ภาคประชาชนค้านตัดเบี้ยคนชราขัดหลักการหลักประกันถ้วนหน้า เข้าทางนักการเมืองใช้เป็นช่องทางหาเสียง ชี้รัฐบาลเอาใจแต่ข้าราชการ เกณฑ์รายได้ 9,000 สินทรัพย์ 3 ล้านวัดยาก ด้านนักการเงินชี้ข้าราชการลอยตัว ส่วนแรงงานภาคเอกชนต้องวางแผนออมเงินเตรียมเกษียณ ออมมาก-ออมนาน ได้เปรียบ แนะเตรียมใจสำหรับชีวิตหลังพ้นวัยทำงาน ใครไม่ไหว “จำนองบ้านประทังชีพ” เป็นอีกทางออกหนึ่งที่รัฐกำลังดำเนินการ
กลายเป็นปมถกเถียงกันของผู้คนในสังคมทันทีเมื่อนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมากล่าวถึงแนวทางของกระทรวงการคลังกำลังทบทวนนโยบายการจ่ายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 600 บาท โดยจะยกเลิกการจ่ายให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาท หรือมีสินทรัพย์สูงเกิน 3 ล้านบาทและเลือกจ่ายให้เฉพาะผู้สูงวัยที่มีรายได้ต่ำ
แม้หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะยังคงให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยตามเดิม แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย เนื่องจากมองว่าเบี้ยยังชีพดังกล่าวถือเป็นสวัสดิการหนึ่งสำหรับผู้สูงวัย ขณะที่รัฐมองว่าเป็นภาระและการจ่ายเบี้ยแบบคลุมทั้งหมด ผู้สูงอายุที่มีฐานะดีได้ประโยชน์ไปด้วย
เสียงสะท้อนจากทั้งกลุ่มองค์กรภาคเอกชนและนักการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทางอย่างรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังออกมากล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงแนวความคิด
เอาใจแต่ข้าราชการ
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว แกนนำกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า การกำหนดตัวเลขเรื่องรายได้สูงกว่า 9,000 บาท หรือมีสินทรัพย์เกิน 3 ล้านบาทของกระทรวงการคลังนั้น ถือเป็นการคิดแบบหลักเศรษฐศาสตร์ ไม่ได้คิดตามหลักประกันถ้วนหน้า เป็นการแบ่งชนชั้น แยกใครรวยใครจน ตามหลักการแล้วควรคิดช่วยเหลือผู้สูงอายุทุกคน เพราะคนที่พ้นวัยทำงานเสียภาษีให้รัฐมาทั้งชีวิต ทั้งภาษีทางตรงและภาษีมูลค่าเพิ่ม
“เราขอให้รัฐคิดถึงเรื่องความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ และต้องไม่เป็นเงื่อนไขทางการเมืองให้กับใคร เพราะข้อกำหนดนี้จะกลายเป็นจุดที่พรรคการเมืองใช้หาเสียงได้ทันทีในการเลือกตั้งครั้งหน้า”
ก่อนหน้านี้เราเคยเสนอในร่างพระราชบัญญัติบำนาญแห่งชาติ โดยดูจากเส้นความยากจนที่เดือนละ 2,600 บาท แต่ได้เสนอไปที่ 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรัฐบาลควรจัดการเรื่องนี้ให้กับประชาชน แม้จะเป็นภาระเรื่องงบประมาณ ซึ่งเราก็ได้เสนอให้มีการจัดเก็บรายได้จากส่วนอื่นเข้ามา เช่น ภาษีมรดก ภาษีในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 8% ก็ได้
ที่ผ่านมารัฐบาลบอกว่าเงินสำหรับผู้สูงอายุนั้นเป็นภาระรัฐบาลราว 2 แสนล้านบาท แต่เมื่อแยกไปพบว่า 1.4 แสนล้านบาทนั้นเป็นเงินบำนาญของข้าราชการราว 6 แสนคน และอีก 6 หมื่นล้านบาทเป็นการให้เบี้ยผู้สูงอายุ 9 ล้านคน อีกทั้งที่ผ่านมารัฐบาลมีการเพิ่มค่าครองชีพให้กับข้าราชการบำนาญอีก 4%
