คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
การเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ตอนนี้ที่น่าจับตามีอยู่เพียง 2 สมาคมที่น่าสนใจ คือ สมาคมแบดมินตัน กับ สมาคมฟุตบอล เนื่องจากได้คู่แข่งสูสีสมน้ำสมเนื้อ และหากว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำ จะส่งผลต่อทิศทางบริหารงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งดูเหมือนกระแสสังคมจะมุ่งเป้าให้ความสนใจต่อสมาคมลูกหนังไทยมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อ "บิ๊กอ็อด" พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร. ประกาศลงแข่งขันโดยมีทีมงานแน่นปึ๊กจาก 2 สโมสรใหญ่ อย่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ ชลบุรี เอฟซี ให้การสนับสนุน
โดยคนแรกที่เปิดตัวในฐานะ "ทีมสมยศ" คือ "โค้ชเฮง" วิทยา เลาหกุล ที่ดูแลรากฐานระดับเยาวชนของ "ฉลามชล" จนปั้นผู้เล่นขึ้นสู่ทีมตัวเอง (และทีมอื่นๆ ที่แอบฉกเด็กฉลามไปด้วย) ขอนั่งในตำแหน่งประธานพัฒนาเทคนิค เรื่องนี้อดีตผู้เล่นไทยรายเดียวที่เคยไปค้าแข้งในบุนเดสลีกากับสโมสรแฮร์ธา เบอร์ลิน เองก็เคยมีโอกาสได้พูดคุยกันว่าอยากรับงานในตำแหน่งนี้มานานแล้ว
เหตุผลที่ต้องการเก้าอี้ประธานพัฒนาเทคนิคนั้น ไม่ใช่เพราะอยากมีอำนาจล้นฟ้า บารมีล้นดิน เพราะตำแหน่งนี้เสกให้ใครในแบบนั้นไม่ได้ หากแต่เป็นตำแหน่งที่สามารถกำหนดทิศทางการวางรากฐานฟุตบอลในบ้านเราทั้งระดับเยาวชน ฟุตบอลลีก และทีมชาติ ซึ่งหน้าที่ของตำแหน่งนี้ที่ "โค้ชเฮง" เฝ้าถวิลหานั้น ต้องดูแลโครงสร้างทั้งระบบ หากจะเจาะย่อยลงไปคือทำอย่างไรเราจะพัฒนาฟุตบอลให้ทันชาติที่เขาไปไกลอย่าง เยอรมนี หรือญี่ปุ่น จะต้องทำอย่างไร สิ่งที่เราเด่น และสิ่งที่เรายังขาด ต้องอ่านให้ออก วิเคราะห์ให้ขาด เมื่อทราบจุดอ่อนแล้ว เราจำเป็นต้องแก้ปัญหาในจุดนั้น ยกตัวอย่างหากว่ากองหลังทีมชาติไทย มีปัญหาเรื่องการสกัดลูกกลางอากาศ เราจำเป็นต้องศึกษาว่านักฟุตบอลที่รูปร่างเล็ก จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ก่อนจะนำใส่ในโปรแกรมฝึกซ้อมของทีมชาติ
นอกจากพัฒนาตัวนักฟุตบอล และวางรากฐานลีกแล้ว เรื่องผู้ฝึกสอนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ ประธานพัฒนาเทคนิค ต้องใส่ใจ ยังมีเรื่องของการอบรมโค้ช ที่ทุกวันนี้ผู้ฝึกสอนไทยหลายคนแม้มีไลเซนต์ระดับเอ ทว่าในลีกต่างแดนถึงมีดีกรีระดับนี้ แต่ก็ยังต้องพัฒนา และให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้ วรวรรณ ชิตะวณิช อดีตกุนซือที่เคยทำหน้าที่ในเอสลีกของสิงคโปร์ ยังเคยกล่าวไว้เช่นกันว่าลีกต่างแดนเขามีการอบรมเรื่องผู้ฝึกสอนกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีการอัปเดทความรู้ด้านต่างๆ ทุกเดือน ผิดกับลีกบ้านเราที่แม้จะแซงเพื่อนบ้านในแง่ฝีเท้านักเตะ แต่เรื่องระบบอาจยังล้าหลัง
ซึ่งจากตัวอย่างคร่าวๆ ที่ยกมาพอเห็นภาพได้บ้าง แต่หน้าที่ประธานพัฒนาเทคนิคยังต้องการคนมีประสบการณ์ มีความสัมพันธ์อันดีกับชาติมหาอำนาจแห่งวงการลูกหนัง ที่จะสามารถทอดสะพานเชื่อมต่อความสัมพันธ์ขอความรู้ ขอวิชาศาสตร์แห่งฟุตบอลจากชาติที่ช่ำชองทักษะเหนือกว่า
ดังนั้นคนที่ผ่านประสบการณ์โชกโชนมากทั้ง บุนเดสลีกา ลีกแชมป์โลกแดนอินทรีเหล็ก รวมถึงยังคลุกคลีจนตกผลึกกับ เจลีก มหาอำนาจลูกหนังแห่งเอเชีย อย่าง "โค้ชเฮง" จึงเหมาะสมกับตำแหน่งนี้มากกว่าใคร ไม่เชื่อก็ลองดูโปรไฟล์สิจะมีใครเหนือว่านี้อีก อย่างน้อยๆ งานนี้แม้ พล.ต.อ.สมยศ จะมีความรู้เรื่องฟุตบอลน้อย แต่ก็ถือว่าทีมงานทำการบ้านมาดี รู้ดีว่าต้องใช้คนแบบไหนในตำแหน่งประธานพัฒนาเทคนิค...
การเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ตอนนี้ที่น่าจับตามีอยู่เพียง 2 สมาคมที่น่าสนใจ คือ สมาคมแบดมินตัน กับ สมาคมฟุตบอล เนื่องจากได้คู่แข่งสูสีสมน้ำสมเนื้อ และหากว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำ จะส่งผลต่อทิศทางบริหารงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งดูเหมือนกระแสสังคมจะมุ่งเป้าให้ความสนใจต่อสมาคมลูกหนังไทยมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อ "บิ๊กอ็อด" พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีต ผบ.ตร. ประกาศลงแข่งขันโดยมีทีมงานแน่นปึ๊กจาก 2 สโมสรใหญ่ อย่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ ชลบุรี เอฟซี ให้การสนับสนุน
โดยคนแรกที่เปิดตัวในฐานะ "ทีมสมยศ" คือ "โค้ชเฮง" วิทยา เลาหกุล ที่ดูแลรากฐานระดับเยาวชนของ "ฉลามชล" จนปั้นผู้เล่นขึ้นสู่ทีมตัวเอง (และทีมอื่นๆ ที่แอบฉกเด็กฉลามไปด้วย) ขอนั่งในตำแหน่งประธานพัฒนาเทคนิค เรื่องนี้อดีตผู้เล่นไทยรายเดียวที่เคยไปค้าแข้งในบุนเดสลีกากับสโมสรแฮร์ธา เบอร์ลิน เองก็เคยมีโอกาสได้พูดคุยกันว่าอยากรับงานในตำแหน่งนี้มานานแล้ว
เหตุผลที่ต้องการเก้าอี้ประธานพัฒนาเทคนิคนั้น ไม่ใช่เพราะอยากมีอำนาจล้นฟ้า บารมีล้นดิน เพราะตำแหน่งนี้เสกให้ใครในแบบนั้นไม่ได้ หากแต่เป็นตำแหน่งที่สามารถกำหนดทิศทางการวางรากฐานฟุตบอลในบ้านเราทั้งระดับเยาวชน ฟุตบอลลีก และทีมชาติ ซึ่งหน้าที่ของตำแหน่งนี้ที่ "โค้ชเฮง" เฝ้าถวิลหานั้น ต้องดูแลโครงสร้างทั้งระบบ หากจะเจาะย่อยลงไปคือทำอย่างไรเราจะพัฒนาฟุตบอลให้ทันชาติที่เขาไปไกลอย่าง เยอรมนี หรือญี่ปุ่น จะต้องทำอย่างไร สิ่งที่เราเด่น และสิ่งที่เรายังขาด ต้องอ่านให้ออก วิเคราะห์ให้ขาด เมื่อทราบจุดอ่อนแล้ว เราจำเป็นต้องแก้ปัญหาในจุดนั้น ยกตัวอย่างหากว่ากองหลังทีมชาติไทย มีปัญหาเรื่องการสกัดลูกกลางอากาศ เราจำเป็นต้องศึกษาว่านักฟุตบอลที่รูปร่างเล็ก จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ก่อนจะนำใส่ในโปรแกรมฝึกซ้อมของทีมชาติ
นอกจากพัฒนาตัวนักฟุตบอล และวางรากฐานลีกแล้ว เรื่องผู้ฝึกสอนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ ประธานพัฒนาเทคนิค ต้องใส่ใจ ยังมีเรื่องของการอบรมโค้ช ที่ทุกวันนี้ผู้ฝึกสอนไทยหลายคนแม้มีไลเซนต์ระดับเอ ทว่าในลีกต่างแดนถึงมีดีกรีระดับนี้ แต่ก็ยังต้องพัฒนา และให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้ วรวรรณ ชิตะวณิช อดีตกุนซือที่เคยทำหน้าที่ในเอสลีกของสิงคโปร์ ยังเคยกล่าวไว้เช่นกันว่าลีกต่างแดนเขามีการอบรมเรื่องผู้ฝึกสอนกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีการอัปเดทความรู้ด้านต่างๆ ทุกเดือน ผิดกับลีกบ้านเราที่แม้จะแซงเพื่อนบ้านในแง่ฝีเท้านักเตะ แต่เรื่องระบบอาจยังล้าหลัง
ซึ่งจากตัวอย่างคร่าวๆ ที่ยกมาพอเห็นภาพได้บ้าง แต่หน้าที่ประธานพัฒนาเทคนิคยังต้องการคนมีประสบการณ์ มีความสัมพันธ์อันดีกับชาติมหาอำนาจแห่งวงการลูกหนัง ที่จะสามารถทอดสะพานเชื่อมต่อความสัมพันธ์ขอความรู้ ขอวิชาศาสตร์แห่งฟุตบอลจากชาติที่ช่ำชองทักษะเหนือกว่า
ดังนั้นคนที่ผ่านประสบการณ์โชกโชนมากทั้ง บุนเดสลีกา ลีกแชมป์โลกแดนอินทรีเหล็ก รวมถึงยังคลุกคลีจนตกผลึกกับ เจลีก มหาอำนาจลูกหนังแห่งเอเชีย อย่าง "โค้ชเฮง" จึงเหมาะสมกับตำแหน่งนี้มากกว่าใคร ไม่เชื่อก็ลองดูโปรไฟล์สิจะมีใครเหนือว่านี้อีก อย่างน้อยๆ งานนี้แม้ พล.ต.อ.สมยศ จะมีความรู้เรื่องฟุตบอลน้อย แต่ก็ถือว่าทีมงานทำการบ้านมาดี รู้ดีว่าต้องใช้คนแบบไหนในตำแหน่งประธานพัฒนาเทคนิค...