เจ้าคุณประสารรุกหนัก จับมือ “พรรคเพื่อไทย-ศิษย์ธรรมกาย” ในร่างอนุกรรมาธิการศาสนาฯ เดินหน้าสุดตัวดันร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ฉบับใหม่ สานฝันตั้งกองทุนอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา ขอเงินรัฐบาลประเดิมพันล้าน ลดบทบาทสำนักพุทธฯ ไปในตัว ส่วนคณะกรรมการประจำจังหวัด สอดรับกับสมาพันธ์ชาวพุทธฯ เคยตั้งไว้ก่อนหน้า
ภายหลังการตั้งอนุกรรมาธิการศาสนาขึ้นมาช่วยงานกรรมาธิการศาสนา(ชุดใหญ่) ได้ไม่นานนัก อนุกรรมาธิการชุดนี้ก็คลอดผลงานออกมาเป็นร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... ออกมา โดยหัวเรี่ยวหัวแรงหลักที่เปิดแถลงข่าวถึงความสำเร็จคือพระเมธีธรรมาจารย์ ที่รู้จักกันดีในนามเจ้าคุณประสาร ในฐานะที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
โดยมีนายนิยม เวชกามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทยและคณะ ที่ได้เสนอกฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... ต่อรัฐสภา เมื่อ 18 ธันวาคม 2562 และมีนายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้านและคณะให้การสนับสนุน
เจ้าคุณประสารโต้โผ
เจ้าคุณประสารกล่าวว่า ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีในปีใหม่ 2563 พ.ร.บ.นี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการพระศาสนา เพราะจะเป็นเรื่องของการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงและยั่งยืนสืบไป
พระพุทธศาสนาจะมั่นคง ยืนยาวได้ด้วยเหตุหลักคือ 1.คณะสงฆ์และพุทธบริษัทเข้มแข็ง 2.รัฐให้การอุปถัมภ์ ปกป้องและคุ้มครอง ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจะเห็นได้ชัดว่าเมื่อพระพุทธศาสนาไปเจริญในประเทศใดๆ ก็มักจะมองเห็นสาเหตุทั้ง 2 ประการนี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้
อาตมาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะช่วยกันพิจารณาด้วยจิตอันเป็นกุศลและตามกรอบระยะเวลาที่ควรจะเป็น หวังว่าสมาชิกรัฐสภาจะเห็นด้วยและให้การสนับสนุนในทุกพรรคการเมือง แน่นอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ทั้งหมดแต่อยากให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการในวาระแรกและไปช่วยกันแก้ไขแต่งเติมให้สมบูรณ์ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญ และในการพิจารณาของสมาชิกรัฐสภาต่อไป
แจงเพิ่มพึ่งเพื่อไทย
แต่การเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ถูกตั้งข้อสังเกตจากบุคคลภายนอกไม่น้อย ถึง ส.ส.ที่เข้ามาร่วมกันเสนอร่างฯ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคเพื่อไทย รวมถึงบทบาทของพระสงฆ์ที่เข้ามาทำงานให้กับภาคการเมือง
เจ้าคุณประสารได้ออกโรงชี้แจงแทนว่า ส.ส.ดร.นิยม เวชกามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ท่านเคยบวชเรียนเป็นพระมหาและเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นธรรมดาที่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านใดเมื่อจะเสนอพระราชบัญญัติใดๆในสภาฯ จะต้องแสวงหาพรรคพวกในพรรคตัวเองเป็นหลัก เมื่อพบกันในที่ประชุมพรรคบ้าง นั่งในห้องเดียวกันบ้างก็ขอแรงช่วยเซ็นเสนอ พ.ร.บ.ให้หน่อยเพื่อให้ครบตามจำนวนชื่อที่รัฐธรรมนูญกำหนด
พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นถึงพระสงฆ์ต้องเข้ามาร่วมร่างกฎหมายฉบับนี้ รายละเอียดของพ.ร.บ.ฉบับนี้ว่ารูปร่างหน้าตาควรจะออกมาอย่างไรนั้น อันนี้ล่ะควรจะเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์และชาวพุทธที่จะต้องช่วยกันอย่างจริงจัง ไม่เพิกเฉย พระสงฆ์จึงสมควรยิ่งที่จะมีบทบาทสำคัญในส่วนของขั้นตอนนี้
ปัดฝุ่นของเก่า-เติมของใหม่
แหล่งข่าวด้านพระพุทธศาสนา กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์ฯ นี้เคยมีการเสนอมาในหลายยุคหลายสมัย ในช่วงปี 2558 ในรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็เคยมี แต่สุดท้ายก็ถูกสกัดในชั้นต่างๆ อย่างรอบนี้ที่เจ้าคุณประสารเป็นโต้โผ เชื่อว่าน่าจะเป็นการนำเอาของเดิมบางส่วนมาปรับใช้ ตัดส่วนที่ไม่ต้องการและเพิ่มส่วนที่อยากให้เป็นเข้าไป
ร่าง พ.ร.บ.นี้เผยแพร่เฉพาะกับกลุ่มที่มีความคิดเห็นในทางเดียวกัน มีทั้งหมด 7 หมวด 52 มาตรา โดยให้เหตุผลว่า
พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักใน 3 สถาบัน คือ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งศาสนาพุทธเป็นสถาบันศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน และศาสนบุคคลซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา ได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาสั่งสอนให้คนในชาติตั้งอยู่ในศีลธรรม มีสติปัญญาและความเข้มแข็งอันเป็นหลักในการค้ำจุนชาติไทยมาโดยตลอด สมควรสร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นพลังสร้างความมั่นคงแก่ชาติไทย
แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะได้รับความอุปถัมภ์และส่งเสริมกิจการจากรัฐอยู่บ้างแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมงานหลักของพระพุทธศาสนาทั้งหมด ทั้งประชาชนทั่วไปยังมิได้มีส่วนร่วมในการให้ความอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ จำต้องมีกำลังเสริมให้งานพระพุทธศาสนาดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมทั้งต้องสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต การให้ความอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาของรัฐร่วมกับภาคเอกชนเป็นการผนึกกำลังกันเสริมความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนาและสร้างประสิทธิภาพในการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาเสริมสร้างความมั่นคงแก่ชาติไทยมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตัวอย่างมาตรา
สำหรับรายละเอียดในบางมาตราอย่าง มาตรา ๖ การอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐจัดให้มีการระดมเงินและทรัพยากรทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานประกอบการ และต่างประเทศมาใช้เพื่อการอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมเงินและทรัพยากรดังกล่าว โดยการใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ”
มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด
มาตรา ๓๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรียกว่า
“กองทุนอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา” เพื่อเป็นทุนอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา
มาตรา ๕๒ ในวาระเริ่มแรกให้รัฐบาลจัดสรรเงินเข้าบัญชีกองทุนตามมาตรา ๓๘ เป็นจำนวน “หนึ่งพันล้านบาท”เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ลดบทบาทสำนักพุทธฯ
นี่เป็นเพียงเฉพาะบางมาตราที่มีการเปิดเผยออกมาเท่านั้น อย่างในร่างฉบับก่อนๆ ได้มีบทลงโทษสำหรับบุคคลหรือพระที่สร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนา ทั้งโทษปรับและจำคุก
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตอีกประการ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เสนอให้มีกองทุนอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา ตรงนี้เท่ากับเป็นการลดบทบาทของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติลง เพราะเดิมงบประมาณบูรณะต่างๆ จะต้องขอจากสำนักพุทธฯ อีกเรื่องอย่างคณะกรรมการอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด ซึ่งสำนักพุทธฯ ก็มีทุกจังหวัดเช่นกัน และที่น่าจับตามองนั่นคือก่อนหน้านี้สมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทยของ ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ก็เคยมีการตั้งคณะกรรมการในแต่ละจังหวัด ก่อนที่จะแปรสภาพสมาพันธ์ฯ เป็นพรรคแผ่นดินธรรม และยกให้นายกรณ์ มีดี ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค
เคยเรียกร้องมาก่อน
ก่อนหน้านี้สายของพระผู้ใหญ่กลุ่มนี้ต่างเคยเสนอเรื่องให้บรรจุว่า ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มาแล้วแต่ไม่ประสบผล หรือเคยนำเสนอเรื่องธนาคารพุทธ แต่ก็ถูกสกัดไปก่อนหน้าเช่นกัน กลุ่มนี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสริมให้คนไทยได้ไปกราบสักการะสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ซึ่งเป็นการย้อนรอยกรณีที่รัฐบาลอำนวยความสะดวกให้ผู้นับถือศาสนาอิสลามไปประกอบพิธีฮัจญ์
หากย้อนกลับไปจะพบว่าท่านเจ้าคุณประสารเองเคยคัดค้านเรื่องแก้ พ.ร.บ.สงฆ์ มาตรา 7 เนื่องจากหนุนสมเด็จช่วงฯ วัดปากน้ำ ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จนเกิดการก่อม็อบพระที่พุทธมณฑล เคยคัดค้านเหตุที่ไม่มีการจัดตั้งธนาคารพุทธ
แม้ไม่พบความเกี่ยวข้องกับสายของวัดพระธรรมกาย แต่เป็นที่ชัดเจนว่าท่านสนับสนุนสายของอดีตพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม ที่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งไปบ้าง แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เป็นสายเดียวกันเข้ามารับหน้าที่แทน
ผนึก “ธรรมกาย-พระผู้ใหญ่-เพื่อไทย”
การเลือกตั้งในรอบนี้แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่ได้เป็นรัฐบาล แต่ท่านเจ้าคุณประสารยังสามารถเข้ามาร่วมทำงานกับสายงานของพรรคเพื่อไทยได้ในส่วนของกรรมาธิการศาสนา ที่มีนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล เป็นรองประธานคนที่ 1 และเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง ส.ส.ชัยภูมิจากพรรคเพื่อไทยรายนี้เป็นศิษย์วัดพระธรรมกายและยังมีนามสกุลเดียวกับพระถวัลย์ศักดิ์ ยติสักโก รอง ผอ.สำนักพัฒนาทรัพยากร วัดพระธรรมกาย
และยังมีทนายความพระธัมมชโยอย่างนายสัมพันธ์ เสริมชีพ เป็นอนุกรรมาธิการ ท่านเจ้าคุณประสารเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ แถมด้วยนางสาวลีลาวดี วัชโรบล ศิษย์วัดพระธรรมกายตัวยง เป็นที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนา
อีกทั้งภายในการทำงานคณะอนุกรรมาธิการศาสนายังพบพระสงฆ์หลายรูปเข้ามาร่วมทำงานด้วย หนึ่งในนั้นคือพระครูปลัดกวีวัฒน์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นทีมงานของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย โดยเจ้าคุณประสาร ยังเป็นเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ขณะที่พระธรรมกิตติเมธี เจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธ) ประธานศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และยังเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดใหม่อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าทีมงานชุดนี้เกาะเกี่ยวกันมาตลอดตั้งแต่ในอดีต ในช่วงรัฐบาล คสช.อาจถูกสกัดจนต้องลดบทบาทตัวเองลงไปบ้าง แต่เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ มีช่องทางให้กลับเข้ามาได้ตามกรอบกติกา และพวกเขาได้กลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้งในการผลักดันสิ่งที่เป็นเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้
ส่วนจะสมหวังหรือไม่ยังคงมีอีกหลายด่านที่ต้องฝ่าฟัน ทั้งในเวทีสภาผู้แทนราษฎรและยังต้องผ่านความเห็นชอบจากทางมหาเถรสมาคม ซึ่งร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์ฯ ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยผ่านด่านเหล่านี้มาได้เลย
ภายหลังการตั้งอนุกรรมาธิการศาสนาขึ้นมาช่วยงานกรรมาธิการศาสนา(ชุดใหญ่) ได้ไม่นานนัก อนุกรรมาธิการชุดนี้ก็คลอดผลงานออกมาเป็นร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... ออกมา โดยหัวเรี่ยวหัวแรงหลักที่เปิดแถลงข่าวถึงความสำเร็จคือพระเมธีธรรมาจารย์ ที่รู้จักกันดีในนามเจ้าคุณประสาร ในฐานะที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ
โดยมีนายนิยม เวชกามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทยและคณะ ที่ได้เสนอกฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ... ต่อรัฐสภา เมื่อ 18 ธันวาคม 2562 และมีนายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้านและคณะให้การสนับสนุน
เจ้าคุณประสารโต้โผ
เจ้าคุณประสารกล่าวว่า ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีในปีใหม่ 2563 พ.ร.บ.นี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการพระศาสนา เพราะจะเป็นเรื่องของการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงและยั่งยืนสืบไป
พระพุทธศาสนาจะมั่นคง ยืนยาวได้ด้วยเหตุหลักคือ 1.คณะสงฆ์และพุทธบริษัทเข้มแข็ง 2.รัฐให้การอุปถัมภ์ ปกป้องและคุ้มครอง ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจะเห็นได้ชัดว่าเมื่อพระพุทธศาสนาไปเจริญในประเทศใดๆ ก็มักจะมองเห็นสาเหตุทั้ง 2 ประการนี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้
อาตมาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะช่วยกันพิจารณาด้วยจิตอันเป็นกุศลและตามกรอบระยะเวลาที่ควรจะเป็น หวังว่าสมาชิกรัฐสภาจะเห็นด้วยและให้การสนับสนุนในทุกพรรคการเมือง แน่นอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ทั้งหมดแต่อยากให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการในวาระแรกและไปช่วยกันแก้ไขแต่งเติมให้สมบูรณ์ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญ และในการพิจารณาของสมาชิกรัฐสภาต่อไป