สำหรับหลักเกณฑ์รายได้ 9,000 บาทต่อเดือนประชาชนทั่วไปคงอยู่ไม่ได้ มีแต่ข้าราชการที่อยู่ได้ อีกทั้งรายได้ของคนสูงอายุในกลุ่มล่าง บางเดือนอาจได้ถึง 9 พันบาท บางเดือนอาจจะไม่มีหรือได้ต่ำกว่านั้น ซึ่งจะทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติว่าเข้าเกณฑ์ได้รับหรือไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ
แก่แต่ไม่รวย-ลำบาก
นายณัฐพงษ์ อภินันท์กุล นักวางแผนการเงิน CFP สมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ถือเป็นจุดหนึ่งที่ผู้อยู่ในวัยทำงานภาคเอกชน ควรจะต้องมีการวางแผนทางการเงินสำหรับการเกษียณให้มากขึ้น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบตอนนี้มีกองทุนการออมแห่งชาติ ที่ผู้ออมออมเงินส่วนหนึ่ง รัฐสมทบเงินอีกส่วนหนึ่ง เงินบำนาญต่อเดือนขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและระยะเวลาที่ส่ง
ต้องมีการเตรียมตัวสำหรับการใช้จ่ายในช่วงพ้นวัยทำงาน ควรต้องมีการสำรวจเรื่องรายรับและรายจ่ายส่วนที่เป็นรายการคงที่ รวมไปถึงส่วนที่ผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจ เช่น เงินเฟ้อ ค่าอาหาร การเดินทาง ยารักษาโรค และควรเตรียมแผนไว้รองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นด้วย
สำหรับเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท หากมีการตัดออกไปตามเงื่อนไขของกระทรวงการคลังอาจมีผลกระทบ เพราะบางคนมองถึงเรื่องเงินในส่วนนี้เป็นหนึ่งในรายได้เมื่อพ้นวัยทำงาน หากค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพก็ต้องหางานทำต่อเพื่อให้มีรายได้เพิ่มเข้ามา หรือใช้วิธีการลดค่าใช้จ่ายลง
ทั้งหมดนี้ประชาชนต้องช่วยตัวเองเป็นหลัก โดยเฉพาะคนที่แก่แต่ไม่รวย การเก็บออมเงินและสร้างผลตอบแทนของเงินออมที่มีให้เพิ่มพูนถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
อนาคต-ตึ๊งบ้านเลี้ยงชีพ
นอกเหนือจากเรื่องของแนวคิดในการทบทวนการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุแล้ว กระทรวงการคลังยังเตรียมเรื่องสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) โดยมีธนาคารของรัฐอย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินศึกษาในรายละเอียด
วารสารสมาคมประกันชีวิตไทย ได้กล่าวถึง Reverse Mortgage คือการกู้จำนองบ้านแบบย้อนกลับ ที่เรียกว่า “ย้อนกลับ” เพราะว่ามันทำงานในทิศทางตรงกันข้ามกับการกู้จำนอง (Mortgage) ทั่วไป เพราะปกติผู้กู้จะต้องจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ให้กับสถาบันการเงินที่ให้กู้ ในขณะที่ Reverse Mortgage นั้น สถาบันการเงินจะต้องจ่ายเงินให้กับผู้กู้เป็นงวดๆ รวมทั้งอาจจะกันวงเงินจำนวนหนึ่งไว้สำหรับการเบิกใช้ในยามฉุกเฉินเพิ่มเติม โดยผู้กู้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินคืนจนกว่าจะเสียชีวิต แต่สิ่งที่สถาบันการเงินที่ให้กู้จะได้รับไปก็คือบ้านหรือที่ดินของผู้กู้ที่เสียชีวิตแล้ว
