คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ในปี 1980 ขณะที่ 62 ชาติ รวมทั้งไทยเราด้วย กำลังเผลอตัวบอยคอท สหภาพโซเวียต ประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โอลิมปิค เกมส์ ครั้งที่ 22 ที่กรุงมอสโคว์ โอลิมปิค เกมส์ครั้งนี้แหละ ที่ อเล็กซานเดอร์ ดีทูอาทิน ( Alexander Dityatin ) นักจิมนาสติครัสเซียสร้างสถิติคว้าเหรียญรางวัลโอลิมปิคมากที่สุด 8 เหรียญใน โอลิมปิค เกมส์ หนเดียว อันประกอบด้วย 3 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญบรอนซ์
แม้ว่าเขาจะไม่ได้เหรียญทองเนื้อๆอย่างน้อย 7 เหรียญอย่างที่ มาร์ค สปิทซ์ นักว่ายน้ำสหรัฐอเมริกาเคยทำเอาไว้ใน โอลิมปิค เกมส์ที่ มิวนิค ในปี 1972 แต่สถิติกวาดเหรียญรางวัลมากมายถึง 8 เหรียญของ “ ซาชา ” ก็ยังคงรอให้นักกีฬาคนอื่นมาทำลาย ถึงตอนนี้อย่างดีก็เพียงทำได้เทียบเท่า ซึ่งคนๆนั้นก็คือ มายเคิล เฟลพ์ส นักว่ายน้ำสหรัฐฯ ที่ทำได้ 8 เหรียญเท่ากันใน เอเธนส์ 2004 ซึ่งประกอบด้วย 6 เหรียญทองและ 2 เหรียญบรอนซ์ ผมคิดว่า สถิติดังกล่าวคงอยู่ไปอีกนานหลายสิบปี เพราะสมัยนี้การกีฬาพัฒนาขึ้นมาก ยากที่จะมีมนุษย์คนใดโดดเด่นมโหฬารเกินกว่า 8 รายการไปได้
ใน เป่ยจิง 2008 โอลิมปิค เกมส์ ครั้งล่าสุดที่กรุงเป่ยจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะชาวไทยกำลังเฝ้าชมการแข่งขันอย่างใจจดใจจ่อ เชียร์นักกีฬาไทยให้คว้าเหรียญทองกลับมานั้น ทั่วโลกก็กำลังพุ่งความสนใจไปที่ มายเคิล เฟลพ์ส ฉลามหนุ่มวัย 23 ปี เจ้าของฉายา “ เดอะ บอลทิมอร์ บุลเล็ท ” ( The Baltimore Bullet ) ว่าจะสามารถกวาดอย่างน้อย 7 เหรียญทองได้หรือไม่ เพราะ สปีโด สปอนเซอร์ส่วนตัวของ MP ก็ยังคงตั้งเงินรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯไว้ให้เช่นเดียวกับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น หากคว้าได้ทั้ง 8 เหรียญทองจากที่ MP ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเข้ามาแข่งขันว่ายน้ำใน เป่ยจิง 2008 ได้ 8 รายการ เขาก็จะทำลายสถิติของ มาร์ค สปิทซ์ อีกด้วย
8 รายการของ เฟลพ์ส เป็นรายการเดี่ยว ที่ต้องอาศัยฝีมือของตนเอง ไม่มีใครมาช่วยได้ 5 รายการคือ เดี่ยวผสม 400 เมตรชาย ซึ่งได้เหรียญทองไปแล้ว ฟรีสตายล์ 200 เมตรชาย นี่ก็เพิ่งได้เหรียญทองอีกเมื่อวานนี้เอง คงเหลือ รายการผีเสื้อ 100 เมตรและ 200 เมตรชาย ซึ่งเป็นรายการถนัดของ MP และ เดี่ยวผสม 200 เมตรชาย ส่วนรายการที่ว่ายเป็นทีม ต้องอาศัยแรงฮึดจากเพื่อนร่วมทีมอีก 3 คนด้วยนั้นก็คือ รายการผลัดฟรีสตายล์ 4 X 100 เมตรชาย ที่ได้เหรียญทองไปแล้ว รายการผลัดฟรีสตายล์ 4 X 200 เมตรชาย และรายการสุดท้ายเป็น ผลัดผสม 4 X 100 เมตรชาย
