คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
อาจจะเป็นเพราะว่า สัตว์ มีศักยภาพทางร่างกายที่เหนือกว่า มนุษย์ ในทุกๆด้าน มันสามารถเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็ว ว่องไว ปราดเปรียว มีพลังมหาศาล จะบินขึ้นสู่ท้องฟ้า จะห้อยจะโหนเกาะเกี่ยวอยู่บนต้นไม้ หรือจะดำดิ่งแหวกว่ายไปในท้องน้ำ ล้วนเป็นความสามารถที่มีมาตามธรรมชาติ บางคนนิยมยกย่องถึงกับบูชาเยี่ยงเทพ แล้วหากใครจะนำ สัตว์ มาเป็นสัญลักษณ์ของทีมชาติ หรือใช้เรียกขานเป็นฉายา เพื่อสร้างความฮึกเหิมในจิตใจก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก
ผมสำรวจดูบรรดาทีมที่มีสิทธิ์เข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่ 3 พร้อมๆกับ ไทย ที่ใช้รูปช้างเป็นสัญลักษณ์ ส่วนใหญ่มักจะใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์หรือฉายาเรียกขาน บางชาติอาจใช้ สี เพื่อแสดงอัตลักษณ์บ่งบอกตัวตนบ้าง แต่ภาพมนุษย์น้อยมาก
ซาอูดี อาราเบีย แม้มีรูปต้นปาล์มและดาบไขว้บนพื้นสีเขียวซึ่งเป็นสีประจำ แต่ฉายาเรียกขานขุนพลนักเตะของพวกเขาคือ เดอะ ฟัลค็อนส์ (The Falcons) หรือ เหยี่ยว นกล่าเหยื่อที่มีกรงเล็บแหลมคมแข็งแรง บินได้อย่างรวดเร็วและสูงลิบ กางปีกได้กว้างและมีสายตาที่ดีมาก
อ๊อสตราเลีย มีสัตว์เฉพาะถิ่นคือ จิงโจ้ (Kangaroo) มากถึง 34 ล้านตัว มันจึงกลายเป็นฉายาของชาตินี้ไปโดยปริยาย ปี 1967 โทนี่ ฮอร์สเตด (Tony Horstead) นักข่าวท้องถิ่นได้นำคำว่า Kangaroo มารวมกับ Soccer กลายเป็น ซ๊อคเค่อรูส์ (Socceroos) และเริ่มใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในการเรียกทีมฟุตบอลทีมชาติของตนที่ไปแข่งนัดกระชับมิตรกับ เวียตนามใต้
อีหร่าน เคยมีฉายาว่า ทีมเมลลี่ (Team Melli) หมายถึง ขุนพลทีมชาติ ประมาณนั้น บางทีก็เป็น ดาราแห่งคาบสมุทรเปอร์เซีย (Persian Stars) อันนี้ใช้เรียกกันมาตั้งแต่ ฟุตบอลโลก 2006 ต่อมาเรียกว่า สิงโตอีหร่าน (The Iranian Lions) สิงโตเปอร์เซีย (The Lions of Persia) หัวใจสิงห์ (Lion Hearts) หรือ เจ้าชายแห่งเปอร์เซีย (Princes of Persia) แต่ล่าสุด บนเสื้อทีมที่ใช้สวมลงแข่ง ฟุตบอลโลก 2014 นั้นใช้รูป เสือชีต้า ดังนั้น ฉายาล่าสุดกลายเป็น เจ้าชีต้า (The Cheetahs)
ญี่ปุ่น มีชุดแข่งเป็นสีน้ำเงิน ใช้ ซะมุไร นักรบรับจ้างของจักรพรรดิและกลุ่มชนชั้นสูง เป็นคำเรียกขุนพลนักเตะ จึงเป็นฉายา ซะมุไรสีน้ำเงิน (Samurai Blue) อย่างไรก็ตาม ตราบนหน้าอกเสื้อก็ยังไม่วายที่จะมี อีกา 3 ขาจับยึดลูกบอล อยู่ด้วย
ซีเรีย สัญลักษณ์ของสหพันธ์ฟุตบอลมี อินทรี เต็มๆ ฉายาของทีมก็คือ อินทรีแห่งเขาคาซิอุน (The Qasioun Eagles)
อีรัก ดินแดนเมโซโปตาเมีย บ่อเกิดอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลกที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ใช้รูปสิงโตวางตรงกลางตราของสมาคมฟุตบอล แฟนบอลให้