Reverse Mortgage จึงถูกจัดเป็นเงินกู้แบบ Deferred Payment (ได้เงินมาก่อนล่วงหน้า แล้วค่อยจ่ายคืนเงินก้อนให้ทีหลัง) ประเภทหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าผู้กู้จะต้องอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นเป็นหลักตลอดการกู้ยืม โดยในทางหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยแล้วเราจะถือว่า Reverse Mortgage คือแบบประกันบำนาญประเภทหนึ่งที่พ่วงกับอสังหาริมทรัพย์ หรือจะเรียก Reverse Mortgageในภาษาของธุรกิจประกันภัยว่า “การกู้จำนองล่วงหน้าเพื่อแลกประกันบำนาญ” ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
ดังนั้น Reverse Mortgage จึงเหมาะกับคนที่ไม่จำเป็นจะต้องเหลือมรดกให้กับลูกหลาน ครั้นจะขายเอาเงินก้อนมาเลย ก็ไม่รู้จะประมาณการใช้เงินอย่างไร เพราะไม่รู้ว่าจะต้องอยู่อีกกี่ปี ถ้าใช้เงินในแต่ละงวดมากเกินไปก็จะทำให้มีเงินไม่พอในเวลาที่อายุยืน แต่ถ้าใช้เงินในแต่ละงวดน้อยเกินไปก็จะทำให้เวลาเสียชีวิตแล้วยังมีเงินอยู่เป็นกอง จะมานึกเสียดายทีหลังว่ารู้อย่างนี้แล้วใช้ชีวิตหลังเกษียณให้สุขสบายมากกว่านี้ดีกว่า
นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาจากวงจรชีวิตของคนเราก็จะเห็นว่าชีวิตคนเราในวัยทำงานก็จะตั้งใจทำงานเพื่อเก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน และทรัพย์สมบัติทั้งหลาย แต่เมื่อชีวิตย่างเข้าสู่วัยเกษียณก็ทำให้เริ่มคิดได้ว่าชีวิตนี้ตายไปก็เอาอะไรไปด้วยไม่ได้ ทำให้หลักการของ Reverse Mortgage ที่เปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นเงินรายงวดเพื่อใช้จ่ายจนกระทั่งสิ้นอายุขัยนั้นมีประโยชน์สำหรับคนวัยเกษียณเป็นอย่างมาก
ไม่ใช่ข้าราชการลำบาก
นักบริหารเงินรายหนึ่งกล่าวว่า การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้นเป็นการจ่ายครอบคลุมประชากรทั้งหมด เป็นไปตามสิทธิได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นทั่วถึงและเป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 โดยผู้ไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวคือข้าราชการบำนาญ และผู้รับบำนาญจากสำนักงานประกันสังคมตอนนี้อยู่ระหว่างการตีความทางกฎหมาย
ในทางปฏิบัติแล้วผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีผู้ที่มีฐานะดี ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเบี้ยยังชีพก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อน บางคนรับตามสิทธิที่พึงได้ อาจนำไปใช้จ่ายหรือทำบุญ บริจาค ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทางออกของปัญหานี้รัฐสามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก โดยให้คนกลุ่มนี้แจ้งสละสิทธิไม่ขอรับเบี้ยยังชีพจะง่ายที่สุด
เพราะการออกหลักเกณฑ์เรื่องรายได้เกิน 9,000 บาทต่อเดือน หรือมีสินทรัพย์เกิน 3 ล้านบาทนั้น ในทางปฏิบัติวัดยากว่าคนเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่ลำบาก เพราะในอนาคตหากค่าครองชีพสูงขึ้น เงิน 9,000 บาทอาจไม่เพียงพอ หรือมูลค่าสินทรัพย์ 3 ล้านบาท ต้องพิจารณาอีกว่าเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้จริงหรือไม่ เช่น อาจเป็นมรดกที่เก็บไว้เฉยๆ ไม่ได้ขายหรือให้เช่า
คนที่ต้องพึ่งพารายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่พึ่งพารายได้จากลูกหลาน ส่วนหนึ่งทำงานหรือค้าขายตามที่เรี่ยวแรงมี กลุ่มนี้คงได้รับสิทธิ แต่กลุ่มที่พอมีรายรับที่เกินกว่าตัวเลขที่กระทรวงการคลังระบุไว้เล็กน้อยอาจเป็นกลุ่มผู้เสียประโยชน์ไป