ใครได้ชม เฟลพ์ส ลงว่ายในรายการผลัดฟรีสตายล์ 4 X 100 เมตรชาย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น ก็คงจะรู้สึกใจหายใจคว่ำ อาการหนักพอสมควร ทีมชาติสหรัฐฯ ไม่น่าจะคว้าเหรียญทองรายการนี้ได้เลย เพราะถูกนำประมาณครึ่งช่วงตัวมาตลอด ตั้งแต่ผลัดแรกที่ MP รับหน้าที่ เฟลพ์ส ออกตัวช้าไปหน่อย ไม่ได้เปรียบนักว่ายน้ำคนอื่นๆเลย จากตัวเลขแสดงปฏิกิริยาตอบสนองสัญญาณปล่อยตัว ที่เรียกว่า Reaction Time หรือ RT นั้น เฟลพ์สมี RT ที่ 0.75 วินาที ในขณะที่ RT ของนักว่ายน้ำที่ออกตัวเร็วที่สุดคือ ลินดอน เฟิร์นส์ ( Lyndon Ferns ) ผลัดแรกของอัฟริกาใต้ อยู่ที่ 0.64 วินาที อย่างไรก็ตาม เรื่องการกระโดดออกสตาร์ทนั้น ในผลัดแรก ต่างคนต่างก็ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ เพราะกฎของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ หรือ ฟีนา ( FINA ) เดี๋ยวนี้ใช้กฎการออกสตาร์ทครั้งเดียว ที่เรียกว่า One Start Rule ใครออกสตาร์ทผิดกติกาก็จบตรงนั้นเลย พังทั้งทีม ไม่มีให้แก้ตัวเหมือนสมัยก่อน พอมาถึงผลัดที่ 2, 3 และผลัดสุดท้าย การออกสตาร์ทจะง่ายกว่าผลัดแรก ดังนั้น RT ของนักว่ายน้ำผลัดต่อไปจึงดีกว่ามาก ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 0.30 วินาที โดยเฉพาะ ริค เซย์ ( Rick Say ) ผลัดที่ 4 ของแคนาดา ซัดเข้าไป 0.00 วินาทีพอดี
เวลา 100 เมตรของ MP ก็ไม่ถือว่าขี้เหร่นัก เขาทำได้ 47.51 วินาที แตะขอบสระเป็นอันดับ 2 เป็นรอง อีมอน ซัลลิแวน ( Eamon Sullivan ) ผลัดแรกของออสตราเลียที่ทำได้ 47.24 และเป็นการทำลายสถิติโลกด้วย ซึ่งตรงนี้ต้องเรียนท่านผู้อ่านว่า แม้ในรายการว่ายเป็นทีมนั้น เขาก็ยังมีการบันทึกการทำลายสถิติโลกด้วย แต่เฉพาะผลัดแรกที่มีการกระโดดจากแท่นสตาร์ทเท่านั้นครับ ทีมสหรัฐฯ ตกเป็นรองจนมาถึงผลัดสุดท้าย ซึ่ง MP เองก็ขึ้นมายืนลุ้นเพื่อนอยู่บนของสระ วินาทีนั้น MP คงทำใจไว้แล้วว่า ต้องวืดเหรียญทองรายการนี้อย่างแน่นอน เพราะหลังจากกลับตัวช่วง 50 เมตรสุดท้าย เจซัน ลีแซ็ค ( Jason Lezak ) ของสหรัฐฯ ก็ยังเป็นรองอยู่ครึ่งช่วงตัว แต่พอมาถึงครึ่งสระ เหลืออีกเพียง 25 เมตร ลีแซ็ค ไล่ตาม อแล็ง แบร์นาร์ ( Alain Bernard ) นักว่ายน้ำทีมฝรั่งเศสที่กำลังนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ทิ้งระยะประมาณช่วงศีรษะเท่านั้น แต่ดูอย่างไรก็ไม่น่าจะแซงได้ทัน และเพียงช่วง 1 เมตรสุดท้ายในจังหวะเข้าแตะขอบสระเท่านั้นเอง ที่ ลีแซ็ค พุ่งตัวได้เร็วกว่า เฉือนเอาชนะทีมชาติฝรั่งเศสไปด้วยเวลารวม 3 นาที 8.24 วินาที เร็วกว่าเวลาของฝรั่งเศส 0.08 วินาที ได้เหรียญทองรายการนี้ไปครอง ที่สำคัญ ระยะ 100 เมตรของ ลีแซ็ค ทำได้ดีมาก เวลาของเขาอยู่ที่ 46.06 วินาที เป็นเวลาที่เร็วที่สุดในบรรดา 32 นักว่ายน้ำในรายการนี้
เมื่อได้เหรียญทองที่ 2 ทำให้ เฟลพ์สออกอาการดีใจอย่างหลุดโลกไปเลย เพราะนั่นคือความหวังที่จะไล่คว้าเหรียญทองอย่างต่อเนื่องที่คิดว่าต้องสะดุดลง กลับกลายเป็นทำได้อย่างเหลือเชื่อ และในวันนี้แหละครับที่ มายเคิล เฟลพ์ส จะลงแข่งอีก 2 รายการคือ ผีเสื้อ 200 เมตรชาย และผลัดฟรีสตายล์ 4 X 200 เมตรชาย ซึ่งจะเป็นวันที่ มายเคิล เฟลพ์ส สร้างสถิติใหม่ขึ้นมา นั่นคือ เป็นนักกีฬาที่ได้เหรียญทองโอลิมปิคมากที่สุด เกินกว่า 9 เหรียญทองที่ ปาโว นูรมี นักกรีฑาฟินแลนด์ ลาริสซา ลาทูนินา นักจิมนาสติครัสเซีย มาร์ค สปิทซ์ นักว่ายน้ำสหรัฐฯ และคาร์ล ลูอิส นักกรีฑาสหรัฐฯ เคยทำสถิติเอาไว้
ในปี 1980 ขณะที่ 62 ชาติ รวมทั้งไทยเราด้วย กำลังเผลอตัวบอยคอท สหภาพโซเวียต ประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โอลิมปิค เกมส์ ครั้งที่ 22 ที่กรุงมอสโคว์ โอลิมปิค เกมส์ครั้งนี้แหละ ที่ อเล็กซานเดอร์ ดีทูอาทิน ( Alexander Dityatin ) นักจิมนาสติครัสเซียสร้างสถิติคว้าเหรียญรางวัลโอลิมปิคมากที่สุด 8 เหรียญใน โอลิมปิค เกมส์ หนเดียว อันประกอบด้วย 3 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญบรอนซ์
แม้ว่าเขาจะไม่ได้เหรียญทองเนื้อๆอย่างน้อย 7 เหรียญอย่างที่ มาร์ค สปิทซ์ นักว่ายน้ำสหรัฐอเมริกาเคยทำเอาไว้ใน โอลิมปิค เกมส์ที่ มิวนิค ในปี 1972 แต่สถิติกวาดเหรียญรางวัลมากมายถึง 8 เหรียญของ “ ซาชา ” ก็ยังคงรอให้นักกีฬาคนอื่นมาทำลาย ถึงตอนนี้อย่างดีก็เพียงทำได้เทียบเท่า ซึ่งคนๆนั้นก็คือ มายเคิล เฟลพ์ส นักว่ายน้ำสหรัฐฯ ที่ทำได้ 8 เหรียญเท่ากันใน เอเธนส์ 2004 ซึ่งประกอบด้วย 6 เหรียญทองและ 2 เหรียญบรอนซ์ ผมคิดว่า สถิติดังกล่าวคงอยู่ไปอีกนานหลายสิบปี เพราะสมัยนี้การกีฬาพัฒนาขึ้นมาก ยากที่จะมีมนุษย์คนใดโดดเด่นมโหฬารเกินกว่า 8 รายการไปได้
