คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ในวงการฟุตบอลของโลก นอกจากการแข่งขันชิงแชมป์โลกของ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา ที่จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี มาตั้งแต่ปี 1930 เพื่อหาแชมป์โลกแล้ว เขามีหลากหลายวิธีสมมุติในการหาผู้ครองตำแหน่งแชมป์โลกหรือทีมที่เชื่อว่าเป็นทีมที่ดีที่สุดของโลก ณ เวลานั้น เช่น แชมป์โลกวัดกันพาวน์ดต่อพาวน์ด ( Pound for Pound World Championship ) บาตง เดอ นาซัซซี ( Baton de Nasazzi ) และ แชมป์โลกอย่างไม่เป็นทางการ ( Unofficial Football World Championships - UFWC )
ความคิดเรื่อง UFWC เกิดขึ้นจากแฟนบอลชาวสก็อทแลนด์ที่นำมากล่าวอ้างกันเล่นๆว่า
ทีมชาติของตนเองเป็นแชมป์โลก หลังจากสามารถโค่นทีมชาติอังกฤษลงได้ด้วยการเอาชนะ 3 ประตูต่อ 2 ในรายการ บริทิช โฮม แชมเปียนชิพ ( British Home Championship ) เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1967 ซึ่งนับเป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกหลังจากที่อังกฤษคว้าแชมป์โลกในปี 1966
หลายปีต่อมาเมื่อมีเว็บไซท์ขานรับความคิดดังกล่าวและนำการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการตั้งแต่นัดแรกในปี 1872 มาเริ่มคิดคำนวณจนได้รับการตีพิมพ์ใน โฟร์โฟร์ทู ( FourFourTwo ) นิตยสารฟุตบอลยอดนิยมของสหราชอาณาจักร UFWC จึงเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างจริงจัง แม้ว่าจะไม่เคยได้รับการรับรองจาก ฟีฟา ก็ตาม
หลักเกณฑ์ของ UFWC ก็ง่ายๆ ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร คือ เขานับทีมแรกสุดที่ชนะการแข่งขันในแม็ทช์ระดับนานาชาติจะได้รับตำแหน่งแชมป์โลกทันที ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในอดีตก็พบว่า การแข่งขันแม็ทช์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1872 ที่ แฮมิลทึน เครสเซนท์ ( Hamilton Crescent ) ระหว่าง อังกฤษ กับ สก็อทแลนด์ ซึ่งผลออกเสมอ 0-0 จึงยังไม่มีใครเป็นแชมป์โลก หลังจากนั้น คู่นี้ได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 1873 และคราวนี้ผลปรากฏว่า อังกฤษ ชนะ 4-2 อังกฤษ จึงถือเป็นแชมป์โลกทีมแรก
ต่อจากนั้น การจะได้แชมป์โลก มันก็คล้ายกับในวงการมวยคือ ต้องสามารถโค่นผู้ที่ครองแชมป์อยู่ให้ได้ในการแข่งขันของทีมชาติชุดใหญ่และเป็นเกมที่ ฟีฟา รับรองด้วย โดยถือผลสุดท้ายเป็นตัวตัดสิน นั่นหมายถึงไม่ได้นับแค่ 90 นาที แต่ดูกันจนถึงช่วงต่อเวลาพิเศษหรือการดวลจุดโทษด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าแม็ตช์ใดไม่มีการหาผู้ชนะอย่างเด็ดขาด และผลออกเสมอ ทีมที่ครองแชมป์อยู่ก็ยังได้เป็นแชมป์ต่อไป
