คอลัมน์ “BUZZER BEAT” โดย “MVP”
พิจารณาวงการกีฬายุคปัจจุบัน เรียกได้ว่าเงินตราย่อมมีอิทธิพลแทบทุกชนิด ตัวอย่างชัดเจนสุดเห็นจะเป็นแวดวงลูกหนัง ดังเช่น แมนเชสเตอร์ ซิตี หลังจาก ชีคห์ มันซูร์ เข้ามาเทกโอเวอร์ ก็ดึงสตาร์มาประดับถิ่น เอติฮัด สเตเดียม เป็นว่าเล่น แน่นอนว่าแนวคิดเช่นนี้ก็ระบาดมาถึง “อเมริกัน เกมส์” เช่นกัน ซึ่งก็แสดงให้เห็นขีดจำกัดด้านเพดานเงินเดือน (ซาลารี แค็ป) ก็หาใช่อุปสรรค หากทีมใดหวังพึ่งทางลัดสู่บัลลังก์แชมป์บาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA)
สมัยเริ่มติดตาม NBA อย่างจริงจังใหม่ๆ สักปี 1996 หรือ 1997 มักจะเห็น 2 ซูเปอร์สตาร์ของทีมเป็นตัวชูโรง อย่าง ชิคาโก บูลล์ส ยุคเกรียงไกร ก็มี สก็อตตี พิพเพน กับ ไมเคิล จอร์แดน ด้าน ยูทาห์ แจซซ์ แฟนๆ ก็น่าจะติดตากับกลยุทธ์ “พิค แอนด์ โรลล์” ของ จอห์น สต็อคตัน กับ คาร์ล มาโลน หรือ ซีแอตเติล ซูเปอร์โซนิกส์ แน่นอนว่าต้องเป็น ชอว์น เคมพ์ กับ แกรี เพย์ตัน และ แอลเอ เลเกอร์ส ผลัดใบจากยุค “โชว์ไทม์” ก็มี ชาคิลล์ โอนีล กับ โคบี ไบรอันท์
หากมองกันตลอด 4-5 ปีล่าสุด ก็มาถึงการสร้างทีม โดยมี “บิ๊กทรี” เป็นแกนหลัก เริ่มจาก บอสตัน เซลติกส์ ปี 2008 ภายใต้การนำของ “บิ๊กทรี” อย่าง เควิน การ์เน็ตต์, พอล เพียร์ซ และ เรย์ อัลเลน ซึ่งช่วยกันนำแชมป์แรกตั้งแต่ปี 1986 กลับสู่ถิ่น ทีดี การ์เดน และ ดัลลัส แมฟเวอริกส์ ชุดแชมป์ปี 2011 นำโดย ไทสัน แชนด์เลอร์ ยอดเซ็นเตอร์เกมรับ, เดิร์ก โนวิตซ์กี และ เจสัน คิดด์ มาจนถึง ไมอามี ฮีต ในกำมือของ เลอบรอน เจมส์, ดีเวย์น เหว็ด และ คริส บอช
หลังจาก ฮีต คว้าแชมป์สมัยแรก ปี 2006 “ดี-เหว็ด” ก้าวมารับตำแหน่งผู้นำทีมอย่างเต็มตัว แต่พอมองรอบกาย ก็มักเจอแต่ดาวรุ่ง ซึ่งเจ้าตัวก็ต้องแบกทีมเพียงลำพังมาตลอดจนส่อแววทนความตกต่ำไม่ไหว และอาจย้ายสังกัด แต่สถานการณ์พลิกผันเมื่อได้ “คิงเจมส์” กับ “อวตาร” มาผนึกกำลังเมื่อปี 2010 และพาทีมสู่ความยิ่งใหญ่ ครองแชมป์ 2 จาก 4 ปีล่าสุด
การสร้างทีมของ NBA ต้องมองกันระยะยาว บางทีเรามักจะเห็นทีมเกรดสมันน้อย อยู่ดีๆ ก็ก้าวกระโดดขึ้นทำเนียบเต็งแชมป์ ซึ่งทีมเหล่านี้มักล้างแค็ป รอคอยการเซ็นซูเปอร์สตาร์ช่วงเปิดตลาดฟรีเอเยนต์ กรณีศึกษาชัดเจนสุดๆ คงหนีไม่พ้น คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส ปี 2014 ที่เพิ่งสอย “แอลบีเจ” คืนสู่เหย้า และก็กำลังจะดึง เควิน เลิฟ ฟอร์เวิร์ด “ออล-สตาร์” 3 สมัย มาจอยกับ คายรี เออร์วิง การ์ดจ่ายแม่ทัพ วันที่ 23 สิงหาคมนี้ ตามวัน-เวลาท้องถิ่น หาก NBA ไม่ล้มโต๊ะการเทรดเสียก่อน ซึ่งก็มาฟอร์มเดียวกับ ฮีต
ความสมบูรณ์แบบย่อมไม่มีในโลก ถึงแม้จะมีการกำหนดเพดานเงินเดือน แต่ก็ยังมีช่องโหว่ให้บรรดาทีมเล็กๆ พอจะลืมตาอ้าปากทาบรัศมีกับทีมชั้นนำ อย่างไรก็ตาม การทุ่มทุนสร้างทีมด้วยเงินมหาศาล ก็ไม่ใช่ความสำเร็จที่จะจีรังยั่งยืน เพราะเมื่อถึงวันซูเปอร์สตาร์หมดสัญญา หรือใช้สิทธิ์เป็นฟรีเอเยนต์ก็มักจะเจอทางตัน เท่ากับว่าความสำเร็จแบบฉาบฉวย ก็มักจะสูญสลายลงอย่างรวดเร็ว หากขาดการวางรากฐานอันมั่นคง
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
พิจารณาวงการกีฬายุคปัจจุบัน เรียกได้ว่าเงินตราย่อมมีอิทธิพลแทบทุกชนิด ตัวอย่างชัดเจนสุดเห็นจะเป็นแวดวงลูกหนัง ดังเช่น แมนเชสเตอร์ ซิตี หลังจาก ชีคห์ มันซูร์ เข้ามาเทกโอเวอร์ ก็ดึงสตาร์มาประดับถิ่น เอติฮัด สเตเดียม เป็นว่าเล่น แน่นอนว่าแนวคิดเช่นนี้ก็ระบาดมาถึง “อเมริกัน เกมส์” เช่นกัน ซึ่งก็แสดงให้เห็นขีดจำกัดด้านเพดานเงินเดือน (ซาลารี แค็ป) ก็หาใช่อุปสรรค หากทีมใดหวังพึ่งทางลัดสู่บัลลังก์แชมป์บาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA)
สมัยเริ่มติดตาม NBA อย่างจริงจังใหม่ๆ สักปี 1996 หรือ 1997 มักจะเห็น 2 ซูเปอร์สตาร์ของทีมเป็นตัวชูโรง อย่าง ชิคาโก บูลล์ส ยุคเกรียงไกร ก็มี สก็อตตี พิพเพน กับ ไมเคิล จอร์แดน ด้าน ยูทาห์ แจซซ์ แฟนๆ ก็น่าจะติดตากับกลยุทธ์ “พิค แอนด์ โรลล์” ของ จอห์น สต็อคตัน กับ คาร์ล มาโลน หรือ ซีแอตเติล ซูเปอร์โซนิกส์ แน่นอนว่าต้องเป็น ชอว์น เคมพ์ กับ แกรี เพย์ตัน และ แอลเอ เลเกอร์ส ผลัดใบจากยุค “โชว์ไทม์” ก็มี ชาคิลล์ โอนีล กับ โคบี ไบรอันท์
หากมองกันตลอด 4-5 ปีล่าสุด ก็มาถึงการสร้างทีม โดยมี “บิ๊กทรี” เป็นแกนหลัก เริ่มจาก บอสตัน เซลติกส์ ปี 2008 ภายใต้การนำของ “บิ๊กทรี” อย่าง เควิน การ์เน็ตต์, พอล เพียร์ซ และ เรย์ อัลเลน ซึ่งช่วยกันนำแชมป์แรกตั้งแต่ปี 1986 กลับสู่ถิ่น ทีดี การ์เดน และ ดัลลัส แมฟเวอริกส์ ชุดแชมป์ปี 2011 นำโดย ไทสัน แชนด์เลอร์ ยอดเซ็นเตอร์เกมรับ, เดิร์ก โนวิตซ์กี และ เจสัน คิดด์ มาจนถึง ไมอามี ฮีต ในกำมือของ เลอบรอน เจมส์, ดีเวย์น เหว็ด และ คริส บอช
หลังจาก ฮีต คว้าแชมป์สมัยแรก ปี 2006 “ดี-เหว็ด” ก้าวมารับตำแหน่งผู้นำทีมอย่างเต็มตัว แต่พอมองรอบกาย ก็มักเจอแต่ดาวรุ่ง ซึ่งเจ้าตัวก็ต้องแบกทีมเพียงลำพังมาตลอดจนส่อแววทนความตกต่ำไม่ไหว และอาจย้ายสังกัด แต่สถานการณ์พลิกผันเมื่อได้ “คิงเจมส์” กับ “อวตาร” มาผนึกกำลังเมื่อปี 2010 และพาทีมสู่ความยิ่งใหญ่ ครองแชมป์ 2 จาก 4 ปีล่าสุด
การสร้างทีมของ NBA ต้องมองกันระยะยาว บางทีเรามักจะเห็นทีมเกรดสมันน้อย อยู่ดีๆ ก็ก้าวกระโดดขึ้นทำเนียบเต็งแชมป์ ซึ่งทีมเหล่านี้มักล้างแค็ป รอคอยการเซ็นซูเปอร์สตาร์ช่วงเปิดตลาดฟรีเอเยนต์ กรณีศึกษาชัดเจนสุดๆ คงหนีไม่พ้น คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส ปี 2014 ที่เพิ่งสอย “แอลบีเจ” คืนสู่เหย้า และก็กำลังจะดึง เควิน เลิฟ ฟอร์เวิร์ด “ออล-สตาร์” 3 สมัย มาจอยกับ คายรี เออร์วิง การ์ดจ่ายแม่ทัพ วันที่ 23 สิงหาคมนี้ ตามวัน-เวลาท้องถิ่น หาก NBA ไม่ล้มโต๊ะการเทรดเสียก่อน ซึ่งก็มาฟอร์มเดียวกับ ฮีต
ความสมบูรณ์แบบย่อมไม่มีในโลก ถึงแม้จะมีการกำหนดเพดานเงินเดือน แต่ก็ยังมีช่องโหว่ให้บรรดาทีมเล็กๆ พอจะลืมตาอ้าปากทาบรัศมีกับทีมชั้นนำ อย่างไรก็ตาม การทุ่มทุนสร้างทีมด้วยเงินมหาศาล ก็ไม่ใช่ความสำเร็จที่จะจีรังยั่งยืน เพราะเมื่อถึงวันซูเปอร์สตาร์หมดสัญญา หรือใช้สิทธิ์เป็นฟรีเอเยนต์ก็มักจะเจอทางตัน เท่ากับว่าความสำเร็จแบบฉาบฉวย ก็มักจะสูญสลายลงอย่างรวดเร็ว หากขาดการวางรากฐานอันมั่นคง
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *