คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ถ้าจะพลิกดูประวัติศาสตร์ความสูญเสียครั้งสำคัญที่สุดในวงการกีฬาอังกฤษ หนึ่งในนั้นก็น่าจะเป็น ฮิลส์เบอเรอ ดิแซสเทอร์ ( Hillsborough Disaster ) เหตุการณ์แฟนบอลเหยียบกันตายที่ ฮิลส์เบอเรอ สเตเดียม สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล เชฟฟีลด์ เวนส์เดย์ ใน โอว์เลอร์ทึน ( Owlerton ) เชฟฟีลด์ ประเทศอังกฤษ ในการแข่งขันฟุตบอล เอฟ เอ คัพ รอบรองชนะเลิศระหว่าง 2 สโมสรที่มีฉายาว่า เดอะ เรดส์ เหมือนกันคือ สโมสรฟุตบอล น็อททิงแฮม ฟอเรสท์ กับ สโมสรฟุตบอล ลิเวอร์พูล เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1989 งานนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 96 คนและเป็นแฟนบอลของ สโมสรฟุตบอล ลิเวอร์พูล ล้วนๆด้วย
ก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ ที่นั่งในสนามกีฬาส่วนใหญ่จะทำเป็นเพียงพื้นปูนเป็นชั้นๆ ใครเข้ามาชมก็นั่งได้ ยืนได้ ไม่จำกัดจำนวน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เหลืออยู่ เข้ามากันจนกว่าจะเต็ม ถ้านัดไหนแฟนบอลเข้ามาชมเยอะ ก็ต้องนั่งเบียดๆกันหน่อย โดยเฉพาะในยุคนั้น เราจะพบว่า สนามฟุตบอลเกือบทั้งหมดในสหราชอาณาจักรจะมีการติดตั้งรั้วตะแกรงเหล็กสูง แถมมีลวดหนามเอาไว้กั้นผู้ชมให้แยกออกจากสนามฟุตบอลอย่างชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนคุณงามความดีให้กับพวก ฮูลิแกน ที่ชอบก่อกวนการแข่งขันอยู่เสมอมานานปี ทั้งขว้างปาสิ่งของ บุกเข้าไปในสนาม หรือก่อความรุนแรงทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มทศวรรษที่ 80 ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษก็นิยมใช้สนาม ฮิลส์เบอเรอ จัดการแข่งขัน เอฟ เอ คัพ รอบรองชนะเลิศอยู่บ่อยๆ นับจนถึงเหตุการณ์ ฮิลส์เบอเรอ ดิแซสเทอร์ อย่างน้อยก็ 5 ครั้ง
ความจริงเหตุการณ์แฟนบอลเหยียบกันนี้ อังกฤษนั้นมีเป็นประจำมาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมาโน่น และก่อนหน้า ฮิลส์เบอเรอ ดิแซสเทอร์ ไม่กี่ปี ก็เคยมีเหตุการณ์แฟนบอลเหยียบกันเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1981 เป็นเกม เอฟ เอ คัพ รอบรองชนะเลิศ ระหว่าง ท็อทแนม ฮ็อทสเปอร์ กับ วูฟเวอร์แฮมทึน วอนเดอเรอร์ส แต่ครั้งนั้นไม่ถึงกับมีใครต้องสังเวยชีวิต เพียงแค่แฟนบอลได้รับบาดเจ็บ 38 คน อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทางสโมสร เชฟฟีลด์ เวนส์เดย์ ได้ตัดสินใจปรับรั้วกันใหม่ทางอัฒจันทร์ด้านถนน เล็พพิงส์ ( Leppings Lane ) คราวนี้กั้นเป็นคอกเลย แยกออกเป็น 3 คอก แล้วพอถึงปี 1984 สโมสร เชฟฟีลด์ เวนส์เดย์ ได้ขึ้นชั้นมาเล่นในลีกสูงสุดของอังกฤษ ซึ่งตอนนั้นยังเป็น ดิวิเชิน 1 อยู่ ทางสโมสรคาดการณ์ว่า แฟนบอลเจ้าถิ่นย่อมเข้ามาชมการแข่งขันในแต่ละนัดมากขึ้นแน่นอน เพื่อป้องกันปัญหา คอกผู้ชมก็ถูกปรับแบ่งเป็น 5 คอก
