คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ไม่ใช่เพียงแค่ โมฮัมเหม็ด บิน ฮัมมัม ( Mohammed Bin Hammam ) ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ชาวกาตาร์ วัย 61 ปี คนเดียวซะแล้วที่ประกาศตัวเป็นคู่ชิงตำแหน่งประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา กับ โยเซ็ฟ บลัทเทอร์ ( Joseph Blatter ) ซึ่งจะมีการลงคะแนนเลือกตั้งขึ้นในโอกาสการประชุมใหญ่ที่ ซูริค ประเทศสวิส ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ แต่ยังมี แกรนท์ วาห์ล ( Grant Wahl ) ผู้สื่อข่าวชื่อดังชาวอเมริกาจาก สปอร์ทส อิลเลิสสเตรเต็ด ( Sports Illustrated ) อีกคนที่หยิบยกเรื่องความไม่โปร่งใสภายใต้การบริหารงานของประธาน ฟีฟา คนปัจจุบันออกมาสำทับและขอเข้าร่วมชิงตำแหน่งนี้ด้วย
แกรนท์ วาห์ล ได้ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย พรินสตึน ( Princeton University ) ใน นิว เจอร์ซีย์ และเริ่มอาชีพนักหนังสือพิมพ์ที่ มายอามี เฮรัลด์ ( Miami Herald ) ในปี 1996 เมื่ออายุ 22 ปี และปลายปีนั้น เขาก็เข้าร่วมงานกับ สปอร์ต อิลเลิสสเตรเต็ด นิตยสานกีฬาของ อเมริกา ที่มียอดพิมพ์สัปดาห์ละ 3 ล้านฉบับ ผลงานที่ทำให้ แกรนท์ โด่งดังเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นก็คือ หนังสือเรื่อง เดอะ เบ็คแค็ม เอ็กซเพริเมนท์ ( The Beckham Experiment ) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขาเขียนเกี่ยวกับการที่ เดวิด แบ็คแค็ม นักเตะทีมชาติอังกฤษที่ตอนนั้นถือว่าเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกย้ายไปค้าแข้งใน เมเจอร์ ลีก ซ็อคเคอร์ ( Major League Soccer ) ของ อเมริกา โดยกล่าวถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับวงการฟุตบอลใน อเมริกา
นักเขียนหนุ่มคนนี้มีอายุเพียง 37 ปี ถ้าดันชนะการเลือกตั้งขึ้นมา เราก็จะได้ประธานองค์กรสูงสุดของโลกที่ควบคุมดูแลวงการฟุตบอลที่หนุ่มมากอีกหน หลังจากในช่วงต้นศตวรรษที่แล้ว โรแบร เกแร็ง ( Robert Guerin ) ประธานคนแรกซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวฝรั่งเศสรับตำแหน่งเมื่ออายุเพียง 28 ปี แต่ก็อยู่ในตำแหน่งเพียง 2 ปีเท่านั้น
ประธานคนต่อมา คือ ดาเนียล เบอร์เลย์ วูลฟอล ( Daniel Burley Woolfall ) ชาวอังกฤษ วัย 54 ปี คนนี้ก็อยู่ในตำแหน่ง 12 ปีจนอายุ 66 ปี ชุล รีเม ( Jules Rimet ) เป็นประธานคนที่ 3 ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้รับเกียรตินำชื่อไปตั้งเป็นชื่อถ้วยรางวัลแชมป์โลกใบแรกที่บราซิวได้ครองเป็นกรรมสิทธิ์เมื่อคว้าแชมป์ครบ 3 สมัย เขาขึ้นเป็นผู้นำองค์กรนี้เมื่ออายุ 48 ปี และตะบี้ตะบันยึดตำแหน่งนี้จนถึงอายุ 81 ปี รวมเวลาอยู่ในตำแหน่ง 33 ปี พอแกลงจากเก้าอี้ อีก 2 ปีก็ตาย คนที่มาเป็นประธาน ฟีฟา แทน ชุล รีเม ยิ่งเด็ด เป็นชาวเบลเจียม วัยซัดเข้าไป 78 ปีแล้วคือ โรดอลฟ์ วิลเลียม เซลดราเยอร์ส ( Rodolphe William Seeldrayers ) แกอยู่ได้เพียง 15 เดือนก็ตายคาตำแหน่ง
ประธาน ฟีฟาคนที่ 5 กลับมาเลือกคนอังกฤษอีกหนคือ อาเธอร์ ดรูว์รี ( Arthur Drewry ) อายุ 64 ปี นี่ก็อีกคนครับที่อยู่จนตายคาเก้าอี้เมื่ออายุได้ 70 ปี รวมระยะเวลาการเป็นหัวหน้าองค์กร 6 ปี ตอนที่ เซอร์ สแตนเลย์ เราส์ ชาวอังกฤษคนที่ 3 ขึ้นเป็นประธาน ฟีฟา คนที่ 6 ในปี 1961 แกก็อายุ 66 ปี และอยู่ในตำแหน่งจนอายุ 79 ปี
แล้วก็มาถึงยุคที่ภาคธุรกิจเรียงหน้ากันเข้ามาสนับสนุนวงการกีฬาอย่างมหาศาล โชเอา อาเวลันช์ ( Joao Havelange ) ประธานชาวบราซิวนั้น ตอนแกรับตำแหน่งสมัยแรกก็อายุ 58 ปีแล้ว และยอมลงจากตำแหน่งในที่สุดในปี 1998 เมื่ออายุได้ 82 ปี ส่วน เซ็พ บลัทเทอร์ ประธานชาวสวิสคนปัจจุบันก็มีวัยหลังเกษียณ 62 ปี กว่าจะได้เขยิบฐานะจากที่รั้งตำแหน่งเลขาธิการมา 7 ปี ปัจจุบันหมอนี่อายุ 75 ปี
หากเจ้าหนุ่มจอมขุดคุ้ย จอมแฉคนนี้ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น วิกีลีคส์ของ ฟีฟา ( Wikileaks of FIFA ) เกิดได้รับเลือกขึ้นมาจริงๆ ซึ่งใครๆก็คิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ เขาตั้งใจจะนำเอกสารทุกชิ้นของ ฟีฟา ที่มีมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาออกมาตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะให้มันกระจ่างไปเลย เขาเสนอให้เลขาธิการ ฟีฟา เป็นผู้หญิง เพราะสมัยนี้ผู้หญิงแกร่ง มากความสามารถและทำงานดีกว่าผู้ชายมีเยอะ เขาไม่ค่อยพออกพอใจที่ในปัจจุบันแม้แต่คนที่ดูแลรับผิดชอบฟุตบอลหญิงของฟีฟาทั้ง 2 คนก็ยังดันเป็นผู้ชาย ซึ่ง 1 ในนั้นคือ คุณวรวีร์ มะกูดี นี่เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆของแนวทางของ แกรนท์ วาห์ล ความจริงเขายังมีความคิดดีๆที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ฟีฟา อีกมากมาย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่มีใครซักคนที่คิดว่า เขาจะได้รับเลือกเป็นประธาน ฟีฟา ครับ
ไม่ใช่เพียงแค่ โมฮัมเหม็ด บิน ฮัมมัม ( Mohammed Bin Hammam ) ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ชาวกาตาร์ วัย 61 ปี คนเดียวซะแล้วที่ประกาศตัวเป็นคู่ชิงตำแหน่งประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา กับ โยเซ็ฟ บลัทเทอร์ ( Joseph Blatter ) ซึ่งจะมีการลงคะแนนเลือกตั้งขึ้นในโอกาสการประชุมใหญ่ที่ ซูริค ประเทศสวิส ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ แต่ยังมี แกรนท์ วาห์ล ( Grant Wahl ) ผู้สื่อข่าวชื่อดังชาวอเมริกาจาก สปอร์ทส อิลเลิสสเตรเต็ด ( Sports Illustrated ) อีกคนที่หยิบยกเรื่องความไม่โปร่งใสภายใต้การบริหารงานของประธาน ฟีฟา คนปัจจุบันออกมาสำทับและขอเข้าร่วมชิงตำแหน่งนี้ด้วย
แกรนท์ วาห์ล ได้ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย พรินสตึน ( Princeton University ) ใน นิว เจอร์ซีย์ และเริ่มอาชีพนักหนังสือพิมพ์ที่ มายอามี เฮรัลด์ ( Miami Herald ) ในปี 1996 เมื่ออายุ 22 ปี และปลายปีนั้น เขาก็เข้าร่วมงานกับ สปอร์ต อิลเลิสสเตรเต็ด นิตยสานกีฬาของ อเมริกา ที่มียอดพิมพ์สัปดาห์ละ 3 ล้านฉบับ ผลงานที่ทำให้ แกรนท์ โด่งดังเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นก็คือ หนังสือเรื่อง เดอะ เบ็คแค็ม เอ็กซเพริเมนท์ ( The Beckham Experiment ) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขาเขียนเกี่ยวกับการที่ เดวิด แบ็คแค็ม นักเตะทีมชาติอังกฤษที่ตอนนั้นถือว่าเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกย้ายไปค้าแข้งใน เมเจอร์ ลีก ซ็อคเคอร์ ( Major League Soccer ) ของ อเมริกา โดยกล่าวถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับวงการฟุตบอลใน อเมริกา
นักเขียนหนุ่มคนนี้มีอายุเพียง 37 ปี ถ้าดันชนะการเลือกตั้งขึ้นมา เราก็จะได้ประธานองค์กรสูงสุดของโลกที่ควบคุมดูแลวงการฟุตบอลที่หนุ่มมากอีกหน หลังจากในช่วงต้นศตวรรษที่แล้ว โรแบร เกแร็ง ( Robert Guerin ) ประธานคนแรกซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวฝรั่งเศสรับตำแหน่งเมื่ออายุเพียง 28 ปี แต่ก็อยู่ในตำแหน่งเพียง 2 ปีเท่านั้น
ประธานคนต่อมา คือ ดาเนียล เบอร์เลย์ วูลฟอล ( Daniel Burley Woolfall ) ชาวอังกฤษ วัย 54 ปี คนนี้ก็อยู่ในตำแหน่ง 12 ปีจนอายุ 66 ปี ชุล รีเม ( Jules Rimet ) เป็นประธานคนที่ 3 ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้รับเกียรตินำชื่อไปตั้งเป็นชื่อถ้วยรางวัลแชมป์โลกใบแรกที่บราซิวได้ครองเป็นกรรมสิทธิ์เมื่อคว้าแชมป์ครบ 3 สมัย เขาขึ้นเป็นผู้นำองค์กรนี้เมื่ออายุ 48 ปี และตะบี้ตะบันยึดตำแหน่งนี้จนถึงอายุ 81 ปี รวมเวลาอยู่ในตำแหน่ง 33 ปี พอแกลงจากเก้าอี้ อีก 2 ปีก็ตาย คนที่มาเป็นประธาน ฟีฟา แทน ชุล รีเม ยิ่งเด็ด เป็นชาวเบลเจียม วัยซัดเข้าไป 78 ปีแล้วคือ โรดอลฟ์ วิลเลียม เซลดราเยอร์ส ( Rodolphe William Seeldrayers ) แกอยู่ได้เพียง 15 เดือนก็ตายคาตำแหน่ง
ประธาน ฟีฟาคนที่ 5 กลับมาเลือกคนอังกฤษอีกหนคือ อาเธอร์ ดรูว์รี ( Arthur Drewry ) อายุ 64 ปี นี่ก็อีกคนครับที่อยู่จนตายคาเก้าอี้เมื่ออายุได้ 70 ปี รวมระยะเวลาการเป็นหัวหน้าองค์กร 6 ปี ตอนที่ เซอร์ สแตนเลย์ เราส์ ชาวอังกฤษคนที่ 3 ขึ้นเป็นประธาน ฟีฟา คนที่ 6 ในปี 1961 แกก็อายุ 66 ปี และอยู่ในตำแหน่งจนอายุ 79 ปี
แล้วก็มาถึงยุคที่ภาคธุรกิจเรียงหน้ากันเข้ามาสนับสนุนวงการกีฬาอย่างมหาศาล โชเอา อาเวลันช์ ( Joao Havelange ) ประธานชาวบราซิวนั้น ตอนแกรับตำแหน่งสมัยแรกก็อายุ 58 ปีแล้ว และยอมลงจากตำแหน่งในที่สุดในปี 1998 เมื่ออายุได้ 82 ปี ส่วน เซ็พ บลัทเทอร์ ประธานชาวสวิสคนปัจจุบันก็มีวัยหลังเกษียณ 62 ปี กว่าจะได้เขยิบฐานะจากที่รั้งตำแหน่งเลขาธิการมา 7 ปี ปัจจุบันหมอนี่อายุ 75 ปี
หากเจ้าหนุ่มจอมขุดคุ้ย จอมแฉคนนี้ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น วิกีลีคส์ของ ฟีฟา ( Wikileaks of FIFA ) เกิดได้รับเลือกขึ้นมาจริงๆ ซึ่งใครๆก็คิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ เขาตั้งใจจะนำเอกสารทุกชิ้นของ ฟีฟา ที่มีมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาออกมาตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะให้มันกระจ่างไปเลย เขาเสนอให้เลขาธิการ ฟีฟา เป็นผู้หญิง เพราะสมัยนี้ผู้หญิงแกร่ง มากความสามารถและทำงานดีกว่าผู้ชายมีเยอะ เขาไม่ค่อยพออกพอใจที่ในปัจจุบันแม้แต่คนที่ดูแลรับผิดชอบฟุตบอลหญิงของฟีฟาทั้ง 2 คนก็ยังดันเป็นผู้ชาย ซึ่ง 1 ในนั้นคือ คุณวรวีร์ มะกูดี นี่เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆของแนวทางของ แกรนท์ วาห์ล ความจริงเขายังมีความคิดดีๆที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ฟีฟา อีกมากมาย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่มีใครซักคนที่คิดว่า เขาจะได้รับเลือกเป็นประธาน ฟีฟา ครับ