คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
ฟุตบอลชิงแช้มพ์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 15 (Euro 2016) ที่ ฝรั่งเศส กำลังจะเป็นเจ้าภาพตลอด 1 เดือนเต็ม ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึง 10 กรกฎาคมนี้ นับเป็นครั้งแรกที่จะมีทีมเข้าร่วมแข่งขันกันถึง 24 ทีม นั่นมันเกือบครึ่งทวีปเลยทีเดียว เพราะในปัจจุบัน สหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ๊ฟฟ่า (UEFA) มีชาติสมาชิก 54 ชาติ ซึ่งก็จะไปใช้สนามแข่งขันทั้งสิ้น 10 สนาม ในบรรดาเมืองที่เลื่องลือเรื่องฟุตบอลของ ฝรั่งเศส ทั้งสิ้น
สต๊าด เดอ ฟร้องซ์ (Stade de France) ตั้งอยู่ที่ตำบล แซง เดอนี (Saint-Denis) ชาน กรุงปารี ไปทางเหนือ ใครนั่งรถไปสนามบิน ชารล์ เดอ โกล ก็จะได้ผ่านชมสนามแห่งนี้ เขาสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งที่ 16 (France 98) เนื่องจากสนามที่มีอยู่เดิมมันเล็กเกินไป ในปัจจุบันถือเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส จุผู้ชมได้ 81,338 ที่นั่ง
สนามแห่งนี้สามารถจัดการแข่งขันกรีฑาได้ด้วยเพราะมีลู่วิ่ง และที่น่าสนใจก็คือ อัฒจันทร์รอบๆสนามฟุตบอลตรงส่วนล่างที่จุผู้ชมได้ 25,000 ที่นั่งตั้งคร่อมอยู่บนลู่วิ่ง เมื่อมีการแข่งขันกรีฑาซึ่งผู้ชมจะมีจำนวนไม่มากเมื่อเปรียบกับการแข่งขันฟุตบอล มันก็สามารถเลื่อนถอยเข้าไปได้ 15 เมตร เข้าไปเก็บไว้ในอาคารใต้อัฒจันทร์ และเมื่อมีการแข่งขันฟุตบอลซึ่งไม่ต้องการลู่วิ่ง ก็เลื่อนออกมารองรับผู้ชมได้ แต่การจะเลื่อนเข้า-ออกแต่ละครั้งต้องใช้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประมาณ 40 คน และใช้เวลาประมาณ 80 ชั่วโมง
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2015 ในขณะที่มีการแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่าง ทีมชาติฝรั่งเศส กับ ทีมชาติเจอรมานี มีเหตุการณ์ก่อการร้ายใน กรุงปารี และเกิดระเบิดขึ้น 3 ครั้งในละแวกที่ตั้งของ สต๊าด เดอ ฟร๊องซ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน ในเวลาต่อมาจึงมีการพูดถึกการรับมือกับสถานการณ์การก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นในช่วง ยูโร 2016 ซึ่งจากการฝึกซ้อมการขนถ่ายผู้ชมที่คาดว่าจะมีร่วม 80,000 ชีวิตออกจากสนามนั้น สามารถทำได้ลุล่วงภายในเวลาไม่เกิน 15 นาที และสถิติที่เร็วที่สุดคือ ภายในเวลาเพียง 7 นาที
ป๊าก เด แปร๊งส์ (Parc des Princes) เป็น 1 ในสนามที่เก่าแก่ที่สุดของ ฝรั่งเศส เปิดใช้ตั้งแต่ปี 1897 จุผู้ชมได้ 48,527 ที่นั่ง สโมสร ปารี แซง แชรแมง (Paris Saint-Germain) ใช้เป็นรังเหย้าตั้งแต่ปี 1974 จนถึงปัจจุบัน สนามนี้อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ถูกใช้เป็นสนามแข่งฟุตบอลเกมระดับชาติหลายต่อหลายนัดมาอย่างยาวนาน หากเปรียบกับของไทยก็น่าจะเหมือน สนามศุภชลาศัย นั่นเอง
สนามแห่งนี้ตั้งคร่อมอยู่บนทางด่วนที่เป็นวงแหวนรอบ กรุงปารี ตอนที่ผมใช้ชีวิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ผมขับรถลอดสนามแห่งนี้บ่อยมาก ที่น่าสนใจคือ ยูโร 2016 ท่านจะได้เห็นภาพสวยๆจากมุมต่างๆได้ทั่วสนามอย่างแน่นอน เนื่องจากภายในสนามนี้มีกล้องที่ติดตั้งกับกว้านสายเคเบิ้ลโยงจากทั้ง 4 มุมที่เรียกว่า สปายเด้อร์แคม (Spidercam) ด้วย