วันเกิดเหตุ ฮิลส์เบอเรอ ดิแซสเทอร์ นั้น แฟนบอล ลิเวอร์พูล ได้รับมอบหมายให้เข้าเชียร์ทีมรักของพวกตนบริเวณอัฒจันทร์ทางด้านถนน เล็พพิงส์ ซึ่งการแข่งขันจะเริ่มขึ้นเวลาบ่าย 3 โมงตรง และมีการประกาศทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุให้แฟนบอลรีบเข้าประจำที่นั่งของตนก่อนสัก 15 นาที รวมทั้งห้ามแฟนบอลที่ไม่มีตั๋วทำซึมมั่วเข้าฟรีโดยเด็ดขาด แต่ไม่ยักมีการประกาศให้ทราบว่า เส้นทางหนึ่งที่มุ่งสู่ ฮิลส์เบอเรอ สเตเดียม คือ มอเตอร์เวย์ สาย เอ็ม 62 จะมีการทำถนน ทำให้แฟนบอลเรือนหมื่นมาถึงสนามค่อนข้างช้า แทนที่จะได้เข้าสู่ที่นั่งก่อนการแข่งขันอย่างสบายๆ
ยิ่งไปกว่านั้น ด้านนอกของอัฒจันทร์ด้านถนน เล็พพิงส์ ซึ่งจะมีทางเข้าเป็นที่กั้นเหล็กหมุนแบบที่ให้แฟนบอลผ่านได้ทีละคน ที่เขาเรียกว่า เทิร์นสตายล์ ( the turnstile entrances ) ยังมีการปลุกเร้า สร้างความคึกคักให้แฟนบอลกระหายอยากเข้าสู่สนามเร็วอีก คนผ่านเข้าได้อย่างช้าๆ ทีละคน ตรงนี้เลยเกิดเป็นคอขวด ผู้คนไปออ กระจุก อัดแน่นอยู่ตรงบริเวณทางเข้า ตรงนี้เขาบอกว่าราว 5,000 คนได้ ในบรรดาแฟนบอลนั้น มีคนที่ถือตั๋วผีซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสนาม จะออกก็ออกไม่ได้แล้ว ยืนขวางมันอยู่อย่างนั้น ส่วนคนที่รอจะเข้า ยิ่งได้ยินเสียงบรรยากาศในสนาม ขณะที่นักฟุตบอลทั้ง 2 ทีมวิ่งลงสู่สนาม มีเสียงกองเชียร์โห่ร้องต้อนรับ ก็ยิ่งอยากเข้าสู่สนามเร็วๆ ก็ยิ่งดันกันเข้ามา เมื่อถึงเวลาเริ่มการแข่งขัน แฟนบอลยังเข้าสู่สนามไม่หมด การแข่งขันก็เริ่มขึ้นโดยไม่มีการเลื่อนเวลาออกไปแม้แต่น้อย เสียงเชียร์ในสนามก็ยิ่งดังกระหึ่มเข้าไปอีก จนเจ้าหน้าที่ต้องเปิดประตูหวังจะระบายคนออกมา แต่กลับเป็นโอกาสให้แฟนบอลกรูกันเข้าไป
ผลจากการที่แฟนบอลทะลักเข้ามาหลายพันคนผ่านทางอุโมงค์แคบๆ เข้ามาในคอกผู้ชมที่มีแฟนบอลแน่นขนัดอยู่แล้ว ทำให้ไปออกันอยู่ที่บริเวณรั้วตะแกรงเหล็ก โดยมีฝูงชนเบียดดันกันมาจากด้านหลัง ไม่มีใครนึกถึงปัญหานี้ แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ เจ้าหน้าที่สนาม ส่วนแฟนบอลอื่นๆก็ไปสนใจกับเกมการแข่งขันมากกว่า จนกระทั่งหลังจากที่เกมเริ่มไปได้ 6 นาที เจ้าหน้าที่ตำรวจสังเกตเห็นแฟนบอลจำนวนไม่น้อยหนีตาย ปีนรั้วออกมา จึงส่งสัญญาณขอให้ผู้ตัดสินเป่านกหวีดยุติการแข่งขันก่อน แฟนบอลจากด้านหลังยังเบียดเสียดดันมาข้างหน้า ช่วงนี้มีตายกันบ้างแล้ว จนรั้วตะแกรงเหล็กพังลงมา ท่านผู้อ่านก็คงจะเดาได้ครับว่า เกิดเหตุการณ์วุ่นวายสับสนอลหม่าน เหยียบทับคนที่ล้มลงไปอีก สรุปแฟนบอลเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 94 คน บาดเจ็บ 766 คนโดยต้องถึงหามส่งโรงพยาบาลราว 300 คน อีก 4 วันต่อมา ลี นิโคล ( Lee Nicol ) แฟนบอลอายุ 14 ปีก็เสียชีวิตเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว แต่ที่น่าหดหู่ใจก็คือ โทนี แบลนด์ ( Tony Bland ) รายที่ 96 นั้นนอนโคมาอยู่นานถึง 4 ปีก่อนที่จะเสียชีวิตในปี 1993
