ส่องบัญชีเงินฝากยุคนี้มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่พื้นๆ จนซับซ้อน ทั้งดอกเบี้ยขั้นบันได เงินฝากปลอดภาษี ฟรีค่าธรรมเนียม ขณะที่ดอกเบี้ย 0% ยังอยู่ แต่เป็นบัญชีฟรีออลล์ที่ฟรีค่าธรรมเนียม เผยบัญชีกลุ่มฟรีค่าธรรมเนียมธนาคารเป็นผู้แบกต้นทุน ผู้ใช้บริการต้องแลกกับดอกเบี้ยต่ำและเงื่อนไขอื่นที่พ่วงเข้ามา หากผิดเงื่อนไขอาจเจอค่าปรับได้ แนะดูเงื่อนไขให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ คุ้มหรือไม่
ปรากฎการณ์ที่ธนาคารทหารไทย(TMB) ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปลงมา 0% ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2559 จนเกิดเป็นกระแสที่กล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว หลังจากนั้น 3 มิถุนายน 2559 ธนาคารได้ออกมาชี้แจงว่า หลังจากที่ได้ประกาศลดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปเป็น 0% พบว่ามีลูกค้าบางส่วนที่ยังไม่พร้อมในการบริหารจัดการเงินในแบบที่ธนาคารนำเสนอ
ดังนั้น ธนาคารจึงขอปรับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ทั่วไปกลับมาเป็นอัตราเดิมที่ 0.125% โดยที่ลูกค้ายังได้รับดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2559
นับเป็นครั้งแรกที่ดอกเบี้ยเงินฝากของไทยลงมาอยู่ที่ระดับ 0% แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ และไม่มีผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากธนาคารยังคงย้อนกลับไปให้ดอกเบี้ยในอัตรา 0.125% เหมือนเดิม
ปัจจุบันทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐบาลมีการแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์ทางด้านเงินฝากกันหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ออมเงิน ทำให้บัญชีเงินฝากในขณะนี้มีหลากหลายรูปแบบให้ผู้มีเงินออมเลือกใช้บริการ
ประจำ/ขั้นบันได-ต้องเฉลี่ย
ปกติบัญชีเงินฝากถ้าเน้นเพื่อการออมเงินแล้วจะมี 2 บัญชีหลักคือบัญชีออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำ เป็นที่ทราบกันดีว่าบัญขีออมทรัพย์มักเป็นบัญชีสำหรับการพักเงินไว้เพื่อการใช้จ่าย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้กรณีดอกเบี้ยไม่เกิน 2 หมื่นบาท บัญชีออมทรัพย์ได้ดอกเบี้ยไม่สูงนัก ปัจจุบัน 4 ธนาคารขนาดใหญ่ให้ดอกเบี้ย 0.5% ส่วนแบงก์ขนาดกลางและรองลงไปก็ปรับลดลงไปจนเหลือที่ 0.125%
ส่วนบัญชีเงินฝากประจำ ธนาคารให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ แต่ต้องเสียภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยอีก 15% ที่ผ่านมาธนาคารนิยมออกบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยฝากประจำปกติ แต่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างนี้ ธนาคารมักจะมีเงินฝากประเภทนี้ออกมาไม่มากนัก เนื่องจากไม่ต้องการเงินฝากมากนักและออกเพื่อรักษาฐานลูกค้ารายเดิมเอาไว้เท่านั้น
อย่างตอนนี้มีธนาคารกรุงเทพออกบัญชีเงินฝากประจำ 5 และ 7 เดือน ดอกเบี้ย 1.375% เงินฝากขั้นต่ำ 1 แสนบาท ส่วน 10 เดือน ขั้นต่ำตั้งแต่ 1 แสน-100 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.375% หากเกิน 100 ล้านบาทได้ดอกเบี้ย 1.5% ขณะที่ธนาคารกรุงไทย มีดอกเบี้ยเร่งด่วน 4 เดือน ดอกเบี้ยทันใจ ให้ดอกเบี้ย 1.1% เงินฝากขั้นต่ำ 5 หมื่นบาท
กลุ่มของบัญชีเงินฝากประจำยังมีลูกเล่นเรื่องการให้ดอกเบี้ยแบบขั้นบันได จะเริ่มที่อัตราดอกเบี้ยต่ำไปถึงดอกเบี้ยสูง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะโฆษณาที่อัตราดอกเบี้ยสูงเป็นหลัก มักใช้รูปแบบของตัวอักษรใหญ่ๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ฝาก รูปแบบนี้พันธบัตรรัฐบาลก็นำมาใช้ เช่น พันธบัตร 5 ปี ดอกเบี้ยขั้นบันใดเช่นกันปีแรก 1.75% ไปจนถึง 3% ผู้ฝากเงินต้องเฉลี่ยออกมาว่าได้ปีละเท่าไหร่ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ต้องมีการแจ้งดอกเบี้ยเฉลี่ยให้ผู้ฝากเงินได้ทราบ พันธบัตร 5 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 2.25% เงินฝากประเภทนี้ต้องเสียภาษีอีก 15% ดังนั้นผลตอบแทนจริงของพันธบัตรจะอยู่ที่ 1.9125%
อย่างตอนนี้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็ออกบัญชีฝากประจำ Step up 9 เดือน ดอกเบี้ยสูงสุด 1.9% แต่เมื่อเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 1.6% ต่อปี
ปลอดภาษีดอกสูงจริงหรือ?
บัญชีเงินฝากประจำอีกรูปแบบหนึ่งที่หลายคนนิยมฝากกันคือ บัญชีเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน ผู้ฝากเงินไม่ต้องเสียภาษี ผู้ฝากเงินจะต้องฝากเท่าๆ กันทุกเดือน ตลอด 24 เดือน ไม่เกินเดือนละ 25,000 บาทตามข้อกำหนด ส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง หากผิดเงื่อนไขจะปรับลงมาเป็นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ปกติ
เงินฝากในกลุ่มนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการออมเงินทุกเดือน เพราะไม่ต้องเสียภาษีเหมือนเงินฝากประจำทั่วไป อย่างตอนนี้มีของธนาคารกสิกรไทยออกบัญชีเงินฝากทวีทรัพย์เอ็กซ์ตร้า ให้ดอกเบี้ย 3.3% แต่ต้องซื้อประกัน 615 พ่วงเข้าไปด้วยจึงจะได้ดอกเบี้ยดังกล่าว หากไม่ต้องการซื้อประกันจะมีบัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ ได้ดอกเบี้ย 2.25%
ที่ผ่านมามักไม่ค่อยมีนักการเงินรายไหนออกมาคำนวณว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจากการฝากเงินผ่านบัญชีปลอดภาษี 24 เดือนนี้เป็นเท่าไหร่ เพราะวิธีการคิดผลตอบแทนแตกต่างจากการฝากเงินแบบประจำทั่วไป เพราะต้องคิดกันเป็นรายวันในแต่ละเดือนที่ฝาก แต่เมื่อลองคำนวณออกมาแล้วจะพบว่าผลตอบแทนจริงที่ได้ใน 1 ปีนั้น ประมาณคร่าวๆ คือครึ่งหนึ่งของตัวเลขดอกเบี้ยที่แจ้งไว้
อย่างก่อนหน้านี้มีเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ให้ดอกเบี้ย 3.4% ผลของดอกเบี้ยที่ได้รับเมื่อคำนวณออกมาต่อปีแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 1.7% ซึ่งตอนนี้จากการสอบถามไปยัง ธ.ก.ส. เงินฝากประเภทนี้ไม่เปิดรับฝากแล้ว
บัญชีลูกครึ่งประจำกับออมทรัพย์
บัญชีเงินฝากที่มีการพัฒนาในหลายรูปแบบนั่นคือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบางแห่งใช้ชื่อบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก ซึ่งถือเป็นบัญชีหลักของมนุษย์เงินเดือนที่เปิดไว้เพื่อรับเงินเดือนเข้ามา และเพิ่มความสะดวกสบายในการเบิกถอนด้วยบัตรเอทีเอ็ม ที่ตอนนี้เริ่มเปลี่ยนจากระบบแถบแม่เหล็กมาเป็นระบบชิปการ์ด
ที่ผ่านมามีธนาคารรัฐได้ออกบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษออกมา ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างบัญชีเงินฝากประจำกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ คือฝากเงินเหมือนฝากประจำ แต่ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้ต้องไม่เกิน 2 หมื่นบาท กลุ่มนี้จะมีตัวหลักคือธนาคารออมสินที่ออกเงินฝากนี้อย่างต่อเนื่อง และมีธนาคารอาคารสงเคราะห์ออกเงินฝากประเภทนี้มาบ้าง ช่วงนี้มี 2 ระยะเวลาฝากให้เลือกคือ 5 เดือนดอกเบี้ย 1.3% และ 11 เดือนดอกเบี้ย 1.45% ดอกเบี้ยที่ได้รับเมื่อครบกำหนดไม่ต้องเสียภาษี
ธนาคารพาณิชย์ก็มีบัญชีคล้ายๆ กันออกมาคือบัญชีเงินฝากไม่ประจำ ถอนได้ดอกสูงของธนาคารทหารไทย หรือ TMB No Fixed ตอนนี้ให้ดอกเบี้ย 1.4% ถอนเงินออกจาก TMB No Fixed ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งเมื่อทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือถอนเงินที่สาขาก็สามารถถอนได้ 2 ครั้งต่อเดือน ครั้งถัดไปเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 50 บาท
