ฆวน มานูเอล กาเรต อาศัยลูกฮึดคว้าชัยสเตจที่ 20 มาครอง ขณะที่ อัลแบร์โต คอนทาดอร์ อีกหนึ่งนักปั่นชาวสเปนเตรียมนับถอยหลังไปสู่การซิวแชมป์จักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ประจำปี 2009
จักรยานทางไกล “ตูร์ เดอ ฟรองซ์” ประจำปี 2009 เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2552 ดำเนินมาถึงการแข่งขันสเตจที่ 20 เส้นทางขึ้นเขาที่สูงชันจาก มงต์เตลิมาร์ (Montelimar) ไปยัง มงต์ เวนตูซ์ (Mont Ventoux) ระยะทาง 167 กิโลเมตร
ซึ่งถือเป็นวันที่ยอดเยี่ยมสำหรับน่องเหล็กจากแดนกระทิงดุ โดย ฆวน มานูเอล กาเรต ของทีมราโบแบงค์ อาศัยความอึดในการปั่นขึ้นเขาที่สูงชัน ก่อนใช้ลูกฮึดช่วง 100 เมตรสุดท้ายฉีก โทนี มาร์ติน ชาวเยอรมนีจากทีมโคลัมเบีย เข้าเส้นชัยเป็นคันแรก ด้วยเวลา 4 ชั่วโมง 39 นาที 21 วินาที ได้ยืนโพเดียมในฐานะแชมป์สเตจที่ 20
อย่างไรก็ตาม ไคลน์แม็กซ์ของการแข่งขันมุ่งไปที่ อัลแบร์โต คอนทาดอร์ สตาร์ของทีมแอสทานา ผู้สวมเสื้อเหลืองที่ปั่นเข้าอันดับ 4 ของสเตจที่ 20 โอกาสคว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ สมัยที่สองในชีวิตอยู่แค่เอื้อม เนื่องจากเวลารวมขึ้นหน้า แอนดี ชเล็ค คู่แข่งสำคัญชาวลักเซมเบิร์กของทีมแซ็กโซ แบงค์ อยู่ถึง 4 นาที 11 วินาที ขณะที่เหลืออีกแค่สเตจเดียวในวันอาทิตย์นี้ก็จะถึงประตูชัย
ภายหลังการแข่งขัน คอนทาดอร์ ให้สัมภาษณ์กับ “สกาย สปอร์ตส” สื่อชั้นนำ “มันแตกต่างออกไปจากครั้งที่ผมคว้าแชมป์เมื่อปี 2007 ตูร์ฯ ครั้งนี้ยากเป็นพิเศษ สิ่งที่ผมต้องทำคือคุม แอนดี ชเล็ค ให้อยู่และผมก็สามารถทำได้ เขาพยายามจี้ผมตลอด เขาแข็งแกร่ง แต่ผมก็แกร่งไม่แพ้กัน อีกทั้งผมยังยินดีที่เราช่วยให้ แลนซ์ (อาร์มสตรอง) อยู่ในอันดับ 3 ได้”
ด้าน ชเล็ค ซึ่งสเตจที่ 20 เข้าอันดับ 3 ออกมายกย่องว่าที่แชมป์ “ไม่มีปัญหาว่าเขา (คอนทาดอร์) แข็งแกร่งที่สุดในตูร์ฯ ครั้งนี้ เขาทำได้ในทุกๆ วัน ไม่เคยเจอกับวันแย่ๆ เลย เขาชนะถึง 3 สเตจและก็เป็นสุภาพบุรุษคนหนึ่งเลย ในปีหน้าเรายังต้องเจอกับนักปั่นรายอื่น มันจะยากขึ้นอีก แต่ผมยังหนุ่มแน่นพร้อมปรับปรุงอะไรให้ดีขึ้นอีก”
สรุปผลงาน 10 อันดับแรก สเตจที่ 20 จาก มงต์เตลิมาร์ ไปยัง มงต์ เวนตูซ์
1. ฆวน มานูเอล กาเรต (สเปน / ราโบแบงค์) เวลา 4 ชั่วโมง 39 นาที 21 วินาที
2. โทนี มาร์ติน (เยอรมนี / โคลัมเบีย) ตามหลัง 3 วินาที
3. แอนดี ชเล็ค (ลักเซมเบิร์ก / แซ็กโซ แบงค์) ตามหลัง 38 วินาที
4. อัลแบร์โต คอนทาดอร์ (สเปน / แอสทานา) ตามหลัง 38 วินาที
5. แลนซ์ อาร์มสตรอง (สหรัฐฯ / แอสทานา) ตามหลัง 41 วินาที
6. แฟรงค์ ชเล็ค (ลักเซมเบิร์ก / แซ็กโซ แบงค์) ตามหลัง 43 วินาที
7. โรมัน ครูซิเกอร์ (สาธารณรัฐเช็ก / ลิกุยกาส) ตามหลัง 46 วินาที
8. ฟรังโก เพลลิซอตติ (อิตาลี / ลิกุยกาส) ตามหลัง 56 วินาที
9. วินเชนโซ นิบาลี (อิตาลี / ลิกุยกาส) ตามหลัง 58 วินาที
10. แบรดลีย์ วิกกินส์ (อังกฤษ / การ์มิน-สลิปสตรีม) ตามหลัง 1 นาที 3 วินาที
ผลงานเวลารวม 3 อันดับแรก หลังจบสเตจที่ 20
1. อัลเบร์โต คอนทาดอร์ (สเปน / แอสทานา) เวลารวม 81 ชั่วโมง 46 นาที 17 วินาที
2. แอนดี ชเล็ค (ลักเซมเบิร์ก / แซ็กโซ แบงค์) ตามหลัง 4 นาที 11 วินาที
3. แลนซ์ อาร์มสตรอง (สหรัฐฯ / แอสทานา) ตามหลัง 5 นาที 24 วินาที
ส่วนการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 26 ก.ค. 2552 จะเป็นการปั่นในวันสุดท้าย สเตจที่ 21 เส้นทางตรงจาก มงต์เทรู-ฟาลท์-ยอน (Montereau-Fault-Yonne) ไปยังประตูชัยในกรุงปารีส (Paris) ระยะทาง 164 กิโลเมตร
จักรยานทางไกล “ตูร์ เดอ ฟรองซ์” ประจำปี 2009 เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2552 ดำเนินมาถึงการแข่งขันสเตจที่ 20 เส้นทางขึ้นเขาที่สูงชันจาก มงต์เตลิมาร์ (Montelimar) ไปยัง มงต์ เวนตูซ์ (Mont Ventoux) ระยะทาง 167 กิโลเมตร
ซึ่งถือเป็นวันที่ยอดเยี่ยมสำหรับน่องเหล็กจากแดนกระทิงดุ โดย ฆวน มานูเอล กาเรต ของทีมราโบแบงค์ อาศัยความอึดในการปั่นขึ้นเขาที่สูงชัน ก่อนใช้ลูกฮึดช่วง 100 เมตรสุดท้ายฉีก โทนี มาร์ติน ชาวเยอรมนีจากทีมโคลัมเบีย เข้าเส้นชัยเป็นคันแรก ด้วยเวลา 4 ชั่วโมง 39 นาที 21 วินาที ได้ยืนโพเดียมในฐานะแชมป์สเตจที่ 20
อย่างไรก็ตาม ไคลน์แม็กซ์ของการแข่งขันมุ่งไปที่ อัลแบร์โต คอนทาดอร์ สตาร์ของทีมแอสทานา ผู้สวมเสื้อเหลืองที่ปั่นเข้าอันดับ 4 ของสเตจที่ 20 โอกาสคว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ สมัยที่สองในชีวิตอยู่แค่เอื้อม เนื่องจากเวลารวมขึ้นหน้า แอนดี ชเล็ค คู่แข่งสำคัญชาวลักเซมเบิร์กของทีมแซ็กโซ แบงค์ อยู่ถึง 4 นาที 11 วินาที ขณะที่เหลืออีกแค่สเตจเดียวในวันอาทิตย์นี้ก็จะถึงประตูชัย
