คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดข่าวคราวคึกโครมในแวดวงกีฬาบ้านเรา เมื่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ "คสช." มีคำสั่งฉบับที่ 16/2558 เรื่องมาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ให้ระงับการปฏิบัติราชการในตําแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราวและไปปฏิบัติราชการในตําแหน่งประจําสํานักงานปลัดกระทรวงในกระทรวงที่สังกัดโดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมและให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมอบหมาย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะมีคําสั่งให้ผู้นั้นไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นการชั่วคราวก็ได้ นายกรัฐมนตรีอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงคําสั่งข้อนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าคำสั่งดังกล่าวมีการแนบท้ายถึงข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถึง 4 ราย ประกอบด้วย นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวง, ว่าที่ร้อยตรีอานุภาพ เกษรสุวรรณ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว, นายพัฒนา ชาติกฤติบวร อธิบดีกรมพลศึกษา และ นายนิวัฒน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รองอธิบดีกรมพลศึกษา
หากใครก็ตามที่ไม่ได้ติดตามข่าวคราวคงตกใจไม่น้อยว่าเกิดเหตุอันใดถึงมีฟ้าผ่าลงมายังข้าราชการตัวเป้งแห่งกระทรวงกีฬาไทย ก็ต้องบอกว่าเรื่องดังกล่าว น่าเกิดจากการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย และเครื่องเล่นนันทนาการของกระทรวงนี้ ที่มีการตรวจสอบว่าจัดซื้อรวม 2 ปี ตั้งแต่ปี 2555 กับปี 2556 รวม 22 โครงการ เป็นวงเงินถึง 698.7 ล้านบาท
จากการตรวจสอบของสำนักข่าวอิศรา ยืนยันว่าการจัดซื้อครั้งนี้เกินราคาตลาดไปมาก ยกตัวอย่าง สปริงโยกลูกไก่ ราคา 4,582.26 บาท แต่ที่ซื้อมาราคาสูงถึง 48,510 บาท สูงกว่าสิบเท่าตัว แถมคู่สัญญาที่ทำการซื้อขายก็แสดงชัดว่าเป็นบริษัทของภรรยาอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือด้วย แบบนี้ก็เลยกลายเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา
ถึงตอนนี้อาจจะยังสรุปไม่ได้ว่าข้าราชการที่เอ่ยถึงข้างต้นมานั้นมีความผิดหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับกระบวนการตรวจสอบ และหลักฐานในการนำมาหักล้าง แต่ทว่าอย่างน้อยก็ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีว่า ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการระดับสูงเพียงใด มีชื่อเสียงเพียงไหน แต่หากว่าตกอยู่ในข่ายต้องสงสัยว่าอาจมีส่วนต่อการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ ก็สามารถถูกตรวจสอบได้ในยุคสมัยของรัฐบาล "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา
จะว่าไปแล้วนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คนในแวดวงกีฬาถูกตรวจสอบเรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อนหน้านี้ "บิ๊กเสือ" สกล วรรณพงษ์ ก็เคยโดนร้องเรียนเรื่องความไม่โปร่งใสจากโครงการ "รั้วเป็นร้าน" จนถูกแขวนไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย มาเป็นเวลาร่วม 1 ปี ก่อนจะต่อสู้จนพ้นข้อกล่าวหา พร้อมกับได้นั่งเป็นประมุขค่ายหัวหมากในท้ายที่สุด
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดข่าวคราวคึกโครมในแวดวงกีฬาบ้านเรา เมื่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ "คสช." มีคำสั่งฉบับที่ 16/2558 เรื่องมาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ให้ระงับการปฏิบัติราชการในตําแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราวและไปปฏิบัติราชการในตําแหน่งประจําสํานักงานปลัดกระทรวงในกระทรวงที่สังกัดโดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมและให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมอบหมาย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะมีคําสั่งให้ผู้นั้นไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นการชั่วคราวก็ได้ นายกรัฐมนตรีอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงคําสั่งข้อนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าคำสั่งดังกล่าวมีการแนบท้ายถึงข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถึง 4 ราย ประกอบด้วย นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวง, ว่าที่ร้อยตรีอานุภาพ เกษรสุวรรณ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว, นายพัฒนา ชาติกฤติบวร อธิบดีกรมพลศึกษา และ นายนิวัฒน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รองอธิบดีกรมพลศึกษา
หากใครก็ตามที่ไม่ได้ติดตามข่าวคราวคงตกใจไม่น้อยว่าเกิดเหตุอันใดถึงมีฟ้าผ่าลงมายังข้าราชการตัวเป้งแห่งกระทรวงกีฬาไทย ก็ต้องบอกว่าเรื่องดังกล่าว น่าเกิดจากการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย และเครื่องเล่นนันทนาการของกระทรวงนี้ ที่มีการตรวจสอบว่าจัดซื้อรวม 2 ปี ตั้งแต่ปี 2555 กับปี 2556 รวม 22 โครงการ เป็นวงเงินถึง 698.7 ล้านบาท
จากการตรวจสอบของสำนักข่าวอิศรา ยืนยันว่าการจัดซื้อครั้งนี้เกินราคาตลาดไปมาก ยกตัวอย่าง สปริงโยกลูกไก่ ราคา 4,582.26 บาท แต่ที่ซื้อมาราคาสูงถึง 48,510 บาท สูงกว่าสิบเท่าตัว แถมคู่สัญญาที่ทำการซื้อขายก็แสดงชัดว่าเป็นบริษัทของภรรยาอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรายหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือด้วย แบบนี้ก็เลยกลายเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา
ถึงตอนนี้อาจจะยังสรุปไม่ได้ว่าข้าราชการที่เอ่ยถึงข้างต้นมานั้นมีความผิดหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับกระบวนการตรวจสอบ และหลักฐานในการนำมาหักล้าง แต่ทว่าอย่างน้อยก็ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีว่า ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการระดับสูงเพียงใด มีชื่อเสียงเพียงไหน แต่หากว่าตกอยู่ในข่ายต้องสงสัยว่าอาจมีส่วนต่อการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ ก็สามารถถูกตรวจสอบได้ในยุคสมัยของรัฐบาล "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา
จะว่าไปแล้วนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คนในแวดวงกีฬาถูกตรวจสอบเรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อนหน้านี้ "บิ๊กเสือ" สกล วรรณพงษ์ ก็เคยโดนร้องเรียนเรื่องความไม่โปร่งใสจากโครงการ "รั้วเป็นร้าน" จนถูกแขวนไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย มาเป็นเวลาร่วม 1 ปี ก่อนจะต่อสู้จนพ้นข้อกล่าวหา พร้อมกับได้นั่งเป็นประมุขค่ายหัวหมากในท้ายที่สุด
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *