คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
โรล็อง การโรส ( Roland Garros ) หรือ เฟร็นช์ โอเพน ( French Open ) การแข่งขันเทนนิส แกรนด์ สแลม บนคอร์ทดินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก รายการที่บรรดานักเทนนิสต่างก็รู้ดีว่า ไม่ต้องคาดหวังกับการหวดหนักเพื่อหวังปิดสกอร์เร็วบนสภาพพื้นผิวของสนามแข่งขันนี้ ยังไงเกมบนคอร์ทดินก็ต้องยืดเยื้อแน่นอน ดังนั้น ใครที่จะฝ่าฟันไปถึงรอบลึกๆได้ ต้องมาพร้อมกับสภาพร่างกายที่แข็งแกร่ง ทรงพลัง เต็มไปด้วยความอึด อดทนมากที่สุด เมื่อเปรียบกับการแข่งขันบนสภาพพื้นผิวแบบอื่น และหากจะนับกันตั้งแต่มีการแข่งขันครั้งแรกในปี 1891 แล้ว การแข่งขัน เทนนิส โรล็อง การโรส ปีนี้ ก็จะเป็นครั้งที่ 108 โดยจะเริ่มแข่งขัน รอบเมนดรอว์ ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคมนี้
มาว่ากันที่เรื่องรางวัลตอบแทนก่อนครับ ทั้งหญิงและชายได้เงินเท่ากัน โดยประเภทเดี่ยวนั้น ในรอบเมนดรอว์จะให้มีนักเทนนิสเข้ามาแข่งขัน หรือที่เขาเรียกว่า ดรอว์ ไซส์ ( draw size ) 128 คน จัดมือวางแล้วประกบคู่แบบก้างปลา หั่นคนแพ้ออกไปทีละครึ่งเรื่อยๆจนเหลือแชมป์คนเดียว ผู้ที่ตกรอบแรก หยุดเส้นทางเพียงเท่านี้ ก็รับเงินรางวัล 14,290 เออโร อย่าเพิ่งประหลาดใจเพราะสกุลเงินไม่คุ้นหูครับ มันก็เงินสกุลเดียวกับ ยูโร นั่นแหละ เพียงแต่การแข่งขันเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส คนฝรั่งเศสออกเสียงแบบนี้ ผมก็เขียนให้ท่านผู้อ่านทราบครับ เงินจำนวนนี้คิดเป็นเงินไทยได้ประมาณ 670,000 บาท คนที่แพ้ในรอบสอง หรือ รอบ 64 คน ได้รับเงิน 23,760 เออโร หรือประมาณ 1,120,000 บาท
ถ้าตกรอบสาม หรือรอบ 32 คน ก็ถือว่าทำผลงานได้เท่ากับ ภราดร ศรีชาพันธุ์ ในปี 2002 ซึ่งปีนั้นฟอร์มกำลังเฮี้ยนเลย จะได้รับเงิน 39,400 เออโร หรือประมาณ 1,850,000 บาท แต่ถ้าไปไกลกว่าหนุ่มอดีตนักบิดคนนี้ หมายถึงเข้ารอบ 16 คน แต่ก็จอดแค่นี้ คราวนี้รับเงิน 66,250 เออโร หรือประมาณ 3,160,000 บาท กรุยทางไปไกลขนาดรอบ 8 คนก็ได้เงินมากหน่อยคือ 125,000 เออโร หรือประมาณ 5,890,000 บาท เผลอหลุดเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ หรือ 4 คนสุดท้าย แต่ต้องช้ำใจไม่ได้เข้าชิงชนะเลิศ ทางผู้จัดการแข่งขันคือ สหพันธ์เทนนิสฝรั่งเศส ( Federation francaise de tennis - FFT ) มีเงินให้ออกไปเดินเที่ยวเล่น ช้อปปิงบนถนนช็อง เซลิเซ 250,000 เออโร หรือประมาณ 11,790,000 บาท ในขณะที่เงินรางวัลของแชมป์กับรองแชมป์ก็ต่างกันเท่าตัว คือแชมป์ได้รับ 1 ล้านเออโร หรือประมาณ 47,170,000 บาท ส่วนรองแชมป์ได้เท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ และเมื่อสรุปตัวเลขเงินรางวัลทั้งหมด ทั้งประเภทเดี่ยว คู่ คู่ผสม ไม่ว่ารุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ เอาเป็นว่า ลำพังแค่เงินรางวัลที่ทาง แอ็ฟแอ็ฟเต ต้องจัดเตรียมให้นักเทนนิส โดยยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ปาเข้าไป 15,264,500 ล้านเออโร หรือประมาณ 720 ล้านบาทแล้ว
การแข่งขันเทนนิสในยุคก่อนนั้น เขาใช้ลูกบอลสีขาว พอถึงปี 1978 จึงมีการเปลี่ยนมาใช้บอลสีเหลืองแสบตาอย่างที่เห็น และนี่เป็น เทนนิสแกรนด์ สแลม รายการเดียวที่ไม่ยอมให้ ฮ็อค อาย ( Hawk-Eye ) เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็น โคตรกรรมการ อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นระบบ “ ภาพจำลองเชิงคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ ” ที่เรียกว่า 3D computer simulation โดยใช้กล้องวีดิโอความเร็วสูงถึง 10 ตัวในการเก็บภาพจากมุมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เห็นทิศทางการวิ่ง จุดตกของลูกบอล แถมยังประมวลผลอื่นๆได้อีกด้วย เช่น ความเร็วของลูกบอล หรือแม้กระทั่งคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ลูกบอลจะไป ณ จุดใด ซึ่งถ้าเป็น เทนนิสรายการอื่นๆ นักหวดแต่ละฝ่ายมีสิทธิ์ทักท้วงคำตัดสิน และขอใช้ ฮ็อค อาย มาพิสูจน์ว่าลูกบอลลงในคอร์ทหรือนอกคอร์ท โดยทุกครั้งที่มีการทักท้วง เขาก็จะฉายภาพจาก ฮ็อค อาย ให้ทุกคนได้ดูกันชัดๆ ซึ่งอาจต้องกลับคำตัดสินก็ได้ ถ้าการตัดสินที่ผ่านมานั้นผิดพลาด สำหรับเหตุผลง่ายๆที่ โรล็อง การโรส ไม่ยอมใช้ ฮ็อค อาย ก็คือ สนามเป็นดินอัด มีพื้นผิวเต็มไปด้วยฝุ่นผง เมื่อบอลตกกระทบก็จะเกิดรอย เป็นประจักษ์พยานอยู่แล้วนั่นเอง ซึ่ง แชร์ อัมพายร์ ( Chair Umpire ) ที่เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดสูงสุดในการตัดสินระหว่างทำการแข่งขันแต่ละแมตช์ก็มักจะลงมาจากเก้าอี้สูงเพื่อดูร่องรอยด้วยตนเองด้วย
ตามปกติ การแข่งขันเทนนิสรายการนี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์ หรือ 14 วัน และเพื่อให้นัดชิงชนะเลิศไปจบในวันอาทิตย์ เขาก็จะเริ่มการแข่งขันรอบเมนดรอว์กันตั้งแต่วันจันทร์ ซึ่ง โรล็อง การโรส ก็ถือปฏิบัติอย่างนี้มาโดยตลอด แต่ต่อมาจึงเริ่มคิดกันว่า ดรอว์ ไซส์ ขนาดนี้ ควรเพิ่มการแข่งขันอีกสัก 1 วัน และยิ่งเป็นการดีเสียอีก ถ้าบ่ายๆวันอาทิตย์ แฟนๆเทนนิสไม่ต้องทำงาน จะได้มีเวลาออกมาชมการแข่งขันในสนาม หรืออย่างน้อยก็ติดตามเกมอยู่หน้าจอโทรทัศน์ที่บ้าน ดังนั้น พอถึงปี 2006 เขาจึงเปลี่ยนใหม่เป็นแข่ง 15 วัน โดยเริ่มแข่งรอบเมนดรอว์กันในวันอาทิตย์ ที่เรียกว่า “ ซันเดย์ สตาร์ท ” ( Sunday Start ) นั่นเอง