ฉายานักเตะทีมชาติว่า สิงโตแห่งเมโซโปตาเมีย (Lions of Mesopotamia)
เกาหลีใต้ แม้ว่าจะมี สีแดง เป็นสีประจำ และแฟนบอลขนานนามนักเตะว่า ผีแดง (Red Devils) รวมทั้งฉายาว่า นักรบชั่วนิรันดร์ (Taegeuk Warriors) ประมาณนั้น อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์ของสมาคมฟุตบอลก็ยังต้องใช้ เสือ มาเป็นนายแบบให้ดูน่าเกรงขาม
เกาหลีเหนือ มีสัญลักษณ์เป็น ม้าบิน (Chollima) สัตว์ในเทพนิยายที่มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก มีการใช้คำว่า Chollima Movement มาเปรียบเทียบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือในยุคของ คิม อิล ซ็อง ที่ก้าวรุดหน้าไปเร็วมาก
อุซเบกิสถาน แยกเป็นอิสระจาก สหภาพโซเวียต ตั้งแต่ปี 1991 ฉายาของพวกเขาคือ หมาป่าสีขาว (White Wolves)
จอร์แดน แม้จะมีฉายาว่า ผู้กล้า (The Chivalrous) แต่สัญลักษณ์ที่หน้าอกเสื้อนักเตะก็ยังใช้ภาพนกอินทรีจับยึดลูกบอลอยู่ดี
สหรัฐอาหรับ เอมีเรทส์ มีฉายา สีขาว (The Whites) ใช้ชุดแข่งทีมเหย้าเป็นสีขาว หรืออีกฉายาหนึ่งคือ เอยัล ซายิด (Eyal Zayed) บุตรของซายิด หมายถึง เชคซายิด ซายิด บิน สุลฎอน อัล นะฮยาน ประธานาธิบดีคนแรกของ ยูเออี
กาตาร์ เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ใช้รูปลูกบอลวางอยู่ในสัญลักษณ์ของสมาคมฟุตบอล แต่มีสีแดงม่วงเข้มอมน้ำตาล หรือ น้ำตาลแดง ที่เรียกว่า Maroon เป็นสีประจำ แฟนๆจึงเรียกขานนักเตะของพวกเขาว่า เดอะ มารูนส์ (The Maroon)
อาจจะเป็นเพราะว่า สัตว์ มีศักยภาพทางร่างกายที่เหนือกว่า มนุษย์ ในทุกๆด้าน มันสามารถเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็ว ว่องไว ปราดเปรียว มีพลังมหาศาล จะบินขึ้นสู่ท้องฟ้า จะห้อยจะโหนเกาะเกี่ยวอยู่บนต้นไม้ หรือจะดำดิ่งแหวกว่ายไปในท้องน้ำ ล้วนเป็นความสามารถที่มีมาตามธรรมชาติ บางคนนิยมยกย่องถึงกับบูชาเยี่ยงเทพ แล้วหากใครจะนำ สัตว์ มาเป็นสัญลักษณ์ของทีมชาติ หรือใช้เรียกขานเป็นฉายา เพื่อสร้างความฮึกเหิมในจิตใจก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก
ผมสำรวจดูบรรดาทีมที่มีสิทธิ์เข้าสู่ ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบที่ 3 พร้อมๆกับ ไทย ที่ใช้รูปช้างเป็นสัญลักษณ์ ส่วนใหญ่มักจะใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์หรือฉายาเรียกขาน บางชาติอาจใช้ สี เพื่อแสดงอัตลักษณ์บ่งบอกตัวตนบ้าง แต่ภาพมนุษย์น้อยมาก
ซาอูดี อาราเบีย แม้มีรูปต้นปาล์มและดาบไขว้บนพื้นสีเขียวซึ่งเป็นสีประจำ แต่ฉายาเรียกขานขุนพลนักเตะของพวกเขาคือ เดอะ ฟัลค็อนส์ (The Falcons) หรือ เหยี่ยว นกล่าเหยื่อที่มีกรงเล็บแหลมคมแข็งแรง บินได้อย่างรวดเร็วและสูงลิบ กางปีกได้กว้างและมีสายตาที่ดีมาก
อ๊อสตราเลีย มีสัตว์เฉพาะถิ่นคือ จิงโจ้ (Kangaroo) มากถึง 34 ล้านตัว มันจึงกลายเป็นฉายาของชาตินี้ไปโดยปริยาย ปี 1967 โทนี่ ฮอร์สเตด (Tony Horstead) นักข่าวท้องถิ่นได้นำคำว่า Kangaroo มารวมกับ Soccer กลายเป็น ซ๊อคเค่อรูส์ (Socceroos) และเริ่มใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในการเรียกทีมฟุตบอลทีมชาติของตนที่ไปแข่งนัดกระชับมิตรกับ เวียตนามใต้
อีหร่าน เคยมีฉายาว่า ทีมเมลลี่ (Team Melli) หมายถึง ขุนพลทีมชาติ ประมาณนั้น บางทีก็เป็น ดาราแห่งคาบสมุทรเปอร์เซีย (Persian Stars) อันนี้ใช้เรียกกันมาตั้งแต่ ฟุตบอลโลก 2006 ต่อมาเรียกว่า สิงโตอีหร่าน (The Iranian Lions) สิงโตเปอร์เซีย (The Lions of Persia) หัวใจสิงห์ (Lion Hearts) หรือ เจ้าชายแห่งเปอร์เซีย (Princes of Persia) แต่ล่าสุด บนเสื้อทีมที่ใช้สวมลงแข่ง ฟุตบอลโลก 2014 นั้นใช้รูป เสือชีต้า ดังนั้น ฉายาล่าสุดกลายเป็น เจ้าชีต้า (The Cheetahs)
ญี่ปุ่น มีชุดแข่งเป็นสีน้ำเงิน ใช้ ซะมุไร นักรบรับจ้างของจักรพรรดิและกลุ่มชนชั้นสูง เป็นคำเรียกขุนพลนักเตะ จึงเป็นฉายา ซะมุไรสีน้ำเงิน (Samurai Blue) อย่างไรก็ตาม ตราบนหน้าอกเสื้อก็ยังไม่วายที่จะมี อีกา 3 ขาจับยึดลูกบอล อยู่ด้วย
ซีเรีย สัญลักษณ์ของสหพันธ์ฟุตบอลมี อินทรี เต็มๆ ฉายาของทีมก็คือ อินทรีแห่งเขาคาซิอุน (The Qasioun Eagles)
อีรัก ดินแดนเมโซโปตาเมีย บ่อเกิดอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลกที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ใช้รูปสิงโตวางตรงกลางตราของสมาคมฟุตบอล แฟนบอลให้
ฉายานักเตะทีมชาติว่า สิงโตแห่งเมโซโปตาเมีย (Lions of Mesopotamia)
เกาหลีใต้ แม้ว่าจะมี สีแดง เป็นสีประจำ และแฟนบอลขนานนามนักเตะว่า ผีแดง (Red Devils) รวมทั้งฉายาว่า นักรบชั่วนิรันดร์ (Taegeuk Warriors) ประมาณนั้น อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์ของสมาคมฟุตบอลก็ยังต้องใช้ เสือ มาเป็นนายแบบให้ดูน่าเกรงขาม
เกาหลีเหนือ มีสัญลักษณ์เป็น ม้าบิน (Chollima) สัตว์ในเทพนิยายที่มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก มีการใช้คำว่า Chollima Movement มาเปรียบเทียบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือในยุคของ คิม อิล ซ็อง ที่ก้าวรุดหน้าไปเร็วมาก
อุซเบกิสถาน แยกเป็นอิสระจาก สหภาพโซเวียต ตั้งแต่ปี 1991 ฉายาของพวกเขาคือ หมาป่าสีขาว (White Wolves)
จอร์แดน แม้จะมีฉายาว่า ผู้กล้า (The Chivalrous) แต่สัญลักษณ์ที่หน้าอกเสื้อนักเตะก็ยังใช้ภาพนกอินทรีจับยึดลูกบอลอยู่ดี
สหรัฐอาหรับ เอมีเรทส์ มีฉายา สีขาว (The Whites) ใช้ชุดแข่งทีมเหย้าเป็นสีขาว หรืออีกฉายาหนึ่งคือ เอยัล ซายิด (Eyal Zayed) บุตรของซายิด หมายถึง เชคซายิด ซายิด บิน สุลฎอน อัล นะฮยาน ประธานาธิบดีคนแรกของ ยูเออี
กาตาร์ เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 ใช้รูปลูกบอลวางอยู่ในสัญลักษณ์ของสมาคมฟุตบอล แต่มีสีแดงม่วงเข้มอมน้ำตาล หรือ น้ำตาลแดง ที่เรียกว่า Maroon เป็นสีประจำ แฟนๆจึงเรียกขานนักเตะของพวกเขาว่า เดอะ มารูนส์ (The Maroon)