สต๊าด เวโลโดรม (Stade Velodrome) นี่มันแปลว่า “สนามแข่งจักรยาน” ชัดๆ อันนี้เพราะว่าตอนสร้างในปี 1937 เคยใช้ในการแข่งขันจักรยานจริงๆ แต่การแข่งขันค่อยๆเสื่อมความนิยมลง จึงแทนที่บริเวณลู่ที่ลาดเอียงสำหรับแข่งจักรยานด้วยอัฒจันทร์ และแม้ว่าจะมีสปอนเซ่อร์เข้ามาจ่ายเงินบูรณะซ่อมแซมปรับปรุง แต่ก็ไม่มีใครกล้าบังอาจไปเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นตามสปอนเซ่อร์ให้ผิดจากที่ผู้คนนิยมเรียก ที่นี่เป็นสนามเหย้าของทีม โอแลงปิ๊ก เดอ มารแซ็ย (Olympique de Marseille) จุผู้ชมได้ 67,394 ที่นั่ง
สนามดังกล่าวทำการปรับปรุงตั้งแต่ปี 2011 เพื่อรองรับ ยูโร 2016 และจากการปรับปรุงนี้ได้มีการทำสนามโดยใช้เท๊คนอลลอจี้ใหม่ที่เรียกว่า แอร์ฟายเบ้อร์ (AirFibr) ใช้หญ้าจริง 100 เพอร์เซ็นท์ แต่ส่วนที่สำคัญคือดินที่รองรับต่างหาก ประกอบด้วย เมล็ดค้อร์คธรรมชาติเล็กๆ ก็คือเปลือกนอกของต้นโอ๊คที่เขาเอามาทำจุกขวดเหล้าวายน์หรือขวดช็องปาญนั่นเอง แล้วผสมกับ ใยสังเคราะห์ และ ทรายแก้ว มันจะช่วยให้ปลูกหญ้าได้ดี พื้นสนามแข่งขันนุ่มกว่าปลูกด้วยดินธรรมดา มีค้อร์คช่วยลดแรงกระแทก แถมเมื่อยุบลงไปยังคืนรูปกลับมาอย่างเดิมได้อย่างอัตโนมัติ นอกจากนั้น ยังเป็นฉนวนกันความร้อน รากหญ้าก็ฝังยึดลงไปได้ดี หลุดออกยากกว่าที่ปลูกบนพื้นดินปกติ ทนต่อทุกสภาพภูมิอากาศ กันน้ำได้ดี ไม่เละเป็นโคลนเลนให้สกปรกด้วย สัปดาห์หน้ากลับมาเล่าต่อครับ
ฟุตบอลชิงแช้มพ์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 15 (Euro 2016) ที่ ฝรั่งเศส กำลังจะเป็นเจ้าภาพตลอด 1 เดือนเต็ม ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึง 10 กรกฎาคมนี้ นับเป็นครั้งแรกที่จะมีทีมเข้าร่วมแข่งขันกันถึง 24 ทีม นั่นมันเกือบครึ่งทวีปเลยทีเดียว เพราะในปัจจุบัน สหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ๊ฟฟ่า (UEFA) มีชาติสมาชิก 54 ชาติ ซึ่งก็จะไปใช้สนามแข่งขันทั้งสิ้น 10 สนาม ในบรรดาเมืองที่เลื่องลือเรื่องฟุตบอลของ ฝรั่งเศส ทั้งสิ้น
สต๊าด เดอ ฟร้องซ์ (Stade de France) ตั้งอยู่ที่ตำบล แซง เดอนี (Saint-Denis) ชาน กรุงปารี ไปทางเหนือ ใครนั่งรถไปสนามบิน ชารล์ เดอ โกล ก็จะได้ผ่านชมสนามแห่งนี้ เขาสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งที่ 16 (France 98) เนื่องจากสนามที่มีอยู่เดิมมันเล็กเกินไป ในปัจจุบันถือเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส จุผู้ชมได้ 81,338 ที่นั่ง
สนามแห่งนี้สามารถจัดการแข่งขันกรีฑาได้ด้วยเพราะมีลู่วิ่ง และที่น่าสนใจก็คือ อัฒจันทร์รอบๆสนามฟุตบอลตรงส่วนล่างที่จุผู้ชมได้ 25,000 ที่นั่งตั้งคร่อมอยู่บนลู่วิ่ง เมื่อมีการแข่งขันกรีฑาซึ่งผู้ชมจะมีจำนวนไม่มากเมื่อเปรียบกับการแข่งขันฟุตบอล มันก็สามารถเลื่อนถอยเข้าไปได้ 15 เมตร เข้าไปเก็บไว้ในอาคารใต้อัฒจันทร์ และเมื่อมีการแข่งขันฟุตบอลซึ่งไม่ต้องการลู่วิ่ง ก็เลื่อนออกมารองรับผู้ชมได้ แต่การจะเลื่อนเข้า-ออกแต่ละครั้งต้องใช้เจ้าหน้าที่ดำเนินการประมาณ 40 คน และใช้เวลาประมาณ 80 ชั่วโมง