ตำแหน่งแชมป์โลกหลุดออกไปนอกเกาะอังกฤษครั้งแรกในปี 1931 เมื่อ อังกฤษ แพ้ ออสเตรีย แต่ก็กลับมาอยู่กับ อังกฤษ อีกครั้งในช่วงฟุตบอลโลก 1950 ที่ประเทศบราซิว และก็เกิดแม็ตช์ช็อคโลกในทอร์นาเมนท์นี้โดย อังกฤษ ซึ่งเหนือชั้นกว่าทุกอย่างชนิดไม่มีราคา แต่ดันไปแพ้ อเมริกา ในเกมรอบแรก เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 1950 ด้วยสกอร์ 0-1 ทำให้ตำแหน่งแชมป์โลกข้ามมหาสมุทรแอ็ทแลนทิคไปยังทวีปอเมริกาเหนือ
ในทศวรรษที่ 90 เกาหลีใต้ ก็เคยได้รับเกียรติเป็นแชมป์โลก โดยตอนนั้น โกลอมเบีย ซึ่งครองตำแหน่งอยู่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน คาร์ลสเบิร์ก คัพ ( Carlsberg Cup ) ฟุตบอลฉลองตรุษจีนที่ประเทศฮ่องกง ในปี 1995 และ เกาหลีใต้ สามารถเอาชนะได้ 1-0 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 1995 แต่ก็เสียตำแหน่งในอีก 4 วันต่อมาด้วยการแพ้ 0-1 ต่อ ยูโกสลาเวีย ทำให้ UFWC กลับสู่ทวีปยุโรปอีกหน
หลังจาก สเปน ได้ครอง ฟีฟา เวิร์ลด์ คัพ 2010 ด้วยการชนะ เนเธอร์แลนด์ส 1-0 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ มันมาพร้อมกับตำแหน่งแชมป์โลก UFWC แต่ก็อยู่กับ สเปน จนถึงแค่วันที่ 7 กันยายน 2010 เมื่อโดน อาร์เกนตีนา ถล่ม 4-1 ในนัดกระชับมิตรที่ เอสตาดิโอ โมนูเมนตัล ในกรุงบูเอโนส อาอีเรส แต่แล้วล่าสุดตำแหน่งแชมป์ UFWC ตกมาอยู่ในมือของทีมในทวีปเอเชียอีกหน โดย ญี่ปุ่น สามารถเอาชนะ อาร์เกนตีนา 1-0 ในนัดกระชับมิตรที่ แน็ค 5 สเตเดียม ( Nack 5 Stadium ) ใน ซาอิตามะ ( Saitama ) ซึ่งนัดดังกล่าว นักเตะของ อาร์เกนตีนา มีทั้ง เมสซี กัมบิอาโซ มาสเกราโน เตเบซ และ 2 มีลีโต ร่วมทีมด้วย ดังนั้น ญี่ปุ่น เป็นแชมป์โลกล่าสุดอย่างสมศักดิ์ศรีครับ
ในวงการฟุตบอลของโลก นอกจากการแข่งขันชิงแชมป์โลกของ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟา ที่จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี มาตั้งแต่ปี 1930 เพื่อหาแชมป์โลกแล้ว เขามีหลากหลายวิธีสมมุติในการหาผู้ครองตำแหน่งแชมป์โลกหรือทีมที่เชื่อว่าเป็นทีมที่ดีที่สุดของโลก ณ เวลานั้น เช่น แชมป์โลกวัดกันพาวน์ดต่อพาวน์ด ( Pound for Pound World Championship ) บาตง เดอ นาซัซซี ( Baton de Nasazzi ) และ แชมป์โลกอย่างไม่เป็นทางการ ( Unofficial Football World Championships - UFWC )
ความคิดเรื่อง UFWC เกิดขึ้นจากแฟนบอลชาวสก็อทแลนด์ที่นำมากล่าวอ้างกันเล่นๆว่า
ทีมชาติของตนเองเป็นแชมป์โลก หลังจากสามารถโค่นทีมชาติอังกฤษลงได้ด้วยการเอาชนะ 3 ประตูต่อ 2 ในรายการ บริทิช โฮม แชมเปียนชิพ ( British Home Championship ) เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1967 ซึ่งนับเป็นการพ่ายแพ้ครั้งแรกหลังจากที่อังกฤษคว้าแชมป์โลกในปี 1966
หลายปีต่อมาเมื่อมีเว็บไซท์ขานรับความคิดดังกล่าวและนำการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการตั้งแต่นัดแรกในปี 1872 มาเริ่มคิดคำนวณจนได้รับการตีพิมพ์ใน โฟร์โฟร์ทู ( FourFourTwo ) นิตยสารฟุตบอลยอดนิยมของสหราชอาณาจักร UFWC จึงเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างจริงจัง แม้ว่าจะไม่เคยได้รับการรับรองจาก ฟีฟา ก็ตาม