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นส่วนสำคัญให้มีการออกกฎข้อบังคับการสร้างสนามที่มีที่นั่งเป็นเรื่องเป็นราวที่เรียกว่า ออล ซีทเทอร์ ( All-Seater ) และเรื่องนี้ยังเป็นเหตุการณ์ในความทรงจำของแฟนลิเวอร์พูลที่จะมีการไว้อาลัยกันในวันที่ 15 เมษายนของทุกปี โดยเฉพาะในปีนี้ ลิเวอร์พูล เพิ่งเขี่ย เรอัล มาดริด ตกรอบ ยูเอ็ฟฟา แชมเปียนส์ลีก ได้เข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ซึ่งนัดที่ 2 นั้น มีกำหนดแข่งในวันที่ 14 หรือ 15 เมษายนนี้ด้วย ทำให้สโมสร ลิเวอร์พูล เกรงว่าทีมตนจะต้องไปแข่งกันในวันที่ 15 พอดี จึงได้ร้องขอไปทาง ยูเอ็ฟฟา เพื่อกรุณาจัดโปรแกรมหลีกเลี่ยงให้ด้วย โดยล่าสุด มิเชล ปลาตินี ประธาน ยูเอ็ฟฟา ออกมายืนยันว่า จะจัดให้ตามนั้น ดังนั้น แม้ว่าการจับสลากประกบคู่ยังมาไม่ถึง เพราะจะกระทำกับในวันศุกร์ที่ 20 มีนาคมนี้ แต่เรามีนัดลุ้น ลิเวอร์พูล เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย ยูเอ็ฟฟา แชมเปียนส์ ลีก กันในวันที่ 14 เมษายนนี้แน่นอนครับ
ถ้าจะพลิกดูประวัติศาสตร์ความสูญเสียครั้งสำคัญที่สุดในวงการกีฬาอังกฤษ หนึ่งในนั้นก็น่าจะเป็น ฮิลส์เบอเรอ ดิแซสเทอร์ ( Hillsborough Disaster ) เหตุการณ์แฟนบอลเหยียบกันตายที่ ฮิลส์เบอเรอ สเตเดียม สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล เชฟฟีลด์ เวนส์เดย์ ใน โอว์เลอร์ทึน ( Owlerton ) เชฟฟีลด์ ประเทศอังกฤษ ในการแข่งขันฟุตบอล เอฟ เอ คัพ รอบรองชนะเลิศระหว่าง 2 สโมสรที่มีฉายาว่า เดอะ เรดส์ เหมือนกันคือ สโมสรฟุตบอล น็อททิงแฮม ฟอเรสท์ กับ สโมสรฟุตบอล ลิเวอร์พูล เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1989 งานนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 96 คนและเป็นแฟนบอลของ สโมสรฟุตบอล ลิเวอร์พูล ล้วนๆด้วย
ก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ ที่นั่งในสนามกีฬาส่วนใหญ่จะทำเป็นเพียงพื้นปูนเป็นชั้นๆ ใครเข้ามาชมก็นั่งได้ ยืนได้ ไม่จำกัดจำนวน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่เหลืออยู่ เข้ามากันจนกว่าจะเต็ม ถ้านัดไหนแฟนบอลเข้ามาชมเยอะ ก็ต้องนั่งเบียดๆกันหน่อย โดยเฉพาะในยุคนั้น เราจะพบว่า สนามฟุตบอลเกือบทั้งหมดในสหราชอาณาจักรจะมีการติดตั้งรั้วตะแกรงเหล็กสูง แถมมีลวดหนามเอาไว้กั้นผู้ชมให้แยกออกจากสนามฟุตบอลอย่างชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนคุณงามความดีให้กับพวก