ใน เป่ยจิง 2008 โอลิมปิค เกมส์ ครั้งล่าสุดที่กรุงเป่ยจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะชาวไทยกำลังเฝ้าชมการแข่งขันอย่างใจจดใจจ่อ เชียร์นักกีฬาไทยให้คว้าเหรียญทองกลับมานั้น ทั่วโลกก็กำลังพุ่งความสนใจไปที่ มายเคิล เฟลพ์ส ฉลามหนุ่มวัย 23 ปี เจ้าของฉายา “ เดอะ บอลทิมอร์ บุลเล็ท ” ( The Baltimore Bullet ) ว่าจะสามารถกวาดอย่างน้อย 7 เหรียญทองได้หรือไม่ เพราะ สปีโด สปอนเซอร์ส่วนตัวของ MP ก็ยังคงตั้งเงินรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯไว้ให้เช่นเดียวกับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น หากคว้าได้ทั้ง 8 เหรียญทองจากที่ MP ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเข้ามาแข่งขันว่ายน้ำใน เป่ยจิง 2008 ได้ 8 รายการ เขาก็จะทำลายสถิติของ มาร์ค สปิทซ์ อีกด้วย
8 รายการของ เฟลพ์ส เป็นรายการเดี่ยว ที่ต้องอาศัยฝีมือของตนเอง ไม่มีใครมาช่วยได้ 5 รายการคือ เดี่ยวผสม 400 เมตรชาย ซึ่งได้เหรียญทองไปแล้ว ฟรีสตายล์ 200 เมตรชาย นี่ก็เพิ่งได้เหรียญทองอีกเมื่อวานนี้เอง คงเหลือ รายการผีเสื้อ 100 เมตรและ 200 เมตรชาย ซึ่งเป็นรายการถนัดของ MP และ เดี่ยวผสม 200 เมตรชาย ส่วนรายการที่ว่ายเป็นทีม ต้องอาศัยแรงฮึดจากเพื่อนร่วมทีมอีก 3 คนด้วยนั้นก็คือ รายการผลัดฟรีสตายล์ 4 X 100 เมตรชาย ที่ได้เหรียญทองไปแล้ว รายการผลัดฟรีสตายล์ 4 X 200 เมตรชาย และรายการสุดท้ายเป็น ผลัดผสม 4 X 100 เมตรชาย
ใครได้ชม เฟลพ์ส ลงว่ายในรายการผลัดฟรีสตายล์ 4 X 100 เมตรชาย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น ก็คงจะรู้สึกใจหายใจคว่ำ อาการหนักพอสมควร ทีมชาติสหรัฐฯ ไม่น่าจะคว้าเหรียญทองรายการนี้ได้เลย เพราะถูกนำประมาณครึ่งช่วงตัวมาตลอด ตั้งแต่ผลัดแรกที่ MP รับหน้าที่ เฟลพ์ส ออกตัวช้าไปหน่อย ไม่ได้เปรียบนักว่ายน้ำคนอื่นๆเลย จากตัวเลขแสดงปฏิกิริยาตอบสนองสัญญาณปล่อยตัว ที่เรียกว่า Reaction Time หรือ RT นั้น เฟลพ์สมี RT ที่ 0.75 วินาที ในขณะที่ RT ของนักว่ายน้ำที่ออกตัวเร็วที่สุดคือ ลินดอน เฟิร์นส์ ( Lyndon Ferns ) ผลัดแรกของอัฟริกาใต้ อยู่ที่ 0.64 วินาที อย่างไรก็ตาม เรื่องการกระโดดออกสตาร์ทนั้น ในผลัดแรก ต่างคนต่างก็ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ เพราะกฎของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ หรือ ฟีนา ( FINA ) เดี๋ยวนี้ใช้กฎการออกสตาร์ทครั้งเดียว ที่เรียกว่า One