ภายหลังการแข่งขัน คอนทาดอร์ ให้สัมภาษณ์กับ “สกาย สปอร์ตส” สื่อชั้นนำ “มันแตกต่างออกไปจากครั้งที่ผมคว้าแชมป์เมื่อปี 2007 ตูร์ฯ ครั้งนี้ยากเป็นพิเศษ สิ่งที่ผมต้องทำคือคุม แอนดี ชเล็ค ให้อยู่และผมก็สามารถทำได้ เขาพยายามจี้ผมตลอด เขาแข็งแกร่ง แต่ผมก็แกร่งไม่แพ้กัน อีกทั้งผมยังยินดีที่เราช่วยให้ แลนซ์ (อาร์มสตรอง) อยู่ในอันดับ 3 ได้”
ด้าน ชเล็ค ซึ่งสเตจที่ 20 เข้าอันดับ 3 ออกมายกย่องว่าที่แชมป์ “ไม่มีปัญหาว่าเขา (คอนทาดอร์) แข็งแกร่งที่สุดในตูร์ฯ ครั้งนี้ เขาทำได้ในทุกๆ วัน ไม่เคยเจอกับวันแย่ๆ เลย เขาชนะถึง 3 สเตจและก็เป็นสุภาพบุรุษคนหนึ่งเลย ในปีหน้าเรายังต้องเจอกับนักปั่นรายอื่น มันจะยากขึ้นอีก แต่ผมยังหนุ่มแน่นพร้อมปรับปรุงอะไรให้ดีขึ้นอีก”
สรุปผลงาน 10 อันดับแรก สเตจที่ 20 จาก มงต์เตลิมาร์ ไปยัง มงต์ เวนตูซ์
1. ฆวน มานูเอล กาเรต (สเปน / ราโบแบงค์) เวลา 4 ชั่วโมง 39 นาที 21 วินาที
2. โทนี มาร์ติน (เยอรมนี / โคลัมเบีย) ตามหลัง 3 วินาที
3. แอนดี ชเล็ค (ลักเซมเบิร์ก / แซ็กโซ แบงค์) ตามหลัง 38 วินาที
4. อัลแบร์โต คอนทาดอร์ (สเปน / แอสทานา) ตามหลัง 38 วินาที
5. แลนซ์ อาร์มสตรอง (สหรัฐฯ / แอสทานา) ตามหลัง 41 วินาที
6. แฟรงค์ ชเล็ค (ลักเซมเบิร์ก / แซ็กโซ แบงค์) ตามหลัง 43 วินาที
7. โรมัน ครูซิเกอร์ (สาธารณรัฐเช็ก / ลิกุยกาส) ตามหลัง 46 วินาที
8. ฟรังโก เพลลิซอตติ (อิตาลี / ลิกุยกาส) ตามหลัง 56 วินาที
9. วินเชนโซ นิบาลี (อิตาลี / ลิกุยกาส) ตามหลัง 58 วินาที
10. แบรดลีย์ วิกกินส์ (อังกฤษ / การ์มิน-สลิปสตรีม) ตามหลัง 1 นาที 3 วินาที
ผลงานเวลารวม 3 อันดับแรก หลังจบสเตจที่ 20
1. อัลเบร์โต คอนทาดอร์ (สเปน / แอสทานา) เวลารวม 81 ชั่วโมง 46 นาที 17 วินาที
2. แอนดี ชเล็ค (ลักเซมเบิร์ก / แซ็กโซ แบงค์) ตามหลัง 4 นาที 11 วินาที
3. แลนซ์ อาร์มสตรอง (สหรัฐฯ / แอสทานา) ตามหลัง 5 นาที 24 วินาที
ส่วนการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 26 ก.ค. 2552 จะเป็นการปั่นในวันสุดท้าย สเตจที่ 21 เส้นทางตรงจาก มงต์เทรู-ฟาลท์-ยอน (Montereau-Fault-Yonne) ไปยังประตูชัยในกรุงปารีส (Paris) ระยะทาง 164 กิโลเมตร