บัญชี TMB No Fixed สามารถโอนเงินระหว่างบัญชีของ TMB ผ่านช่องทาง TMB Internet Banking และ TMB M-Banking ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่ไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนเงินระหว่างธนาคาร การชำระค่าสาธารณูปโภค การชำระค่าสินค้า หรือบริการผ่าน E-Payment ผ่านช่องทาง TMB Internet Banking และ TMB M-Banking ได้ และไม่สามารถเปิดใช้บริการร่วมกับบัตรทุกประเภท หรือ สมัครใช้บริการ Direct Debit หรือ นำไปใช้ผูกเป็นบัญชีเพื่อหักโอนเงินออกไปยังบัญชีเงินฝากอื่นๆ
“คนที่สนใจบัญชีเงินฝากนี้ แนะนำให้สอบถามไปที่ธนาคารก่อนว่ามีเงื่อนไขเงินฝากขั้นต่ำและเงินคงเหลือในบัญชีขั้นต่ำต่อเดือนเท่าไหร่ รวมทั้งดูเงื่อนไขเรื่องค่าปรับด้วยกรณีไม่สามารถทำตามเงื่อนไขของธนาคารได้”
ฟรีค่าธรรมเนียมต้องยอมแลก
อีกบัญชีหนึ่งที่หลายคนนิยมเปิดกันนั่นคือบัญชีออมทรัพย์ที่ฟรีค่าธรรมเนียม ซึ่งธนาคารทหารไทยถือเป็นต้นตำรับด้วยบัญชีทีเอ็มบีออลล์ฟรี ด้วยข้อเสนอ ฟรีกดเงินทุกตู้ ทุกแบงก์ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ฟรีโอนเงินต่างแบงก์ จ่ายบิลรวม แต่ละเดือน 5 ครั้งต่อเดือน
โจทย์ใหญ่ของคนใช้บัตรเอทีเอ็มนั่นคือกดเงินข้ามจังหวัด ซึ่งธนาคารมักจะคิดค่าบริการราว 20-25 บาท รวมถึงใบเรียกเก็บค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ต่างๆ ที่มักจะมีการเรียกเก็บค่าบริการ 5-10 บาทหากไปจ่ายตามเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ หรือแม้จะไปจ่ายกับธนาคาร นี่คือการทะลุข้อจำกัดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของค่ายทีเอ็มบี
จนธนาคารธนชาตเดินรอยตามด้วยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนชาตบัญชีฟรีเว่อร์ ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมสอบถามยอดเงิน ถอนเงิน โอนเงินภายในธนาคารธนชาต จ่ายบิล ได้ฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง และโอนเงินต่างธนาคาร จำนวน 2 ครั้งต่อเดือน เมื่อทำรายการผ่านตู้เอทีเอ็มธนาคารธนชาต
โดยลูกค้าที่ใช้บริการนี้ต้องสมัครบัตรเดบิต เปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท และกำหนดเงินคงเหลือขั้นต่ำในบัญชีไม่ต่ำกว่า 500 บาท นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขต้องมีเงินคงเหลือเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน หากต่ำกว่าธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายเดือน 50 บาทต่อบัญชีต่อเดือน
ภายใต้สิทธิประโยชน์ในเรื่องการเว้นค่าธรรมเนียม ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการบัญชีประเภทนี้ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ ขณะที่ธนาคารผู้ออกบัญชีนี้จะได้ลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา โดยยอมแบกรับค่าใช้จ่ายแทนลูกค้า แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นต้นทุนของธนาคาร ดังนั้นบัญชีในกลุ่มนี้จึงมีเงื่อนไขเพิ่มเติมเข้ามา
อย่างบัญชีของทีเอ็มบีกับของธนชาตก็มีความแตกต่างกัน โดยของทีเอ็มบี ไม่กำหนดเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี ไม่กำหนดเงินขั้นต่ำในบัญชี แต่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้า 500 บาท ปีต่อๆ ไป 350 บาทต่อปีและต้องเปิดคู่กับบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี ส่วนของธนชาตกำหนดเงินในบัญชีขั้นต่ำ 5,000 บาท หากต่ำกว่าจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาทต่อเดือน
คราวนี้มาดูกันที่ดอกเบี้ย ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี 0% ส่วนธนชาตฟรีเว่อร์ 0.125% เทียบกับดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ปกติของแบงก์ใหญ่อยู่ที่ 0.5%
ตัวดอกเบี้ยที่ต่ำหรืออยู่ที่ 0% นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องทราบก่อนใช้บริการ เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยก่อนการเลือกใช้บริการ ลูกค้าควรดูเงื่อนไขของธนาคารให้ละเอียดและสำรวจว่าตัวเองสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นได้หรือไม่ หากทำได้ก็คุ้มค่ากับการเปิดบัญชีดังกล่าว
ตัดดอกเบี้ยเพิ่มลูกเล่น
ขณะที่ธนาคารที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าบัญชีเงินฝากทั่วไปนั้น ตัวธนาคารได้นำเอาส่วนลดของดอกเบี้ยไปเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับแทนลูกค้า
หลักการในลักษณะนี้ทำให้มีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์อีกประเภทหนึ่งออกมา คือ เงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุ ตอนนี้มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แทนความห่วงใยของธนาคารทีเอ็มบี คุ้มครอง 20 เท่าของยอดเงินฝาก สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.125% และบัญชีเงินฝากจากใจของธนาคารไทยพาณิชย์ คุ้มครอง 20 เท่าของเงินฝากเช่นกัน สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.25%
นอกจากนี้บางบัญชียังมีลูกเล่นรับดอกเบี้ยก่อนครบกำหนด แต่ก็มีเงื่อนไขในการล็อกเงินไว้ป้องกันลูกค้าเอาเปรียบธนาคาร หรือมีการให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษเมื่อซื้อประกันไปพร้อมกับการเปิดบัญชี แต่ดูให้ดีว่าตัวดอกเบี้ยที่เพิ่มให้นั้นจะคิดให้กี่เดือน และท่านพร้อมที่จะซื้อประกันด้วยหรือไม่ เช่นเดียวกับบัญชีเงินฝากผ่านอินเทอร์เน็ตที่แจ้งดอกเบี้ยสูงไว้เช่น 1.8% ตรงนี้จะแยกดอกเบี้ยเป็น 2 ส่วนคือดอกเบี้ยหลัก 1.5% และมีโบนัสอีก 0.3% แต่ตัวโบนัสนั้นจะมีอายุเพียง 1 เดือนและให้กับลูกค้าใหม่ที่เข้ามาเปิดบัญชี
อ่านเงื่อนไขให้ละเอียด
ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความหลากหลาย ให้สิทธิประโยชน์กับผู้ฝากเงินมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือเงื่อนไขที่มีทั้งตัวอัตราดอกเบี้ยที่อาจต่ำกว่าปกติ ค่าปรับในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ว่าท่านรับได้หรือไม่ หรือเงื่อนไขที่ต้องมีเงินขั้นต่ำในบัญชี รวมไปถึงค่าธรรมเนียมรายปีหรือค่าธรรมเนียมแรกเข้าด้วยว่าเป็นเท่าไหร่
ผู้ฝากเงินต้องอ่านรายละเอียดให้ดี อะไรที่ไม่ชัดให้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพราะบางเงื่อนไขไม่ได้แจ้งไว้บนเว็บไซต์ และควรสำรวจตัวเองด้วยว่าพร้อมที่จะใช้บริการเหล่านั้นของธนาคารหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ อีกอย่างบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นบางโอกาสเราได้เห็นดอกเบี้ยสูง แต่ดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นธนาคารสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ดอกเบี้ยที่สูงเมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการปรับลดลงได้ ดังนั้นผู้มีเงินออมต้องพิจารณาและตรวจสอบเงื่อนไขเหล่านี้ให้ดีก่อนการตัดสินใจ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง
ปรากฎการณ์ที่ธนาคารทหารไทย(TMB) ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปลงมา 0% ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2559 จนเกิดเป็นกระแสที่กล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว หลังจากนั้น 3 มิถุนายน 2559 ธนาคารได้ออกมาชี้แจงว่า หลังจากที่ได้ประกาศลดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปเป็น 0% พบว่ามีลูกค้าบางส่วนที่ยังไม่พร้อมในการบริหารจัดการเงินในแบบที่ธนาคารนำเสนอ