ฮูลิแกน ที่ชอบก่อกวนการแข่งขันอยู่เสมอมานานปี ทั้งขว้างปาสิ่งของ บุกเข้าไปในสนาม หรือก่อความรุนแรงทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มทศวรรษที่ 80 ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษก็นิยมใช้สนาม ฮิลส์เบอเรอ จัดการแข่งขัน เอฟ เอ คัพ รอบรองชนะเลิศอยู่บ่อยๆ นับจนถึงเหตุการณ์ ฮิลส์เบอเรอ ดิแซสเทอร์ อย่างน้อยก็ 5 ครั้ง
ความจริงเหตุการณ์แฟนบอลเหยียบกันนี้ อังกฤษนั้นมีเป็นประจำมาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมาโน่น และก่อนหน้า ฮิลส์เบอเรอ ดิแซสเทอร์ ไม่กี่ปี ก็เคยมีเหตุการณ์แฟนบอลเหยียบกันเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1981 เป็นเกม เอฟ เอ คัพ รอบรองชนะเลิศ ระหว่าง ท็อทแนม ฮ็อทสเปอร์ กับ วูฟเวอร์แฮมทึน วอนเดอเรอร์ส แต่ครั้งนั้นไม่ถึงกับมีใครต้องสังเวยชีวิต เพียงแค่แฟนบอลได้รับบาดเจ็บ 38 คน อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทางสโมสร เชฟฟีลด์ เวนส์เดย์ ได้ตัดสินใจปรับรั้วกันใหม่ทางอัฒจันทร์ด้านถนน เล็พพิงส์ ( Leppings Lane ) คราวนี้กั้นเป็นคอกเลย แยกออกเป็น 3 คอก แล้วพอถึงปี 1984 สโมสร เชฟฟีลด์ เวนส์เดย์ ได้ขึ้นชั้นมาเล่นในลีกสูงสุดของอังกฤษ ซึ่งตอนนั้นยังเป็น ดิวิเชิน 1 อยู่ ทางสโมสรคาดการณ์ว่า แฟนบอลเจ้าถิ่นย่อมเข้ามาชมการแข่งขันในแต่ละนัดมากขึ้นแน่นอน เพื่อป้องกันปัญหา คอกผู้ชมก็ถูกปรับแบ่งเป็น 5 คอก
วันเกิดเหตุ ฮิลส์เบอเรอ ดิแซสเทอร์ นั้น แฟนบอล ลิเวอร์พูล ได้รับมอบหมายให้เข้าเชียร์ทีมรักของพวกตนบริเวณอัฒจันทร์ทางด้านถนน เล็พพิงส์ ซึ่งการแข่งขันจะเริ่มขึ้นเวลาบ่าย 3 โมงตรง และมีการประกาศทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุให้แฟนบอลรีบเข้าประจำที่นั่งของตนก่อนสัก 15 นาที รวมทั้งห้ามแฟนบอลที่ไม่มีตั๋วทำซึมมั่วเข้าฟรีโดยเด็ดขาด แต่ไม่ยักมีการประกาศให้ทราบว่า เส้นทางหนึ่งที่มุ่งสู่ ฮิลส์เบอเรอ สเตเดียม คือ มอเตอร์เวย์ สาย เอ็ม 62 จะมีการทำถนน ทำให้แฟนบอลเรือนหมื่นมาถึงสนามค่อนข้างช้า แทนที่จะได้เข้าสู่ที่นั่งก่อนการแข่งขันอย่างสบายๆ
ยิ่งไปกว่านั้น ด้านนอกของอัฒจันทร์ด้านถนน เล็พพิงส์ ซึ่งจะมีทางเข้าเป็นที่กั้นเหล็กหมุนแบบที่ให้แฟนบอลผ่านได้ทีละคน ที่เขาเรียกว่า เทิร์นสตายล์ ( the turnstile entrances ) ยังมีการปลุกเร้า สร้างความคึกคักให้แฟนบอลกระหายอยากเข้าสู่สนามเร็วอีก คนผ่านเข้าได้อย่างช้าๆ ทีละคน ตรงนี้เลยเกิดเป็นคอขวด ผู้คนไปออ กระจุก อัดแน่นอยู่ตรงบริเวณทางเข้า ตรงนี้เขาบอกว่าราว 5,000 คนได้ ในบรรดาแฟนบอลนั้น มีคนที่ถือตั๋วผีซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสนาม จะออกก็ออกไม่ได้แล้ว ยืนขวางมันอยู่อย่างนั้น