สำหรับกลุ่มที่ลอยตัวจากปัญหานี้มากที่สุดคือกลุ่มข้าราชการ รับบำนาญจนเสียชีวิต แถมที่ผ่านมาได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มจากรัฐบาลอีก หากหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังจะเสนอเพิ่มเติมเข้ามาทำให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุบางคนลำบาก คำถามที่จะตามมาคือ ข้าราชการทำงานกินเงินเดือนจากภาษีของประชาชนทั้งประเทศ คนที่ไม่ได้เป็นข้าราชการทำงานเสียภาษีให้รัฐเป็นเงินเดือนให้ข้าราชการกลับถูกละเลยจากรัฐบาล จะกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในอนาคตมากยิ่งขึ้น
อย่างตอนนี้มีผู้ใช้แรงงานเอกชนจำนวนหนึ่งที่ออมเงินมาครบกำหนด ได้รับบำนาญจากสำนักงานประกันสังคม ขณะนี้ยังมีปัญหาเรื่องการตีความข้อกฎหมายกันอยู่ว่าควรได้รับเบี้ยยังชีพหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้ เพราะระบบประกันสังคมเป็นการออมร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้มีเงินจากรัฐบาลมาสมทบเหมือนข้าราชการและกองทุนการออมแห่งชาติ
“ผู้ที่ส่งเงินให้ประกันสังคมมาครบ 15 ปี ได้บำนาญต่อเดือนราว 3,000 บาท หากมีเบี้ยยังชีพมาช่วยเหลือย่อมทำให้การดำรงชีวิตของแรงงานกลุ่มนี้ดีขึ้นกว่าเดิม”
ลูกหลานอาจต้องไร้มรดก
อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะหาแนวทางช่วยเหลือด้วยการผลักดันให้มีสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ หรือ Reverse Mortgage ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี ที่ผู้สูงอายุที่มีบ้านเป็นของตัวเองจะนำเอาบ้านไปขอสินเชื่อจากธนาคาร เข้าใจง่ายๆ คือเอาบ้านไปจำนองแล้วให้แบงก์จ่ายเงินเป็นเดือนๆ ให้กับเจ้าของบ้าน
ข้อดีของสินเชื่อนี้คือเจ้าของบ้านที่ขอสินเชื่อยังอยู่อาศัยในบ้านหลังดังกล่าวได้จนกระทั่งเสียชีวิต แตกต่างจากการขายบ้านไปเลย ที่ต้องย้ายออกจากบ้านทันที
แต่ก็ยังมีความไม่ชัดเจนในอีกหลายเรื่อง เช่น วงเงินที่แบงก์จะให้นั้นกี่เปอร์เซ็นต์ของราคาบ้าน หากให้ต่ำมาก เงินที่ใช้จ่ายต่อเดือนก็จะมีน้อย เพราะในเงินแต่ละเดือนนั้นจะมีการหักดอกเบี้ยที่ธนาคารจะเรียกเก็บอีกส่วนหนึ่ง แน่นอนว่าดอกเบี้ยดังกล่าวต้องสูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ปกติในท้องตลาด
นอกจากนี้หากผู้ขอสินเชื่ออยู่ได้ไม่นาน เงินที่จ่ายมาทั้งหมดต่ำกว่าวงเงินที่แบงก์ให้ เมื่อแบงก์นำเอาบ้านไปขายทอดตลาดได้ส่วนต่างนั้นก็จะคืนมาให้กับทายาท แต่ถ้ามีอายุยืนรับเงินต่อเดือนเกินกว่าวงเงินที่ได้ ส่วนต่างดังกล่าวรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระ หรือทายาทอยากได้บ้านกลับคืนก็ต้องหาเงินมาชำระหนี้ส่วนที่เกิน นับเป็นข้อดีอีกประการหนึ่ง
แต่ภายใต้สังคมไทยบ้าน 1 หลังมักมีผู้อยู่อาศัยขั้นต่ำ 2 คน หากเจ้าของบ้านเสียชีวิตและบ้านถูกนำไปขายทอดตลาด คนที่เหลืออยู่ก็ต้องย้ายออกไปหาที่อยู่ใหม่
นี่คือสิ่งที่คนไทยที่ไม่ใช่อาชีพข้าราชการจะต้องเจอ แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าคนรุ่นก่อนที่วันนี้มีทั้งระบบประกันสังคม มีกองทุนการออมแห่งชาติให้สำหรับแรงงานนอกระบบ ดังนั้นการเก็บออมจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการใช้ชีวิตในช่วงพ้นวัยทำงาน ใครมีวินัยสูง เก็บออมได้ยาวนานกว่า ย่อมได้เปรียบกว่าคนที่เก็บออมได้น้อย
กลายเป็นปมถกเถียงกันของผู้คนในสังคมทันทีเมื่อนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมากล่าวถึงแนวทางของกระทรวงการคลังกำลังทบทวนนโยบายการจ่ายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 600 บาท โดยจะยกเลิกการจ่ายให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาท หรือมีสินทรัพย์สูงเกิน 3 ล้านบาทและเลือกจ่ายให้เฉพาะผู้สูงวัยที่มีรายได้ต่ำ
แม้หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะยังคงให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยตามเดิม แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย เนื่องจากมองว่าเบี้ยยังชีพดังกล่าวถือเป็นสวัสดิการหนึ่งสำหรับผู้สูงวัย ขณะที่รัฐมองว่าเป็นภาระและการจ่ายเบี้ยแบบคลุมทั้งหมด ผู้สูงอายุที่มีฐานะดีได้ประโยชน์ไปด้วย
เสียงสะท้อนจากทั้งกลุ่มองค์กรภาคเอกชนและนักการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ส่งผลให้ต้นทางอย่างรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังออกมากล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงแนวความคิด
เอาใจแต่ข้าราชการ
นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว แกนนำกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า การกำหนดตัวเลขเรื่องรายได้สูงกว่า 9,000 บาท หรือมีสินทรัพย์เกิน 3 ล้านบาทของกระทรวงการคลังนั้น ถือเป็นการคิดแบบหลักเศรษฐศาสตร์ ไม่ได้คิดตามหลักประกันถ้วนหน้า เป็นการแบ่งชนชั้น แยกใครรวยใครจน ตามหลักการแล้วควรคิดช่วยเหลือผู้สูงอายุทุกคน เพราะคนที่พ้นวัยทำงานเสียภาษีให้รัฐมาทั้งชีวิต ทั้งภาษีทางตรงและภาษีมูลค่าเพิ่ม
“เราขอให้รัฐคิดถึงเรื่องความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ และต้องไม่เป็นเงื่อนไขทางการเมืองให้กับใคร เพราะข้อกำหนดนี้จะกลายเป็นจุดที่พรรคการเมืองใช้หาเสียงได้ทันทีในการเลือกตั้งครั้งหน้า”
ก่อนหน้านี้เราเคยเสนอในร่างพระราชบัญญัติบำนาญแห่งชาติ โดยดูจากเส้นความยากจนที่เดือนละ 2,600 บาท แต่ได้เสนอไปที่ 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งรัฐบาลควรจัดการเรื่องนี้ให้กับประชาชน แม้จะเป็นภาระเรื่องงบประมาณ ซึ่งเราก็ได้เสนอให้มีการจัดเก็บรายได้จากส่วนอื่นเข้ามา เช่น ภาษีมรดก ภาษีในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 8% ก็ได้
ที่ผ่านมารัฐบาลบอกว่าเงินสำหรับผู้สูงอายุนั้นเป็นภาระรัฐบาลราว 2 แสนล้านบาท แต่เมื่อแยกไปพบว่า 1.4 แสนล้านบาทนั้นเป็นเงินบำนาญของข้าราชการราว 6 แสนคน และอีก 6 หมื่นล้านบาทเป็นการให้เบี้ยผู้สูงอายุ 9 ล้านคน อีกทั้งที่ผ่านมารัฐบาลมีการเพิ่มค่าครองชีพให้กับข้าราชการบำนาญอีก 4%
สำหรับหลักเกณฑ์รายได้ 9,000 บาทต่อเดือนประชาชนทั่วไปคงอยู่ไม่ได้ มีแต่ข้าราชการที่อยู่ได้ อีกทั้งรายได้ของคนสูงอายุในกลุ่มล่าง บางเดือนอาจได้ถึง 9 พันบาท บางเดือนอาจจะไม่มีหรือได้ต่ำกว่านั้น ซึ่งจะทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติว่าเข้าเกณฑ์ได้รับหรือไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ
แก่แต่ไม่รวย-ลำบาก
นายณัฐพงษ์ อภินันท์กุล นักวางแผนการเงิน CFP สมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ถือเป็นจุดหนึ่งที่ผู้อยู่ในวัยทำงานภาคเอกชน ควรจะต้องมีการวางแผนทางการเงินสำหรับการเกษียณให้มากขึ้น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบตอนนี้มีกองทุนการออมแห่งชาติ ที่ผู้ออมออมเงินส่วนหนึ่ง รัฐสมทบเงินอีกส่วนหนึ่ง เงินบำนาญต่อเดือนขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและระยะเวลาที่ส่ง
ต้องมีการเตรียมตัวสำหรับการใช้จ่ายในช่วงพ้นวัยทำงาน ควรต้องมีการสำรวจเรื่องรายรับและรายจ่ายส่วนที่เป็นรายการคงที่ รวมไปถึงส่วนที่ผันแปรไปตามภาวะเศรษฐกิจ เช่น เงินเฟ้อ ค่าอาหาร การเดินทาง ยารักษาโรค และควรเตรียมแผนไว้รองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นด้วย
สำหรับเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท หากมีการตัดออกไปตามเงื่อนไขของกระทรวงการคลังอาจมีผลกระทบ เพราะบางคนมองถึงเรื่องเงินในส่วนนี้เป็นหนึ่งในรายได้เมื่อพ้นวัยทำงาน หากค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพก็ต้องหางานทำต่อเพื่อให้มีรายได้เพิ่มเข้ามา หรือใช้วิธีการลดค่าใช้จ่ายลง
ทั้งหมดนี้ประชาชนต้องช่วยตัวเองเป็นหลัก โดยเฉพาะคนที่แก่แต่ไม่รวย การเก็บออมเงินและสร้างผลตอบแทนของเงินออมที่มีให้เพิ่มพูนถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
อนาคต-ตึ๊งบ้านเลี้ยงชีพ
นอกเหนือจากเรื่องของแนวคิดในการทบทวนการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุแล้ว กระทรวงการคลังยังเตรียมเรื่องสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) โดยมีธนาคารของรัฐอย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินศึกษาในรายละเอียด
วารสารสมาคมประกันชีวิตไทย ได้กล่าวถึง Reverse Mortgage คือการกู้จำนองบ้านแบบย้อนกลับ ที่เรียกว่า “ย้อนกลับ” เพราะว่ามันทำงานในทิศทางตรงกันข้ามกับการกู้จำนอง (Mortgage) ทั่วไป เพราะปกติผู้กู้จะต้องจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ให้กับสถาบันการเงินที่ให้กู้ ในขณะที่ Reverse Mortgage นั้น สถาบันการเงินจะต้องจ่ายเงินให้กับผู้กู้เป็นงวดๆ รวมทั้งอาจจะกันวงเงินจำนวนหนึ่งไว้สำหรับการเบิกใช้ในยามฉุกเฉินเพิ่มเติม โดยผู้กู้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินคืนจนกว่าจะเสียชีวิต แต่สิ่งที่สถาบันการเงินที่ให้กู้จะได้รับไปก็คือบ้านหรือที่ดินของผู้กู้ที่เสียชีวิตแล้ว
Reverse Mortgage จึงถูกจัดเป็นเงินกู้แบบ Deferred Payment (ได้เงินมาก่อนล่วงหน้า แล้วค่อยจ่ายคืนเงินก้อนให้ทีหลัง) ประเภทหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าผู้กู้จะต้องอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นเป็นหลักตลอดการกู้ยืม โดยในทางหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยแล้วเราจะถือว่า Reverse Mortgage คือแบบประกันบำนาญประเภทหนึ่งที่พ่วงกับอสังหาริมทรัพย์ หรือจะเรียก Reverse Mortgageในภาษาของธุรกิจประกันภัยว่า “การกู้จำนองล่วงหน้าเพื่อแลกประกันบำนาญ” ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