โรล็อง การโรส ( Roland Garros ) หรือ เฟร็นช์ โอเพน ( French Open ) การแข่งขันเทนนิส แกรนด์ สแลม บนคอร์ทดินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก รายการที่บรรดานักเทนนิสต่างก็รู้ดีว่า ไม่ต้องคาดหวังกับการหวดหนักเพื่อหวังปิดสกอร์เร็วบนสภาพพื้นผิวของสนามแข่งขันนี้ ยังไงเกมบนคอร์ทดินก็ต้องยืดเยื้อแน่นอน ดังนั้น ใครที่จะฝ่าฟันไปถึงรอบลึกๆได้ ต้องมาพร้อมกับสภาพร่างกายที่แข็งแกร่ง ทรงพลัง เต็มไปด้วยความอึด อดทนมากที่สุด เมื่อเปรียบกับการแข่งขันบนสภาพพื้นผิวแบบอื่น และหากจะนับกันตั้งแต่มีการแข่งขันครั้งแรกในปี 1891 แล้ว การแข่งขัน เทนนิส โรล็อง การโรส ปีนี้ ก็จะเป็นครั้งที่ 108 โดยจะเริ่มแข่งขัน รอบเมนดรอว์ ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคมนี้
มาว่ากันที่เรื่องรางวัลตอบแทนก่อนครับ ทั้งหญิงและชายได้เงินเท่ากัน โดยประเภทเดี่ยวนั้น ในรอบเมนดรอว์จะให้มีนักเทนนิสเข้ามาแข่งขัน หรือที่เขาเรียกว่า ดรอว์ ไซส์ ( draw size ) 128 คน จัดมือวางแล้วประกบคู่แบบก้างปลา หั่นคนแพ้ออกไปทีละครึ่งเรื่อยๆจนเหลือแชมป์คนเดียว ผู้ที่ตกรอบแรก หยุดเส้นทางเพียงเท่านี้ ก็รับเงินรางวัล 14,290 เออโร อย่าเพิ่งประหลาดใจเพราะสกุลเงินไม่คุ้นหูครับ มันก็เงินสกุลเดียวกับ ยูโร นั่นแหละ เพียงแต่การแข่งขันเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส คนฝรั่งเศสออกเสียงแบบนี้ ผมก็เขียนให้ท่านผู้อ่านทราบครับ เงินจำนวนนี้คิดเป็นเงินไทยได้ประมาณ 670,000 บาท คนที่แพ้ในรอบสอง หรือ รอบ 64 คน ได้รับเงิน 23,760 เออโร หรือประมาณ 1,120,000 บาท
ถ้าตกรอบสาม หรือรอบ 32 คน ก็ถือว่าทำผลงานได้เท่ากับ ภราดร ศรีชาพันธุ์ ในปี 2002 ซึ่งปีนั้นฟอร์มกำลังเฮี้ยนเลย จะได้รับเงิน 39,400 เออโร หรือประมาณ 1,850,000 บาท แต่ถ้าไปไกลกว่าหนุ่มอดีตนักบิดคนนี้ หมายถึงเข้ารอบ 16 คน แต่ก็จอดแค่นี้ คราวนี้รับเงิน 66,250 เออโร หรือประมาณ 3,160,000 บาท กรุยทางไปไกลขนาดรอบ 8 คนก็ได้เงินมากหน่อยคือ 125,000 เออโร หรือประมาณ 5,890,000 บาท เผลอหลุดเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ หรือ 4 คนสุดท้าย แต่ต้องช้ำใจไม่ได้เข้าชิงชนะเลิศ ทางผู้จัดการแข่งขันคือ สหพันธ์เทนนิสฝรั่งเศส ( Federation francaise de tennis - FFT ) มีเงินให้ออกไปเดินเที่ยวเล่น ช้อปปิงบนถนนช็อง เซลิเซ 250,000 เออโร หรือประมาณ 11,790,000 บาท ในขณะที่เงินรางวัลของแชมป์กับรองแชมป์ก็ต่างกันเท่าตัว คือแชมป์ได้รับ 1 ล้านเออโร หรือประมาณ 47,170,000 บาท ส่วนรองแชมป์ได้เท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ และเมื่อสรุปตัวเลขเงินรางวัลทั้งหมด ทั้งประเภทเดี่ยว คู่ คู่ผสม ไม่ว่ารุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ เอาเป็นว่า ลำพังแค่เงินรางวัลที่ทาง แอ็ฟแอ็ฟเต ต้องจัดเตรียมให้นักเทนนิส โดยยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ปาเข้าไป 15,264,500 ล้านเออโร หรือประมาณ 720 ล้านบาทแล้ว
