แอฟริกาใต้ เจ้าภาพฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ออกมาแถลงบรรดาสนามที่จะใช้ทำการแข่งขันทั้ง 10 แห่ง ใกล้เสร็จพร้อมรับศึกใหญ่ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ถึง 11 กรกฎาคม ปีหน้า
แม้เจอปัญหาต่างๆ นานาทั้ง สภาพเศรษฐกิจ, งบประมาณก่อสร้าง, คนงานกว่า 7 หมื่นคนขู่จะไม่ทำการก่อสร้างสนาม หากไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น รวมถึงคนในพื้นที่ (ตามแต่ละสนาม) ออกมาต่อต้าน เนื่องจากหวั่นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา แต่จนแล้วจนรอด ฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ก็ออกมายืนยันว่าสนามที่สร้างขึ้นใหม่ 5 แห่ง บวกกับสนามเก่าที่ปรับปรุงใหม่อีก 5 สเตเดียม ณ ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้วกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ พร้อมรับมือกับมหกรรมลูกหนังโลกที่กำลังจะมาถึงได้อย่างไม่มีปัญหาแน่นอน
โดย ริช เอ็มคอนโด โฆษกฝ่ายจัดการแข่งขันออกมาเผยว่า "มันอาจจะขึ้นๆ ลงๆ อยู่บ้าง บางครั้งเราก็รู้สึกมีความสุขดี แต่เวลาส่วนใหญ่เราต้องเศร้ากับเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการมองโลกในแง่ร้าย แต่เรารู้ดีว่าถึงเวลาจะพร้อม"
นอกจากนี้ เอ็มคอนโด ยังพูดถึงประเด็นการช่วยเหลือจากภาครัฐที่อนุมัติเงินสนับสนุน นอกจากการสร้างสนามแล้วยังให้ความช่วยเหลือความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ด้วย "ก่อนที่เราจะเดินหน้าสร้างสนามขึ้นในแต่ละเมือง เราได้สอบถามไปยังภาครัฐถึงแผนระยะยาวเกี่ยวกับประชาชนด้วย ซึ่งก็ได้รับทราบในสิ่งที่น่าพอใจ หลายคนจึงเบนจุดประสงค์มาทำอะไรร่วมกัน"
สำหรับสนามฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ประกอบด้วย
1. ซอคเกอร์ ซิตี ในกรุงโยฮันเนสเบิร์ก ความจุ 94,700 ที่นั่ง
2. โมเซส แมบฮิดา สเตเดียม ในเมืองดูร์บาน ความจุ 7 หมื่นที่นั่ง
3. เคป ทาวน์ สเตเดียม ในเมืองเคป ทาวน์ ความจุ 69,070 ที่นั่ง
4. เอลลิส ปาร์ค สเตเดียม ในกรุงโยฮันเนสเบิร์ก ความจุ 62,567 ที่นั่ง
5. ลอฟตัส เวอร์สเฟลด์ สเตเดียม ในเมืองเพรโทเรีย ความจุ 51,760 ที่นั่ง
6. เนลสัน แมนเดลา เบย์ สเตเดียม ในเมืองปอร์ท อลิซาเบธ ความจุ 48,000 ที่นั่ง
7. ฟรี สเตท สเตเดียม ในเมืองบลูมฟงเตียน ความจุ 48,070 ที่นั่ง
8. ปีเตอร์ โมคาบา สเตเดียม ในเมืองโปโลวาเน ความจุ 46,000 ที่นั่ง
9. เอ็มบอมเบลา สเตเดียม ในเมืองเนลสพรูอิท ความจุ 44,000 ที่นั่ง
10. รอยัล บาโคเฟง สเตเดียม ในเมืองรุสเทนเบิร์ก ความจุ 42,000 ที่นั่ง
แม้เจอปัญหาต่างๆ นานาทั้ง สภาพเศรษฐกิจ, งบประมาณก่อสร้าง, คนงานกว่า 7 หมื่นคนขู่จะไม่ทำการก่อสร้างสนาม หากไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น รวมถึงคนในพื้นที่ (ตามแต่ละสนาม) ออกมาต่อต้าน เนื่องจากหวั่นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา แต่จนแล้วจนรอด ฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ก็ออกมายืนยันว่าสนามที่สร้างขึ้นใหม่ 5 แห่ง บวกกับสนามเก่าที่ปรับปรุงใหม่อีก 5 สเตเดียม ณ ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้วกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ พร้อมรับมือกับมหกรรมลูกหนังโลกที่กำลังจะมาถึงได้อย่างไม่มีปัญหาแน่นอน
โดย ริช เอ็มคอนโด โฆษกฝ่ายจัดการแข่งขันออกมาเผยว่า "มันอาจจะขึ้นๆ ลงๆ อยู่บ้าง บางครั้งเราก็รู้สึกมีความสุขดี แต่เวลาส่วนใหญ่เราต้องเศร้ากับเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการมองโลกในแง่ร้าย แต่เรารู้ดีว่าถึงเวลาจะพร้อม"
นอกจากนี้ เอ็มคอนโด ยังพูดถึงประเด็นการช่วยเหลือจากภาครัฐที่อนุมัติเงินสนับสนุน นอกจากการสร้างสนามแล้วยังให้ความช่วยเหลือความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ด้วย "ก่อนที่เราจะเดินหน้าสร้างสนามขึ้นในแต่ละเมือง เราได้สอบถามไปยังภาครัฐถึงแผนระยะยาวเกี่ยวกับประชาชนด้วย ซึ่งก็ได้รับทราบในสิ่งที่น่าพอใจ หลายคนจึงเบนจุดประสงค์มาทำอะไรร่วมกัน"
สำหรับสนามฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ประกอบด้วย
1. ซอคเกอร์ ซิตี ในกรุงโยฮันเนสเบิร์ก ความจุ 94,700 ที่นั่ง
2. โมเซส แมบฮิดา สเตเดียม ในเมืองดูร์บาน ความจุ 7 หมื่นที่นั่ง
3. เคป ทาวน์ สเตเดียม ในเมืองเคป ทาวน์ ความจุ 69,070 ที่นั่ง
4. เอลลิส ปาร์ค สเตเดียม ในกรุงโยฮันเนสเบิร์ก ความจุ 62,567 ที่นั่ง
5. ลอฟตัส เวอร์สเฟลด์ สเตเดียม ในเมืองเพรโทเรีย ความจุ 51,760 ที่นั่ง
6. เนลสัน แมนเดลา เบย์ สเตเดียม ในเมืองปอร์ท อลิซาเบธ ความจุ 48,000 ที่นั่ง
7. ฟรี สเตท สเตเดียม ในเมืองบลูมฟงเตียน ความจุ 48,070 ที่นั่ง
8. ปีเตอร์ โมคาบา สเตเดียม ในเมืองโปโลวาเน ความจุ 46,000 ที่นั่ง
9. เอ็มบอมเบลา สเตเดียม ในเมืองเนลสพรูอิท ความจุ 44,000 ที่นั่ง
10. รอยัล บาโคเฟง สเตเดียม ในเมืองรุสเทนเบิร์ก ความจุ 42,000 ที่นั่ง