แจงเพิ่มพึ่งเพื่อไทย
แต่การเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ถูกตั้งข้อสังเกตจากบุคคลภายนอกไม่น้อย ถึง ส.ส.ที่เข้ามาร่วมกันเสนอร่างฯ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคเพื่อไทย รวมถึงบทบาทของพระสงฆ์ที่เข้ามาทำงานให้กับภาคการเมือง
เจ้าคุณประสารได้ออกโรงชี้แจงแทนว่า ส.ส.ดร.นิยม เวชกามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ท่านเคยบวชเรียนเป็นพระมหาและเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นธรรมดาที่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านใดเมื่อจะเสนอพระราชบัญญัติใดๆในสภาฯ จะต้องแสวงหาพรรคพวกในพรรคตัวเองเป็นหลัก เมื่อพบกันในที่ประชุมพรรคบ้าง นั่งในห้องเดียวกันบ้างก็ขอแรงช่วยเซ็นเสนอ พ.ร.บ.ให้หน่อยเพื่อให้ครบตามจำนวนชื่อที่รัฐธรรมนูญกำหนด
พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นถึงพระสงฆ์ต้องเข้ามาร่วมร่างกฎหมายฉบับนี้ รายละเอียดของพ.ร.บ.ฉบับนี้ว่ารูปร่างหน้าตาควรจะออกมาอย่างไรนั้น อันนี้ล่ะควรจะเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์และชาวพุทธที่จะต้องช่วยกันอย่างจริงจัง ไม่เพิกเฉย พระสงฆ์จึงสมควรยิ่งที่จะมีบทบาทสำคัญในส่วนของขั้นตอนนี้
ปัดฝุ่นของเก่า-เติมของใหม่
แหล่งข่าวด้านพระพุทธศาสนา กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์ฯ นี้เคยมีการเสนอมาในหลายยุคหลายสมัย ในช่วงปี 2558 ในรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็เคยมี แต่สุดท้ายก็ถูกสกัดในชั้นต่างๆ อย่างรอบนี้ที่เจ้าคุณประสารเป็นโต้โผ เชื่อว่าน่าจะเป็นการนำเอาของเดิมบางส่วนมาปรับใช้ ตัดส่วนที่ไม่ต้องการและเพิ่มส่วนที่อยากให้เป็นเข้าไป
ร่าง พ.ร.บ.นี้เผยแพร่เฉพาะกับกลุ่มที่มีความคิดเห็นในทางเดียวกัน มีทั้งหมด 7 หมวด 52 มาตรา โดยให้เหตุผลว่า
พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักใน 3 สถาบัน คือ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งศาสนาพุทธเป็นสถาบันศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน และศาสนบุคคลซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา ได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาสั่งสอนให้คนในชาติตั้งอยู่ในศีลธรรม มีสติปัญญาและความเข้มแข็งอันเป็นหลักในการค้ำจุนชาติไทยมาโดยตลอด สมควรสร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นพลังสร้างความมั่นคงแก่ชาติไทย
แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะได้รับความอุปถัมภ์และส่งเสริมกิจการจากรัฐอยู่บ้างแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมงานหลักของพระพุทธศาสนาทั้งหมด ทั้งประชาชนทั่วไปยังมิได้มีส่วนร่วมในการให้ความอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ จำต้องมีกำลังเสริมให้งานพระพุทธศาสนาดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมทั้งต้องสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต การให้ความอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาของรัฐร่วมกับภาคเอกชนเป็นการผนึกกำลังกันเสริมความมั่นคงแก่พระพุทธศาสนาและสร้างประสิทธิภาพในการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาเสริมสร้างความมั่นคงแก่ชาติไทยมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตัวอย่างมาตรา
สำหรับรายละเอียดในบางมาตราอย่าง มาตรา ๖ การอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐจัดให้มีการระดมเงินและทรัพยากรทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานประกอบการ และต่างประเทศมาใช้เพื่อการอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมเงินและทรัพยากรดังกล่าว โดยการใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ”
มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด
มาตรา ๓๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรียกว่า
“กองทุนอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา” เพื่อเป็นทุนอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา
มาตรา ๕๒ ในวาระเริ่มแรกให้รัฐบาลจัดสรรเงินเข้าบัญชีกองทุนตามมาตรา ๓๘ เป็นจำนวน “หนึ่งพันล้านบาท”เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ลดบทบาทสำนักพุทธฯ
นี่เป็นเพียงเฉพาะบางมาตราที่มีการเปิดเผยออกมาเท่านั้น อย่างในร่างฉบับก่อนๆ ได้มีบทลงโทษสำหรับบุคคลหรือพระที่สร้างความเสียหายให้กับพระพุทธศาสนา ทั้งโทษปรับและจำคุก
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตอีกประการ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เสนอให้มีกองทุนอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา ตรงนี้เท่ากับเป็นการลดบทบาทของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติลง เพราะเดิมงบประมาณบูรณะต่างๆ จะต้องขอจากสำนักพุทธฯ อีกเรื่องอย่างคณะกรรมการอุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด ซึ่งสำนักพุทธฯ ก็มีทุกจังหวัดเช่นกัน และที่น่าจับตามองนั่นคือก่อนหน้านี้สมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทยของ ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ก็เคยมีการตั้งคณะกรรมการในแต่ละจังหวัด ก่อนที่จะแปรสภาพสมาพันธ์ฯ เป็นพรรคแผ่นดินธรรม และยกให้นายกรณ์ มีดี ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค
เคยเรียกร้องมาก่อน
ก่อนหน้านี้สายของพระผู้ใหญ่กลุ่มนี้ต่างเคยเสนอเรื่องให้บรรจุว่า ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มาแล้วแต่ไม่ประสบผล หรือเคยนำเสนอเรื่องธนาคารพุทธ แต่ก็ถูกสกัดไปก่อนหน้าเช่นกัน กลุ่มนี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสริมให้คนไทยได้ไปกราบสักการะสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ซึ่งเป็นการย้อนรอยกรณีที่รัฐบาลอำนวยความสะดวกให้ผู้นับถือศาสนาอิสลามไปประกอบพิธีฮัจญ์
หากย้อนกลับไปจะพบว่าท่านเจ้าคุณประสารเองเคยคัดค้านเรื่องแก้ พ.ร.บ.สงฆ์ มาตรา 7 เนื่องจากหนุนสมเด็จช่วงฯ วัดปากน้ำ ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จนเกิดการก่อม็อบพระที่พุทธมณฑล เคยคัดค้านเหตุที่ไม่มีการจัดตั้งธนาคารพุทธ
แม้ไม่พบความเกี่ยวข้องกับสายของวัดพระธรรมกาย แต่เป็นที่ชัดเจนว่าท่านสนับสนุนสายของอดีตพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม ที่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งไปบ้าง แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เป็นสายเดียวกันเข้ามารับหน้าที่แทน
ผนึก “ธรรมกาย-พระผู้ใหญ่-เพื่อไทย”
การเลือกตั้งในรอบนี้แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่ได้เป็นรัฐบาล แต่ท่านเจ้าคุณประสารยังสามารถเข้ามาร่วมทำงานกับสายงานของพรรคเพื่อไทยได้ในส่วนของกรรมาธิการศาสนา ที่มีนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล เป็นรองประธานคนที่ 1 และเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง ส.ส.ชัยภูมิจากพรรคเพื่อไทยรายนี้เป็นศิษย์วัดพระธรรมกายและยังมีนามสกุลเดียวกับพระถวัลย์ศักดิ์ ยติสักโก รอง ผอ.สำนักพัฒนาทรัพยากร วัดพระธรรมกาย
และยังมีทนายความพระธัมมชโยอย่างนายสัมพันธ์ เสริมชีพ เป็นอนุกรรมาธิการ ท่านเจ้าคุณประสารเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ แถมด้วยนางสาวลีลาวดี วัชโรบล ศิษย์วัดพระธรรมกายตัวยง เป็นที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนา
อีกทั้งภายในการทำงานคณะอนุกรรมาธิการศาสนายังพบพระสงฆ์หลายรูปเข้ามาร่วมทำงานด้วย หนึ่งในนั้นคือพระครูปลัดกวีวัฒน์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นทีมงานของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย โดยเจ้าคุณประสาร ยังเป็นเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ขณะที่พระธรรมกิตติเมธี เจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธ) ประธานศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และยังเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมชุดใหม่อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าทีมงานชุดนี้เกาะเกี่ยวกันมาตลอดตั้งแต่ในอดีต ในช่วงรัฐบาล คสช.อาจถูกสกัดจนต้องลดบทบาทตัวเองลงไปบ้าง แต่เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ มีช่องทางให้กลับเข้ามาได้ตามกรอบกติกา และพวกเขาได้กลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้งในการผลักดันสิ่งที่เป็นเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้
ส่วนจะสมหวังหรือไม่ยังคงมีอีกหลายด่านที่ต้องฝ่าฟัน ทั้งในเวทีสภาผู้แทนราษฎรและยังต้องผ่านความเห็นชอบจากทางมหาเถรสมาคม ซึ่งร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์ฯ ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยผ่านด่านเหล่านี้มาได้เลย