การแข่งขันเทนนิสในยุคก่อนนั้น เขาใช้ลูกบอลสีขาว พอถึงปี 1978 จึงมีการเปลี่ยนมาใช้บอลสีเหลืองแสบตาอย่างที่เห็น และนี่เป็น เทนนิสแกรนด์ สแลม รายการเดียวที่ไม่ยอมให้ ฮ็อค อาย ( Hawk-Eye ) เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็น โคตรกรรมการ อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นระบบ “ ภาพจำลองเชิงคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ ” ที่เรียกว่า 3D computer simulation โดยใช้กล้องวีดิโอความเร็วสูงถึง 10 ตัวในการเก็บภาพจากมุมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เห็นทิศทางการวิ่ง จุดตกของลูกบอล แถมยังประมวลผลอื่นๆได้อีกด้วย เช่น ความเร็วของลูกบอล หรือแม้กระทั่งคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ลูกบอลจะไป ณ จุดใด ซึ่งถ้าเป็น เทนนิสรายการอื่นๆ นักหวดแต่ละฝ่ายมีสิทธิ์ทักท้วงคำตัดสิน และขอใช้ ฮ็อค อาย มาพิสูจน์ว่าลูกบอลลงในคอร์ทหรือนอกคอร์ท โดยทุกครั้งที่มีการทักท้วง เขาก็จะฉายภาพจาก ฮ็อค อาย ให้ทุกคนได้ดูกันชัดๆ ซึ่งอาจต้องกลับคำตัดสินก็ได้ ถ้าการตัดสินที่ผ่านมานั้นผิดพลาด สำหรับเหตุผลง่ายๆที่ โรล็อง การโรส ไม่ยอมใช้ ฮ็อค อาย ก็คือ สนามเป็นดินอัด มีพื้นผิวเต็มไปด้วยฝุ่นผง เมื่อบอลตกกระทบก็จะเกิดรอย เป็นประจักษ์พยานอยู่แล้วนั่นเอง ซึ่ง แชร์ อัมพายร์ ( Chair Umpire ) ที่เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดสูงสุดในการตัดสินระหว่างทำการแข่งขันแต่ละแมตช์ก็มักจะลงมาจากเก้าอี้สูงเพื่อดูร่องรอยด้วยตนเองด้วย
ตามปกติ การแข่งขันเทนนิสรายการนี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์ หรือ 14 วัน และเพื่อให้นัดชิงชนะเลิศไปจบในวันอาทิตย์ เขาก็จะเริ่มการแข่งขันรอบเมนดรอว์กันตั้งแต่วันจันทร์ ซึ่ง โรล็อง การโรส ก็ถือปฏิบัติอย่างนี้มาโดยตลอด แต่ต่อมาจึงเริ่มคิดกันว่า ดรอว์ ไซส์ ขนาดนี้ ควรเพิ่มการแข่งขันอีกสัก 1 วัน และยิ่งเป็นการดีเสียอีก ถ้าบ่ายๆวันอาทิตย์ แฟนๆเทนนิสไม่ต้องทำงาน จะได้มีเวลาออกมาชมการแข่งขันในสนาม หรืออย่างน้อยก็ติดตามเกมอยู่หน้าจอโทรทัศน์ที่บ้าน ดังนั้น พอถึงปี 2006 เขาจึงเปลี่ยนใหม่เป็นแข่ง 15 วัน โดยเริ่มแข่งรอบเมนดรอว์กันในวันอาทิตย์ ที่เรียกว่า “ ซันเดย์ สตาร์ท ” ( Sunday Start ) นั่นเอง