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2015 ในขณะที่มีการแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่าง ทีมชาติฝรั่งเศส กับ ทีมชาติเจอรมานี มีเหตุการณ์ก่อการร้ายใน กรุงปารี และเกิดระเบิดขึ้น 3 ครั้งในละแวกที่ตั้งของ สต๊าด เดอ ฟร๊องซ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน ในเวลาต่อมาจึงมีการพูดถึกการรับมือกับสถานการณ์การก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นในช่วง ยูโร 2016 ซึ่งจากการฝึกซ้อมการขนถ่ายผู้ชมที่คาดว่าจะมีร่วม 80,000 ชีวิตออกจากสนามนั้น สามารถทำได้ลุล่วงภายในเวลาไม่เกิน 15 นาที และสถิติที่เร็วที่สุดคือ ภายในเวลาเพียง 7 นาที
ป๊าก เด แปร๊งส์ (Parc des Princes) เป็น 1 ในสนามที่เก่าแก่ที่สุดของ ฝรั่งเศส เปิดใช้ตั้งแต่ปี 1897 จุผู้ชมได้ 48,527 ที่นั่ง สโมสร ปารี แซง แชรแมง (Paris Saint-Germain) ใช้เป็นรังเหย้าตั้งแต่ปี 1974 จนถึงปัจจุบัน สนามนี้อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ถูกใช้เป็นสนามแข่งฟุตบอลเกมระดับชาติหลายต่อหลายนัดมาอย่างยาวนาน หากเปรียบกับของไทยก็น่าจะเหมือน สนามศุภชลาศัย นั่นเอง
สนามแห่งนี้ตั้งคร่อมอยู่บนทางด่วนที่เป็นวงแหวนรอบ กรุงปารี ตอนที่ผมใช้ชีวิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ผมขับรถลอดสนามแห่งนี้บ่อยมาก ที่น่าสนใจคือ ยูโร 2016 ท่านจะได้เห็นภาพสวยๆจากมุมต่างๆได้ทั่วสนามอย่างแน่นอน เนื่องจากภายในสนามนี้มีกล้องที่ติดตั้งกับกว้านสายเคเบิ้ลโยงจากทั้ง 4 มุมที่เรียกว่า สปายเด้อร์แคม (Spidercam) ด้วย
สต๊าด เวโลโดรม (Stade Velodrome) นี่มันแปลว่า “สนามแข่งจักรยาน” ชัดๆ อันนี้เพราะว่าตอนสร้างในปี 1937 เคยใช้ในการแข่งขันจักรยานจริงๆ แต่การแข่งขันค่อยๆเสื่อมความนิยมลง จึงแทนที่บริเวณลู่ที่ลาดเอียงสำหรับแข่งจักรยานด้วยอัฒจันทร์ และแม้ว่าจะมีสปอนเซ่อร์เข้ามาจ่ายเงินบูรณะซ่อมแซมปรับปรุง แต่ก็ไม่มีใครกล้าบังอาจไปเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นตามสปอนเซ่อร์ให้ผิดจากที่ผู้คนนิยมเรียก ที่นี่เป็นสนามเหย้าของทีม โอแลงปิ๊ก เดอ มารแซ็ย (Olympique de Marseille) จุผู้ชมได้ 67,394 ที่นั่ง
สนามดังกล่าวทำการปรับปรุงตั้งแต่ปี 2011 เพื่อรองรับ ยูโร 2016 และจากการปรับปรุงนี้ได้มีการทำสนามโดยใช้เท๊คนอลลอจี้ใหม่ที่เรียกว่า แอร์ฟายเบ้อร์ (AirFibr) ใช้หญ้าจริง 100 เพอร์เซ็นท์ แต่ส่วนที่สำคัญคือดินที่รองรับต่างหาก ประกอบด้วย เมล็ดค้อร์คธรรมชาติเล็กๆ ก็คือเปลือกนอกของต้นโอ๊คที่เขาเอามาทำจุกขวดเหล้าวายน์หรือขวดช็องปาญนั่นเอง แล้วผสมกับ ใยสังเคราะห์ และ ทรายแก้ว มันจะช่วยให้ปลูกหญ้าได้ดี พื้นสนามแข่งขันนุ่มกว่าปลูกด้วยดินธรรมดา มีค้อร์คช่วยลดแรงกระแทก แถมเมื่อยุบลงไปยังคืนรูปกลับมาอย่างเดิมได้อย่างอัตโนมัติ นอกจากนั้น ยังเป็นฉนวนกันความร้อน รากหญ้าก็ฝังยึดลงไปได้ดี หลุดออกยากกว่าที่ปลูกบนพื้นดินปกติ ทนต่อทุกสภาพภูมิอากาศ กันน้ำได้ดี ไม่เละเป็นโคลนเลนให้สกปรกด้วย สัปดาห์หน้ากลับมาเล่าต่อครับ