ม.ธรรมศาสตร์ วิจัย พบระบบอุปถัมภ์ในวงการสงฆ์ ยอมรับมีการวิ่งเต้นซื้อ ‘สมณศักดิ์’ จริง เหมือนระบบตำรวจ ยิ่งสูงตำแหน่งมีน้อยและผลประโยชน์มีมาก ทำให้พระเกิดกิเลส ฟุ้งเฟ้อ วิ่งหาเงินใช้ซื้อตำแหน่ง เสนอรื้อโครงสร้างระบบการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งรวมศูนย์ผูกขาดเบ็ดเสร็จอยู่ที่ ‘มหาเถรสมาคม’ ต้องปรับหลักเกณฑ์การให้สมณศักดิ์หวังสังคมไทยจะได้พระสงฆ์ที่ดี เชื่อทางออกผนึก 3 กำลัง รัฐ-เอกชน-ประชาชน ร่วมมือจึงจะปกป้องพุทธศาสนาได้ ด้านพระดุษฎี ยัน การซื้อขายสมณศักดิ์เป็นเรื่องจริง พระดังย่านนนทบุรี ใช้เงิน 3 ล้านซื้อตำแหน่งเจ้าอาวาส แจงแหล่งที่มาของรายได้พระสงฆ์ที่ใช้ในการซื้อสมณศักดิ์!
วิกฤตศรัทธาที่เกิดขึ้นในวงการสงฆ์และนำมาซึ่งความแตกแยกจนถึงทุกวันนี้ จะว่าไปแล้วต่างเกี่ยวโยงกับระบบการปกครองของสงฆ์ที่มีการรวมศูนย์และอยู่ในมือของคนเพียงแค่ 20 คน ซึ่งถูกเรียกว่ามหาเถรสมาคม แต่การที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งการปกครองของสงฆ์ในระดับสูง เช่นเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม หรือการจะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชได้จะต้องเป็นไปตามลำดับอาวุโสในด้านสมณศักดิ์ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวงการเครื่องแบบก็ต้องเรียกว่ามี ‘ยศ’ ถาบรรดาศักดิ์สูงสุดนั่นเอง
ดังนั้นพระสงฆ์ที่ต้องการได้สมณศักดิ์ จึงพยายามวิ่งเต้นหรือแก่งแย่งไม่ต่างไปจากแวดวงราชการที่ต้อง ‘จ่ายเงินใต้โต๊ะ’ เพื่อให้ได้สมณศักดิ์มาครอบครองซึ่งนับวันจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดามากขึ้นในวงการสงฆ์
อย่างไรก็ดีมีคำถามในกลุ่มฆราวาสว่าบรรดาพระสงฆ์ที่วิ่งเต้นใช้เงินใต้โต๊ะเพื่อให้พระรูปนั้นถูกเสนอชื่อเลื่อนสมณศักดิ์ถือว่าต้อง ‘อาบัติปาราชิก’ ขาดจากความเป็นพระหรือไม่?
และประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่าพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ที่เรากราบไหว้อยู่ตามวัดต่างๆ เหล่านี้ได้สมณศักดิ์ มาด้วยการจ่ายเงินใต้โต๊ะหรือไม่?
