xs
xsm
sm
md
lg

ชุดตรวจโควิด Rapid test ควรใช้ใน case ไหน? / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

เสียงจามดังลั่นของเจ้าเก่งปลุกให้คุณชูสง่าตื่นจากภวังค์พร้อมกับขาขวาซึ่งกระตุกอย่างอัตโนมัติยันเอาเจ้าเด็กอ้วนหล่นจากเก้าอี้ลงไปกองกับพื้น หลังจากเหตุการณ์สงบเฮียชูบ่นกับพี่หมอ "เฮียครั่นเนื้อครั่นตัวยังไงก็ไม่รู้ถูกไอ้อ้วนมันจามใส่บ่อยๆ ชักไม่แน่ใจกลัวติดโควิด หมอหาชุดตรวจเร็ว Rapid test ที่เขาโฆษณากันมาตรวจล่วงหน้าก่อนดีไหมถ้าเป็นจะได้รักษา "โหเฮียนี่ทันสมัยนะ" พี่หมอชมแล้วพูดต่อ "แต่ฟังเสียงผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ก่อนดีกว่า"

กระแสเรียกร้องให้นำชุดตรวจโควิด-19 แบบ Rapid test มาใช้คัดกรองผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ดีแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทย์ได้พยายามออกมาบอกว่าการตรวจแบบนี้ระยะเวลาในการตรวจพบเชื้อนั้น "ช้า" กว่าการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสแบบ RT-PCR ซึ่งเป็นการตรวจหลักในขณะนี้และตัวเชื้อก็มี Window period หรือระยะที่ยังตรวจหาเชื้อไม่เจอประมาณ 3-5 วันหลังการได้รับเชื้อ ดังนั้นประชาชนไม่ควรซื้อมาใช้เอง เพราะอาจเกิดความผิดพลาดในการแปรผล เพราะถ้าผลเป็นลบอาจทำให้วางใจว่าตัวเองไม่ติดเชื้อแล้วออกไปเแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

ถ้าอย่างนั้นชุด Rapid test เหมาะจะใช้กับสถานการณ์แบบไหน?

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม รองผอ.รพ.รามาธิบดี ให้ข้อมูลล่าการตรวจด้วยชุด Rapid test นั้นเร็วจริงแต่เร็วในการให้ผลในห้อง Lab แต่ไม่ได้เร็วในการวินิจฉัยโรคได้ก่อนหลังการได้รับเชื้อ เพราะการตรวจเชื้อไวรัสต้องใช้ระยะเวลาผ่านไปพอสมควรก่อนเพื่อให้ร่างกายมีเวลาสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้านใช้เวลา 10 วันขึ้นไป ดังนั้นการตรวจภายใน 2-3 วันหลังสัมผัสเชื้อตรวจวิธีไหนก็ไม่เจอ ดังนั้นการตรวจด้วย RT-PCR ตามปกติจะตรวจเจอได้ก่อน ส่วน Rapid test จะใช้ได้เมื่อคนไข้เป็นมาเยอะแล้ว คุณหมอกำธรบอกว่าประโยชน์ของชุดตรวจ Rapid test ชนิดหาภูมิคุ้มกันในขณะนี้มี 2 ประเด็น 1.ในกรณีที่มีผู้ป่วยปอดบวมแล้วไม่ทราบว่าเป็นจากอะไร การตรวจด้วย Rapid test จะได้ผลเร็วทำให้แพทย์รับมือได้เร็วขึ้นและ 2.ให้ตรวจย้อนหลังกรณีอาจมีผู้ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการก็จะทราบว่าติดเชื้อหรือไม่

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา กล่าวว่า Rapid test จะเข้ามาช่วยกรณีที่ผู้ป่วยไปถึงรพ.ถ้าตรวจออกมาเป็นบวกอย่างน้อยบุคลากรจะได้ระวังป้องกันตัวไม่ว่าผู้ป่วยจะเปิดเผยประวัติความเสี่ยงหรือไม่ก็ตาม แล้วผู้ป่วยจะต้องเข้ากระบวนการยืนยันด้วย RT-PCR อีกครั้งหนึ่งว่ามีไวรัสในร่างกายจริงหรือไม่?

คณะบดีคณะแพทย์ศาสตร์ กล่าวสรุปว่า Rapid test ไม่ใช่ของวิเศษที่จะใช้ทดแทนหรือทุกคนต้องตรวจ เพราะถ้าแปรผลไม่ดีจะเป็นอันตรายและเน้นย้ำว่าที่ดีที่สุดคืออยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เพราะโรคติดต่อจะไม่ติดต่อถ้าเราไม่ติดต่อกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น