Start Rule ใครออกสตาร์ทผิดกติกาก็จบตรงนั้นเลย พังทั้งทีม ไม่มีให้แก้ตัวเหมือนสมัยก่อน พอมาถึงผลัดที่ 2, 3 และผลัดสุดท้าย การออกสตาร์ทจะง่ายกว่าผลัดแรก ดังนั้น RT ของนักว่ายน้ำผลัดต่อไปจึงดีกว่ามาก ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 0.30 วินาที โดยเฉพาะ ริค เซย์ ( Rick Say ) ผลัดที่ 4 ของแคนาดา ซัดเข้าไป 0.00 วินาทีพอดี
เวลา 100 เมตรของ MP ก็ไม่ถือว่าขี้เหร่นัก เขาทำได้ 47.51 วินาที แตะขอบสระเป็นอันดับ 2 เป็นรอง อีมอน ซัลลิแวน ( Eamon Sullivan ) ผลัดแรกของออสตราเลียที่ทำได้ 47.24 และเป็นการทำลายสถิติโลกด้วย ซึ่งตรงนี้ต้องเรียนท่านผู้อ่านว่า แม้ในรายการว่ายเป็นทีมนั้น เขาก็ยังมีการบันทึกการทำลายสถิติโลกด้วย แต่เฉพาะผลัดแรกที่มีการกระโดดจากแท่นสตาร์ทเท่านั้นครับ ทีมสหรัฐฯ ตกเป็นรองจนมาถึงผลัดสุดท้าย ซึ่ง MP เองก็ขึ้นมายืนลุ้นเพื่อนอยู่บนของสระ วินาทีนั้น MP คงทำใจไว้แล้วว่า ต้องวืดเหรียญทองรายการนี้อย่างแน่นอน เพราะหลังจากกลับตัวช่วง 50 เมตรสุดท้าย เจซัน ลีแซ็ค ( Jason Lezak ) ของสหรัฐฯ ก็ยังเป็นรองอยู่ครึ่งช่วงตัว แต่พอมาถึงครึ่งสระ เหลืออีกเพียง 25 เมตร ลีแซ็ค ไล่ตาม อแล็ง แบร์นาร์ ( Alain Bernard ) นักว่ายน้ำทีมฝรั่งเศสที่กำลังนำมาเป็นอันดับหนึ่ง ทิ้งระยะประมาณช่วงศีรษะเท่านั้น แต่ดูอย่างไรก็ไม่น่าจะแซงได้ทัน และเพียงช่วง 1 เมตรสุดท้ายในจังหวะเข้าแตะขอบสระเท่านั้นเอง ที่ ลีแซ็ค พุ่งตัวได้เร็วกว่า เฉือนเอาชนะทีมชาติฝรั่งเศสไปด้วยเวลารวม 3 นาที 8.24 วินาที เร็วกว่าเวลาของฝรั่งเศส 0.08 วินาที ได้เหรียญทองรายการนี้ไปครอง ที่สำคัญ ระยะ 100 เมตรของ ลีแซ็ค ทำได้ดีมาก เวลาของเขาอยู่ที่ 46.06 วินาที เป็นเวลาที่เร็วที่สุดในบรรดา 32 นักว่ายน้ำในรายการนี้
เมื่อได้เหรียญทองที่ 2 ทำให้ เฟลพ์สออกอาการดีใจอย่างหลุดโลกไปเลย เพราะนั่นคือความหวังที่จะไล่คว้าเหรียญทองอย่างต่อเนื่องที่คิดว่าต้องสะดุดลง กลับกลายเป็นทำได้อย่างเหลือเชื่อ และในวันนี้แหละครับที่ มายเคิล เฟลพ์ส จะลงแข่งอีก 2 รายการคือ ผีเสื้อ 200 เมตรชาย และผลัดฟรีสตายล์ 4 X 200 เมตรชาย ซึ่งจะเป็นวันที่ มายเคิล เฟลพ์ส สร้างสถิติใหม่ขึ้นมา นั่นคือ เป็นนักกีฬาที่ได้เหรียญทองโอลิมปิคมากที่สุด เกินกว่า 9 เหรียญทองที่ ปาโว นูรมี นักกรีฑาฟินแลนด์ ลาริสซา ลาทูนินา นักจิมนาสติครัสเซีย มาร์ค สปิทซ์ นักว่ายน้ำสหรัฐฯ และคาร์ล ลูอิส นักกรีฑาสหรัฐฯ เคยทำสถิติเอาไว้