ที่สำคัญมีหลักเกณฑ์หรือระเบียบในการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันล้วนเกี่ยวข้องกับการหาเงิน ใช้เงินจำนวนมหาศาล ซึ่งถูกกำหนดเป็นคุณสมบัติส่วนตัว ส่วนวัดและด้านสาธารณูปการซึ่งหมายถึงการก่อสร้าง การบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานหรือถาวรวัตถุมาประกอบการพิจารณาบ่งชี้ว่าพระสงฆ์รูปนั้นได้รับแรงศรัทธาจากประชาชนเพียงใด
ส่งผลให้พระสงฆ์จำนวนหนึ่งต่างพากันวุ่นวายกับการหาเงินเพื่อให้ตัวเองได้รับสมณศักดิ์ เป็นที่เชิดหน้าชูตาและมีผลประโยชน์อื่นๆ ในอนาคตตามมา
ดังนั้นแม้จะรับรู้ได้ว่า ‘สมณศักดิ์’ เป็นต้นเหตุที่ทำให้พระสงฆ์มีความประพฤติขัดต่อพระธรรมวินัยติดอยู่ในกิเลส และนำมาซึ่งความเสื่อมในวงการพระสงฆ์ก็ตาม แต่การจะยกเลิกสมณศักดิ์ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกัน เพราะสมณศักดิ์ผูกโยงกับระบบการปกครองคณะสงฆ์รวมทั้งระบบการปกครองบ้านเมือง และยังเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีวัฒนธรรมไทยและเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
สมณศักดิ์ ทำให้พระสงฆ์เกิดความโลภ-ฟุ้งเฟ้อ
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา/ปรัชญา ได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวเรื่อง สมณศักดิ์ : ข้อดีและปัญหา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บข้อมูลทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์พระสงฆ์และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นำมาจัดเรียง และวิเคราะห์ด้วยหลักตรรกะ พร้อมสังเคราะห์เพื่อให้ได้แนวคิดและความจริงของประเด็นในการวิจัยครั้งนี้
ผลการวิจัย สะท้อนให้เห็นว่าสมณศักดิ์มีทั้งข้อดีและข้อเสียแต่ยังไม่รุนแรงถึงขนาดจะต้องยกเลิกสมณศักดิ์ไปเลย โดยข้อเสียหรือปัญหาสมณศักดิ์เกิดจากพระสงฆ์ที่ได้สมณศักดิ์หรือต้องการสมณศักดิ์เกิดความโลภหรือหลงติดมัวเมาในสมณศักดิ์จนกระทำการอันไม่สมควร สร้างค่านิยมฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เช่นการวิ่งเต้นหรือแก่งแย่งสมณศักดิ์ และเกิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับสมณศักดิ์ได้ใช้เรื่องสมณศักดิ์เป็นช่องทางในการหาผลประโยชน์จากการขอสมณศักดิ์
ในส่วนข้อดีเป็นการยกย่องและให้กำลังใจ รวมทั้งเป็นการให้รางวัลหรือตอบแทนแก่พระสงฆ์ผู้มีคุณงามความดี อีกทั้งสมณศักดิ์ยังทำให้คณะสงฆ์ได้รับการยอมรับทั้งจากพระสงฆ์ด้วยกันเองและจากประชาชน ซึ่งเป็นผลดีต่อพระศาสนาและประเทศ
ในงานวิจัยยังเสนอแนะให้มีการปรับปรุงในเรื่องสมณศักดิ์ ด้วยการปรับปรุงวิธีการพิจารณาสมณศักดิ์โดยให้พระสงฆ์และคฤหัสถ์มาร่วมกันทำ และใช้ระบบการกลั่นกรองตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความเหมาะสมอย่างแท้จริงและป้องกันการวิ่งเต้นหรือเล่นพวก อีกทั้งจะต้องปรับปรุงเกณฑ์การพิจารณาสมณศักดิ์ให้กว้างและเป็นธรรมมากขึ้น ด้วยการเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่มีผลงานด้านต่างๆ ได้รับสมณศักดิ์ด้วยแม้ไม่มีตำแหน่งบริหาร ซึ่งไม่ควรจะผูกโยงกับตำแหน่งบริหารเป็นหลักอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องปลูกฝังอบรมให้พระสงฆ์มีค่านิยมที่เหมาะสมและต้องควบคุมตรวจสอบพฤติกรรมและการทำงานของพระสงฆ์ผู้ได้รับสมณศักดิ์ด้วยเช่นกัน
