คอลัมน์ “TIMEOUT” โดย “ชมณัฐ”
ในที่สุดก็ปิดฉากกรณีวุ่นวายของ บีอีซี เทโรศาสน เมื่อบอร์ดบริหารของ บริษัท ไทย พรีเมียร์ ลีก จำกัด หรือ “ทีพีแอล” มีมติให้ “มังกรไฟ” ตกชั้นตามตารางคะแนนฤดูกาลที่ผ่านมา แล้วคงทีมเข้าแข่งขันในซีซันใหม่ที่ 18 ทีมตามเดิม ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
หลังจากที่ บีอีซี เทโรศาสน ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อทวง 3 คะแนนคืน กรณีที่คู่แข่งอย่าง แบงค็อก ยูไนเต็ด เปลี่ยนตัวผู้เล่นต่างชาติผิดกฎ จนกลายเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมาหลายเดือนแม้จะปิดฤดูกาลไปแล้ว และจะเปิดซีซันใหม่อยู่ทนโท่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ นี้ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป ก่อนจะมีการประชุมเตรียมเพิ่มทีมเข้าแข่งขันในศึก โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก 2016 จาก 18 เป็น 20 ทีม จนโดนเสียงก่นด่าทั่วสารทิศ
ล่าสุดบอร์ดบริหารทีพีแอล ที่มี ดร.องอาจ ก่อสินค้า เป็นประธานฯ ได้มีมติเด็ดขาดที่จะคงไว้ซึ่ง 18 ทีมตามเดิมในฤดูกาล 2016 และส่งผลให้ บีอีซี เทโรฯ ต้องตกชั้นสู่ ยามาฮ่า ลีก วัน (ดิวิชั่น 1) ร่วมกับ การท่าเรือ เอฟซี และทีโอที เอสซี ในฐานะอันดับ 16-18 ของตารางคะแนนซีซันที่ผ่านมา พร้อมยอมรับการฟ้องร้องค่าเสียหายและหาที่นั่งในลีกสูงสุดคืนหาก “มังกรไฟ” ชนะคดีในชั้นศาล
ทางออกนี้นับเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นก็มาจากการที่กฎของทีพีแอลและการทำงานของคณะอนุกรรมการในหน่วยงานที่ขัดกันเอง (คณะอนุกรรมการพิจารณาโทษ วินัย และข้อประท้วง ให้ บีอีซี เทโรฯ เป็นฝ่ายถูก แต่คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง อุทธรณ์โทษ ให้ แบงค็อกฯ ถูก) เมื่อกล้าที่จะตัดสินรับคำอุทธรณ์โทษว่า “แข้งเทพ” ไม่ได้ทำผิดกฎ แถมยังให้เหตุผลว่ากฎที่มีไม่ชัดเจนจึงต้องยกประโยชน์ให้จำเลย ก็ต้องกล้าที่จะยืดอกยอมรับความเสี่ยงที่จะโดนฝั่งเสียประโยชน์ฟ้องร้องคืน
ทีพีแอล ควรยึดตามกฎของตัวเองแล้วตัดสินใจให้เด็ดขาดแบบนี้ตั้งนานแล้ว เพราะสิ่งนี้คือบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของทีพีแอลที่ต้องยึดไว้ ไม่ใช่ว่าแก้ผ้าเอาหน้ารอด คิดง่ายๆแค่จะเพิ่มทีมเพื่อให้จบปัญหา เพราะกลัวที่ตัวเองจะโดนฟ้องภายหลัง จึงต้องปกป้องเอาไว้โดยไม่มองถึงส่วนรวม จนกลายเป็นปัญหาที่คาราคาซังส่งผลกระทบต่อการเตรียมทีมของหลายสโมสร