ส่วนคนที่รอจะเข้า ยิ่งได้ยินเสียงบรรยากาศในสนาม ขณะที่นักฟุตบอลทั้ง 2 ทีมวิ่งลงสู่สนาม มีเสียงกองเชียร์โห่ร้องต้อนรับ ก็ยิ่งอยากเข้าสู่สนามเร็วๆ ก็ยิ่งดันกันเข้ามา เมื่อถึงเวลาเริ่มการแข่งขัน แฟนบอลยังเข้าสู่สนามไม่หมด การแข่งขันก็เริ่มขึ้นโดยไม่มีการเลื่อนเวลาออกไปแม้แต่น้อย เสียงเชียร์ในสนามก็ยิ่งดังกระหึ่มเข้าไปอีก จนเจ้าหน้าที่ต้องเปิดประตูหวังจะระบายคนออกมา แต่กลับเป็นโอกาสให้แฟนบอลกรูกันเข้าไป
ผลจากการที่แฟนบอลทะลักเข้ามาหลายพันคนผ่านทางอุโมงค์แคบๆ เข้ามาในคอกผู้ชมที่มีแฟนบอลแน่นขนัดอยู่แล้ว ทำให้ไปออกันอยู่ที่บริเวณรั้วตะแกรงเหล็ก โดยมีฝูงชนเบียดดันกันมาจากด้านหลัง ไม่มีใครนึกถึงปัญหานี้ แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ เจ้าหน้าที่สนาม ส่วนแฟนบอลอื่นๆก็ไปสนใจกับเกมการแข่งขันมากกว่า จนกระทั่งหลังจากที่เกมเริ่มไปได้ 6 นาที เจ้าหน้าที่ตำรวจสังเกตเห็นแฟนบอลจำนวนไม่น้อยหนีตาย ปีนรั้วออกมา จึงส่งสัญญาณขอให้ผู้ตัดสินเป่านกหวีดยุติการแข่งขันก่อน แฟนบอลจากด้านหลังยังเบียดเสียดดันมาข้างหน้า ช่วงนี้มีตายกันบ้างแล้ว จนรั้วตะแกรงเหล็กพังลงมา ท่านผู้อ่านก็คงจะเดาได้ครับว่า เกิดเหตุการณ์วุ่นวายสับสนอลหม่าน เหยียบทับคนที่ล้มลงไปอีก สรุปแฟนบอลเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 94 คน บาดเจ็บ 766 คนโดยต้องถึงหามส่งโรงพยาบาลราว 300 คน อีก 4 วันต่อมา ลี นิโคล ( Lee Nicol ) แฟนบอลอายุ 14 ปีก็เสียชีวิตเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว แต่ที่น่าหดหู่ใจก็คือ โทนี แบลนด์ ( Tony Bland ) รายที่ 96 นั้นนอนโคมาอยู่นานถึง 4 ปีก่อนที่จะเสียชีวิตในปี 1993
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นส่วนสำคัญให้มีการออกกฎข้อบังคับการสร้างสนามที่มีที่นั่งเป็นเรื่องเป็นราวที่เรียกว่า ออล ซีทเทอร์ ( All-Seater ) และเรื่องนี้ยังเป็นเหตุการณ์ในความทรงจำของแฟนลิเวอร์พูลที่จะมีการไว้อาลัยกันในวันที่ 15 เมษายนของทุกปี โดยเฉพาะในปีนี้ ลิเวอร์พูล เพิ่งเขี่ย เรอัล มาดริด ตกรอบ ยูเอ็ฟฟา แชมเปียนส์ลีก ได้เข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ซึ่งนัดที่ 2 นั้น มีกำหนดแข่งในวันที่ 14 หรือ 15 เมษายนนี้ด้วย ทำให้สโมสร ลิเวอร์พูล เกรงว่าทีมตนจะต้องไปแข่งกันในวันที่ 15 พอดี จึงได้ร้องขอไปทาง ยูเอ็ฟฟา เพื่อกรุณาจัดโปรแกรมหลีกเลี่ยงให้ด้วย โดยล่าสุด มิเชล ปลาตินี ประธาน ยูเอ็ฟฟา ออกมายืนยันว่า จะจัดให้ตามนั้น ดังนั้น แม้ว่าการจับสลากประกบคู่ยังมาไม่ถึง เพราะจะกระทำกับในวันศุกร์ที่ 20 มีนาคมนี้ แต่เรามีนัดลุ้น ลิเวอร์พูล เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย ยูเอ็ฟฟา แชมเปียนส์ ลีก กันในวันที่ 14 เมษายนนี้แน่นอนครับ