ในงานวิจัย ยังระบุชัดเจนว่า ปัญหาของสมณศักดิ์มีความเกี่ยวโยงกับระบบการปกครองของคณะสงฆ์และระบบการปกครองคณะสงฆ์ที่รัฐสร้างขึ้นมานี้ทำให้เกิดปัญหามากกว่าสมณศักดิ์ เพราะเป็นที่มาของความแตกต่าง อำนาจและผลประโยชน์ ซึ่งทำให้พระสงฆ์เกิดกิเลส จนนำไปสู่การประพฤติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
ดังนั้นจึงควรศึกษาวิจัยถึงแนวทางการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบการปกครองคณะสงฆ์และสนับสนุนพระสงฆ์ให้ช่วยทำงานพระศาสนาอย่างจริงจังและมีคุณภาพมากขึ้น
มหาเถรสมาคมไม่โปร่งใสแนะรื้อทั้งระบบ
ศ.ดร.วัชระ ให้ความเห็นต่องานวิจัยเพิ่มเติมว่า ระบบการปกครองของคณะสงฆ์ที่ทำให้เกิดปัญหานั้น เป็นเรื่องของโครงสร้างหรือระบบการปกครองคณะสงฆ์ทั้งหมดที่มีระบบรวมศูนย์อำนาจ แต่หากจะพูดถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบการปกครองก็คือ มหาเถรสมาคม เพราะมีอำนาจสูงสูดและเบ็ดเสร็จ การมีอำนาจเบ็ดเสร็จและการขาดระบบการพิจารณาตัดสินที่ได้มาตรฐานหรือมีความโปร่งใสและยุติธรรมที่เพียงพอทำให้บางครั้งการพิจารณาอาจขาดประสิทธิภาพหรือความเป็นธรรม
“เราต้องได้ฆราวาสที่มีความรู้และเป็นคนกลางเข้าไปร่วมในการพิจารณาการปรับหลักเกณฑ์และกระบวนการพิจารณาสมณศักดิ์ให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นไม่โยงสมณศักดิ์กับตำแหน่งบริหารอย่างปัจจุบัน และให้ชุมชนหรือประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับสมณศักดิ์”
อีกทั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับหลักเกณฑ์การให้สมณศักดิ์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผลงานด้านการก่อสร้างหรือการบริจาคเงินเสมอไป หากมีผลงานด้านอื่น เช่นการเผยแผ่ ก็ควรมีสิทธิ์ได้รับสมณศักดิ์
ดังนั้นพระสงฆ์ที่ดีควรได้รับการผลักดันให้ได้รับสมณศักดิ์ เช่น พระที่ปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยอย่างพระป่าหรือพระกรรมฐาน หรือพระที่สร้างผลงานที่มีประโยชน์แก่สังคมหรือพระศาสนาอย่างพระที่ช่วยพัฒนาชุมชน รวมไปถึงพระที่เผยแผ่พระศาสนาจนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
สำหรับวิธีการผลักดันให้พระสงฆ์ที่ดีได้รับสมณศักดิ์จึงเป็นเรื่องที่สังคมชาวพุทธทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งชาวบ้านช่วยกันผลักดันให้มีการปรับแก้หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาสมณศักดิ์ หรือประชาชน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ช่วยกันทำเรื่องเสนอให้มีการแต่งตั้งสมณศักดิ์แก่พระที่เห็นว่าสมควรได้รับสมณศักดิ์ หรือหากมีองค์กรที่ชาวพุทธร่วมกันจัดตั้งขึ้นที่มีพลังเพียงพอ องค์กรนี้อาจช่วยเลือกสรรและเสนอชื่อให้คณะสงฆ์พิจารณาให้สมณศักดิ์ รวมทั้งช่วยตรวจสอบพฤติกรรมของพระโดยทั่วไป หากพบพระไม่ดี ประพฤติไม่ถูกต้อง
“พระที่ประพฤติไม่ถูกต้อง นอกจากเราจะร้องเรียนให้มีการดำเนินการทางวินัยแล้ว ยังอาจช่วยกันต่อต้านไม่ให้มีการแต่งตั้งหรือเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระพวกนี้ได้ด้วย เช่นกรณีพระสงฆ์ระดับเจ้าคณะจังหวัดที่ตกเป็นข่าวคลิปฉาวในเวลานี้”
สร้างค่านิยมใหม่ไม่ถวายของมีค่าให้เป็นส่วนตัวพระสงฆ์
ส่วนในเรื่องของการถวายสิ่งของให้กับพระผู้ใหญ่เช่นการถวายรถยนต์ เงินจำนวนมากๆ นั้น ก็มีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธีแม้จะเป็นเรื่องที่ยากลำบากก็ตาม เช่น คณะสงฆ์ออกระเบียบไม่ให้ถวายสิ่งของมีค่าอย่างรถยนต์ ซึ่งคณะสงฆ์ร่วมกับประชาชนทุกภาคส่วนต้องสร้างค่านิยมใหม่ที่จะไม่ถวายของมีค่าให้เป็นสมบัติส่วนตัวแก่พระสงฆ์ เน้นถวายวัด และจะต้องคอยตรวจสอบไม่ให้มีการเอาของวัดไปใช้ส่วนตัว
“พระสงฆ์ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจควรทำตัวเป็นแบบอย่างในการไม่รับสิ่งของมีค่า รวมทั้งเงินที่มีผู้มอบให้เป็นสมบัติส่วนตัว หากรับก็ควรให้เป็นสมบัติส่วนกลางของวัด และผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้งานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมได้”
ขาดกลไกคาน “ระบบอุปภัมภ์” ในวงการสงฆ์
ศ.ดร.วัชระ บอกอีกว่า จากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่นั้น เชื่อว่าการจ่ายเงินเพื่อซื้อสมณศักดิ์โดยตรงคงมีน้อย แต่ถ้าจะมีการวิ่งเต้นของพระสงฆ์น่าจะเป็นการเอาใจพระผู้ใหญ่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นถวายเงินพระผู้ใหญ่ที่มาร่วมงานที่พระสงฆ์รูปนั้นจัดขึ้น ถวายสิ่งของมีค่าอย่างรถยนต์
“การวิ่งเต้นในลักษณะนี้เพื่อให้ได้สมณศักดิ์ยังมีอยู่ แต่จะเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ เป็นเรื่องที่บอกยาก และการวิ่งเต้นคงมีทุกระดับ แต่จะบอกว่าระดับใดมาก ระดับใดน้อย คงบอกไม่ได้เพราะไม่มีหลักฐานข้อมูลในเรื่องนี้ แต่ถ้าคิดตามหลักตรรกะ ตำแหน่งยิ่งสูง ก็น่าจะยิ่งมีการวิ่งเต้นมาก เพราะตำแหน่งมีน้อยและผลประโยชน์มีมาก”
ขณะเดียวกัน ศ.ดร.วัชระ ย้ำว่า ระบบการปกครองคณะสงฆ์ที่มีลักษณะรวมศูนย์และเป็นระบบอุปถัมภ์ รวมทั้งไม่มีกลไกที่จะมาช่วยคานอำนาจและทำให้เกิดความโปร่งใสยุติธรรม ทำให้ผู้มีอำนาจอาจขาดมาตรฐานหรือความเป็นธรรมในการพิจารณาสมณศักดิ์เพราะถูกผลประโยชน์ครอบงำ และอำนาจกับผลประโยชน์นี่เองที่ทำให้พระบางรูปวิ่งเต้นต้องการสมณศักดิ์ จึงควรปรับแก้ระบบการปกครองคณะสงฆ์หรืออย่างน้อยปรับแก้กลไกในการบริหารและการพิจารณาสมณศักดิ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดผลประโยชน์ต่อพระศาสนารวมทั้งป้องกันการวิ่งเต้น ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชนและประชาชนชาวพุทธทุกคนต้องร่วมมือกันจึงจะประสบความสำเร็จ
แหล่งเงินของพระสงฆ์ใช้ซื้อสมณศักดิ์
