คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
เมื่อไม่กี่วันก่อน นายกรัฐมนตรีเผยนโยบายบรรเจิด ให้ระบุ อาชีพ และ รายได้ ลงในบัตรประจำตัวประชาชน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ซึ่งส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วย โดยสรุปได้ว่า ใครต่อใครก็เห็นว่า นโยบายดังกล่าวไร้ประโยชน์ มีผลเสียมากกว่าผลดี การเลือกใช้วิธีการอื่นน่าจะเหมาะกว่า
นโยบายดังกล่าวมีกำหนดดำเนินการภายในปี 2560 เพื่อทำให้รัฐบาลเห็นได้ชัดเจนว่าใครมีรายได้มากน้อยอย่างไร จะได้ใช้งบประมาณได้อย่างเหมาะสม ต้องให้ความช่วยเหลือใครบ้าง โดยเฉพาะทางด้านสวัสดิการให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น รถเมล์ฟรี นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมระบบภาษี ทำให้ทุกคนเข้าสู่ระบบภาษีที่เหมาะสมตามลำดับรายได้ของแต่ละบุคคล เพื่อนำเงินมาใช้ในการพัฒนาประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กร ห้างร้านใด รายได้ของบุคลากรแต่ละคนถือเป็นเรื่องเฉพาะตัว เป็นความลับ ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ผมมีข้อสังเกตบางประการในส่วนของวงการกีฬา หากนโยบายดังกล่าวได้รับการนำไปปฏิบัติจริง มันจะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง อันแรกเลย นักกีฬาอาชีพต่างก็จะรับรู้รายได้ของเพื่อนร่วมทีม หรือเพื่อนร่วมอาชีพที่สังกัดทีมอื่นๆได้ไม่ยากจากการหยิบบัตรประชาชนของหมอนั่นมาดู แล้วมันจะเกิดความปั่นป่วนขนาดไหนครับ นักฟุตบอลบางคนอาจเกิดความไม่สบายใจ ไม่พอใจที่ตนเองดันมีรายได้น้อยกว่าเพื่อนร่วมทีม ทั้งๆที่ตนน่าจะเหนือกว่า มันจะมีเรื่องให้นักเตะหลายคนต้องเฝ้าคิด ต้องคอยพูดจา ขอคำอธิบาย หรือเรียกร้องเอากับทางสโมสรอยู่ทุกวัน แล้วอย่างนี้จะอยู่กันอย่างเป็นสุขได้อย่างไร
สโมสรอื่นๆรับรู้รายได้ของนักเตะ เช่น บางคนที่ก้าวขึ้นมาจากอะคาเดมี่ที่หมายปองไว้ แต่รายได้ยังต่ำอยู่ ย่อมทำให้ง่ายต่อการยื่นข้อเสนอที่จูงใจมายั่วยวน สมาธิของหมอนี่คงแตกกระเจิง ไม่เป็นอันตั้งใจรับใช้ต้นสังกัดแล้ว ในกรณีที่นักเตะรายได้ต่ำหวังที่จะเซ็นสัญญาอัพค่าตัว แต่ต้องโดนประจานด้วยรายได้ที่ระบุในบัตรประชาชน เมื่อไรจะได้เกิดเสียที นอกจากนั้น สโมสรฟุตบอลในต่างแดนหรือคนต่างชาติทั่วโลกยังสามารถล่วงรู้ได้เลยว่า นักเตะไทยแต่ละคนมีรายได้กันคนละเท่าไรบ้าง แต่ในทางกลับกัน คนไทยดันไม่มีสิทธิ์รับรู้รายได้ของคนต่างชาติ
คนที่ทำหน้าที่ผู้ตัดสินในวงการฟุตบอลของไทยที่มีปัญหาเรื่องการจ่ายค่าจ้างช้าข้ามปี หากผู้ตัดสินยังไม่ได้รับรายได้สักที พวกเขาจะต้องกรอกรายได้อย่างไร ไม่ให้ผิดความเป็นจริง เงินก็ยังไม่ได้ แต่ดันถูกนำไปคำนวณหักภาษีเสียแล้ว บางครั้งมีปัญหาในการตัดสิน ถูกสั่งแบน ก็ไม่มีรายได้ แล้วมันจะเป็นข้อมูลที่นำไปกรอกรายได้ให้ถูกต้องได้อย่างไร ต้องเปลี่ยนบัตรประชาชนหรือไปแจ้งข้อมูลใหม่ที่เขตกันทุกๆเดือนหรือไม่ แถมในกรณีที่ผู้ตัดสินเกิดไปรับงานกำหนดผลการแข่งขัน เป่าให้ทีมใดชนะตามใบสั่ง รายได้อย่างนี้ผมก็ต้องการให้กรอกลงในบัตรประชาชนด้วย รัฐบาลจะดูแลให้ผมได้หรือไม่
ผมขอยกตัวอย่างบัตรประจำตัวประชาชนของ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติที่ให้ความสำคัญต่อ สิทธิ เสรีภาพ ความคิดของคนมากที่สุดชาติหนึ่ง เขาจะระบุเพียง หมายเลขบัตร รูปถ่าย ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ สัญชาติ ส่วนสูง ตำหนิ เพียงเท่านั้น โดยไม่มีการระบุศาสนาด้วยซ้ำ เพราะมันคือความคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคล คงไม่มีวันที่ ฝรั่งเศส หรือชาติไหนๆในโลกจะคิดระบุอาชีพและรายได้ลงในบัตรประชาชนอย่างแน่นอน
เราต้องยอมรับว่า เรื่องรายได้นั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีผลต่อการให้ความเคารพกันด้วย แล้วนี่ดันมาแสดงหราในบัตรประชาชน บางอาชีพมีเงินเดือนต่ำ น่าอับอาย จะกล้าชักบัตรประชาชนให้ใครดู ต่อไปการจะใช้เป็นหลักฐานประกอบการทำการใดๆจะยิ่งยากขึ้น เพราะดันมีสิ่งที่เป็นส่วนตัวสุดๆปรากฏอยู่บนบัตร
อย่างไรก็ตาม แง่ดียังมีครับ สมาคมกีฬาที่ผู้คนเคลือบแคลงสงสัยในการบริหารงาน ไม่มีความโปร่งใสเรื่องเงินๆทองๆ มันก็คงเป็นเรื่องดีที่จะมีการประจานให้เห็นอย่างชัดเจนในบัตรประชาชนว่า ใครมีอาชีพอยู่กับวงการกีฬา ใครหากินเกาะแกะกับสมาคมกีฬา มีรายได้เท่าไรกัน แต่ผมก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าข้อมูลที่กรอกลงไปนั้นจะได้รับการดูแลให้เป็นไปตามความจริง แม้ว่าบัตรประชาชนจะถือว่าเป็นเอกสารของทางราชการและการให้ข้อมูลเท็จถือเป็นความผิดก็ตาม
เมื่อไม่กี่วันก่อน นายกรัฐมนตรีเผยนโยบายบรรเจิด ให้ระบุ อาชีพ และ รายได้ ลงในบัตรประจำตัวประชาชน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ซึ่งส่วนใหญ่แสดงความไม่เห็นด้วย โดยสรุปได้ว่า ใครต่อใครก็เห็นว่า นโยบายดังกล่าวไร้ประโยชน์ มีผลเสียมากกว่าผลดี การเลือกใช้วิธีการอื่นน่าจะเหมาะกว่า
นโยบายดังกล่าวมีกำหนดดำเนินการภายในปี 2560 เพื่อทำให้รัฐบาลเห็นได้ชัดเจนว่าใครมีรายได้มากน้อยอย่างไร จะได้ใช้งบประมาณได้อย่างเหมาะสม ต้องให้ความช่วยเหลือใครบ้าง โดยเฉพาะทางด้านสวัสดิการให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น รถเมล์ฟรี นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมระบบภาษี ทำให้ทุกคนเข้าสู่ระบบภาษีที่เหมาะสมตามลำดับรายได้ของแต่ละบุคคล เพื่อนำเงินมาใช้ในการพัฒนาประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กร ห้างร้านใด รายได้ของบุคลากรแต่ละคนถือเป็นเรื่องเฉพาะตัว เป็นความลับ ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ผมมีข้อสังเกตบางประการในส่วนของวงการกีฬา หากนโยบายดังกล่าวได้รับการนำไปปฏิบัติจริง มันจะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง อันแรกเลย นักกีฬาอาชีพต่างก็จะรับรู้รายได้ของเพื่อนร่วมทีม หรือเพื่อนร่วมอาชีพที่สังกัดทีมอื่นๆได้ไม่ยากจากการหยิบบัตรประชาชนของหมอนั่นมาดู แล้วมันจะเกิดความปั่นป่วนขนาดไหนครับ นักฟุตบอลบางคนอาจเกิดความไม่สบายใจ ไม่พอใจที่ตนเองดันมีรายได้น้อยกว่าเพื่อนร่วมทีม ทั้งๆที่ตนน่าจะเหนือกว่า มันจะมีเรื่องให้นักเตะหลายคนต้องเฝ้าคิด ต้องคอยพูดจา ขอคำอธิบาย หรือเรียกร้องเอากับทางสโมสรอยู่ทุกวัน แล้วอย่างนี้จะอยู่กันอย่างเป็นสุขได้อย่างไร
สโมสรอื่นๆรับรู้รายได้ของนักเตะ เช่น บางคนที่ก้าวขึ้นมาจากอะคาเดมี่ที่หมายปองไว้ แต่รายได้ยังต่ำอยู่ ย่อมทำให้ง่ายต่อการยื่นข้อเสนอที่จูงใจมายั่วยวน สมาธิของหมอนี่คงแตกกระเจิง ไม่เป็นอันตั้งใจรับใช้ต้นสังกัดแล้ว ในกรณีที่นักเตะรายได้ต่ำหวังที่จะเซ็นสัญญาอัพค่าตัว แต่ต้องโดนประจานด้วยรายได้ที่ระบุในบัตรประชาชน เมื่อไรจะได้เกิดเสียที นอกจากนั้น สโมสรฟุตบอลในต่างแดนหรือคนต่างชาติทั่วโลกยังสามารถล่วงรู้ได้เลยว่า นักเตะไทยแต่ละคนมีรายได้กันคนละเท่าไรบ้าง แต่ในทางกลับกัน คนไทยดันไม่มีสิทธิ์รับรู้รายได้ของคนต่างชาติ
คนที่ทำหน้าที่ผู้ตัดสินในวงการฟุตบอลของไทยที่มีปัญหาเรื่องการจ่ายค่าจ้างช้าข้ามปี หากผู้ตัดสินยังไม่ได้รับรายได้สักที พวกเขาจะต้องกรอกรายได้อย่างไร ไม่ให้ผิดความเป็นจริง เงินก็ยังไม่ได้ แต่ดันถูกนำไปคำนวณหักภาษีเสียแล้ว บางครั้งมีปัญหาในการตัดสิน ถูกสั่งแบน ก็ไม่มีรายได้ แล้วมันจะเป็นข้อมูลที่นำไปกรอกรายได้ให้ถูกต้องได้อย่างไร ต้องเปลี่ยนบัตรประชาชนหรือไปแจ้งข้อมูลใหม่ที่เขตกันทุกๆเดือนหรือไม่ แถมในกรณีที่ผู้ตัดสินเกิดไปรับงานกำหนดผลการแข่งขัน เป่าให้ทีมใดชนะตามใบสั่ง รายได้อย่างนี้ผมก็ต้องการให้กรอกลงในบัตรประชาชนด้วย รัฐบาลจะดูแลให้ผมได้หรือไม่
ผมขอยกตัวอย่างบัตรประจำตัวประชาชนของ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติที่ให้ความสำคัญต่อ สิทธิ เสรีภาพ ความคิดของคนมากที่สุดชาติหนึ่ง เขาจะระบุเพียง หมายเลขบัตร รูปถ่าย ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ สัญชาติ ส่วนสูง ตำหนิ เพียงเท่านั้น โดยไม่มีการระบุศาสนาด้วยซ้ำ เพราะมันคือความคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคล คงไม่มีวันที่ ฝรั่งเศส หรือชาติไหนๆในโลกจะคิดระบุอาชีพและรายได้ลงในบัตรประชาชนอย่างแน่นอน
เราต้องยอมรับว่า เรื่องรายได้นั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีผลต่อการให้ความเคารพกันด้วย แล้วนี่ดันมาแสดงหราในบัตรประชาชน บางอาชีพมีเงินเดือนต่ำ น่าอับอาย จะกล้าชักบัตรประชาชนให้ใครดู ต่อไปการจะใช้เป็นหลักฐานประกอบการทำการใดๆจะยิ่งยากขึ้น เพราะดันมีสิ่งที่เป็นส่วนตัวสุดๆปรากฏอยู่บนบัตร
อย่างไรก็ตาม แง่ดียังมีครับ สมาคมกีฬาที่ผู้คนเคลือบแคลงสงสัยในการบริหารงาน ไม่มีความโปร่งใสเรื่องเงินๆทองๆ มันก็คงเป็นเรื่องดีที่จะมีการประจานให้เห็นอย่างชัดเจนในบัตรประชาชนว่า ใครมีอาชีพอยู่กับวงการกีฬา ใครหากินเกาะแกะกับสมาคมกีฬา มีรายได้เท่าไรกัน แต่ผมก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าข้อมูลที่กรอกลงไปนั้นจะได้รับการดูแลให้เป็นไปตามความจริง แม้ว่าบัตรประชาชนจะถือว่าเป็นเอกสารของทางราชการและการให้ข้อมูลเท็จถือเป็นความผิดก็ตาม