ดังนั้น Reverse Mortgage จึงเหมาะกับคนที่ไม่จำเป็นจะต้องเหลือมรดกให้กับลูกหลาน ครั้นจะขายเอาเงินก้อนมาเลย ก็ไม่รู้จะประมาณการใช้เงินอย่างไร เพราะไม่รู้ว่าจะต้องอยู่อีกกี่ปี ถ้าใช้เงินในแต่ละงวดมากเกินไปก็จะทำให้มีเงินไม่พอในเวลาที่อายุยืน แต่ถ้าใช้เงินในแต่ละงวดน้อยเกินไปก็จะทำให้เวลาเสียชีวิตแล้วยังมีเงินอยู่เป็นกอง จะมานึกเสียดายทีหลังว่ารู้อย่างนี้แล้วใช้ชีวิตหลังเกษียณให้สุขสบายมากกว่านี้ดีกว่า
นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาจากวงจรชีวิตของคนเราก็จะเห็นว่าชีวิตคนเราในวัยทำงานก็จะตั้งใจทำงานเพื่อเก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน และทรัพย์สมบัติทั้งหลาย แต่เมื่อชีวิตย่างเข้าสู่วัยเกษียณก็ทำให้เริ่มคิดได้ว่าชีวิตนี้ตายไปก็เอาอะไรไปด้วยไม่ได้ ทำให้หลักการของ Reverse Mortgage ที่เปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นเงินรายงวดเพื่อใช้จ่ายจนกระทั่งสิ้นอายุขัยนั้นมีประโยชน์สำหรับคนวัยเกษียณเป็นอย่างมาก
ไม่ใช่ข้าราชการลำบาก
นักบริหารเงินรายหนึ่งกล่าวว่า การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้นเป็นการจ่ายครอบคลุมประชากรทั้งหมด เป็นไปตามสิทธิได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นทั่วถึงและเป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 โดยผู้ไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวคือข้าราชการบำนาญ และผู้รับบำนาญจากสำนักงานประกันสังคมตอนนี้อยู่ระหว่างการตีความทางกฎหมาย
ในทางปฏิบัติแล้วผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีผู้ที่มีฐานะดี ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเบี้ยยังชีพก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อน บางคนรับตามสิทธิที่พึงได้ อาจนำไปใช้จ่ายหรือทำบุญ บริจาค ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทางออกของปัญหานี้รัฐสามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก โดยให้คนกลุ่มนี้แจ้งสละสิทธิไม่ขอรับเบี้ยยังชีพจะง่ายที่สุด
เพราะการออกหลักเกณฑ์เรื่องรายได้เกิน 9,000 บาทต่อเดือน หรือมีสินทรัพย์เกิน 3 ล้านบาทนั้น ในทางปฏิบัติวัดยากว่าคนเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่ลำบาก เพราะในอนาคตหากค่าครองชีพสูงขึ้น เงิน 9,000 บาทอาจไม่เพียงพอ หรือมูลค่าสินทรัพย์ 3 ล้านบาท ต้องพิจารณาอีกว่าเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้จริงหรือไม่ เช่น อาจเป็นมรดกที่เก็บไว้เฉยๆ ไม่ได้ขายหรือให้เช่า
คนที่ต้องพึ่งพารายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่พึ่งพารายได้จากลูกหลาน ส่วนหนึ่งทำงานหรือค้าขายตามที่เรี่ยวแรงมี กลุ่มนี้คงได้รับสิทธิ แต่กลุ่มที่พอมีรายรับที่เกินกว่าตัวเลขที่กระทรวงการคลังระบุไว้เล็กน้อยอาจเป็นกลุ่มผู้เสียประโยชน์ไป
สำหรับกลุ่มที่ลอยตัวจากปัญหานี้มากที่สุดคือกลุ่มข้าราชการ รับบำนาญจนเสียชีวิต แถมที่ผ่านมาได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มจากรัฐบาลอีก หากหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังจะเสนอเพิ่มเติมเข้ามาทำให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุบางคนลำบาก คำถามที่จะตามมาคือ ข้าราชการทำงานกินเงินเดือนจากภาษีของประชาชนทั้งประเทศ คนที่ไม่ได้เป็นข้าราชการทำงานเสียภาษีให้รัฐเป็นเงินเดือนให้ข้าราชการกลับถูกละเลยจากรัฐบาล จะกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในอนาคตมากยิ่งขึ้น
อย่างตอนนี้มีผู้ใช้แรงงานเอกชนจำนวนหนึ่งที่ออมเงินมาครบกำหนด ได้รับบำนาญจากสำนักงานประกันสังคม ขณะนี้ยังมีปัญหาเรื่องการตีความข้อกฎหมายกันอยู่ว่าควรได้รับเบี้ยยังชีพหรือไม่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้ เพราะระบบประกันสังคมเป็นการออมร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้มีเงินจากรัฐบาลมาสมทบเหมือนข้าราชการและกองทุนการออมแห่งชาติ
“ผู้ที่ส่งเงินให้ประกันสังคมมาครบ 15 ปี ได้บำนาญต่อเดือนราว 3,000 บาท หากมีเบี้ยยังชีพมาช่วยเหลือย่อมทำให้การดำรงชีวิตของแรงงานกลุ่มนี้ดีขึ้นกว่าเดิม”
ลูกหลานอาจต้องไร้มรดก
อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะหาแนวทางช่วยเหลือด้วยการผลักดันให้มีสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ หรือ Reverse Mortgage ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี ที่ผู้สูงอายุที่มีบ้านเป็นของตัวเองจะนำเอาบ้านไปขอสินเชื่อจากธนาคาร เข้าใจง่ายๆ คือเอาบ้านไปจำนองแล้วให้แบงก์จ่ายเงินเป็นเดือนๆ ให้กับเจ้าของบ้าน
ข้อดีของสินเชื่อนี้คือเจ้าของบ้านที่ขอสินเชื่อยังอยู่อาศัยในบ้านหลังดังกล่าวได้จนกระทั่งเสียชีวิต แตกต่างจากการขายบ้านไปเลย ที่ต้องย้ายออกจากบ้านทันที
แต่ก็ยังมีความไม่ชัดเจนในอีกหลายเรื่อง เช่น วงเงินที่แบงก์จะให้นั้นกี่เปอร์เซ็นต์ของราคาบ้าน หากให้ต่ำมาก เงินที่ใช้จ่ายต่อเดือนก็จะมีน้อย เพราะในเงินแต่ละเดือนนั้นจะมีการหักดอกเบี้ยที่ธนาคารจะเรียกเก็บอีกส่วนหนึ่ง แน่นอนว่าดอกเบี้ยดังกล่าวต้องสูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ปกติในท้องตลาด
นอกจากนี้หากผู้ขอสินเชื่ออยู่ได้ไม่นาน เงินที่จ่ายมาทั้งหมดต่ำกว่าวงเงินที่แบงก์ให้ เมื่อแบงก์นำเอาบ้านไปขายทอดตลาดได้ส่วนต่างนั้นก็จะคืนมาให้กับทายาท แต่ถ้ามีอายุยืนรับเงินต่อเดือนเกินกว่าวงเงินที่ได้ ส่วนต่างดังกล่าวรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระ หรือทายาทอยากได้บ้านกลับคืนก็ต้องหาเงินมาชำระหนี้ส่วนที่เกิน นับเป็นข้อดีอีกประการหนึ่ง
แต่ภายใต้สังคมไทยบ้าน 1 หลังมักมีผู้อยู่อาศัยขั้นต่ำ 2 คน หากเจ้าของบ้านเสียชีวิตและบ้านถูกนำไปขายทอดตลาด คนที่เหลืออยู่ก็ต้องย้ายออกไปหาที่อยู่ใหม่
นี่คือสิ่งที่คนไทยที่ไม่ใช่อาชีพข้าราชการจะต้องเจอ แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าคนรุ่นก่อนที่วันนี้มีทั้งระบบประกันสังคม มีกองทุนการออมแห่งชาติให้สำหรับแรงงานนอกระบบ ดังนั้นการเก็บออมจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับการใช้ชีวิตในช่วงพ้นวัยทำงาน ใครมีวินัยสูง เก็บออมได้ยาวนานกว่า ย่อมได้เปรียบกว่าคนที่เก็บออมได้น้อย