คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
“เวลา วารี ไม่เคยคอยใคร” เป็นจริงดังนี้เสมอ ขนาดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ อันเป็นมหกรรมกีฬาแห่งภูมิภาคอาเซียน ที่เริ่มแรกใช้ชื่อว่า เซียปเกมส์ หรือ (SEAP Games) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “กีฬาแหลมทอง” จัดขึ้นครั้งแรกปี พ.ศ.2502 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีชาติสมาชิกผู้ก่อตั้งประกอบด้วย มาเลเซีย, เวียดนามใต้, ราชอาณาจักรลาว, พม่า, ราชอาณาจักรเขมร และไทย ผ่านมาแล้วกว่า 50 ปี
ถึงวันนี้เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย เริ่มจากมีสมาชิกเข้าร่วมมากขึ้นเป็น 11 ชาติในปัจจุบัน จาก “เซียบเกมส์” ก็เปลี่ยนมาเป็น “ซีเกมส์” จากที่แข่งกันอย่างไรใน 8 ครั้งแรกก็มีแต่ไทย กับพม่า เป็นเจ้าเหรียญทอง จนมาถึงครั้งที่ 9 ก็มี อินโดนีเซีย ชาติสมาชิกที่เป็นหมู่เกาะที่มีจำนวนมากที่สุดในโลกมาเป็นเจ้าเหรียญทอง ก่อนที่จะมาถึงยุคที่ชาติใดเป็นเจ้าภาพ ชาตินั้นก็จะได้เป็นเจ้าเหรียญทอง (ซึ่งดูๆ ไปก็เหมือนว่าชาติเรานี้แหละที่เป็นจุดเริ่ม)
และเรื่องการเป็นเจ้าเหรียญทองซีเกมส์นี่แหละครั้งที่ส่งผลให้การแข่งขันกีฬาแห่งมิตรภาพของภูมิภาคอาเซียนเปลี่ยนไป เนื่องจากชาติต่างๆ ที่เป็นเจ้าภาพก็อยากเป็นเจ้าเหรียญทอง สร้างความภูมิใจให้กับผู้คนในชาติกันทั้งนั้น เริ่มแรกของปฏิบัติการเหล่านี้ก็ต้องเสนอตัวเป็นเจ้าภาพให้ได้ก่อน จากนั้นมาระดมสรรพกำลังภายในประเทศจัดสร้างสนามกีฬา ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง หมู่บ้านนักกีฬา ระบบขนส่งภายในประเทศ
หลังจากนั้นก็เรียกมนตรีซีเกมส์ของแต่ละชาติมาประชุมเพื่อสรุปชนิดกีฬาที่จะใช้แข่งขัน และจำนวนเหรียญทอง ตรงนี้แหละครับที่เริ่มวุ่น เพราะเจ้าภาพลงทุนลงแรงไปไม่น้อยกับการจัดการแข่งขัน 1 ครั้ง ดังนั้นไม่น่าแปลกใจที่เขาก็อยากได้เหรียญทองจำนวนมาก จึงเน้นชนิดกีฬาที่ตัวเองมีความถนัด เราจึงได้เห็นกีฬาแปลกๆ อย่าง “ลูกข่าง” กีฬาสาธิตของลาว, “โววีนัม” ของเวียดนาม, ตารุง เดราจัต กีฬาประจำชาติของอินโดนีเซีย
มาถึงการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 11-22 ธันวาคมนี้ เราจะได้เห็นกีฬาพื้นบ้านอย่าง โววีนัม, ปันจักสีลัต, เคมโป, ชินลง (กีฬาตะกร้อพื้นบ้านเมียนมาร์), เรือยาว (น่าจะเป็นเรือมังกร) ซึ่งดูแล้วแต่ละชนิดชิงเหรียญทองกันมหาศาลทั้งนั้น อาทิ ชินลง 8 เหรียญทอง, โววีนัม 18 เหรียญทอง, ปันจักสีลัต 15 เหรียญทอง, เรือยาว (เรือมังกร) 17 เหรียญทอง รวมถึงกีฬาอย่าง วูซู 23 เหรียญทอง และ มวยปล้ำ 21 เหรียญทอง
ดูแล้วนอกจากทีมชาติไทยของเราจะไม่ได้เป็นเจ้าเหรียญทองแล้ว อันดับ 2 หรือ 3 ก็อาจจะพลาดไปด้วยเหมือนกัน เพราะเน้นที่กีฬาพื้นบ้านกันจริงๆ โดยมี เมียนมาร์ น่าจะมาวิน ส่วนอันดับ 2 และ 3 น่าจะเป็นเวียดนาม กับอินโดนีเซีย ที่เบียดแย่งกัน
บางทีเราน่าจะมาทบทวนนโยบายด้านกีฬากับภูมิภาคอาเซียน ที่เราเตรียมเข้าร่วมเพื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ “เออีซี” ว่าเราจะเน้นที่กีฬาสากลอย่างที่เคยเชื่อและยึดถือปฏิบัติกันมา หรือจะหันกลับมาให้ความสำคัญกับความเป็น “อาเซียน” มากกว่ากัน
