ช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนอังกฤษผู้ภาคภูมิใจกับกีฬาลูกหนังอย่างยิ่งยวดนั้นอดใจหายไม่ได้นั้น เห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องสโมสรในลีกสูงสุดของประเทศถูกเปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิมกลายเป็นนายทุนต่างชาติไปแล้วถึง 12 ทีม สาเหตุที่กระแสดังกล่าวมาแรงเห็นจะหนีไม่พ้นความนิยมอันล้นพ้นชนิดแทบจะทุกทวีปของโลก (ยกเว้นอเมริกา) ของกีฬาฟุตบอลโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเกาะอังกฤษ จนทำให้นายทุนต่างชาติมองเห็นช่องทางของเม็ดเงินและผลประโยชน์มหาศาล ขณะเดียวกันก็แถมพกด้วยการได้จับจองพื้นที่สื่อจนสร้างสถานะคนดังเพียงชั่วข้ามคืน
แม้ว่าคนอังกฤษบางส่วนจะพอทำใจยอมรับได้กับการไหลบ่าของเหล่านายทุนต่างชาติแต่ลึกๆแล้วแฟนลูกหนังเมืองผู้ดีซึ่งผูกพันกับวัฒนธรรมลูกมายาวนานกว่าร้อยปีย่อมกังวลใจกันอยู่ไม่น้อยว่า บรรดากลุ่มทุนเหล่านี้จะนำเอาความภูมิใจในเกมกีฬาของพวกเขาไปปู้ยี้ปู้ยำอย่างไร เพราะนอกจากความเป็นพ่อค้าแล้วนายทุนต่างชาตินั้นแทบจะไม่เข้าใจธรรมชาติของเกมลูกหนังแม้แต่น้อย และมีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เสน่ห์ของลีกฟุตบอลอังกฤษ กลายเป็นธรุกิจกีฬาที่หวังผลแพ้ชนะเพียงเพื่อสร้างผลกำไร
แนวคิดแบบอเมริกัน : การลงทุนคือความเสี่ยงและทฤษฏีการกินรวบเป็นแนวคิดการบริหารจัดการของนักธุรกิจชาวอเมริกัน เห็นได้ชัดในกรณีของ มัลคอล์ม เกลเซอร์ เจ้าของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ สองเจ้าของสโมสร ลิเวอร์พูล ทอม ฮิกส์ และ จอร์จ ยิลเลตต์นักธุรกิจเหล่านี้มีความชัดเจนว่าต้องการหากำไรจากธุรกิจฟุตบอล มัลคอล์ม เกลเซอร์ เข้าซื้อกิจการ แมนฯ ยูไนเต็ด เมื่อปี 2006 ด้วยมูลค่ากว่า 750 ล้านปอนด์ (ประมาณ 4.95 หมื่นล้านบาท) แต่ไม่ใช้เป็นเงินของตัวเองทั้งหมดเพราะส่วนหนึ่งมีการกู้เงินจากธนาคารมาสมทบด้วย แถมยังผลักภาระดอกเบี้ยไปให้กับบัญชีของสโมสร
ขณะที่ทฤษฏีการกินรวบ (Winner Take All) ก็กลายเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยมเนื่องจากวิธีการแบ่งรายได้จากค่าลิขสิทธิ์อันมหาศาลจะแบ่งตามผลงานของทีมว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ดังนั้นทุกสโมสรจึงต้องทำทุกทางเพื่อพัฒนาศักยภาพของทีม การทุ่มเงินซื้อนักเตะก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างรวดเร็วที่สุดการขวนขวายความสำเร็จเช่นนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เพราะถ้าประสบความสำเร็จก็จะได้เงินจากค่าลิขสิทธิ์กลับมาทดแทนเงินที่เสียไปแถมจะยังได้แฟนบอลเพิ่มขึ้นด้วย แต่หากประสบความล้มเหลวเป็นระยะเวลาเพียง 1-2 ฤดูกาลก็จะประสบกับปัญหาทันที
แนวคิดแบบพ่อค้าน้ำมัน : ไม่หวังกำไรแต่ขอเอามันอย่างเดียว แนวคิดเช่นนี้แน่นอนว่าต้องเป็น โรมัน อับราโมวิช เจ้าของเชลซี และ ชีก มานซอร์ บิน ซาเยด อัลนาห์ยาน เจ้าของกลุ่มทุนจากอาหรับของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ทั้งสองคนประสบความสำเร็จทางธุรกิจน้ำมันมาอย่างมหาศาลและไม่หวังที่จะแสวงหากำไรจากธุรกิจฟุตบอลแต่อย่างใด แต่สิ่งที่ทั้งสองคนต้องการคือการได้รับการยอมรับจากประเทศตะวันตกและต้องการมีชื่อเสียง เพราะก่อนหน้านี้จะมีสักกี่คนที่จะสนใจความเป็นไปของคนทั้งคู่
สำหรับอบราโมวิช แม้ว่าจะเป็นนักธุรกิจชาวยุโรป และเป็นคนรวยอันดับที่ 15 ของโลกจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 1.1 หมื่นล้านปอนด์ (ประมาณ 7.26 แสนล้านบาท) แต่การเข้ามาซื้อกิจการ เชลซี เพราะต้องการให้เป็นเครื่องป้องกันการคุกคามจากประเทศบ้านเกิด เพราะในฐานะประธานสโมสรฟุตบอลของอังกฤษเขากลายเป็นบุคคลที่ทางการรัสเซียยากจะแตะต้องไปโดยปริยาย
