คอลัมน์ “TIMEOUT” โดย “ชมณัฐ”
เรื่องสิทธิประโยชน์ลูกหนังไทยกำลังอยู่ในช่วงวุ่นวาย หลังมีการเปลี่ยนมือนายใหญ่คนใหม่ จากการเข้ามานั่งตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ของ “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
เพียงการประชุมสภากรรมการครั้งที่ 2 ก็ได้มติเอกฉันท์ ประกาศยกเลิกสัญญากับ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) จากการเป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาคมฯทันที แม้สัญญาฉบับล่าสุดที่สยามสปอร์ตเซ็นยาว 5 ปี กับผู้บริหารชุดเก่า จะหมดในปี พ.ศ.2560 ก็ตาม พร้อมเตรียมเปิดกว้างให้บริษัทอื่นๆที่สนใจ รวมถึงเจ้าเดิม เข้ามาเจรจารายละเอียดสัญญากันใหม่ตั้งแต่ต้น
พล.ต.อ.สมยศ ชี้แจงว่า หลังจากได้เรียกตัวแทนจาก สยามสปอร์ต นำเอกสารหลักฐานเข้ามาหารือ ก่อนจะให้ฝ่ายกฎหมายของตนตรวจสอบแล้ว พบว่าสัญญาฉบับดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรมกับสมาคมฯ สัญญามีลักษณะผูกขาด ไม่มีการกำหนดค่าตอบแทนให้สมาคม จึงทำให้สมาคมไม่มีอิสระในการบริหารงาน และไม่สามารถวางแผนงบประมาณได้ด้วยตัวเอง รวมถึงยังมีบางส่วนที่ผิดข้อบังคับ จึงไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อไปได้
ซึ่งเรื่องนี้ “สยามสปอร์ต” ได้ตั้งโต๊ะชี้แจงหมดแล้ว ส่วนเรื่องเอกสารสัญญาต่างๆระหว่าง สยามสปอร์ต กับ สมาคมฯชุดเก่า ที่แฟนบอลอยากให้เอามากางให้เห็นกันนั้น ก็คงสุดแล้วแต่ทางบริษัทจะตัดสินใจ เพราะ สยามสปอร์ต เป็นบริษัทเอกชน เรื่องนี้จึงถือเป็นสิทธิส่วนตัว นับเป็นข้อมูลทางธุรกิจก็ว่าได้
ข้ามฟากกลับไปที่ สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ยุคปัจจุบัน หลังยกเลิกสัญญาแล้ว พล.ต.อ.สมยศ ได้เผยนโยบายการจัดการระบบสิทธิประโยชน์ใหม่ โดยมีลักษณะคล้ายปิรามิด มี “สมาคม” อยู่ยอดสุดคอย “หักหัวคิว” เปลี่ยนจากเดิมที่ให้ สยามสปอร์ต เป็นผู้ดีลสัญญาทุกฉบับรายเดียว มาเป็นการตั้งบริษัทจัดการแข่งขันทั้ง 3 ลีก คือ บริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ พีแอลที ที่ดูแล ไทยลีก รวมถึงบริษัทใหม่ที่จะตั้งมาดู ดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 เป็นผู้ดีลสัญญาด้วยตัวเอง
บริษัทจัดการแข่งขันทั้ง 3 บริษัท จะจัดจ้างบริษัท เอเจนซีของตัวเอง มาเป็นผู้หาสปอนเซอร์ต่ออีกทอด โดยเอเจนซีจะทำหน้าที่คล้ายเซลล์ ติดต่อหาผู้สนับสนุน และแบ่งเงินมาเป็นรายได้ให้กับบริษัทจัดการแข่งขัน พร้อมมีการการันตีในสัญญาว่าทางบริษัทจัดการแข่งขันจะต้องได้เงินขั้นต่ำเท่าไหร่
หลังจากที่บริษัทจัดการแข่งขันได้เงินมาแล้ว จะถูกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ หักเงินหัวคิวเข้าสมาคมเพื่อนำมาเป็นงบประมาณในการดูแลทีมชาติ การจัดการ และเงินสนับสนุนสโมสรต่างๆ โดยเบื้องต้น “บิ๊กอ๊อด” กำหนดให้ ไทยลีก ต้องแบ่ง 20 เปอร์เซ็นต์จากรายรับทั้งหมด ส่วนดิวิชั่น 1 แบ่ง 25 เปอร์เซ็นต์จากกำไรคงเหลือ ขณะที่ดิวิชั่น 2 ในอนาคตจะให้แต่ละภูมิภาค เป็นผู้หาสปอนเซอร์ รวมถึงขายสิทธิ์การถ่ายทอดด้วยตนเองเช่นกัน แต่ยังไม่ระบุว่าจะมีการแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้กับทางสมาคมฯอย่างไร
การบริหารจัดการแบบนี้จึงดูเป็นมาตรฐานมากขึ้น ไม่ต้องผูกขาดอยู่กับบริษัทเพียงแห่งเดียว สมาคมมีหน้าที่ควบคุมภาพรวม และให้แต่ละลีกบริหารกันเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูว่าท้ายที่สุดแล้วจะไปรอดหรือไม่ เพราะต้องอย่าลืมว่าแม้บอลไทยจะบูมมากขึ้น มีเงินสะพัดเป็นพัดล้าน แต่ก็เป็นเพียงในส่วนของทีมชาติและไทยลีกเท่านั้น ส่วนลีกรองและลีกล่างยังไม่สามารถยืนด้วยขาตัวเองได้เต็มเท้า หากบริหารจัดการผิดพลาด อาจพังครืนลงมาก็เป็นได้
