คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
หลังจากที่ แล้นซ์ อาร์มสตรองก์ ( Lance Armstrong ) นักปั่นจักรยานทางไกลชาวอเมริกาถูกกล่าวโทษจาก สำนักงานต่อต้านการใช้สารกระตุ้นแห่งสหรัฐอเมริกา ( U.S. Anti-Doping Agency - USADA ) เรื่องการใช้สารกระตุ้นและถูกแบนจากการแข่งขันทุกรายการตลอดชีวิตเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยการยึดคืนตำแหน่งทั้งหมดที่หมอนี่ได้มานับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1998 สหภาพจักรยานนานาชาติ ( Union Cycliste Internationale - UCI ) ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดที่ควบคุมดูแลการจัดการแข่งขันจักรยานทั่วโลกก็ออกมารับรองคำตัดสินนั้นและยืนยันบทลงโทษแบน ตลอดจน การยึดคืนตำแหน่งต่างๆเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทำให้จนถึงวันนี้ เกร๊ก เลอมงด์ ( Greg LeMond ) นักปั่นชาวอเมริกา วัย 51 ปี กลายเป็นนักปั่นจักรยานนอกทวีปยุโรปคนแรกและคนเดียวที่สามารถคว้าแช้มพ์ เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ การแข่งขันจักรยานทางไกลของ ฝรั่งเศส ที่สุดโหด สุดหิน ยิ่งใหญ่ และยาวนาน ที่สุดในโลก
ถ้าว่ากันถึงการแข่งขันรายการใหญ่ๆ นั้น เกร๊ก เลอมงด์ เคยเป็นแช้มพ์โลก ในปี 1983 แล้วมาคว้าแช้มพ์ เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ ปี 1986 แต่ปีต่อมา เพียง 2 เดือนก่อนการแข่งขัน โชคไม่ดี ขณะเข้าป่าล่าไก่งวง เกิดอุบัติเหตุโดนน้องเขยทำปืนลูกซองลั่นใส่หลังจากระยะไม่กี่ฟุต เกือบตายเหมือนกัน ซึ่งก็ยังมีลูกปรายฝังอยู่ในตัวของเขาถึง 35 เม็ด โดยมี 4 เม็ดฝังอยู่ในตับ และอีก 2 เม็ดอยู่ใกล้กับหัวใจซะอีก ทำให้เขาไม่ได้เข้าร่วมแข่ง เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ อีก 2 หนต่อมา อย่างไรก็ตาม เมื่อ เกร๊ก ใช้เวลารักษาตัวร่วม 2 ปี และกลับเข้าแข่งขันในปี 1989 เขาก็ก้าวขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งด้วยการคว้าแช้มพ์โลก และ เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ ในปี 1989 และได้แช้มพ์ เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ เป็นสมัยที่ 3 ในปี 1990
นักปั่นเจ้าของฉายา เลอม้อนด์สเตอร์ ( LeMondster ) เป็นนักกีฬาจักรยานอาชีพคนแรกๆที่หยิบยกเรื่องภัยอันตรายที่เกิดจากการใช้สารกระตุ้นขึ้นมาพูด ทั้งนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลร้ายที่นักกีฬาจะได้รับในฐานะที่เป็น เหยื่อ หรือ หนูทดลอง ซึ่งการเสียชีวิตหรือฆ่าตัวตายของนักกีฬาก็มักมีส่วนเชื่อมโยงกับการใช้สารกระตุ้นด้วย
เกร๊ก บอกว่า พวกแพทย์ ผู้บริหารทีม และ เจ้าหน้าที่ นั่นแหละที่เป็นตัวการในการทำให้นักปั่นจักรยานเลือกเส้นทางทุจริตในการแข่งขัน และนักกีฬานั้นก็กลายเป็นคนที่ต้องชดใช้กรรมคนเดียว หลายครั้งที่ เกร๊ก พูดหรือเขียนถึงเพื่อนร่วมอาชีพในทำนองว่า พวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สารกระตุ้น อันนี้ทำให้บรรดานักปั่นจักรยานอาชีพดังๆ หลายคนรู้สึกขัดใจ ไม่ชอบขี้หน้า เกร๊ก เช่น ฟลอยด์ แลนดิส ( Floyd Landis ) อัลแบรโต กอนตาดอร ( Alberto Contador ) และ แล้นซ์ อาร์มสตรองก์ รวมทั้ง แพ็ท แม็คเควท ( Pat McQuaid ) อดีตนักปั่นจักรยานอาชีพ ชาวอายร์แลนด์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ประธาน UCI ในปัจจุบัน หลายคนถึงกับข่มขู่ เกร๊ก จะฟ้องร้องเอาเรื่อง
ก็เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า ในวงการการแข่งขันจักรยานทางไกลนั้น มันแปดเปื้อนไปด้วยสารกระตุ้น อีกทั้ง ฉาวโฉ่เรื่องการรับสินบน นักกีฬาบางคนใช้ยาต่อหน้าเพื่อนร่วมอาชีพ ซึ่งแม้ทาง UCI ทราบเรื่องก็ยังเฉย บางทีมโดนตรวจจับในขณะกำลังขนยาผ่านด่านเก็บเงินทางด่วนด้วยซ้ำ หลายคนยอมออกมาเปิดเผยเอง หลายคนยังพยายามปิดบัง
ล่าสุด เกร๊ก เลอมงด์ ประกาศตัวพร้อมลงชิงชัยตำแหน่งประธาน UCI เพื่อเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่สุจริตในองค์กร และจัดการกับปัญหาการใช้สารกระตุ้นในการแข่งขัน ซึ่งหากหมอนี่ทำสำเร็จจริง ต่อไปเราจะได้ชมการแข่งขันจักรยานทางไกลที่ใช้ฝีมือ พละกำลัง และ มันสมอง ล้วนๆ โดยไม่ต้องพึ่งสารกระตุ้น และนักกีฬาก็ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของการเอาเปรียบจากเพื่อนร่วมอาชีพ นอกจากนั้น จะไม่มีใครต้องนำตนเองเป็น หนู ให้พวกแพทย์ได้ทดลองยาตัวใหม่ๆ เป็นการเสี่ยงตายจากการใช้สารกระตุ้นอีกต่อไป
หลังจากที่ แล้นซ์ อาร์มสตรองก์ ( Lance Armstrong ) นักปั่นจักรยานทางไกลชาวอเมริกาถูกกล่าวโทษจาก สำนักงานต่อต้านการใช้สารกระตุ้นแห่งสหรัฐอเมริกา ( U.S. Anti-Doping Agency - USADA ) เรื่องการใช้สารกระตุ้นและถูกแบนจากการแข่งขันทุกรายการตลอดชีวิตเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยการยึดคืนตำแหน่งทั้งหมดที่หมอนี่ได้มานับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1998 สหภาพจักรยานนานาชาติ ( Union Cycliste Internationale - UCI ) ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดที่ควบคุมดูแลการจัดการแข่งขันจักรยานทั่วโลกก็ออกมารับรองคำตัดสินนั้นและยืนยันบทลงโทษแบน ตลอดจน การยึดคืนตำแหน่งต่างๆเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทำให้จนถึงวันนี้ เกร๊ก เลอมงด์ ( Greg LeMond ) นักปั่นชาวอเมริกา วัย 51 ปี กลายเป็นนักปั่นจักรยานนอกทวีปยุโรปคนแรกและคนเดียวที่สามารถคว้าแช้มพ์ เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ การแข่งขันจักรยานทางไกลของ ฝรั่งเศส ที่สุดโหด สุดหิน ยิ่งใหญ่ และยาวนาน ที่สุดในโลก
ถ้าว่ากันถึงการแข่งขันรายการใหญ่ๆ นั้น เกร๊ก เลอมงด์ เคยเป็นแช้มพ์โลก ในปี 1983 แล้วมาคว้าแช้มพ์ เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ ปี 1986 แต่ปีต่อมา เพียง 2 เดือนก่อนการแข่งขัน โชคไม่ดี ขณะเข้าป่าล่าไก่งวง เกิดอุบัติเหตุโดนน้องเขยทำปืนลูกซองลั่นใส่หลังจากระยะไม่กี่ฟุต เกือบตายเหมือนกัน ซึ่งก็ยังมีลูกปรายฝังอยู่ในตัวของเขาถึง 35 เม็ด โดยมี 4 เม็ดฝังอยู่ในตับ และอีก 2 เม็ดอยู่ใกล้กับหัวใจซะอีก ทำให้เขาไม่ได้เข้าร่วมแข่ง เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ อีก 2 หนต่อมา อย่างไรก็ตาม เมื่อ เกร๊ก ใช้เวลารักษาตัวร่วม 2 ปี และกลับเข้าแข่งขันในปี 1989 เขาก็ก้าวขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งด้วยการคว้าแช้มพ์โลก และ เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ ในปี 1989 และได้แช้มพ์ เลอ ตูร เดอ ฟร้องซ์ เป็นสมัยที่ 3 ในปี 1990
นักปั่นเจ้าของฉายา เลอม้อนด์สเตอร์ ( LeMondster ) เป็นนักกีฬาจักรยานอาชีพคนแรกๆที่หยิบยกเรื่องภัยอันตรายที่เกิดจากการใช้สารกระตุ้นขึ้นมาพูด ทั้งนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลร้ายที่นักกีฬาจะได้รับในฐานะที่เป็น เหยื่อ หรือ หนูทดลอง ซึ่งการเสียชีวิตหรือฆ่าตัวตายของนักกีฬาก็มักมีส่วนเชื่อมโยงกับการใช้สารกระตุ้นด้วย
เกร๊ก บอกว่า พวกแพทย์ ผู้บริหารทีม และ เจ้าหน้าที่ นั่นแหละที่เป็นตัวการในการทำให้นักปั่นจักรยานเลือกเส้นทางทุจริตในการแข่งขัน และนักกีฬานั้นก็กลายเป็นคนที่ต้องชดใช้กรรมคนเดียว หลายครั้งที่ เกร๊ก พูดหรือเขียนถึงเพื่อนร่วมอาชีพในทำนองว่า พวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สารกระตุ้น อันนี้ทำให้บรรดานักปั่นจักรยานอาชีพดังๆ หลายคนรู้สึกขัดใจ ไม่ชอบขี้หน้า เกร๊ก เช่น ฟลอยด์ แลนดิส ( Floyd Landis ) อัลแบรโต กอนตาดอร ( Alberto Contador ) และ แล้นซ์ อาร์มสตรองก์ รวมทั้ง แพ็ท แม็คเควท ( Pat McQuaid ) อดีตนักปั่นจักรยานอาชีพ ชาวอายร์แลนด์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ประธาน UCI ในปัจจุบัน หลายคนถึงกับข่มขู่ เกร๊ก จะฟ้องร้องเอาเรื่อง
ก็เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า ในวงการการแข่งขันจักรยานทางไกลนั้น มันแปดเปื้อนไปด้วยสารกระตุ้น อีกทั้ง ฉาวโฉ่เรื่องการรับสินบน นักกีฬาบางคนใช้ยาต่อหน้าเพื่อนร่วมอาชีพ ซึ่งแม้ทาง UCI ทราบเรื่องก็ยังเฉย บางทีมโดนตรวจจับในขณะกำลังขนยาผ่านด่านเก็บเงินทางด่วนด้วยซ้ำ หลายคนยอมออกมาเปิดเผยเอง หลายคนยังพยายามปิดบัง
ล่าสุด เกร๊ก เลอมงด์ ประกาศตัวพร้อมลงชิงชัยตำแหน่งประธาน UCI เพื่อเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่สุจริตในองค์กร และจัดการกับปัญหาการใช้สารกระตุ้นในการแข่งขัน ซึ่งหากหมอนี่ทำสำเร็จจริง ต่อไปเราจะได้ชมการแข่งขันจักรยานทางไกลที่ใช้ฝีมือ พละกำลัง และ มันสมอง ล้วนๆ โดยไม่ต้องพึ่งสารกระตุ้น และนักกีฬาก็ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของการเอาเปรียบจากเพื่อนร่วมอาชีพ นอกจากนั้น จะไม่มีใครต้องนำตนเองเป็น หนู ให้พวกแพทย์ได้ทดลองยาตัวใหม่ๆ เป็นการเสี่ยงตายจากการใช้สารกระตุ้นอีกต่อไป