“เวลา วารี ไม่เคยคอยใคร” เป็นจริงดังนี้เสมอ ขนาดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ อันเป็นมหกรรมกีฬาแห่งภูมิภาคอาเซียน ที่เริ่มแรกใช้ชื่อว่า เซียปเกมส์ หรือ (SEAP Games) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “กีฬาแหลมทอง” จัดขึ้นครั้งแรกปี พ.ศ.2502 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมีชาติสมาชิกผู้ก่อตั้งประกอบด้วย มาเลเซีย, เวียดนามใต้, ราชอาณาจักรลาว, พม่า, ราชอาณาจักรเขมร และไทย ผ่านมาแล้วกว่า 50 ปี
ถึงวันนี้เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย เริ่มจากมีสมาชิกเข้าร่วมมากขึ้นเป็น 11 ชาติในปัจจุบัน จาก “เซียบเกมส์” ก็เปลี่ยนมาเป็น “ซีเกมส์” จากที่แข่งกันอย่างไรใน 8 ครั้งแรกก็มีแต่ไทย กับพม่า เป็นเจ้าเหรียญทอง จนมาถึงครั้งที่ 9 ก็มี อินโดนีเซีย ชาติสมาชิกที่เป็นหมู่เกาะที่มีจำนวนมากที่สุดในโลกมาเป็นเจ้าเหรียญทอง ก่อนที่จะมาถึงยุคที่ชาติใดเป็นเจ้าภาพ ชาตินั้นก็จะได้เป็นเจ้าเหรียญทอง (ซึ่งดูๆ ไปก็เหมือนว่าชาติเรานี้แหละที่เป็นจุดเริ่ม)
และเรื่องการเป็นเจ้าเหรียญทองซีเกมส์นี่แหละครั้งที่ส่งผลให้การแข่งขันกีฬาแห่งมิตรภาพของภูมิภาคอาเซียนเปลี่ยนไป เนื่องจากชาติต่างๆ ที่เป็นเจ้าภาพก็อยากเป็นเจ้าเหรียญทอง สร้างความภูมิใจให้กับผู้คนในชาติกันทั้งนั้น เริ่มแรกของปฏิบัติการเหล่านี้ก็ต้องเสนอตัวเป็นเจ้าภาพให้ได้ก่อน จากนั้นมาระดมสรรพกำลังภายในประเทศจัดสร้างสนามกีฬา ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง หมู่บ้านนักกีฬา ระบบขนส่งภายในประเทศ
หลังจากนั้นก็เรียกมนตรีซีเกมส์ของแต่ละชาติมาประชุมเพื่อสรุปชนิดกีฬาที่จะใช้แข่งขัน และจำนวนเหรียญทอง ตรงนี้แหละครับที่เริ่มวุ่น เพราะเจ้าภาพลงทุนลงแรงไปไม่น้อยกับการจัดการแข่งขัน 1 ครั้ง ดังนั้นไม่น่าแปลกใจที่เขาก็อยากได้เหรียญทองจำนวนมาก จึงเน้นชนิดกีฬาที่ตัวเองมีความถนัด เราจึงได้เห็นกีฬาแปลกๆ อย่าง “ลูกข่าง” กีฬาสาธิตของลาว, “โววีนัม” ของเวียดนาม, ตารุง เดราจัต กีฬาประจำชาติของอินโดนีเซีย
มาถึงการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 11-22 ธันวาคมนี้ เราจะได้เห็นกีฬาพื้นบ้านอย่าง โววีนัม, ปันจักสีลัต, เคมโป, ชินลง (กีฬาตะกร้อพื้นบ้านเมียนมาร์), เรือยาว (น่าจะเป็นเรือมังกร) ซึ่งดูแล้วแต่ละชนิดชิงเหรียญทองกันมหาศาลทั้งนั้น อาทิ ชินลง 8 เหรียญทอง, โววีนัม 18 เหรียญทอง, ปันจักสีลัต 15 เหรียญทอง, เรือยาว (เรือมังกร) 17 เหรียญทอง รวมถึงกีฬาอย่าง วูซู 23 เหรียญทอง และ มวยปล้ำ 21 เหรียญทอง
ดูแล้วนอกจากทีมชาติไทยของเราจะไม่ได้เป็นเจ้าเหรียญทองแล้ว อันดับ 2 หรือ 3 ก็อาจจะพลาดไปด้วยเหมือนกัน เพราะเน้นที่กีฬาพื้นบ้านกันจริงๆ โดยมี เมียนมาร์ น่าจะมาวิน ส่วนอันดับ 2 และ 3 น่าจะเป็นเวียดนาม กับอินโดนีเซีย ที่เบียดแย่งกัน
บางทีเราน่าจะมาทบทวนนโยบายด้านกีฬากับภูมิภาคอาเซียน ที่เราเตรียมเข้าร่วมเพื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวกับ “เออีซี” ว่าเราจะเน้นที่กีฬาสากลอย่างที่เคยเชื่อและยึดถือปฏิบัติกันมา หรือจะหันกลับมาให้ความสำคัญกับความเป็น “อาเซียน” มากกว่ากัน