โฟกัส อปพส.สร้างข่าวเท็จอ้าง “กระทรวงศึกษาบังคับนักเรียนทั่วประเทศเรียนศาสนาอิสลาม” ออกแถลงการณ์ล่ารายชื่อคัดค้านคุณหญิงกัลยา ทีมงานกระทรวงศึกษาเต้นยื่นหนังสือถึงผบ.ทบ.ตรวจสอบและระงับข่าวปลอม ชี้วิธีนี้เป็นภัยต่อความมั่นคง แฉกลุ่มนี้เอาเอกสารของ สพฐ.บางชิ้นไปตีขลุมเหมารวม มีอัยย์ เพชรทอง ศิษย์ธรรมกายเป็นแกนนำ มีเครือข่ายขยายผลในโซเชียลและในสภาฯ
ปฎิบัติการเชิงรุกของกลุ่มที่หยิบยกเอาประเด็นทางศาสนาขึ้นมาใช้ในการโจมตีการทำงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมาอย่างต่อเนื่อง พุ่งเป้ากล่าวหารัฐบาลเอาใจอีกศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ และแสดงความกังวลว่าศาสนาพุทธจะค่อย ๆ ถูกกลืน มีความพยายามหยิบยกเอาหลักฐานต่าง ๆ มาประกอบความน่าเชื่อถือ และสมาชิกที่เชื่อในข้อมูลดังกล่าวมีอยู่ระดับหนึ่ง
การรุกครั้งล่าสุดคือการกระพือข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การทำงานของคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะบรรจุวิชาอิสลามศึกษาไว้ในโรงเรียนทั่วประเทศ พร้อมด้วยการออกแถลงการณ์ขององค์กร อปพส. เพื่อสันติภาพ เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562
อปพส.เปิดฉาก
นายอัยย์ เพชรทอง เลขาธิการ องค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) ออกแถลงการณ์ อปพส.ฉบับที่ 1 จากกรณีที่มีความเคลื่อนไหวของพี่น้องชาวพุทธจำนวนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนในโลกโซเชี่ยลและมีทีท่าจะลุกลามบานปลายออกไป ไม่มีทีท่าจะจบลงอย่างง่ายๆ สาเหตุ ของความเคลื่อนไหวในครั้งนี้มาจาก
1.การที่ สพฐ.(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ออกหนังสือเวียนไปยังสำนักงานเขตการศึกษา ซึ่งสื่อว่าจะเริ่มมีการนำวิชา"อิสลามศึกษา" เข้ามาเรียนและสอนในโรงเรียนในสังกัด
2.คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รมช.ศึกษาฯของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วยมุสลิมจำนวน 6 คนจาก 11 คน
จากสาเหตุ 2 ประการนี้จึงเป็นต้นเหตุให้พี่น้องชาวพุทธจำนวนมากได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านกันอย่างหนัก และมีแนวโน้มจะลุกลามบานปลาย เป็นวงกว้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทาง อปพส.(องค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ) จึงได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 ออกมาเพื่อแสดงจุดยืนขององค์กรว่า
1.ขอให้ สพฐ. ได้ทบทวนและยกเลิก การนำ วิชาอิสลามศึกษาเข้ามาบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนของทุกโรงเรียนในสังกัดในทันที
2.ขอให้คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รมช.ศึกษาธิการ ได้ทบทวนและยกเลิกคณะทำงานที่เป็นมุสลิมจำนวนมากออกไปและจัดสัดส่วนให้เหมาะสมในทันที
3.อปพส.ขอสนับสนุนและให้กำลังใจทุกองค์กรชาวพุทธหรือส่วนบุคคลในการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านทั้ง 2 กรณีนี้อย่างสันติวิธี ทั้งทางโลกโซเชี่ยลและการยื่นหนังสือและการเข้าพบผู้ที่รับผิดชอบ
อปพส.ได้ตระหนักถึงภาระรับผิดชอบที่จะปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ใครมาทำลาย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้น อปพส. จึงต้องแสดงจุดยืนที่จะต่อต้านการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาในทุกรูปแบบและพร้อมจะประสานความร่วมมือกับองค์กรพุทธทุกๆ องค์กรทั้งในและต่างประเทศตลอดไป
คุณหญิงกัลยาเต้น
ขณะที่ทีมงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ยื่นหนังสือถึง พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เรื่องขอความร่วมมือตรวจสอบและระงับข่าวปลอมเรื่องการบังคับใช้หลักสูตรอิสลามในโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และได้ส่งเรื่องต่อให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตรวจสอบกรณีมีผู้นำข้อมูลที่บิดเบือนไปเผยแพร่
นายกันติพจน์ สิริภักดิสกุล ที่ปรึกษาและเลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า มีการนำเอกสารหนังสือที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ต้องการสำรวจโรงเรียนที่สอนศาสนาอิสลามเพื่อนำมาประกอบการทำงานงบประมาณปีต่อไป เพื่อต้องการทราบว่ามีทั้งหมดกี่โรงเรียน
ในส่วนนี้ได้ทำการสำรวจโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สังกัดสพฐ. โดยมีเงื่อนไขว่าถ้ามีนักเรียนมุสลิมเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปให้ห้องเรียนสอนศาสนาอิสลามโดยเฉพาะให้กับเด็ก โดยให้เฉพาะนักเรียนที่เป็นมุสลิมมาเรียนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับนักเรียนที่เป็นไทยพุทธ
แต่มีการนำไปเผยแพร่ว่าคุณหญิงกัลยาบังคับให้เรียน และยุยุงปลุกปั่นให้คนที่นับถือศาสนาพุทธมาร่วมลงชื่อคัดค้าน ซึ่งสิ่งที่กระทำนี้ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 และเรามองว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคง เพราะจะมีการสร้างความแตกแยกระหว่างสองศาสนา
ไพบูลย์โดนหนัก
ตอนนี้มีการจับตาไปที่ความเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) เพราะเป็นผู้ออกแถลงการณ์เรียกร้องต่อกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกลุ่มนี้ได้ติดตามเรื่องของศาสนาอิสลามมาโดยตลอด โดยมีแกนนำของกลุ่มคือนายอัยย์ เพชรทอง ลูกศิษย์คนสำคัญของวัดพระธรรมกาย ที่เดิมเคยออกมาปกป้องวัดพระธรรมกาย เมื่อครั้งรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกาย เพื่อนำพระธัมมชโยมาดำเนินคดี
ส่วนใหญ่กลุ่มที่หวาดกลัวต่อศาสนาอิสลาม มักเป็นชาวพุทธสายที่สนับสนุนการทำงานของพระเถระผู้ใหญ่ในอดีต รวมถึงสายของศิษย์ธรรมกาย มีการแตกตัวออกไปเป็นกลุ่มย่อยตั้งเฟสบุ๊กขึ้นในนามกลุ่มหรือองค์กรชาวพุทธต่าง ๆ เพื่อเผยแผ่แนวคิดในเรื่องนี้ และขยับมาใช้สื่อโซเชียลอื่น ๆ เช่น ไลน์ และไลน์สแควร์
เมื่อครั้งที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ ช่วงปี 2558 ตรวจสอบกรณีของวัดพระธรรมกาย ในเรื่องการปราชิกจากคดีความในอดีตรวมถึงคำสอนของวัดที่ไม่ได้เป็นไปตามพระไตรปิฎก นายไพบูลย์ถูกถล่มในทางโซเชียลอย่างหนัก ด้วยการกล่าวหาว่านายไพบูลย์นับถือศาสนาอิสลามแล้วจะมาแก้ปัญหาให้กับชาวพุทธ
ครั้งนั้นมีทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านสื่อออนไลน์เข้าไปแก้ไขข้อมูลเรื่องการนับถือศาสนาของนายไพบูลย์ในเว็บไซต์ wikipedia เปลี่ยนจากนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาอิสลาม รวมถึงคณะทำงานด้านศาสนาก็ถูกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน เพื่อนำมาใช้โจมตีว่าบุคคลเหล่านี้เข้ามาทำงานเพื่อทำลายพระพุทธศาสนาแล้วแชร์ข้อมูลเท็จเหล่านี้ไปยังสมาชิกในทุกช่องทางของสื่อออนไลน์
ตอนนั้นไม่มีความชัดเจนว่าต้นทางเป็นกลุ่มใด แต่ข่าวเท็จ(fake news)เหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากการเข้าไปแตะวัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยการปลูกฝังความเชื่อว่าการล้มธรรมกายคือการทำลายพระพุทธศาสนา เพื่อต้องการให้ศาสนาอื่นเข้ามาแทน
“องค์กรพุทธ”เพียบ
สำหรับเครือข่ายของชาวพุทธกลุ่มนี้แยกออกเป็นกลุ่มย่อย ทั้งสายที่หนุนพระผู้ใหญ่ที่เคยกุมอำนาจในมหาเถรสมาคม สายหนุนธรรมกายและสายที่ใช้ฐานชาวพุทธเพื่อเข้าสู่แวดวงการเมือง เช่น กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน องค์กรพิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ(อพช.) องค์กรพลังชาวพุทธ สมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ(สพวช.) สมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย และยังมีอีกหลายเพจที่แยกย่อยลงไปอีก
ที่จริงยังมีศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติที่เป็นแกนหลัก มีการโพสต์เนื้อหาต่าง ๆ ที่ข้ามศาสนาบ้างแต่จะกระทำอย่างระมัดระวังมากกว่าเพจอื่น ๆ ส่วนเพจของวัดพระธรรมกาย ไม่มีการนำเอาเรื่องต่างศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง มีเพียงกิจกรรมต่าง ๆ ของทางวัดเท่านั้น
เดิมเพจที่โพสต์เรื่องราวของต่างศาสนาอย่างรุนแรงอย่างตื่นเถิดชาวพุทธ แม้ว่างเว้นจากการโพสต์ไปบ้างในระยะหนึ่ง และเริ่มกลับมาโพสต์อีกครั้งในระยะที่ผ่านมา แต่ลดความเข้มข้นของระดับเนื้อหาลง ส่วนที่ยังแรงต่อเนื่องหนีไม่พ้นเพจของนายอัยย์ เพชรทอง ที่มีทั้งในนามส่วนตัวและกลุ่มพลังชาวพุทธ ซึ่งถูกรายงานบ่อยครั้ง และมีคดีความกับนักกฎหมายที่นับถือศาสนาอิสลาม
จากนั้นได้รวมกลุ่มของศิษย์ธรรมกายที่มีความคิดเห็นในทางเดียวกัน เดินสายให้ความรู้กับพระตามสถานที่ต่าง ๆ หลังจากเกิดเหตุการณ์จับกุมพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม ในระยะแรกเป็นเรื่องการให้ความรู้ทางกฎหมายกับพระ แต่ระยะหลังเป็นการจัดเสวนาที่พาดพิงไปยังศาสนาอื่น และตั้งองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) ขึ้นมา ซึ่งขณะนี้พุ่งเป้าไปที่เรื่องศาสนาอิสลามและการทำงานของรัฐบาล
สร้างข่าวเท็จ-อันตราย
“บางทีใช้ข้อมูลเก่าขึ้นมาเพื่อโจมตีการทำงานของรัฐบาลว่าเอื้อต่อศาสนาอื่น ไม่ปกป้องศาสนาพุทธ บางกรณีนำเอาข้อมูลที่มีการตัดต่อและแก้ไขข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงมาใส่ร้าย ยิ่งถ้าเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ ก็หยิบยกเอาเรื่องดังกล่าวมาขยายผล” แหล่งข่าวจากงานด้านความมั่นคงกล่าว
อย่างกรณีของกระทรวงศึกษาธิการนั้น เป็นการนำเอาเอกสารบางชิ้นที่ทาง สพฐ.ใช้สำรวจโรงเรียนในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนใต้ที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แล้วนำมาเหมารวมว่ากระทรวงศึกษาจะบังคับให้มีการเรียนเรื่องศาสนาอิสลามทั่วประเทศ จากนั้นก็นำไปโพสต์ผ่านสื่อโซเชียลตามช่องทางต่าง ๆ มีการรับลูกกันเป็นทอด ๆ ของเครือข่าย เพื่อปั่นให้เรื่องนี้กลายเป็นกระแสขึ้นมา
สายที่หนุนพระไม่ได้มีแค่สื่อโซเชียลเท่านั้น แต่ยังมีนักการเมืองที่รับลูกในเรื่องเหล่านี้เพื่อนำไปขยายผลในเวทีสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งพรรคประชาภิวัฒน์ของนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ศิษย์ธรรมกายโดยตรง รวมถึงพรรคเพื่อไทยที่งานด้านศาสนาเป็นหน้าที่ของนายนิยม เวชกามา และนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายเช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 ได้ใช้เวทีของสภาผู้แทนราษฎรกล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน
เรื่องของศาสนาเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน การปล่อยให้มีการบิดเบือนข่าวเช่นนี้อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติได้ หากภาครัฐไม่เข้ามายุติการสร้างข่าวเท็จเช่นนี้อย่างจริงจัง
ปฎิบัติการเชิงรุกของกลุ่มที่หยิบยกเอาประเด็นทางศาสนาขึ้นมาใช้ในการโจมตีการทำงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมาอย่างต่อเนื่อง พุ่งเป้ากล่าวหารัฐบาลเอาใจอีกศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ และแสดงความกังวลว่าศาสนาพุทธจะค่อย ๆ ถูกกลืน มีความพยายามหยิบยกเอาหลักฐานต่าง ๆ มาประกอบความน่าเชื่อถือ และสมาชิกที่เชื่อในข้อมูลดังกล่าวมีอยู่ระดับหนึ่ง
การรุกครั้งล่าสุดคือการกระพือข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การทำงานของคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะบรรจุวิชาอิสลามศึกษาไว้ในโรงเรียนทั่วประเทศ พร้อมด้วยการออกแถลงการณ์ขององค์กร อปพส. เพื่อสันติภาพ เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562
อปพส.เปิดฉาก
นายอัยย์ เพชรทอง เลขาธิการ องค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) ออกแถลงการณ์ อปพส.ฉบับที่ 1 จากกรณีที่มีความเคลื่อนไหวของพี่น้องชาวพุทธจำนวนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนในโลกโซเชี่ยลและมีทีท่าจะลุกลามบานปลายออกไป ไม่มีทีท่าจะจบลงอย่างง่ายๆ สาเหตุ ของความเคลื่อนไหวในครั้งนี้มาจาก
1.การที่ สพฐ.(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ออกหนังสือเวียนไปยังสำนักงานเขตการศึกษา ซึ่งสื่อว่าจะเริ่มมีการนำวิชา"อิสลามศึกษา" เข้ามาเรียนและสอนในโรงเรียนในสังกัด
2.คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รมช.ศึกษาฯของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วยมุสลิมจำนวน 6 คนจาก 11 คน
จากสาเหตุ 2 ประการนี้จึงเป็นต้นเหตุให้พี่น้องชาวพุทธจำนวนมากได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านกันอย่างหนัก และมีแนวโน้มจะลุกลามบานปลาย เป็นวงกว้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทาง อปพส.(องค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ) จึงได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 ออกมาเพื่อแสดงจุดยืนขององค์กรว่า
1.ขอให้ สพฐ. ได้ทบทวนและยกเลิก การนำ วิชาอิสลามศึกษาเข้ามาบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนของทุกโรงเรียนในสังกัดในทันที
2.ขอให้คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รมช.ศึกษาธิการ ได้ทบทวนและยกเลิกคณะทำงานที่เป็นมุสลิมจำนวนมากออกไปและจัดสัดส่วนให้เหมาะสมในทันที
3.อปพส.ขอสนับสนุนและให้กำลังใจทุกองค์กรชาวพุทธหรือส่วนบุคคลในการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านทั้ง 2 กรณีนี้อย่างสันติวิธี ทั้งทางโลกโซเชี่ยลและการยื่นหนังสือและการเข้าพบผู้ที่รับผิดชอบ
อปพส.ได้ตระหนักถึงภาระรับผิดชอบที่จะปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ใครมาทำลาย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้น อปพส. จึงต้องแสดงจุดยืนที่จะต่อต้านการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาในทุกรูปแบบและพร้อมจะประสานความร่วมมือกับองค์กรพุทธทุกๆ องค์กรทั้งในและต่างประเทศตลอดไป
คุณหญิงกัลยาเต้น