ดังนั้น ธนาคารจึงขอปรับอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ทั่วไปกลับมาเป็นอัตราเดิมที่ 0.125% โดยที่ลูกค้ายังได้รับดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2559
นับเป็นครั้งแรกที่ดอกเบี้ยเงินฝากของไทยลงมาอยู่ที่ระดับ 0% แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ และไม่มีผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากธนาคารยังคงย้อนกลับไปให้ดอกเบี้ยในอัตรา 0.125% เหมือนเดิม
ปัจจุบันทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐบาลมีการแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์ทางด้านเงินฝากกันหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ออมเงิน ทำให้บัญชีเงินฝากในขณะนี้มีหลากหลายรูปแบบให้ผู้มีเงินออมเลือกใช้บริการ
ประจำ/ขั้นบันได-ต้องเฉลี่ย
ปกติบัญชีเงินฝากถ้าเน้นเพื่อการออมเงินแล้วจะมี 2 บัญชีหลักคือบัญชีออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำ เป็นที่ทราบกันดีว่าบัญขีออมทรัพย์มักเป็นบัญชีสำหรับการพักเงินไว้เพื่อการใช้จ่าย ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้กรณีดอกเบี้ยไม่เกิน 2 หมื่นบาท บัญชีออมทรัพย์ได้ดอกเบี้ยไม่สูงนัก ปัจจุบัน 4 ธนาคารขนาดใหญ่ให้ดอกเบี้ย 0.5% ส่วนแบงก์ขนาดกลางและรองลงไปก็ปรับลดลงไปจนเหลือที่ 0.125%
ส่วนบัญชีเงินฝากประจำ ธนาคารให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ แต่ต้องเสียภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยอีก 15% ที่ผ่านมาธนาคารนิยมออกบัญชีเงินฝากประจำพิเศษ ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยฝากประจำปกติ แต่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างนี้ ธนาคารมักจะมีเงินฝากประเภทนี้ออกมาไม่มากนัก เนื่องจากไม่ต้องการเงินฝากมากนักและออกเพื่อรักษาฐานลูกค้ารายเดิมเอาไว้เท่านั้น
อย่างตอนนี้มีธนาคารกรุงเทพออกบัญชีเงินฝากประจำ 5 และ 7 เดือน ดอกเบี้ย 1.375% เงินฝากขั้นต่ำ 1 แสนบาท ส่วน 10 เดือน ขั้นต่ำตั้งแต่ 1 แสน-100 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.375% หากเกิน 100 ล้านบาทได้ดอกเบี้ย 1.5% ขณะที่ธนาคารกรุงไทย มีดอกเบี้ยเร่งด่วน 4 เดือน ดอกเบี้ยทันใจ ให้ดอกเบี้ย 1.1% เงินฝากขั้นต่ำ 5 หมื่นบาท
กลุ่มของบัญชีเงินฝากประจำยังมีลูกเล่นเรื่องการให้ดอกเบี้ยแบบขั้นบันได จะเริ่มที่อัตราดอกเบี้ยต่ำไปถึงดอกเบี้ยสูง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะโฆษณาที่อัตราดอกเบี้ยสูงเป็นหลัก มักใช้รูปแบบของตัวอักษรใหญ่ๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ฝาก รูปแบบนี้พันธบัตรรัฐบาลก็นำมาใช้ เช่น พันธบัตร 5 ปี ดอกเบี้ยขั้นบันใดเช่นกันปีแรก 1.75% ไปจนถึง 3% ผู้ฝากเงินต้องเฉลี่ยออกมาว่าได้ปีละเท่าไหร่ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ต้องมีการแจ้งดอกเบี้ยเฉลี่ยให้ผู้ฝากเงินได้ทราบ พันธบัตร 5 ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 2.25% เงินฝากประเภทนี้ต้องเสียภาษีอีก 15% ดังนั้นผลตอบแทนจริงของพันธบัตรจะอยู่ที่ 1.9125%
อย่างตอนนี้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็ออกบัญชีฝากประจำ Step up 9 เดือน ดอกเบี้ยสูงสุด 1.9% แต่เมื่อเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 1.6% ต่อปี
ปลอดภาษีดอกสูงจริงหรือ?
บัญชีเงินฝากประจำอีกรูปแบบหนึ่งที่หลายคนนิยมฝากกันคือ บัญชีเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน ผู้ฝากเงินไม่ต้องเสียภาษี ผู้ฝากเงินจะต้องฝากเท่าๆ กันทุกเดือน ตลอด 24 เดือน ไม่เกินเดือนละ 25,000 บาทตามข้อกำหนด ส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง หากผิดเงื่อนไขจะปรับลงมาเป็นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ปกติ
เงินฝากในกลุ่มนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการออมเงินทุกเดือน เพราะไม่ต้องเสียภาษีเหมือนเงินฝากประจำทั่วไป อย่างตอนนี้มีของธนาคารกสิกรไทยออกบัญชีเงินฝากทวีทรัพย์เอ็กซ์ตร้า ให้ดอกเบี้ย 3.3% แต่ต้องซื้อประกัน 615 พ่วงเข้าไปด้วยจึงจะได้ดอกเบี้ยดังกล่าว หากไม่ต้องการซื้อประกันจะมีบัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ ได้ดอกเบี้ย 2.25%
ที่ผ่านมามักไม่ค่อยมีนักการเงินรายไหนออกมาคำนวณว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจากการฝากเงินผ่านบัญชีปลอดภาษี 24 เดือนนี้เป็นเท่าไหร่ เพราะวิธีการคิดผลตอบแทนแตกต่างจากการฝากเงินแบบประจำทั่วไป เพราะต้องคิดกันเป็นรายวันในแต่ละเดือนที่ฝาก แต่เมื่อลองคำนวณออกมาแล้วจะพบว่าผลตอบแทนจริงที่ได้ใน 1 ปีนั้น ประมาณคร่าวๆ คือครึ่งหนึ่งของตัวเลขดอกเบี้ยที่แจ้งไว้
อย่างก่อนหน้านี้มีเงินฝากปลอดภาษี 24 เดือนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ให้ดอกเบี้ย 3.4% ผลของดอกเบี้ยที่ได้รับเมื่อคำนวณออกมาต่อปีแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 1.7% ซึ่งตอนนี้จากการสอบถามไปยัง ธ.ก.ส. เงินฝากประเภทนี้ไม่เปิดรับฝากแล้ว
บัญชีลูกครึ่งประจำกับออมทรัพย์
บัญชีเงินฝากที่มีการพัฒนาในหลายรูปแบบนั่นคือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบางแห่งใช้ชื่อบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก ซึ่งถือเป็นบัญชีหลักของมนุษย์เงินเดือนที่เปิดไว้เพื่อรับเงินเดือนเข้ามา และเพิ่มความสะดวกสบายในการเบิกถอนด้วยบัตรเอทีเอ็ม ที่ตอนนี้เริ่มเปลี่ยนจากระบบแถบแม่เหล็กมาเป็นระบบชิปการ์ด
ที่ผ่านมามีธนาคารรัฐได้ออกบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษออกมา ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างบัญชีเงินฝากประจำกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ คือฝากเงินเหมือนฝากประจำ แต่ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งดอกเบี้ยที่ได้ต้องไม่เกิน 2 หมื่นบาท กลุ่มนี้จะมีตัวหลักคือธนาคารออมสินที่ออกเงินฝากนี้อย่างต่อเนื่อง และมีธนาคารอาคารสงเคราะห์ออกเงินฝากประเภทนี้มาบ้าง ช่วงนี้มี 2 ระยะเวลาฝากให้เลือกคือ 5 เดือนดอกเบี้ย 1.3% และ 11 เดือนดอกเบี้ย 1.45% ดอกเบี้ยที่ได้รับเมื่อครบกำหนดไม่ต้องเสียภาษี
ธนาคารพาณิชย์ก็มีบัญชีคล้ายๆ กันออกมาคือบัญชีเงินฝากไม่ประจำ ถอนได้ดอกสูงของธนาคารทหารไทย หรือ TMB No Fixed ตอนนี้ให้ดอกเบี้ย 1.4% ถอนเงินออกจาก TMB No Fixed ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งเมื่อทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือถอนเงินที่สาขาก็สามารถถอนได้ 2 ครั้งต่อเดือน ครั้งถัดไปเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 50 บาท
บัญชี TMB No Fixed สามารถโอนเงินระหว่างบัญชีของ TMB ผ่านช่องทาง TMB Internet Banking และ TMB M-Banking ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่ไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนเงินระหว่างธนาคาร การชำระค่าสาธารณูปโภค การชำระค่าสินค้า หรือบริการผ่าน E-Payment ผ่านช่องทาง TMB Internet Banking และ TMB M-Banking ได้ และไม่สามารถเปิดใช้บริการร่วมกับบัตรทุกประเภท หรือ สมัครใช้บริการ Direct Debit หรือ นำไปใช้ผูกเป็นบัญชีเพื่อหักโอนเงินออกไปยังบัญชีเงินฝากอื่นๆ
“คนที่สนใจบัญชีเงินฝากนี้ แนะนำให้สอบถามไปที่ธนาคารก่อนว่ามีเงื่อนไขเงินฝากขั้นต่ำและเงินคงเหลือในบัญชีขั้นต่ำต่อเดือนเท่าไหร่ รวมทั้งดูเงื่อนไขเรื่องค่าปรับด้วยกรณีไม่สามารถทำตามเงื่อนไขของธนาคารได้”
ฟรีค่าธรรมเนียมต้องยอมแลก
อีกบัญชีหนึ่งที่หลายคนนิยมเปิดกันนั่นคือบัญชีออมทรัพย์ที่ฟรีค่าธรรมเนียม ซึ่งธนาคารทหารไทยถือเป็นต้นตำรับด้วยบัญชีทีเอ็มบีออลล์ฟรี ด้วยข้อเสนอ ฟรีกดเงินทุกตู้ ทุกแบงก์ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ฟรีโอนเงินต่างแบงก์ จ่ายบิลรวม แต่ละเดือน 5 ครั้งต่อเดือน
โจทย์ใหญ่ของคนใช้บัตรเอทีเอ็มนั่นคือกดเงินข้ามจังหวัด ซึ่งธนาคารมักจะคิดค่าบริการราว 20-25 บาท รวมถึงใบเรียกเก็บค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ต่างๆ ที่มักจะมีการเรียกเก็บค่าบริการ 5-10 บาทหากไปจ่ายตามเคาน์เตอร์เซอร์วิสต่างๆ หรือแม้จะไปจ่ายกับธนาคาร นี่คือการทะลุข้อจำกัดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของค่ายทีเอ็มบี
จนธนาคารธนชาตเดินรอยตามด้วยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนชาตบัญชีฟรีเว่อร์ ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมสอบถามยอดเงิน ถอนเงิน โอนเงินภายในธนาคารธนชาต จ่ายบิล ได้ฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง และโอนเงินต่างธนาคาร จำนวน 2 ครั้งต่อเดือน เมื่อทำรายการผ่านตู้เอทีเอ็มธนาคารธนชาต
โดยลูกค้าที่ใช้บริการนี้ต้องสมัครบัตรเดบิต เปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท และกำหนดเงินคงเหลือขั้นต่ำในบัญชีไม่ต่ำกว่า 500 บาท นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขต้องมีเงินคงเหลือเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน หากต่ำกว่าธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายเดือน 50 บาทต่อบัญชีต่อเดือน
ภายใต้สิทธิประโยชน์ในเรื่องการเว้นค่าธรรมเนียม ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการบัญชีประเภทนี้ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ ขณะที่ธนาคารผู้ออกบัญชีนี้จะได้ลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา โดยยอมแบกรับค่าใช้จ่ายแทนลูกค้า แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นต้นทุนของธนาคาร ดังนั้นบัญชีในกลุ่มนี้จึงมีเงื่อนไขเพิ่มเติมเข้ามา
อย่างบัญชีของทีเอ็มบีกับของธนชาตก็มีความแตกต่างกัน โดยของทีเอ็มบี ไม่กำหนดเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี ไม่กำหนดเงินขั้นต่ำในบัญชี แต่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้า 500 บาท ปีต่อๆ ไป 350 บาทต่อปีและต้องเปิดคู่กับบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี ส่วนของธนชาตกำหนดเงินในบัญชีขั้นต่ำ 5,000 บาท หากต่ำกว่าจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาทต่อเดือน
คราวนี้มาดูกันที่ดอกเบี้ย ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี 0% ส่วนธนชาตฟรีเว่อร์ 0.125% เทียบกับดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ปกติของแบงก์ใหญ่อยู่ที่ 0.5%
ตัวดอกเบี้ยที่ต่ำหรืออยู่ที่ 0% นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องทราบก่อนใช้บริการ เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยก่อนการเลือกใช้บริการ ลูกค้าควรดูเงื่อนไขของธนาคารให้ละเอียดและสำรวจว่าตัวเองสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นได้หรือไม่ หากทำได้ก็คุ้มค่ากับการเปิดบัญชีดังกล่าว
ตัดดอกเบี้ยเพิ่มลูกเล่น
ขณะที่ธนาคารที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าบัญชีเงินฝากทั่วไปนั้น ตัวธนาคารได้นำเอาส่วนลดของดอกเบี้ยไปเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับแทนลูกค้า
หลักการในลักษณะนี้ทำให้มีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์อีกประเภทหนึ่งออกมา คือ เงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุ ตอนนี้มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แทนความห่วงใยของธนาคารทีเอ็มบี คุ้มครอง 20 เท่าของยอดเงินฝาก สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.125% และบัญชีเงินฝากจากใจของธนาคารไทยพาณิชย์ คุ้มครอง 20 เท่าของเงินฝากเช่นกัน สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.25%
นอกจากนี้บางบัญชียังมีลูกเล่นรับดอกเบี้ยก่อนครบกำหนด แต่ก็มีเงื่อนไขในการล็อกเงินไว้ป้องกันลูกค้าเอาเปรียบธนาคาร หรือมีการให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษเมื่อซื้อประกันไปพร้อมกับการเปิดบัญชี แต่ดูให้ดีว่าตัวดอกเบี้ยที่เพิ่มให้นั้นจะคิดให้กี่เดือน และท่านพร้อมที่จะซื้อประกันด้วยหรือไม่ เช่นเดียวกับบัญชีเงินฝากผ่านอินเทอร์เน็ตที่แจ้งดอกเบี้ยสูงไว้เช่น 1.8% ตรงนี้จะแยกดอกเบี้ยเป็น 2 ส่วนคือดอกเบี้ยหลัก 1.5% และมีโบนัสอีก 0.3% แต่ตัวโบนัสนั้นจะมีอายุเพียง 1 เดือนและให้กับลูกค้าใหม่ที่เข้ามาเปิดบัญชี
อ่านเงื่อนไขให้ละเอียด
ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความหลากหลาย ให้สิทธิประโยชน์กับผู้ฝากเงินมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือเงื่อนไขที่มีทั้งตัวอัตราดอกเบี้ยที่อาจต่ำกว่าปกติ ค่าปรับในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ว่าท่านรับได้หรือไม่ หรือเงื่อนไขที่ต้องมีเงินขั้นต่ำในบัญชี รวมไปถึงค่าธรรมเนียมรายปีหรือค่าธรรมเนียมแรกเข้าด้วยว่าเป็นเท่าไหร่
ผู้ฝากเงินต้องอ่านรายละเอียดให้ดี อะไรที่ไม่ชัดให้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพราะบางเงื่อนไขไม่ได้แจ้งไว้บนเว็บไซต์ และควรสำรวจตัวเองด้วยว่าพร้อมที่จะใช้บริการเหล่านั้นของธนาคารหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ อีกอย่างบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นบางโอกาสเราได้เห็นดอกเบี้ยสูง แต่ดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นธนาคารสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ดอกเบี้ยที่สูงเมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการปรับลดลงได้ ดังนั้นผู้มีเงินออมต้องพิจารณาและตรวจสอบเงื่อนไขเหล่านี้ให้ดีก่อนการตัดสินใจ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง