คอลัมน์ “TIMEOUT” โดย “ชมณัฐ”
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า “แพลน บี” (PLAN B) เป็นผู้คว้าสิทธิ์ดูแลสิทธิประโยชน์รายใหม่ให้กับลูกหนังไทย ในส่วนของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ และพีแอลที เป็นเวลา 4 ปี ภายใต้มูลค่ารวมถึง 3,240 ล้านบาท
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปิดให้มีการยื่นซองประมูลหาตัวแทนบริหารสิทธิประโยชน์รายใหม่ ของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ และบริษัท พรีเมียร์ ลีก ไทยแลนด์ จำกัด (พีแอลที) ในสัญญา 4 ปี คือ ปี 2017 - 2020 ก่อนจะเป็น บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่เข้าวินเหนือแคนดิเดตอีกสองรายคือ บริษัท เดนท์สุ มีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)
โดยผลประโยชน์ที่ สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จะได้รับจาก “แพลน บี” แบ่งเป็นเงินสดเน้นๆ การันตีปีละไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท (รวม 4 ปี 1,000 ล้านบาท) นอกจากนี้ยังจะได้รับการสนับสนุนด้านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับสมาคมฯผ่านทางช่องทางต่างๆ แม้จะไม่ได้เป็นเงินสด แต่มูลค่าถึงปีละ 200 ล้านบาท (รวม 4 ปี 800 ล้านบาท) เบ็ดเสร็จสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จะมีรายได้รวม 4 ปี ไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาท หรือปีละ 450 ล้านบาท
ขณะที่ “พีแอลที” จะได้เงินสดปีละไม่ต่ำกว่า 260 ล้านบาท (รวม 4 ปี 1,040 ล้านบาท) และยังได้รับการสนับสนุนด้านสื่ออีกเช่นกัน มูลค่าปีละ 100 ล้านบาท (รวม 4 ปี 400 ล้านบาท ) ส่งให้ “พีแอลที” จะมีรายได้จาก แพลน บี รวม 4 ปี ไม่ต่ำกว่า 1,440 ล้านบาท หรือปีละ 360 ล้านบาท โดยที่ยังไม่รวมกับค่าสิทธิ์การถ่ายทอดสดศึกไทย ลีก และ ดิวิชั่น 1 ซึ่งเป็นของ “ทรูวิชั่นส์” ในสัญญา 4 ปี 4,200 ล้านบาท (ปีละ 1,050 ล้านบาท)
เบ็ดเสร็จแล้วตอนนี้ “บิ๊กอ๊อด” สามารถหาเงินเข้าสมาคมฯและพีแอลทีได้แล้วอย่างต่ำจากทั้ง “ทรูวิชั่นส์” และ “แพลน บี” รวมแล้วถึง 7,440 ล้านบาท หรือตกปีละ 1,860 ล้านบาท เลยทีเดียว โดยถือเป็นเงินขั้นต่ำเนื่องจากทางสมาคมฯจะได้รับส่วนแบ่งในรูปแบบขั้นบันได หรือกล่าวคือหากทาง แพลน บี สามารถหาเงินได้มากกว่าขั้นต่ำที่ตกลงกันไว้ ทางสมาคมฯจะได้เงินส่วนแบ่งเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน (แต่ในอัตราเท่าไหร่ไม่มีการเปิดเผย)
พล.ต.อ.สมยศ ยืนยันว่าผลประโยชน์ที่ “แพลน บี” ได้ยื่นให้สมาคมฯนั้นมีมูลค่าสูงกว่าอีกสองเจ้าขาดลอย และหลังจากที่ “คนป่ามีปืน” เงินที่สมาคมฯได้มาจะนำไปใช้ในการสนับสนุนทัพนักเตะทีมชาติไทย รวมถึงสโมสรในดิวิชั่น 1-2 ตลอดจนการจัดการอื่นๆ ส่วนเงินของพีแอลทีขึ้นอยู่กับทั้ง 18 ทีม เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะนำไปทำประโยชน์อย่างไร
สำหรับ บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกอบธุรกิจให้บริการและผลิตสื่อโฆษณา โดยคนส่วนใหญ่มักคุ้นตากับป้ายโฆษณาดิจิตอลที่มีอยู่ทั่วกรุง มี นายปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ นักธุรกิจหนุ่มวัย 25 ปี นั่งแท่นประธานกรรมการบริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่
การคว้าสิทธิ์ครั้งนี้ส่งให้ทางบริษัทจะได้รับสิทธิเป็นผู้ดีลผลประโยชน์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับสมาคมฯและพีแอที อาทิ ผู้สนับสนุนการแข่งขันของลีกและทีมชาติ, ชุดแข่งทีมชาติ-สปอนเซอร์-ผู้ถ่ายทอดสด-บัตรเข้าชม ตลอดจนการจัดงานต่างๆ ที่สำคัญยังสามารถนำ “โลโก้” ของทีมชาติไทย และพีแอลที ไปใช้ในการค้าเพื่อหารายได้ ได้อีกด้วย โดยสามารถผลิตเองหรือนำไปขายต่อได้เช่นกัน
พูดได้เต็มปากว่าตอนนี้ลูกหนังไทย “กระเป๋าตุง” แล้ว จากนี้ต้องจับดูกันว่าจะจัดสรรเงินที่ได้มาให้เป็นประโยชน์แก่วงการฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรมขนาดไหน
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า “แพลน บี” (PLAN B) เป็นผู้คว้าสิทธิ์ดูแลสิทธิประโยชน์รายใหม่ให้กับลูกหนังไทย ในส่วนของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ และพีแอลที เป็นเวลา 4 ปี ภายใต้มูลค่ารวมถึง 3,240 ล้านบาท
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปิดให้มีการยื่นซองประมูลหาตัวแทนบริหารสิทธิประโยชน์รายใหม่ ของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ และบริษัท พรีเมียร์ ลีก ไทยแลนด์ จำกัด (พีแอลที) ในสัญญา 4 ปี คือ ปี 2017 - 2020 ก่อนจะเป็น บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่เข้าวินเหนือแคนดิเดตอีกสองรายคือ บริษัท เดนท์สุ มีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน)
โดยผลประโยชน์ที่ สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จะได้รับจาก “แพลน บี” แบ่งเป็นเงินสดเน้นๆ การันตีปีละไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท (รวม 4 ปี 1,000 ล้านบาท) นอกจากนี้ยังจะได้รับการสนับสนุนด้านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับสมาคมฯผ่านทางช่องทางต่างๆ แม้จะไม่ได้เป็นเงินสด แต่มูลค่าถึงปีละ 200 ล้านบาท (รวม 4 ปี 800 ล้านบาท) เบ็ดเสร็จสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ จะมีรายได้รวม 4 ปี ไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาท หรือปีละ 450 ล้านบาท
ขณะที่ “พีแอลที” จะได้เงินสดปีละไม่ต่ำกว่า 260 ล้านบาท (รวม 4 ปี 1,040 ล้านบาท) และยังได้รับการสนับสนุนด้านสื่ออีกเช่นกัน มูลค่าปีละ 100 ล้านบาท (รวม 4 ปี 400 ล้านบาท ) ส่งให้ “พีแอลที” จะมีรายได้จาก แพลน บี รวม 4 ปี ไม่ต่ำกว่า 1,440 ล้านบาท หรือปีละ 360 ล้านบาท โดยที่ยังไม่รวมกับค่าสิทธิ์การถ่ายทอดสดศึกไทย ลีก และ ดิวิชั่น 1 ซึ่งเป็นของ “ทรูวิชั่นส์” ในสัญญา 4 ปี 4,200 ล้านบาท (ปีละ 1,050 ล้านบาท)
เบ็ดเสร็จแล้วตอนนี้ “บิ๊กอ๊อด” สามารถหาเงินเข้าสมาคมฯและพีแอลทีได้แล้วอย่างต่ำจากทั้ง “ทรูวิชั่นส์” และ “แพลน บี” รวมแล้วถึง 7,440 ล้านบาท หรือตกปีละ 1,860 ล้านบาท เลยทีเดียว โดยถือเป็นเงินขั้นต่ำเนื่องจากทางสมาคมฯจะได้รับส่วนแบ่งในรูปแบบขั้นบันได หรือกล่าวคือหากทาง แพลน บี สามารถหาเงินได้มากกว่าขั้นต่ำที่ตกลงกันไว้ ทางสมาคมฯจะได้เงินส่วนแบ่งเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน (แต่ในอัตราเท่าไหร่ไม่มีการเปิดเผย)
พล.ต.อ.สมยศ ยืนยันว่าผลประโยชน์ที่ “แพลน บี” ได้ยื่นให้สมาคมฯนั้นมีมูลค่าสูงกว่าอีกสองเจ้าขาดลอย และหลังจากที่ “คนป่ามีปืน” เงินที่สมาคมฯได้มาจะนำไปใช้ในการสนับสนุนทัพนักเตะทีมชาติไทย รวมถึงสโมสรในดิวิชั่น 1-2 ตลอดจนการจัดการอื่นๆ ส่วนเงินของพีแอลทีขึ้นอยู่กับทั้ง 18 ทีม เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะนำไปทำประโยชน์อย่างไร
สำหรับ บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกอบธุรกิจให้บริการและผลิตสื่อโฆษณา โดยคนส่วนใหญ่มักคุ้นตากับป้ายโฆษณาดิจิตอลที่มีอยู่ทั่วกรุง มี นายปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ นักธุรกิจหนุ่มวัย 25 ปี นั่งแท่นประธานกรรมการบริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่
การคว้าสิทธิ์ครั้งนี้ส่งให้ทางบริษัทจะได้รับสิทธิเป็นผู้ดีลผลประโยชน์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับสมาคมฯและพีแอที อาทิ ผู้สนับสนุนการแข่งขันของลีกและทีมชาติ, ชุดแข่งทีมชาติ-สปอนเซอร์-ผู้ถ่ายทอดสด-บัตรเข้าชม ตลอดจนการจัดงานต่างๆ ที่สำคัญยังสามารถนำ “โลโก้” ของทีมชาติไทย และพีแอลที ไปใช้ในการค้าเพื่อหารายได้ ได้อีกด้วย โดยสามารถผลิตเองหรือนำไปขายต่อได้เช่นกัน
พูดได้เต็มปากว่าตอนนี้ลูกหนังไทย “กระเป๋าตุง” แล้ว จากนี้ต้องจับดูกันว่าจะจัดสรรเงินที่ได้มาให้เป็นประโยชน์แก่วงการฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรมขนาดไหน