ศ.เจริญ วรรธระสิน นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยหวังทางคณะกรรมธิการท่งเที่ยวและกีฬา สภาผู้แทนราษฎรจะนำข้อมูล โทนี แบลร์ส โมเดล ไปใช้อย่างเป็นประโยชน์ในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ที่ประเทศบราซิล 2016 ต่อไป
โดย ศ.เจริญ วรรธนะสินได้นำเสนอ โทนี แบลร์ส โมเดล จากปี 1996 ทีมสหราชอาณาจักร ซึ่งได้เหรียญโอลิมปิกน้อยมาก ต่อมอีก 12 ปี ทีมสหราชอาณาจักร สร้างโมเดลในการบริหารกีฬาเพื่อความเป็นเลิศหรือ เบนช์ มาร์ค ทำให้ครอง 29 เหรียญทองเป็นอันดับ 3 ของโลกได้สำเร็จ รองจากสหรัฐอเมริกาและจีนเท่านั้น
ซึ่ง "ศ.เจริญ" ได้นำเสนอต่อที่ประชุมว่า "สำหรับประเทศไทย ในการใช้โทนี่ แบลร์ส โมเดล จะใช้ได้ ต้องเปลี่ยน 1.คนบริหารกีฬา 2. ปรัชญาการบริหารกีฬา 3. พฤติกรรมของการบริหารกีฬาถึงจะทำสำเร็จ ส่วนปัญหาที่สมาคมกีฬาพบนั้น คือ การส่งคัดเลือกเข้าแข่งโอลิมปิก เกือบทั้งหมดเป็นเงินของเอกชน เงินของรัฐไม่ได้ช่วยเท่าไหร่นัก หลายสมาคมกีฬาเรียกร้องให้หน่วยงานกีฬารัฐ(กกท. รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา) ใช้เงินในส่วนที่ควรใช้และไม่ควรใช้งบกีฬาไปในส่วนที่ไม่ควรใช้ แค่นี้กีฬาไทยไปได้ไกล"
"อีกทั้งทุกสมาคมกีฬา บ่นว่า วิทยาศาสตร์การกีฬาต้องหาเงินมาจ้างกันเอาเอง ควรตัดจำนวนแพทย์ให้น้อยลง และมีนักกายภาพบำบัดให้มากขึ้นจะมีประโยชน์กว่า หลายสมาคมเคลือบแคลงใจที่ การกีฬาแห่งประเทศไทยเสนอของบกีฬาอาชีพ ใช้ชื่อ 12 สมาคมกีฬา แต่พอได้เงินมา กระจายเงินให้เพียงไม่กี่สมาคมฯ นอกนั้นไปให้แก่ฟุตบอลเกือบหมด" นายกตบลูกขนเผยต่อ
สำหรับเป้าหมายของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในปีนี้คือการเห็นรัชนกทำอันดับโลกติดท็อปเท็น ส่วนในปีหน้าก็จะให้ติดอันดับ 1-6 สุดท้ายก่อนไปบราซิลปี 2016 รัชนกต้องอยู่ในอันดับ 1-2 โลก นั่นคือความหวังเหรียญโอลิมปิก ส่วนประเภทชายคู่ มณีพงศ์-บดินทร์ ภายในปีนี้ต้องอยู่อันดับ10 ต้นปีหน้าต่ำ 10และก่อนไปบราซิลปี 2016 ต้องอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก