คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ในขณะที่ฟุตบอลไทยกำลังได้รับความนิยม วันนี้เรามาดูว่าในเวทีโลกนั้น เราอยู่ตรงไหนครับ เขามีองค์กรที่เรียกว่า สหพันธ์นานาชาติทางประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอล ( International Federation of Football History & Statistics ) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1984 เพื่อบันทึกเรื่องราวและเก็บสถิติของการแข่งขันฟุตบอล องค์กรนี้ได้รับการรับรองจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา ด้วย เดิมมีสำนักงานอยู่ที่ กรุงอาบู ดาบี สหรัฐอาหรับเอมีเรทส์ แต่ภายหลังย้ายมาปักหลักที่ เมืองบอนน์ ประเทศเจอรมานี
เขาเริ่มจัดอันดับสโมสรทั่วโลกตั้งแต่ปี 1991 โดยดูที่ผลการแข่งขันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันภายในทวีปของสโมสรนั้นๆ การแข่งขันระหว่างทีมต่างทวีป ลีกภายในประเทศซึ่งนับรวมถึงรอบเพลย์-อ็อฟด้วย นอกจากนั้น ฟุตบอลถ้วยที่สำคัญที่สุดของแต่ละประเทศ ตั้งแต่รอบ 16 ทีม จะถูกนำมาคิดเป็นคะแนน ซึ่งแน่นอนว่า ลีกฟุตบอลในแต่ละประเทศย่อมมีคุณภาพ มาตรฐานต่างกัน เขาจึงต้องแบ่งออกเป็น 4 ระดับเสียก่อน แล้วคะแนนที่ทีมในแต่ละระดับจะได้รับเมื่อชนะหรือเสมอก็จะต่างกันด้วย
ระดับที่แข็งที่สุดก็คือ ระดับ 4 เมื่อชนะก็จะได้ 4 คะแนน เสมอได้ 2 คะแนน แต่ถ้าแพ้ก็ไม่ได้คะแนน ระดับ 3 ชนะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1.5 คะแนน และแพ้ได้ 0 คะแนน ระดับถัดไปก็ลดหลั่นลงไปอีก
สำหรับการแข่งขันพวกชิงแชมป์สโมสรของแต่ละทวีป เขาก็ยังแบ่งระดับการให้คะแนนอีก เช่น ยูเอ็ฟฟา แชมเปียนส์ ลีก ( UEFA Champions League ) ของ ยุโรป และ โกปา ลีแบรตาดอเรส ( Copa Libertadores ) ของ อเมริกาใต้ ถือว่ามีมาตรฐานสูง เขาจึงให้คะแนนแพงที่สุดคือ ชนะได้ 14 คะแนน เสมอได้ 7 คะแนน ในขณะที่ถ้วยรองของทั้ง 2 ทวีปนี้คือ ยูเอ็ฟฟา ยูโรปา ลีก ( UEFA Europa League ) และ โกปา ซุดดาเมริกานา( Copa Sudamericana ) นั้น ชนะได้ 12 คะแนน เสมอได้ 6 คะแนน ส่วน เอเอ็ฟซี แชมเปียนส์ ลีก ( AFC Champions League ) ชนะได้เพียง 9 คะแนน เสมอ 4.5 คะแนน และ เอเอ็ฟซี คัพ ( AFC Cup ) ชนะ 7 คะแนน เสมอ 3.5 คะแนน ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ( FIFA Club World Cup ) รอบรองชนะเลิศ เขาก็ให้ทีมชนะ 14 คะแนน แต่ถ้าเสมอในเวลาได้เพียง 7 คะแนน แม็ทช์ที่ทีมชนะจะสามารถได้คะแนนสูงที่สุดก็คือ ฟีฟา คลับ เวิลด์ คัพ รอบชิงชนะเลิศ เขามีให้ 21 คะแนนครับ ถ้าเสมอในเวลาก็ได้เพียงครึ่งเดียว
จากการจัดอันดับสโมสรทั่วโลกล่าสุดถึงวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา ปรากฏว่า อินเตรนาซิโอนาเล มีลาโน ของ อิตาลี ยังคงรั้งอันดับ 1 บารเซโลนา ของ สเปน และ บาแยร์น มึนเชิน ของ เจอรมานี ตามมาเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ ต่อด้วย เรอัล มาดริด จาก สเปน ลิเวอร์พูล จาก อังกฤษ ในขณะที่สโมสรของไทยเรา เห็นเพียงแค่ 2 สโมสรเท่านั้น เพราะเขาจัดแค่ 400 อันดับครับ ดีที่สุดก็คือ เมืองทอง ยูนายเต็ด อันดับที่ 180 และข้ามไปที่อันดับ 268 ก็จะเจอ การท่าเรือไทย เอ็ฟซี
สิ่งที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของสโมสรอีกอย่างก็คือ รายได้ประจำปี ซึ่งผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า ฤดูกาล 2009-2010 นั้น เรอัล มาดริด สามารถครองอันดับ 1 ของโลกได้อีกเป็นปีที่ 6 ติดต่อกันด้วยจำนวนรายได้รวม 438.6 ล้าน ยูโร หรือ 1.75 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วย บารเซโลนา 398.1 ล้าน ยูโร อันดับ 3 เป็น แมนเชสเตอร์ ยูนายเต็ด 349.8 ล้าน ยูโร ส่วน บาแยร์น มึนเชิน อาร์เซนอล เชลซี เอซี มีลาน ลิเวอร์พูล อินเตรนาซิโอนาเล มีลาโน และ ยูเวนตุส เรียงต่อกันมาตามลำดับ
เมื่อเขานำตัวเลขรายได้ของสโมสร 20 อันดับแรกมารวมกันจะเท่ากับ 4.3 พันล้าน ยูโร ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้านั้นถึง 8 เพอร์เซ็นท์ และนับเป็นครั้งแรกที่รายได้ดังกล่าวพุ่งทะลุผ่านหลัก 4 พันล้าน ยูโร มันช่างเป็นดัชนีที่แสดงให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้ในสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่ความบันเทิงทางกีฬาฟุตบอลกลับเป็นที่นิยมและยังขายได้สบายมากครับ
ในขณะที่ฟุตบอลไทยกำลังได้รับความนิยม วันนี้เรามาดูว่าในเวทีโลกนั้น เราอยู่ตรงไหนครับ เขามีองค์กรที่เรียกว่า สหพันธ์นานาชาติทางประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอล ( International Federation of Football History & Statistics ) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1984 เพื่อบันทึกเรื่องราวและเก็บสถิติของการแข่งขันฟุตบอล องค์กรนี้ได้รับการรับรองจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา ด้วย เดิมมีสำนักงานอยู่ที่ กรุงอาบู ดาบี สหรัฐอาหรับเอมีเรทส์ แต่ภายหลังย้ายมาปักหลักที่ เมืองบอนน์ ประเทศเจอรมานี
เขาเริ่มจัดอันดับสโมสรทั่วโลกตั้งแต่ปี 1991 โดยดูที่ผลการแข่งขันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันภายในทวีปของสโมสรนั้นๆ การแข่งขันระหว่างทีมต่างทวีป ลีกภายในประเทศซึ่งนับรวมถึงรอบเพลย์-อ็อฟด้วย นอกจากนั้น ฟุตบอลถ้วยที่สำคัญที่สุดของแต่ละประเทศ ตั้งแต่รอบ 16 ทีม จะถูกนำมาคิดเป็นคะแนน ซึ่งแน่นอนว่า ลีกฟุตบอลในแต่ละประเทศย่อมมีคุณภาพ มาตรฐานต่างกัน เขาจึงต้องแบ่งออกเป็น 4 ระดับเสียก่อน แล้วคะแนนที่ทีมในแต่ละระดับจะได้รับเมื่อชนะหรือเสมอก็จะต่างกันด้วย
ระดับที่แข็งที่สุดก็คือ ระดับ 4 เมื่อชนะก็จะได้ 4 คะแนน เสมอได้ 2 คะแนน แต่ถ้าแพ้ก็ไม่ได้คะแนน ระดับ 3 ชนะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1.5 คะแนน และแพ้ได้ 0 คะแนน ระดับถัดไปก็ลดหลั่นลงไปอีก
สำหรับการแข่งขันพวกชิงแชมป์สโมสรของแต่ละทวีป เขาก็ยังแบ่งระดับการให้คะแนนอีก เช่น ยูเอ็ฟฟา แชมเปียนส์ ลีก ( UEFA Champions League ) ของ ยุโรป และ โกปา ลีแบรตาดอเรส ( Copa Libertadores ) ของ อเมริกาใต้ ถือว่ามีมาตรฐานสูง เขาจึงให้คะแนนแพงที่สุดคือ ชนะได้ 14 คะแนน เสมอได้ 7 คะแนน ในขณะที่ถ้วยรองของทั้ง 2 ทวีปนี้คือ ยูเอ็ฟฟา ยูโรปา ลีก ( UEFA Europa League ) และ โกปา ซุดดาเมริกานา( Copa Sudamericana ) นั้น ชนะได้ 12 คะแนน เสมอได้ 6 คะแนน ส่วน เอเอ็ฟซี แชมเปียนส์ ลีก ( AFC Champions League ) ชนะได้เพียง 9 คะแนน เสมอ 4.5 คะแนน และ เอเอ็ฟซี คัพ ( AFC Cup ) ชนะ 7 คะแนน เสมอ 3.5 คะแนน ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก ( FIFA Club World Cup ) รอบรองชนะเลิศ เขาก็ให้ทีมชนะ 14 คะแนน แต่ถ้าเสมอในเวลาได้เพียง 7 คะแนน แม็ทช์ที่ทีมชนะจะสามารถได้คะแนนสูงที่สุดก็คือ ฟีฟา คลับ เวิลด์ คัพ รอบชิงชนะเลิศ เขามีให้ 21 คะแนนครับ ถ้าเสมอในเวลาก็ได้เพียงครึ่งเดียว
จากการจัดอันดับสโมสรทั่วโลกล่าสุดถึงวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา ปรากฏว่า อินเตรนาซิโอนาเล มีลาโน ของ อิตาลี ยังคงรั้งอันดับ 1 บารเซโลนา ของ สเปน และ บาแยร์น มึนเชิน ของ เจอรมานี ตามมาเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ ต่อด้วย เรอัล มาดริด จาก สเปน ลิเวอร์พูล จาก อังกฤษ ในขณะที่สโมสรของไทยเรา เห็นเพียงแค่ 2 สโมสรเท่านั้น เพราะเขาจัดแค่ 400 อันดับครับ ดีที่สุดก็คือ เมืองทอง ยูนายเต็ด อันดับที่ 180 และข้ามไปที่อันดับ 268 ก็จะเจอ การท่าเรือไทย เอ็ฟซี
สิ่งที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของสโมสรอีกอย่างก็คือ รายได้ประจำปี ซึ่งผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า ฤดูกาล 2009-2010 นั้น เรอัล มาดริด สามารถครองอันดับ 1 ของโลกได้อีกเป็นปีที่ 6 ติดต่อกันด้วยจำนวนรายได้รวม 438.6 ล้าน ยูโร หรือ 1.75 หมื่นล้านบาท ตามมาด้วย บารเซโลนา 398.1 ล้าน ยูโร อันดับ 3 เป็น แมนเชสเตอร์ ยูนายเต็ด 349.8 ล้าน ยูโร ส่วน บาแยร์น มึนเชิน อาร์เซนอล เชลซี เอซี มีลาน ลิเวอร์พูล อินเตรนาซิโอนาเล มีลาโน และ ยูเวนตุส เรียงต่อกันมาตามลำดับ
เมื่อเขานำตัวเลขรายได้ของสโมสร 20 อันดับแรกมารวมกันจะเท่ากับ 4.3 พันล้าน ยูโร ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้านั้นถึง 8 เพอร์เซ็นท์ และนับเป็นครั้งแรกที่รายได้ดังกล่าวพุ่งทะลุผ่านหลัก 4 พันล้าน ยูโร มันช่างเป็นดัชนีที่แสดงให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้ในสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่ความบันเทิงทางกีฬาฟุตบอลกลับเป็นที่นิยมและยังขายได้สบายมากครับ