ความสำเร็จชนิดชั่วข้ามฤดูกาลของเชลซีนั้นส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเกิดจากเม็ดเงินจำนวนกว่า 500 ล้านปอนด์ (ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท) ที่นายทุนรัสเซียใช้ในการเคลียร์หนี้สินและทุ่มเงินซื้อนักเตะชื่อดังมาร่วมทีม การบริหารด้วยแนวคิดเช่นนี้แน่นอนว่าอาจจะทำให้ทีมประสบความสำเร็จได้ในระยะสั้น แต่ระยะยาวจะประสบปัญหาอย่างแน่นอนเพราะเจ้าของสโมสรมีวัตถุประสงค์อื่นเคลือบแฝงอยู่
แนวคิดแบบอนุรักษนิยม : แนวคิดการบริหารของคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษเองที่มีชีวิตผูกพันอยู่กับฟุตบอลอันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและวัฒนธรรม มีความรักและเข้าใจเกมกีฬาชนิดนี้ ต้องการเข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรที่ตนเองชื่นชอบอยู่ไม่หวังการทำกำไรจากธุรกิจฟุตบอลและจากการตรวจสอบพบว่าจาก 11 สโมสรที่มีเจ้าของเป็นชาวอังกฤษ มีถึง 10 สโมสรที่เจ้าของเป็นคนพื้นเพอยู่ในเมืองที่ทีมตั้งอยู่ ยกเว้นแต่เพียง ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของสโมสร นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด เท่านั้นที่เป็นชาวลอนดอนแต่จำนวนสโมสรสัญชาติอังกฤษที่เหลือนั้นจะทนต่อแรงยั่วยวนจากเงินนับพันล้านปอนด์ได้อีกนานเพียงใด
ถึงเวลานี้แนวโน้มของธุรกิจฟุตบอลพรีเมียร์ลีกดูจะดำเนินไปสู่เส้นทางที่ตัดสินความสำเร็จโดยเอาความมั่งคั่งเป็นที่ตั้ง และถ้าเหตุการณ์ยังคงดำเนินต่อเนื่องเช่นนี้ไปเรื่อยๆเสน่ห์ของเกมลูกหนังเมืองผู้ดีที่เคยประทับใจคนทั้งโลกอาจขาดหายไป เพราะถ้าเจ้าของสโมสรยุคใหม่ยึดแต่ผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจมากกว่าจะเข้าใจในธรรมชาติของเกมกีฬาประเภทนี้อย่างแท้จริง มูลค่าของพรีเมียร์ลีกที่อยู่ในใจแฟนบอลก็ย่อมลดลงสวนทางกับผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีได้เช่นกัน



แม้ว่าคนอังกฤษบางส่วนจะพอทำใจยอมรับได้กับการไหลบ่าของเหล่านายทุนต่างชาติแต่ลึกๆแล้วแฟนลูกหนังเมืองผู้ดีซึ่งผูกพันกับวัฒนธรรมลูกมายาวนานกว่าร้อยปีย่อมกังวลใจกันอยู่ไม่น้อยว่า บรรดากลุ่มทุนเหล่านี้จะนำเอาความภูมิใจในเกมกีฬาของพวกเขาไปปู้ยี้ปู้ยำอย่างไร เพราะนอกจากความเป็นพ่อค้าแล้วนายทุนต่างชาตินั้นแทบจะไม่เข้าใจธรรมชาติของเกมลูกหนังแม้แต่น้อย และมีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เสน่ห์ของลีกฟุตบอลอังกฤษ กลายเป็นธรุกิจกีฬาที่หวังผลแพ้ชนะเพียงเพื่อสร้างผลกำไร
แนวคิดแบบอเมริกัน : การลงทุนคือความเสี่ยงและทฤษฏีการกินรวบเป็นแนวคิดการบริหารจัดการของนักธุรกิจชาวอเมริกัน เห็นได้ชัดในกรณีของ มัลคอล์ม เกลเซอร์ เจ้าของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ สองเจ้าของสโมสร ลิเวอร์พูล ทอม ฮิกส์ และ จอร์จ ยิลเลตต์นักธุรกิจเหล่านี้มีความชัดเจนว่าต้องการหากำไรจากธุรกิจฟุตบอล มัลคอล์ม เกลเซอร์ เข้าซื้อกิจการ แมนฯ ยูไนเต็ด เมื่อปี 2006 ด้วยมูลค่ากว่า 750 ล้านปอนด์ (ประมาณ 4.95 หมื่นล้านบาท) แต่ไม่ใช้เป็นเงินของตัวเองทั้งหมดเพราะส่วนหนึ่งมีการกู้เงินจากธนาคารมาสมทบด้วย แถมยังผลักภาระดอกเบี้ยไปให้กับบัญชีของสโมสร
ขณะที่ทฤษฏีการกินรวบ (Winner Take All) ก็กลายเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยมเนื่องจากวิธีการแบ่งรายได้จากค่าลิขสิทธิ์อันมหาศาลจะแบ่งตามผลงานของทีมว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ดังนั้นทุกสโมสรจึงต้องทำทุกทางเพื่อพัฒนาศักยภาพของทีม การทุ่มเงินซื้อนักเตะก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างรวดเร็วที่สุดการขวนขวายความสำเร็จเช่นนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เพราะถ้าประสบความสำเร็จก็จะได้เงินจากค่าลิขสิทธิ์กลับมาทดแทนเงินที่เสียไปแถมจะยังได้แฟนบอลเพิ่มขึ้นด้วย แต่หากประสบความล้มเหลวเป็นระยะเวลาเพียง 1-2 ฤดูกาลก็จะประสบกับปัญหาทันที
แนวคิดแบบพ่อค้าน้ำมัน : ไม่หวังกำไรแต่ขอเอามันอย่างเดียว แนวคิดเช่นนี้แน่นอนว่าต้องเป็น โรมัน อับราโมวิช เจ้าของเชลซี และ ชีก มานซอร์ บิน ซาเยด อัลนาห์ยาน เจ้าของกลุ่มทุนจากอาหรับของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ทั้งสองคนประสบความสำเร็จทางธุรกิจน้ำมันมาอย่างมหาศาลและไม่หวังที่จะแสวงหากำไรจากธุรกิจฟุตบอลแต่อย่างใด แต่สิ่งที่ทั้งสองคนต้องการคือการได้รับการยอมรับจากประเทศตะวันตกและต้องการมีชื่อเสียง เพราะก่อนหน้านี้จะมีสักกี่คนที่จะสนใจความเป็นไปของคนทั้งคู่
สำหรับอบราโมวิช แม้ว่าจะเป็นนักธุรกิจชาวยุโรป และเป็นคนรวยอันดับที่ 15 ของโลกจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 1.1 หมื่นล้านปอนด์ (ประมาณ 7.26 แสนล้านบาท) แต่การเข้ามาซื้อกิจการ เชลซี เพราะต้องการให้เป็นเครื่องป้องกันการคุกคามจากประเทศบ้านเกิด เพราะในฐานะประธานสโมสรฟุตบอลของอังกฤษเขากลายเป็นบุคคลที่ทางการรัสเซียยากจะแตะต้องไปโดยปริยาย
ความสำเร็จชนิดชั่วข้ามฤดูกาลของเชลซีนั้นส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเกิดจากเม็ดเงินจำนวนกว่า 500 ล้านปอนด์ (ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท) ที่นายทุนรัสเซียใช้ในการเคลียร์หนี้สินและทุ่มเงินซื้อนักเตะชื่อดังมาร่วมทีม การบริหารด้วยแนวคิดเช่นนี้แน่นอนว่าอาจจะทำให้ทีมประสบความสำเร็จได้ในระยะสั้น แต่ระยะยาวจะประสบปัญหาอย่างแน่นอนเพราะเจ้าของสโมสรมีวัตถุประสงค์อื่นเคลือบแฝงอยู่
แนวคิดแบบอนุรักษนิยม : แนวคิดการบริหารของคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษเองที่มีชีวิตผูกพันอยู่กับฟุตบอลอันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและวัฒนธรรม มีความรักและเข้าใจเกมกีฬาชนิดนี้ ต้องการเข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรที่ตนเองชื่นชอบอยู่ไม่หวังการทำกำไรจากธุรกิจฟุตบอลและจากการตรวจสอบพบว่าจาก 11 สโมสรที่มีเจ้าของเป็นชาวอังกฤษ มีถึง 10 สโมสรที่เจ้าของเป็นคนพื้นเพอยู่ในเมืองที่ทีมตั้งอยู่ ยกเว้นแต่เพียง ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของสโมสร นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด เท่านั้นที่เป็นชาวลอนดอนแต่จำนวนสโมสรสัญชาติอังกฤษที่เหลือนั้นจะทนต่อแรงยั่วยวนจากเงินนับพันล้านปอนด์ได้อีกนานเพียงใด
ถึงเวลานี้แนวโน้มของธุรกิจฟุตบอลพรีเมียร์ลีกดูจะดำเนินไปสู่เส้นทางที่ตัดสินความสำเร็จโดยเอาความมั่งคั่งเป็นที่ตั้ง และถ้าเหตุการณ์ยังคงดำเนินต่อเนื่องเช่นนี้ไปเรื่อยๆเสน่ห์ของเกมลูกหนังเมืองผู้ดีที่เคยประทับใจคนทั้งโลกอาจขาดหายไป เพราะถ้าเจ้าของสโมสรยุคใหม่ยึดแต่ผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจมากกว่าจะเข้าใจในธรรมชาติของเกมกีฬาประเภทนี้อย่างแท้จริง มูลค่าของพรีเมียร์ลีกที่อยู่ในใจแฟนบอลก็ย่อมลดลงสวนทางกับผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีได้เช่นกัน