จากนี้ลีกก็สามารถเดินหน้าแข่งขันกันได้ต่อตามปกติ ส่วนคดีความก็รอศาลพิจารณาตัดสินออกมาว่าจะใช้ บีอีซี เทโรฯ ถูกหรือผิด หาก “มังกรไฟ” แพ้คดีเรื่องทุกอย่างก็ยุติไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่หากชนะก็เตรียมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากทีพีแอลในส่วนของผลประโยชน์ที่เสียไปได้เลย อย่างต่ำๆแค่ส่วนต่างค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดระหว่าง ไทย พรีเมียร์ ลีก ปีละ 20 ล้านบาท กับ ดิวิชั่น 1 ปีละ 3 ล้านบาท ก็ปาเข้าไป 17 ล้านบาทเข้าไปแล้ว ไม่รวมส่วนต่างค่าสนับสนุนจากสปอนเซอร์ที่ทีมควรจะหาได้เพิ่ม จำนวนแฟนบอลและการขายของที่ระลึก ค่าเสียทางภาพลักษณ์ และอื่นๆอีกมากมายที่ตีมูลค่าไม่ได้
เพียงแต่ตอนนี้ทีมมีการเปลี่ยนมือเจ้าของไปเสียแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเจ้าของรายใหม่จะเรียกร้องสิทธิ์ที่พึงจะได้มากน้อยขนาดไหน ในฐานะคนกลาง หากอนาคต บีอีซี เทโรฯ เป็นฝ่ายชนะคดี อยากให้สโมสรเรียกเงินค่าชดเชยคืนให้หนักๆกับผลประโยชน์ที่ต้องเสียไป เพราะไม่ใช่แค่กับตัวทีมเองแต่ยังรวมถึงความรู้สึกของแฟนบอลด้วยเช่นกัน ลองคิดดูเล่นๆหากทีพีแอลเขียนกฎไว้ชัดเจน แล้ว “มังกรไฟ” ได้ 3 แต้มจากเกมนั้นรอดตกชั้น ทีมจะแพแตกแบบนี้หรือไม่
แต่อย่างว่า กว่าศาลจะตัดสินออกมาก็ไม่รู้ว่าในเวลานั้น คณะบริหารชุดนี้หรือคนที่ตัดสินใจต่างๆจนเกิดปัญหาที่ผ่านมาจะยังได้นั่งทำงานอยู่หรือเปล่า ดังนั้นแนะนำว่าหากชนะให้เลือกฟ้องเป็นรายบุคคลเลยก็ดีนะ
ในที่สุดก็ปิดฉากกรณีวุ่นวายของ บีอีซี เทโรศาสน เมื่อบอร์ดบริหารของ บริษัท ไทย พรีเมียร์ ลีก จำกัด หรือ “ทีพีแอล” มีมติให้ “มังกรไฟ” ตกชั้นตามตารางคะแนนฤดูกาลที่ผ่านมา แล้วคงทีมเข้าแข่งขันในซีซันใหม่ที่ 18 ทีมตามเดิม ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
หลังจากที่ บีอีซี เทโรศาสน ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อทวง 3 คะแนนคืน กรณีที่คู่แข่งอย่าง แบงค็อก ยูไนเต็ด เปลี่ยนตัวผู้เล่นต่างชาติผิดกฎ จนกลายเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมาหลายเดือนแม้จะปิดฤดูกาลไปแล้ว และจะเปิดซีซันใหม่อยู่ทนโท่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ นี้ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป ก่อนจะมีการประชุมเตรียมเพิ่มทีมเข้าแข่งขันในศึก โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก 2016 จาก 18 เป็น 20 ทีม จนโดนเสียงก่นด่าทั่วสารทิศ
ล่าสุดบอร์ดบริหารทีพีแอล ที่มี ดร.องอาจ ก่อสินค้า เป็นประธานฯ ได้มีมติเด็ดขาดที่จะคงไว้ซึ่ง 18 ทีมตามเดิมในฤดูกาล 2016 และส่งผลให้ บีอีซี เทโรฯ ต้องตกชั้นสู่ ยามาฮ่า ลีก วัน (ดิวิชั่น 1) ร่วมกับ การท่าเรือ เอฟซี และทีโอที เอสซี ในฐานะอันดับ 16-18 ของตารางคะแนนซีซันที่ผ่านมา พร้อมยอมรับการฟ้องร้องค่าเสียหายและหาที่นั่งในลีกสูงสุดคืนหาก “มังกรไฟ” ชนะคดีในชั้นศาล
ทางออกนี้นับเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นก็มาจากการที่กฎของทีพีแอลและการทำงานของคณะอนุกรรมการในหน่วยงานที่ขัดกันเอง (คณะอนุกรรมการพิจารณาโทษ วินัย และข้อประท้วง ให้ บีอีซี เทโรฯ เป็นฝ่ายถูก แต่คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง อุทธรณ์โทษ ให้ แบงค็อกฯ ถูก) เมื่อกล้าที่จะตัดสินรับคำอุทธรณ์โทษว่า “แข้งเทพ” ไม่ได้ทำผิดกฎ แถมยังให้เหตุผลว่ากฎที่มีไม่ชัดเจนจึงต้องยกประโยชน์ให้จำเลย ก็ต้องกล้าที่จะยืดอกยอมรับความเสี่ยงที่จะโดนฝั่งเสียประโยชน์ฟ้องร้องคืน
ทีพีแอล ควรยึดตามกฎของตัวเองแล้วตัดสินใจให้เด็ดขาดแบบนี้ตั้งนานแล้ว เพราะสิ่งนี้คือบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของทีพีแอลที่ต้องยึดไว้ ไม่ใช่ว่าแก้ผ้าเอาหน้ารอด คิดง่ายๆแค่จะเพิ่มทีมเพื่อให้จบปัญหา เพราะกลัวที่ตัวเองจะโดนฟ้องภายหลัง จึงต้องปกป้องเอาไว้โดยไม่มองถึงส่วนรวม จนกลายเป็นปัญหาที่คาราคาซังส่งผลกระทบต่อการเตรียมทีมของหลายสโมสร
จากนี้ลีกก็สามารถเดินหน้าแข่งขันกันได้ต่อตามปกติ ส่วนคดีความก็รอศาลพิจารณาตัดสินออกมาว่าจะใช้ บีอีซี เทโรฯ ถูกหรือผิด หาก “มังกรไฟ” แพ้คดีเรื่องทุกอย่างก็ยุติไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่หากชนะก็เตรียมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากทีพีแอลในส่วนของผลประโยชน์ที่เสียไปได้เลย อย่างต่ำๆแค่ส่วนต่างค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดระหว่าง ไทย พรีเมียร์ ลีก ปีละ 20 ล้านบาท กับ ดิวิชั่น 1 ปีละ 3 ล้านบาท ก็ปาเข้าไป 17 ล้านบาทเข้าไปแล้ว ไม่รวมส่วนต่างค่าสนับสนุนจากสปอนเซอร์ที่ทีมควรจะหาได้เพิ่ม จำนวนแฟนบอลและการขายของที่ระลึก ค่าเสียทางภาพลักษณ์ และอื่นๆอีกมากมายที่ตีมูลค่าไม่ได้
เพียงแต่ตอนนี้ทีมมีการเปลี่ยนมือเจ้าของไปเสียแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเจ้าของรายใหม่จะเรียกร้องสิทธิ์ที่พึงจะได้มากน้อยขนาดไหน ในฐานะคนกลาง หากอนาคต บีอีซี เทโรฯ เป็นฝ่ายชนะคดี อยากให้สโมสรเรียกเงินค่าชดเชยคืนให้หนักๆกับผลประโยชน์ที่ต้องเสียไป เพราะไม่ใช่แค่กับตัวทีมเองแต่ยังรวมถึงความรู้สึกของแฟนบอลด้วยเช่นกัน ลองคิดดูเล่นๆหากทีพีแอลเขียนกฎไว้ชัดเจน แล้ว “มังกรไฟ” ได้ 3 แต้มจากเกมนั้นรอดตกชั้น ทีมจะแพแตกแบบนี้หรือไม่
แต่อย่างว่า กว่าศาลจะตัดสินออกมาก็ไม่รู้ว่าในเวลานั้น คณะบริหารชุดนี้หรือคนที่ตัดสินใจต่างๆจนเกิดปัญหาที่ผ่านมาจะยังได้นั่งทำงานอยู่หรือเปล่า ดังนั้นแนะนำว่าหากชนะให้เลือกฟ้องเป็นรายบุคคลเลยก็ดีนะ