คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
ผมได้เห็นตัวเลขจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอล โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก 2013 คู่บิ๊กแม็ทช์ระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จ่าฝูง กับ เมืองทอง ยูไนเต็ด แช้มพ์เก่า ที่ ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ทั้งจากการจำหน่ายบัตรเข้าชมและสินค้าที่ระลึกเป็นจำนวนมากมายเหลือเกิน ทำให้นึกไปถึงอนาคตข้างหน้า ลีกของไทยอาจขึ้นไปติดอันดับท็อพเท็นของโลกก็ได้ เพราะว่าที่จริงแฟนบอลตัวยงที่คอยเชียร์บอลฝรั่งนั้นล้วนอยู่ในทวีปเอเชียนี่เอง
จำนวนผู้ซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขันในวันนั้น 27,088 คน ได้เงินทั้งสิ้น 2,049,650 บาท ในขณะเดียวกันสินค้าที่ระลึกก็ขายได้เงินถล่มทลายฟันเงินไปถึง 2,088,680 บาท รวมเป็นรายได้เนื้อๆ 4,138,330 บาท มันไม่ใช่รายได้หลักพันเหมือนการแข่งขันระดับเดียวกันบางนัดเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาอีกแล้ว
วันนี้ผมมีอันดับและตัวเลขรายได้ของลีกฟุตบอลในประเทศที่ติดอันดับโลกมาฝาก ซึ่ง เดอล้อยท์ ( Deloitte ) บริษัทตรวจสอบบัญชียักษ์ใหญ่ของโลก สัญชาติอังกฤษ แต่มีสำนักงานใหญ่อยู่ใน นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ทำวิจัย อันนี้เป็นตัวเลขของฤดูกาล 2011-2012 ที่เขาเพิ่งนำออกมาเผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้เองครับ
เริ่มที่ เอเรดีฟีซี่ ( Eredivisie ) ลีกสูงสุดของ เนเธอร์แลนด์ส ทำรายได้ในปีนั้นไปทั้งสิ้น 434 ล้าน ยูโร คิดเป็นเงินไทยก็ตก 17,360 ล้าน บาท ลีกของท่านรอง 2 สมัย ซึ่งมี อัยยักซ์ อัมสเตอร์ดัม ( Ajax Amsterdam ) เป็นตัวชูโรง เข้าป้ายเป็นอันดับ 9 ของโลก ดีกว่านั้นคือ ซูเพ่อร์ ลีก ( Super lig ) ของ ตุรกี ที่มี กาลาตาซาราย ( Galatasaray ) เป็นดาราที่แฟนบอลคลั่งไคล้ รายได้รวมเหนือกว่าแค่ 10 ล้าน ยูโร
ขนาด แชมเปี้ยนชิพ ( Championship ) ของ อังกฤษ ซึ่งเป็นลีกระดับ 2 รองจากลีกสูงสุดคือ เพรอมิเอ ลีก ( Premier League ) ยังติดอันดับ 7 เพราะในฤดูกาล 2011 กวาดรายได้ไป 588 ล้าน ยูโร ในขณะที่ เพรอมิเอ ลีก ของ รุสซิยา ( Russian Premier League ) มาอันดับ 6 ทำรายได้ทั้งปี 636 ล้าน ยูโร
คราวนี้ก็มาถึง 5 ลีกดังของโลกซึ่งมีรายรับผ่านหลัก 1 พันล้าน ยูโร ขึ้นไปทั้งนั้น อันดับ 5 เป็น ลีก เอิง ( Ligue 1 ) ของ ฝรั่งเศส แช้มพ์โลก 1998 ของ มีเชล ปลาตินี ประธาน ฟีฟ่า ในอนาคต มีรายได้ทั้งสิ้น 1.1 พันล้าน ยูโร ซึ่งเขาบอกว่า รายได้จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขันนั้นคิดเป็นเพียง 11 เพอร์เซ็นท์เท่านั้นของรายได้ทั้งหมด นอกนั้นมาจากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดโทรทัศน์และอื่นๆ อันดับ 4 เป็นของ ลีก อิตาลี แช้มพ์โลก 4 สมัย กัลโช เซริเอ อา ลีกสูงสุดที่มี เอซี มีลาน ยูเวนตุส และ อินเตรนาซิออนนาเล 3 ทีมช่วยกันกวาดแช้มพ์ซะส่วนใหญ่ ทำรายได้ 1.6 พันล้าน ยูโร นี่ก็เป็นรายได้จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขันคิดเป็น 12 เพอร์เซ็นท์เท่านั้น