เรื่องสิทธิประโยชน์ลูกหนังไทยกำลังอยู่ในช่วงวุ่นวาย หลังมีการเปลี่ยนมือนายใหญ่คนใหม่ จากการเข้ามานั่งตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ของ “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
เพียงการประชุมสภากรรมการครั้งที่ 2 ก็ได้มติเอกฉันท์ ประกาศยกเลิกสัญญากับ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) จากการเป็นผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาคมฯทันที แม้สัญญาฉบับล่าสุดที่สยามสปอร์ตเซ็นยาว 5 ปี กับผู้บริหารชุดเก่า จะหมดในปี พ.ศ.2560 ก็ตาม พร้อมเตรียมเปิดกว้างให้บริษัทอื่นๆที่สนใจ รวมถึงเจ้าเดิม เข้ามาเจรจารายละเอียดสัญญากันใหม่ตั้งแต่ต้น
พล.ต.อ.สมยศ ชี้แจงว่า หลังจากได้เรียกตัวแทนจาก สยามสปอร์ต นำเอกสารหลักฐานเข้ามาหารือ ก่อนจะให้ฝ่ายกฎหมายของตนตรวจสอบแล้ว พบว่าสัญญาฉบับดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรมกับสมาคมฯ สัญญามีลักษณะผูกขาด ไม่มีการกำหนดค่าตอบแทนให้สมาคม จึงทำให้สมาคมไม่มีอิสระในการบริหารงาน และไม่สามารถวางแผนงบประมาณได้ด้วยตัวเอง รวมถึงยังมีบางส่วนที่ผิดข้อบังคับ จึงไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อไปได้
ซึ่งเรื่องนี้ “สยามสปอร์ต” ได้ตั้งโต๊ะชี้แจงหมดแล้ว ส่วนเรื่องเอกสารสัญญาต่างๆระหว่าง สยามสปอร์ต กับ สมาคมฯชุดเก่า ที่แฟนบอลอยากให้เอามากางให้เห็นกันนั้น ก็คงสุดแล้วแต่ทางบริษัทจะตัดสินใจ เพราะ สยามสปอร์ต เป็นบริษัทเอกชน เรื่องนี้จึงถือเป็นสิทธิส่วนตัว นับเป็นข้อมูลทางธุรกิจก็ว่าได้
ข้ามฟากกลับไปที่ สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ยุคปัจจุบัน หลังยกเลิกสัญญาแล้ว พล.ต.อ.สมยศ ได้เผยนโยบายการจัดการระบบสิทธิประโยชน์ใหม่ โดยมีลักษณะคล้ายปิรามิด มี “สมาคม” อยู่ยอดสุดคอย “หักหัวคิว” เปลี่ยนจากเดิมที่ให้ สยามสปอร์ต เป็นผู้ดีลสัญญาทุกฉบับรายเดียว มาเป็นการตั้งบริษัทจัดการแข่งขันทั้ง 3 ลีก คือ บริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ พีแอลที ที่ดูแล ไทยลีก รวมถึงบริษัทใหม่ที่จะตั้งมาดู ดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 เป็นผู้ดีลสัญญาด้วยตัวเอง
บริษัทจัดการแข่งขันทั้ง 3 บริษัท จะจัดจ้างบริษัท เอเจนซีของตัวเอง มาเป็นผู้หาสปอนเซอร์ต่ออีกทอด โดยเอเจนซีจะทำหน้าที่คล้ายเซลล์ ติดต่อหาผู้สนับสนุน และแบ่งเงินมาเป็นรายได้ให้กับบริษัทจัดการแข่งขัน พร้อมมีการการันตีในสัญญาว่าทางบริษัทจัดการแข่งขันจะต้องได้เงินขั้นต่ำเท่าไหร่
หลังจากที่บริษัทจัดการแข่งขันได้เงินมาแล้ว จะถูกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ หักเงินหัวคิวเข้าสมาคมเพื่อนำมาเป็นงบประมาณในการดูแลทีมชาติ การจัดการ และเงินสนับสนุนสโมสรต่างๆ โดยเบื้องต้น “บิ๊กอ๊อด” กำหนดให้ ไทยลีก ต้องแบ่ง 20 เปอร์เซ็นต์จากรายรับทั้งหมด ส่วนดิวิชั่น 1 แบ่ง 25 เปอร์เซ็นต์จากกำไรคงเหลือ ขณะที่ดิวิชั่น 2 ในอนาคตจะให้แต่ละภูมิภาค เป็นผู้หาสปอนเซอร์ รวมถึงขายสิทธิ์การถ่ายทอดด้วยตนเองเช่นกัน แต่ยังไม่ระบุว่าจะมีการแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้กับทางสมาคมฯอย่างไร
การบริหารจัดการแบบนี้จึงดูเป็นมาตรฐานมากขึ้น ไม่ต้องผูกขาดอยู่กับบริษัทเพียงแห่งเดียว สมาคมมีหน้าที่ควบคุมภาพรวม และให้แต่ละลีกบริหารกันเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูว่าท้ายที่สุดแล้วจะไปรอดหรือไม่ เพราะต้องอย่าลืมว่าแม้บอลไทยจะบูมมากขึ้น มีเงินสะพัดเป็นพัดล้าน แต่ก็เป็นเพียงในส่วนของทีมชาติและไทยลีกเท่านั้น ส่วนลีกรองและลีกล่างยังไม่สามารถยืนด้วยขาตัวเองได้เต็มเท้า หากบริหารจัดการผิดพลาด อาจพังครืนลงมาก็เป็นได้