หลักเกณฑ์ของ UFWC ก็ง่ายๆ ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร คือ เขานับทีมแรกสุดที่ชนะการแข่งขันในแม็ทช์ระดับนานาชาติจะได้รับตำแหน่งแชมป์โลกทันที ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในอดีตก็พบว่า การแข่งขันแม็ทช์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1872 ที่ แฮมิลทึน เครสเซนท์ ( Hamilton Crescent ) ระหว่าง อังกฤษ กับ สก็อทแลนด์ ซึ่งผลออกเสมอ 0-0 จึงยังไม่มีใครเป็นแชมป์โลก หลังจากนั้น คู่นี้ได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 1873 และคราวนี้ผลปรากฏว่า อังกฤษ ชนะ 4-2 อังกฤษ จึงถือเป็นแชมป์โลกทีมแรก
ต่อจากนั้น การจะได้แชมป์โลก มันก็คล้ายกับในวงการมวยคือ ต้องสามารถโค่นผู้ที่ครองแชมป์อยู่ให้ได้ในการแข่งขันของทีมชาติชุดใหญ่และเป็นเกมที่ ฟีฟา รับรองด้วย โดยถือผลสุดท้ายเป็นตัวตัดสิน นั่นหมายถึงไม่ได้นับแค่ 90 นาที แต่ดูกันจนถึงช่วงต่อเวลาพิเศษหรือการดวลจุดโทษด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าแม็ตช์ใดไม่มีการหาผู้ชนะอย่างเด็ดขาด และผลออกเสมอ ทีมที่ครองแชมป์อยู่ก็ยังได้เป็นแชมป์ต่อไป
ตำแหน่งแชมป์โลกหลุดออกไปนอกเกาะอังกฤษครั้งแรกในปี 1931 เมื่อ อังกฤษ แพ้ ออสเตรีย แต่ก็กลับมาอยู่กับ อังกฤษ อีกครั้งในช่วงฟุตบอลโลก 1950 ที่ประเทศบราซิว และก็เกิดแม็ตช์ช็อคโลกในทอร์นาเมนท์นี้โดย อังกฤษ ซึ่งเหนือชั้นกว่าทุกอย่างชนิดไม่มีราคา แต่ดันไปแพ้ อเมริกา ในเกมรอบแรก เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 1950 ด้วยสกอร์ 0-1 ทำให้ตำแหน่งแชมป์โลกข้ามมหาสมุทรแอ็ทแลนทิคไปยังทวีปอเมริกาเหนือ
ในทศวรรษที่ 90 เกาหลีใต้ ก็เคยได้รับเกียรติเป็นแชมป์โลก โดยตอนนั้น โกลอมเบีย ซึ่งครองตำแหน่งอยู่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน คาร์ลสเบิร์ก คัพ ( Carlsberg Cup ) ฟุตบอลฉลองตรุษจีนที่ประเทศฮ่องกง ในปี 1995 และ เกาหลีใต้ สามารถเอาชนะได้ 1-0 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 1995 แต่ก็เสียตำแหน่งในอีก 4 วันต่อมาด้วยการแพ้ 0-1 ต่อ ยูโกสลาเวีย ทำให้ UFWC กลับสู่ทวีปยุโรปอีกหน
หลังจาก สเปน ได้ครอง ฟีฟา เวิร์ลด์ คัพ 2010 ด้วยการชนะ เนเธอร์แลนด์ส 1-0 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ มันมาพร้อมกับตำแหน่งแชมป์โลก UFWC แต่ก็อยู่กับ สเปน จนถึงแค่วันที่ 7 กันยายน 2010 เมื่อโดน อาร์เกนตีนา ถล่ม 4-1 ในนัดกระชับมิตรที่ เอสตาดิโอ โมนูเมนตัล ในกรุงบูเอโนส อาอีเรส แต่แล้วล่าสุดตำแหน่งแชมป์ UFWC ตกมาอยู่ในมือของทีมในทวีปเอเชียอีกหน โดย ญี่ปุ่น สามารถเอาชนะ อาร์เกนตีนา 1-0 ในนัดกระชับมิตรที่ แน็ค 5 สเตเดียม ( Nack 5 Stadium ) ใน ซาอิตามะ ( Saitama ) ซึ่งนัดดังกล่าว นักเตะของ อาร์เกนตีนา มีทั้ง เมสซี กัมบิอาโซ มาสเกราโน เตเบซ และ 2 มีลีโต ร่วมทีมด้วย ดังนั้น ญี่ปุ่น เป็นแชมป์โลกล่าสุดอย่างสมศักดิ์ศรีครับ