คอลัมน์ “The Golf Touch” โดย “วันปีย์ สัจจมาร์ค”
“การได้เล่นกอล์ฟในช่วงนี้ช่างมีความสุขเหลือเกิน”
เป็นคำพูดจากนักกอล์ฟสมัครเล่นอาชีพ (ออกรอบแทบทุกวัน) ได้กล่าวเอาไว้กับผม ทำให้ผมสังเกตได้ว่ามันก็จริงอย่างที่เขาพูด เล่นกอล์ฟหน้าหนาวในประเทศเรานั้น อากาศกำลังสบายไม่ร้อนจนเกินไป บรรยากาศก็ดีถ้ามีโอกาสออกสนามต่างจังหวัด บางทีจบ 18 หลุมแล้วเหงื่อยังไม่ออกเลยด้วยซ้ำ
แต่ถ้าเทียบกับทวีปยุโรปในเวลาเดียวกันแล้ว รู้สึกได้อย่างชัดเจนว่าเมืองไทยคือสวรรค์ของนักกอล์ฟ นอกจากมีสนามกอล์ฟให้เลือกเล่นได้มากมายในราคาย่อมเยา ยังเล่นกอล์ฟได้ตลอดทั้งปี เพราะฤดูหนาวในทวีปยุโรปนั้นจะมีช่วงเวลากลางวันที่มีแสงสว่างสั้นมาก บางประเทศแค่ 3 ชั่วโมงต่อวันก็มี ขอยกตัวอย่างประเทศอังกฤษในช่วงนี้นะครับ เพราะได้ข้อมูลมาจากน้องรักที่ไปเรียนต่ออยู่ที่กรุงลอนดอน อังกฤษในฤดูหนาวจะเริ่มสว่างประมาณ 8 โมงเช้า และจะเริ่มมืดตอน 15.30 น. ทำให้เหลือช่วงเวลาออกรอบที่สั้นลงกว่าปกติ และถ้าหากต้องการจะตีแต่เช้าก็ต้องจ่ายราคาที่แพงมากกว่าในช่วงบ่ายพอสมควร ลองมานึกคำนวณว่าออกรอบ 4 คนในเวลา 3 ชั่วโมงครึ่งของช่วงบ่าย โดยต้องแบกถุงเองในสนามภูเขา... เล่นไม่จบแน่นอน! แล้วนักกอล์ฟท้องถิ่นที่มีใจรักกอล์ฟเหมือนพวกเราแต่กระเป๋าสตางค์ไม่หนา จะทำอย่างไรดีเมื่อรู้สึกคันไม้คันมือจนอดไม่ไหว? คำตอบที่ได้รับจากคนที่ออกรอบเป็นประจำที่อังกฤษก็คือ ทีออฟ "หลังเที่ยง” แต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยนิดหน่อย ซึ่งก็คือไฟฉายแรงสูง 3 กระบอก!
เทคนิคเพิ่มเติมสำหรับการออกรอบท่ามกลางอุณหภูมิ 0 องศาที่อาจจะลดลงถึง -3องศา เมื่อแสงสว่างเริ่มหมดไป นอกจากเสื้อที่ต้องใส่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละชั้นแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือถุงมือกันหนาวที่ควรใส่ตลอดเวลา ถอดเมื่อตอนจะตีเท่านั้น นอกจากนี้ ด้วยสภาวะอากาศแล้ว จะต้องบวก ลบ เรื่องระยะให้ดี สิ่งที่ควรทำใจเอาไว้เลยก็คือระยะน่าจะสั้นลงอย่างแน่นอน ต่อมาการเล่นก็ต้องเพิ่ม "รูทีน" ขึ้นมาอีกเล็กน้อย เนื่องจากเราต้องเดินผ่านแม่คะนิ้งทั้งหลาย ทำให้กลายเป็นน้ำแข็งติดอยู่ที่พื้นรองเท้าค่อนข้างหนา เพราะฉะนั้นก่อนตีทุกช็อตจะต้องใช้ไม้กอล์ฟเคาะรองเท้าเอาน้ำแข็งออกก่อนตลอด คล้ายกับเวลาที่เราเคาะทรายออกหลังจากเล่นลูกในบังเกอร์ มิฉะนั้นขณะสวิงจะยืนไม่อยู่แน่นอน การแอพโพรชขึ้นกรีนก็จะมีอุปสรรคเล็กน้อยถ้าลูกเราบังเอิญไปตกบนผิวกรีนบริเวณที่มีผลึกน้ำแข็งอยู่ ซึ่งจะทำให้ลูกกระดอนแรงขึ้นกว่าปกติ!
ส่วนเรื่องพัตต์หายห่วงเลยครับ.. นอกจากจะต้องต่อสู้กับไลน์แล้วยังต้องต่อสู้กับโชคชะตาที่ต้องลุ้นไปกับผลึกน้ำแข็งที่อยู่ในเส้นทาง ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางของลูกแน่นอน แต่ไฮไลท์สำคัญของคนท้องถิ่นก็คือเมื่อแสงสว่างได้เริ่มหมดลงในหลุม 14 พวกเขาจะต้องเปลี่ยนลูกกอล์ฟมาใช้ลูกเรืองแสงสีเหลือง แล้วให้เพื่อนร่วมก๊วนใช้ไฟฉายกระบอกแรกส่องไปที่ตำแหน่งของลูกกอล์ฟ กระบอกที่สองใช้ส่องไปที่กรีนหรือบริเวณเป้าหมาย ส่วนกระบอกสุดท้ายนี่ต้องเทพสักหน่อยคือ คนตีจะต้องบอกคนส่องว่าจะตีไปในทิศทางไหน เพื่อที่คนส่องจะได้สาดแสงไฟไปทางนั้นแล้วคอยไล่ตามวิถีของลูกกอล์ฟให้ได้ ซึ่งถ้าไม่สำเร็จทุกอย่างตามที่พูดไว้...ก็แทบจะลูกหายกันทันที!
บางท่านอาจจะคิดว่าจริงๆ แล้วไม่เห็นต้องลำบากออกไปทรมานตัวเองขนาดนั้น แต่สำหรับคนบ้ากอล์ฟจริงๆ แล้ว น่าจะเข้าใจพวกเขาได้ดีเพราะเมื่อรู้สึกคันไม้คันมือขึ้นมา และยังเห็นช่องทางที่พอเป็นไปได้ที่จะได้ออกรอบ ใครบ้างจะพลาด...อยากรักกอล์ฟดีนักก็ต้องขวนขวายกันหน่อยใช่ไหมครับ!
“การได้เล่นกอล์ฟในช่วงนี้ช่างมีความสุขเหลือเกิน”
เป็นคำพูดจากนักกอล์ฟสมัครเล่นอาชีพ (ออกรอบแทบทุกวัน) ได้กล่าวเอาไว้กับผม ทำให้ผมสังเกตได้ว่ามันก็จริงอย่างที่เขาพูด เล่นกอล์ฟหน้าหนาวในประเทศเรานั้น อากาศกำลังสบายไม่ร้อนจนเกินไป บรรยากาศก็ดีถ้ามีโอกาสออกสนามต่างจังหวัด บางทีจบ 18 หลุมแล้วเหงื่อยังไม่ออกเลยด้วยซ้ำ
แต่ถ้าเทียบกับทวีปยุโรปในเวลาเดียวกันแล้ว รู้สึกได้อย่างชัดเจนว่าเมืองไทยคือสวรรค์ของนักกอล์ฟ นอกจากมีสนามกอล์ฟให้เลือกเล่นได้มากมายในราคาย่อมเยา ยังเล่นกอล์ฟได้ตลอดทั้งปี เพราะฤดูหนาวในทวีปยุโรปนั้นจะมีช่วงเวลากลางวันที่มีแสงสว่างสั้นมาก บางประเทศแค่ 3 ชั่วโมงต่อวันก็มี ขอยกตัวอย่างประเทศอังกฤษในช่วงนี้นะครับ เพราะได้ข้อมูลมาจากน้องรักที่ไปเรียนต่ออยู่ที่กรุงลอนดอน อังกฤษในฤดูหนาวจะเริ่มสว่างประมาณ 8 โมงเช้า และจะเริ่มมืดตอน 15.30 น. ทำให้เหลือช่วงเวลาออกรอบที่สั้นลงกว่าปกติ และถ้าหากต้องการจะตีแต่เช้าก็ต้องจ่ายราคาที่แพงมากกว่าในช่วงบ่ายพอสมควร ลองมานึกคำนวณว่าออกรอบ 4 คนในเวลา 3 ชั่วโมงครึ่งของช่วงบ่าย โดยต้องแบกถุงเองในสนามภูเขา... เล่นไม่จบแน่นอน! แล้วนักกอล์ฟท้องถิ่นที่มีใจรักกอล์ฟเหมือนพวกเราแต่กระเป๋าสตางค์ไม่หนา จะทำอย่างไรดีเมื่อรู้สึกคันไม้คันมือจนอดไม่ไหว? คำตอบที่ได้รับจากคนที่ออกรอบเป็นประจำที่อังกฤษก็คือ ทีออฟ "หลังเที่ยง” แต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยนิดหน่อย ซึ่งก็คือไฟฉายแรงสูง 3 กระบอก!
