะที่เงินรางวัลสำหรับการแข่งขันฟุตบอลไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 1 มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 300,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 100,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 80,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 จำนวน 70,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 จำนวน 60,000 บาท
ทุกทีมจะได้รับเงินสนับสนุนสโมสรจากสมาคมฯ ทีมละ 100,000 บาท แบ่งเป็น เงินสนับสนุนแบบให้เปล่า 50,000 บาท และ เงินสนับสนุนอุปกรณ์ 50,000 บาท
เงินรางวัลสำหรับการแข่งขันฟุตบอลไทยวีเมนส์ลีก ดิวิชั่น 2 มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 50,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 40,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 30,000 บาท
ทุกทีมจะได้รับเงินสนับสนุนสโมสรจากสมาคมฯ ทีมละ 75,000 บาท แบ่งเป็น เงินสนับสนุนแบบให้เปล่า 50,000 บาท และเงินสนับสนุนอุปกรณ์ 25,000 บาท
นอกจากนี้ทั้ง 16 ทีม จะได้รับเงินสนับสนุนค่าเดินทางมาสนามแข่งขัน (คิดตามระยะทาง) ระยะทางไม่เกิน 150 กิโลเมตร ครั้งละ 10,000 บาท ระยะทาง 150-300 กิโลเมตรขึ้นไป ครั้งละ 15,000 บาท และระยะทาง 300 กิโลเมตรขึ้นไป ครั้งละ 20,000 บาท
สำหรับโปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลหญิง ไทยวีเมนส์ลีก นัดแรกของฤดูกาล 2020-2021
ดิวิชั่น 1
วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 16.00 น. สมาคมกีฬาฟุตบอลจังหวัดชลบุรี พบกับ ทหารอากาศ
วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 19.00 น. บีอาร์ยู บุรีราษฎร์ อะคาเดมี พบกับ โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.00 น. กรุงเทพมหานคร พบกับ เอ็มเอช นครศรี เอฟซี
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 19.00 น. โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง พบกับ บีจี-บัณฑิตเอเชีย
ดิวิชั่น 2
วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 16.00 น. ราชประชา พบกับ BSL WFC
วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เวลา 19.00 น. ลพบุรี ซิตี้ พบกับ หินโคน ยูไนเต็ด
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.00 น. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เอฟซี พบกับ โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 19.00 น. ขอนแก่น ซิตี้ พบกับ พราม แบงค็อก