ขณะที่ทีมงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ยื่นหนังสือถึง พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เรื่องขอความร่วมมือตรวจสอบและระงับข่าวปลอมเรื่องการบังคับใช้หลักสูตรอิสลามในโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และได้ส่งเรื่องต่อให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตรวจสอบกรณีมีผู้นำข้อมูลที่บิดเบือนไปเผยแพร่
นายกันติพจน์ สิริภักดิสกุล ที่ปรึกษาและเลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า มีการนำเอกสารหนังสือที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ต้องการสำรวจโรงเรียนที่สอนศาสนาอิสลามเพื่อนำมาประกอบการทำงานงบประมาณปีต่อไป เพื่อต้องการทราบว่ามีทั้งหมดกี่โรงเรียน
ในส่วนนี้ได้ทำการสำรวจโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สังกัดสพฐ. โดยมีเงื่อนไขว่าถ้ามีนักเรียนมุสลิมเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปให้ห้องเรียนสอนศาสนาอิสลามโดยเฉพาะให้กับเด็ก โดยให้เฉพาะนักเรียนที่เป็นมุสลิมมาเรียนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับนักเรียนที่เป็นไทยพุทธ
แต่มีการนำไปเผยแพร่ว่าคุณหญิงกัลยาบังคับให้เรียน และยุยุงปลุกปั่นให้คนที่นับถือศาสนาพุทธมาร่วมลงชื่อคัดค้าน ซึ่งสิ่งที่กระทำนี้ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 และเรามองว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคง เพราะจะมีการสร้างความแตกแยกระหว่างสองศาสนา
ไพบูลย์โดนหนัก
ตอนนี้มีการจับตาไปที่ความเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) เพราะเป็นผู้ออกแถลงการณ์เรียกร้องต่อกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกลุ่มนี้ได้ติดตามเรื่องของศาสนาอิสลามมาโดยตลอด โดยมีแกนนำของกลุ่มคือนายอัยย์ เพชรทอง ลูกศิษย์คนสำคัญของวัดพระธรรมกาย ที่เดิมเคยออกมาปกป้องวัดพระธรรมกาย เมื่อครั้งรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกาย เพื่อนำพระธัมมชโยมาดำเนินคดี
ส่วนใหญ่กลุ่มที่หวาดกลัวต่อศาสนาอิสลาม มักเป็นชาวพุทธสายที่สนับสนุนการทำงานของพระเถระผู้ใหญ่ในอดีต รวมถึงสายของศิษย์ธรรมกาย มีการแตกตัวออกไปเป็นกลุ่มย่อยตั้งเฟสบุ๊กขึ้นในนามกลุ่มหรือองค์กรชาวพุทธต่าง ๆ เพื่อเผยแผ่แนวคิดในเรื่องนี้ และขยับมาใช้สื่อโซเชียลอื่น ๆ เช่น ไลน์ และไลน์สแควร์
เมื่อครั้งที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ ช่วงปี 2558 ตรวจสอบกรณีของวัดพระธรรมกาย ในเรื่องการปราชิกจากคดีความในอดีตรวมถึงคำสอนของวัดที่ไม่ได้เป็นไปตามพระไตรปิฎก นายไพบูลย์ถูกถล่มในทางโซเชียลอย่างหนัก ด้วยการกล่าวหาว่านายไพบูลย์นับถือศาสนาอิสลามแล้วจะมาแก้ปัญหาให้กับชาวพุทธ
ครั้งนั้นมีทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านสื่อออนไลน์เข้าไปแก้ไขข้อมูลเรื่องการนับถือศาสนาของนายไพบูลย์ในเว็บไซต์ wikipedia เปลี่ยนจากนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาอิสลาม รวมถึงคณะทำงานด้านศาสนาก็ถูกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน เพื่อนำมาใช้โจมตีว่าบุคคลเหล่านี้เข้ามาทำงานเพื่อทำลายพระพุทธศาสนาแล้วแชร์ข้อมูลเท็จเหล่านี้ไปยังสมาชิกในทุกช่องทางของสื่อออนไลน์
ตอนนั้นไม่มีความชัดเจนว่าต้นทางเป็นกลุ่มใด แต่ข่าวเท็จ(fake news)เหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากการเข้าไปแตะวัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยการปลูกฝังความเชื่อว่าการล้มธรรมกายคือการทำลายพระพุทธศาสนา เพื่อต้องการให้ศาสนาอื่นเข้ามาแทน
“องค์กรพุทธ”เพียบ
สำหรับเครือข่ายของชาวพุทธกลุ่มนี้แยกออกเป็นกลุ่มย่อย ทั้งสายที่หนุนพระผู้ใหญ่ที่เคยกุมอำนาจในมหาเถรสมาคม สายหนุนธรรมกายและสายที่ใช้ฐานชาวพุทธเพื่อเข้าสู่แวดวงการเมือง เช่น กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน องค์กรพิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ(อพช.) องค์กรพลังชาวพุทธ สมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ(สพวช.) สมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย และยังมีอีกหลายเพจที่แยกย่อยลงไปอีก
ที่จริงยังมีศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติที่เป็นแกนหลัก มีการโพสต์เนื้อหาต่าง ๆ ที่ข้ามศาสนาบ้างแต่จะกระทำอย่างระมัดระวังมากกว่าเพจอื่น ๆ ส่วนเพจของวัดพระธรรมกาย ไม่มีการนำเอาเรื่องต่างศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง มีเพียงกิจกรรมต่าง ๆ ของทางวัดเท่านั้น
เดิมเพจที่โพสต์เรื่องราวของต่างศาสนาอย่างรุนแรงอย่างตื่นเถิดชาวพุทธ แม้ว่างเว้นจากการโพสต์ไปบ้างในระยะหนึ่ง และเริ่มกลับมาโพสต์อีกครั้งในระยะที่ผ่านมา แต่ลดความเข้มข้นของระดับเนื้อหาลง ส่วนที่ยังแรงต่อเนื่องหนีไม่พ้นเพจของนายอัยย์ เพชรทอง ที่มีทั้งในนามส่วนตัวและกลุ่มพลังชาวพุทธ ซึ่งถูกรายงานบ่อยครั้ง และมีคดีความกับนักกฎหมายที่นับถือศาสนาอิสลาม
จากนั้นได้รวมกลุ่มของศิษย์ธรรมกายที่มีความคิดเห็นในทางเดียวกัน เดินสายให้ความรู้กับพระตามสถานที่ต่าง ๆ หลังจากเกิดเหตุการณ์จับกุมพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม ในระยะแรกเป็นเรื่องการให้ความรู้ทางกฎหมายกับพระ แต่ระยะหลังเป็นการจัดเสวนาที่พาดพิงไปยังศาสนาอื่น และตั้งองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) ขึ้นมา ซึ่งขณะนี้พุ่งเป้าไปที่เรื่องศาสนาอิสลามและการทำงานของรัฐบาล
สร้างข่าวเท็จ-อันตราย
“บางทีใช้ข้อมูลเก่าขึ้นมาเพื่อโจมตีการทำงานของรัฐบาลว่าเอื้อต่อศาสนาอื่น ไม่ปกป้องศาสนาพุทธ บางกรณีนำเอาข้อมูลที่มีการตัดต่อและแก้ไขข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงมาใส่ร้าย ยิ่งถ้าเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ ก็หยิบยกเอาเรื่องดังกล่าวมาขยายผล” แหล่งข่าวจากงานด้านความมั่นคงกล่าว
อย่างกรณีของกระทรวงศึกษาธิการนั้น เป็นการนำเอาเอกสารบางชิ้นที่ทาง สพฐ.ใช้สำรวจโรงเรียนในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนใต้ที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แล้วนำมาเหมารวมว่ากระทรวงศึกษาจะบังคับให้มีการเรียนเรื่องศาสนาอิสลามทั่วประเทศ จากนั้นก็นำไปโพสต์ผ่านสื่อโซเชียลตามช่องทางต่าง ๆ มีการรับลูกกันเป็นทอด ๆ ของเครือข่าย เพื่อปั่นให้เรื่องนี้กลายเป็นกระแสขึ้นมา
สายที่หนุนพระไม่ได้มีแค่สื่อโซเชียลเท่านั้น แต่ยังมีนักการเมืองที่รับลูกในเรื่องเหล่านี้เพื่อนำไปขยายผลในเวทีสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งพรรคประชาภิวัฒน์ของนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ศิษย์ธรรมกายโดยตรง รวมถึงพรรคเพื่อไทยที่งานด้านศาสนาเป็นหน้าที่ของนายนิยม เวชกามา และนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายเช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 ได้ใช้เวทีของสภาผู้แทนราษฎรกล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน
เรื่องของศาสนาเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน การปล่อยให้มีการบิดเบือนข่าวเช่นนี้อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติได้ หากภาครัฐไม่เข้ามายุติการสร้างข่าวเท็จเช่นนี้อย่างจริงจัง