ผมค่อนข้างผิดคาดไปหน่อยที่ ปรีเมร่า ดีบีซิอ็อน ( Primera Division ) หรือ ลา ลีก้า ( La Liga ) ของ สเปน ที่มีทั้ง เรอัล มาดริด และ บารเซโลนา 2 ทีมยักษ์ใหญ่ของโลกเป็นซุพเพ่อร์สตาร์ประจำลีก จะมีรายได้อยู่แค่อันดับ 3 คิดเป็นเงิน 1.8 พันล้าน ยูโร อย่างไรก็ตาม เดอล้อยท์ บอกว่า ลำพังรายได้ที่ทั้ง 2 ทีมยักษ์ทำได้ก็คิดเป็น 56 เพอร์เซ็นท์ของทั้ง ลา ลีก้า แล้วครับ
อันดับ 2 เป็น บุนเดสลีก้า ( Bundesliga ) ของ เจอรมานี ที่ บาแยร์น มุนเชิ่น และ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ กวาดทั้งแช้มพ์และรองแช้มพ์ ยูเอ็ฟฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาลล่าสุดไปครอง บุนเดสลีกา ทำเงิน 1.9 ล้าน ยูโร โดยมีรายได้จากค่าโฆษณาสินค้าเป็นหลักคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้จำนวนนี้
ส่วนแช้มพ์รายได้คือ เพรอมิเอ ลีก ( Premier League ) ของ อังกฤษ ที่หลายทีมตัวชูโรงเพิ่งมาพักร้อนที่เมืองไทยเมื่อไม่กี่วันก่อน รายได้ลีกอังกฤษนำโด่งที่ 2.9 พันล้าน ยูโร คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 116,000 ล้าน บาท ซึ่งครึ่งหนึ่งตั๋งๆ เลยมาจากเงินในกระเป๋าของตี๋เอเชียอย่างพี่ไทยเรานี่เอง ก็ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดโทรทัศน์ไงครับ
ผมได้เห็นตัวเลขจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอล โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก 2013 คู่บิ๊กแม็ทช์ระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จ่าฝูง กับ เมืองทอง ยูไนเต็ด แช้มพ์เก่า ที่ ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ทั้งจากการจำหน่ายบัตรเข้าชมและสินค้าที่ระลึกเป็นจำนวนมากมายเหลือเกิน ทำให้นึกไปถึงอนาคตข้างหน้า ลีกของไทยอาจขึ้นไปติดอันดับท็อพเท็นของโลกก็ได้ เพราะว่าที่จริงแฟนบอลตัวยงที่คอยเชียร์บอลฝรั่งนั้นล้วนอยู่ในทวีปเอเชียนี่เอง
จำนวนผู้ซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขันในวันนั้น 27,088 คน ได้เงินทั้งสิ้น 2,049,650 บาท ในขณะเดียวกันสินค้าที่ระลึกก็ขายได้เงินถล่มทลายฟันเงินไปถึง 2,088,680 บาท รวมเป็นรายได้เนื้อๆ 4,138,330 บาท มันไม่ใช่รายได้หลักพันเหมือนการแข่งขันระดับเดียวกันบางนัดเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาอีกแล้ว
วันนี้ผมมีอันดับและตัวเลขรายได้ของลีกฟุตบอลในประเทศที่ติดอันดับโลกมาฝาก ซึ่ง เดอล้อยท์ ( Deloitte ) บริษัทตรวจสอบบัญชียักษ์ใหญ่ของโลก สัญชาติอังกฤษ แต่มีสำนักงานใหญ่อยู่ใน นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ทำวิจัย อันนี้เป็นตัวเลขของฤดูกาล 2011-2012 ที่เขาเพิ่งนำออกมาเผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้เองครับ
เริ่มที่ เอเรดีฟีซี่ ( Eredivisie ) ลีกสูงสุดของ เนเธอร์แลนด์ส ทำรายได้ในปีนั้นไปทั้งสิ้น 434 ล้าน ยูโร คิดเป็นเงินไทยก็ตก 17,360 ล้าน บาท ลีกของท่านรอง 2 สมัย ซึ่งมี อัยยักซ์ อัมสเตอร์ดัม ( Ajax Amsterdam ) เป็นตัวชูโรง เข้าป้ายเป็นอันดับ 9 ของโลก ดีกว่านั้นคือ ซูเพ่อร์ ลีก ( Super lig ) ของ ตุรกี ที่มี กาลาตาซาราย ( Galatasaray ) เป็นดาราที่แฟนบอลคลั่งไคล้ รายได้รวมเหนือกว่าแค่ 10 ล้าน ยูโร
ขนาด แชมเปี้ยนชิพ ( Championship ) ของ อังกฤษ ซึ่งเป็นลีกระดับ 2 รองจากลีกสูงสุดคือ เพรอมิเอ ลีก ( Premier League ) ยังติดอันดับ 7 เพราะในฤดูกาล 2011 กวาดรายได้ไป 588 ล้าน ยูโร ในขณะที่ เพรอมิเอ ลีก ของ รุสซิยา ( Russian Premier League ) มาอันดับ 6 ทำรายได้ทั้งปี 636 ล้าน ยูโร
คราวนี้ก็มาถึง 5 ลีกดังของโลกซึ่งมีรายรับผ่านหลัก 1 พันล้าน ยูโร ขึ้นไปทั้งนั้น อันดับ 5 เป็น ลีก เอิง ( Ligue 1 ) ของ ฝรั่งเศส แช้มพ์โลก 1998 ของ มีเชล ปลาตินี ประธาน ฟีฟ่า ในอนาคต มีรายได้ทั้งสิ้น 1.1 พันล้าน ยูโร ซึ่งเขาบอกว่า รายได้จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขันนั้นคิดเป็นเพียง 11 เพอร์เซ็นท์เท่านั้นของรายได้ทั้งหมด นอกนั้นมาจากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดโทรทัศน์และอื่นๆ อันดับ 4 เป็นของ ลีก อิตาลี แช้มพ์โลก 4 สมัย กัลโช เซริเอ อา ลีกสูงสุดที่มี เอซี มีลาน ยูเวนตุส และ อินเตรนาซิออนนาเล 3 ทีมช่วยกันกวาดแช้มพ์ซะส่วนใหญ่ ทำรายได้ 1.6 พันล้าน ยูโร นี่ก็เป็นรายได้จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขันคิดเป็น 12 เพอร์เซ็นท์เท่านั้น
ผมค่อนข้างผิดคาดไปหน่อยที่ ปรีเมร่า ดีบีซิอ็อน ( Primera Division ) หรือ ลา ลีก้า ( La Liga ) ของ สเปน ที่มีทั้ง เรอัล มาดริด และ บารเซโลนา 2 ทีมยักษ์ใหญ่ของโลกเป็นซุพเพ่อร์สตาร์ประจำลีก จะมีรายได้อยู่แค่อันดับ 3 คิดเป็นเงิน 1.8 พันล้าน ยูโร อย่างไรก็ตาม เดอล้อยท์ บอกว่า ลำพังรายได้ที่ทั้ง 2 ทีมยักษ์ทำได้ก็คิดเป็น 56 เพอร์เซ็นท์ของทั้ง ลา ลีก้า แล้วครับ
อันดับ 2 เป็น บุนเดสลีก้า ( Bundesliga ) ของ เจอรมานี ที่ บาแยร์น มุนเชิ่น และ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ กวาดทั้งแช้มพ์และรองแช้มพ์ ยูเอ็ฟฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาลล่าสุดไปครอง บุนเดสลีกา ทำเงิน 1.9 ล้าน ยูโร โดยมีรายได้จากค่าโฆษณาสินค้าเป็นหลักคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้จำนวนนี้
ส่วนแช้มพ์รายได้คือ เพรอมิเอ ลีก ( Premier League ) ของ อังกฤษ ที่หลายทีมตัวชูโรงเพิ่งมาพักร้อนที่เมืองไทยเมื่อไม่กี่วันก่อน รายได้ลีกอังกฤษนำโด่งที่ 2.9 พันล้าน ยูโร คิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 116,000 ล้าน บาท ซึ่งครึ่งหนึ่งตั๋งๆ เลยมาจากเงินในกระเป๋าของตี๋เอเชียอย่างพี่ไทยเรานี่เอง ก็ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดโทรทัศน์ไงครับ