เทคนิคเพิ่มเติมสำหรับการออกรอบท่ามกลางอุณหภูมิ 0 องศาที่อาจจะลดลงถึง -3องศา เมื่อแสงสว่างเริ่มหมดไป นอกจากเสื้อที่ต้องใส่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละชั้นแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือถุงมือกันหนาวที่ควรใส่ตลอดเวลา ถอดเมื่อตอนจะตีเท่านั้น นอกจากนี้ ด้วยสภาวะอากาศแล้ว จะต้องบวก ลบ เรื่องระยะให้ดี สิ่งที่ควรทำใจเอาไว้เลยก็คือระยะน่าจะสั้นลงอย่างแน่นอน ต่อมาการเล่นก็ต้องเพิ่ม "รูทีน" ขึ้นมาอีกเล็กน้อย เนื่องจากเราต้องเดินผ่านแม่คะนิ้งทั้งหลาย ทำให้กลายเป็นน้ำแข็งติดอยู่ที่พื้นรองเท้าค่อนข้างหนา เพราะฉะนั้นก่อนตีทุกช็อตจะต้องใช้ไม้กอล์ฟเคาะรองเท้าเอาน้ำแข็งออกก่อนตลอด คล้ายกับเวลาที่เราเคาะทรายออกหลังจากเล่นลูกในบังเกอร์ มิฉะนั้นขณะสวิงจะยืนไม่อยู่แน่นอน การแอพโพรชขึ้นกรีนก็จะมีอุปสรรคเล็กน้อยถ้าลูกเราบังเอิญไปตกบนผิวกรีนบริเวณที่มีผลึกน้ำแข็งอยู่ ซึ่งจะทำให้ลูกกระดอนแรงขึ้นกว่าปกติ!
ส่วนเรื่องพัตต์หายห่วงเลยครับ.. นอกจากจะต้องต่อสู้กับไลน์แล้วยังต้องต่อสู้กับโชคชะตาที่ต้องลุ้นไปกับผลึกน้ำแข็งที่อยู่ในเส้นทาง ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางของลูกแน่นอน แต่ไฮไลท์สำคัญของคนท้องถิ่นก็คือเมื่อแสงสว่างได้เริ่มหมดลงในหลุม 14 พวกเขาจะต้องเปลี่ยนลูกกอล์ฟมาใช้ลูกเรืองแสงสีเหลือง แล้วให้เพื่อนร่วมก๊วนใช้ไฟฉายกระบอกแรกส่องไปที่ตำแหน่งของลูกกอล์ฟ กระบอกที่สองใช้ส่องไปที่กรีนหรือบริเวณเป้าหมาย ส่วนกระบอกสุดท้ายนี่ต้องเทพสักหน่อยคือ คนตีจะต้องบอกคนส่องว่าจะตีไปในทิศทางไหน เพื่อที่คนส่องจะได้สาดแสงไฟไปทางนั้นแล้วคอยไล่ตามวิถีของลูกกอล์ฟให้ได้ ซึ่งถ้าไม่สำเร็จทุกอย่างตามที่พูดไว้...ก็แทบจะลูกหายกันทันที!
บางท่านอาจจะคิดว่าจริงๆ แล้วไม่เห็นต้องลำบากออกไปทรมานตัวเองขนาดนั้น แต่สำหรับคนบ้ากอล์ฟจริงๆ แล้ว น่าจะเข้าใจพวกเขาได้ดีเพราะเมื่อรู้สึกคันไม้คันมือขึ้นมา และยังเห็นช่องทางที่พอเป็นไปได้ที่จะได้ออกรอบ ใครบ้างจะพลาด...อยากรักกอล์ฟดีนักก็ต้องขวนขวายกันหน่อยใช่ไหมครับ!