ด้าน พระดุษฎี เมธังกุโร เจ้าอาวาสวัดทุ่งไผ่ อ.เมือง จ.ชุมพร ซึ่งเป็นพระธรรมวิทยากรและพระวิปัสสนาจารย์ กล่าวว่า สมณศักดิ์ คือตัวปัญหา และวงการพระสงฆ์ก็มีการวิ่งเต้นไม่ได้ต่างจากฆราวาส บางรูปไม่มีเงิน ก็จะใช้วิธีการตั้งก่อนแล้วส่งส่วยหรือผ่อนชำระภายหลัง และเงินที่ใช้ในการซื้อสมณศักดิ์ ก็มีที่มาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ 1.กิจนิมนต์ 2.การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ซึ่งการปลุกเสกของขลังก็มีคณะรับเหมาปลุกเสก ใช้ชื่อเสียงของวัด เมื่อเสร็จพิธีกรรมก็จะมีการแบ่งค่าใช้จ่ายให้วัด เช่น ค่าเกจิอาจารย์ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ 3.รายได้จากตลาดนัดที่จัดในบริเวณพื้นที่ของวัด 4.จากการจัดงานศพ ซึ่งปัจจุบันไม่มีธรรมะ มีแต่กิจกรรมต่างๆ ค่าใช้จ่ายแต่ละงานเป็นหลักแสน 5.รายได้จากตู้บริจาค ยิ่งวัดใดมีชื่อเสียงโด่งดัง มีพระศักดิ์สิทธิ์ เงินบริจาคก็จะมหาศาล 6.การก่อสร้างภายในวัด ก็มีช่องทางทำเงิน พวกนี้จะใช้วิธีการเข้ามาเสนอให้สร้างศาลา สร้างเมรุ โดยตั้งงบสูงกว่าค่าใช้จ่ายจริง
“ยกตัวอย่างให้ฟังมีการตั้งงบ 5 ล้านแต่ค่าก่อสร้างจริงเพียง 3 ล้าน เค้าเอาส่วนต่างมาตอบแทน เจ้าอาวาสไม่ต้องทำอะไร แค่ดำริว่าจะสร้าง เงินบริจาคก็จะเข้ามาเอง ตรงนี้เป็นขบวนการเหลือบที่มาทำลายศาสนา ไม่ตรงไปตรงมากับศรัทธาญาติโยม เหมือนกับที่วัดธรรมกายมอมเมาให้ทำบุญ จะได้ขึ้นสวรรค์ ทำแล้วได้กลับมาสามเท่าสิบเท่า อยากรวยก็ต้องทำบุญกัน”
ดังนั้นเงินที่ได้มาหรือหามาก็จะถูกใช้ไปในการซื้อสมณศักดิ์ โดยใช้วิธีการนิมนต์พระผู้ใหญ่เช่น นิมนต์เจ้าคณะจังหวัดมาที่วัดก็ถวาย 3 หมื่นบาท หากนิมนต์ชั้นสมเด็จก็ต้องถวาย 5 หมื่น ซึ่งเมื่อพระผู้ใหญ่เปิดซองออกมาก็จะเห็นจำนวนเงินที่ผิดปกติเพียงแค่นิมนต์มาฉันเพล
“จำนวนเงินที่ถวาย ก็บอกเป็นนัยอยู่แล้วว่าต้องเอื้อเฟื้อ เมตตา และนี่เป็นการติดสินบนแบบถูกต้องตามธรรมเนียม ไม่ใช่การถวายด้วยศรัทธาตามโบราณ และหากพระผู้ใหญ่รับเงินไปแล้ว ก็ช่วยไม่ได้ เพราะเป็นการต่างตอบแทน”
เจ้าอาวาสเมืองนนท์ใช้เงิน 3 ล้านซื้อตำแหน่ง
พระดุษฎี บอกว่า พระสงฆ์ต่างก็รู้ว่าการจะได้สมณศักดิ์มาก็ต้องใช้เงิน และหากสามารถเลื่อนชั้นเป็นพระผู้ใหญ่ได้แม้นเพียงชั้นเจ้าคุณ ก็จะมีเงินเข้ามามาก จึงเปรียบเสมือนเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มวุฒิ เพิ่มฐานะทางสังคมของวงการสงฆ์ ซึ่งไม่ต่างจากการจบปริญญาโท ปริญญาเอกของฆราวาส ที่ทำให้ได้เงินเดือนมากขึ้น
“เรื่องนี้รู้ในวงการสงฆ์ และข้อมูลพวกนี้เกิดจากการคุยกันของพระด้วยกันเอง ว่าได้ตำแหน่งแต่ไม่มีเงินจะมาฉลอง เพราะเงินเอาไปใช้ในการวิ่งเต้นหมดแล้ว เจ้าคณะจังหวัดใช้เงินเป็นล้าน บางพื้นที่ต้องสองสามล้าน เพราะเจ้าคณะจังหวัดมีอำนาจสูงมาก มีการเรียกเงินทั่วไปหมด เจ้าอาวาสก็หลักแสน ตำบล อำเภอ มีการวิ่งไปหมด แต่ที่โด่งดังและรู้กันในวงสงฆ์ มีเจ้าอาวาสวัดดังในจังหวัดนนท์ ต้องใช้เงินถึง 3 ล้านบาทซื้อตำแหน่ง แต่วัดนี้มีคนขึ้นเยอะ รายได้ดี”
สมณศักดิ์ชั้นแรกสุดคือเป็นพระครู เรียกว่าเป็นพระฐานานุกรม เทียบเหมือนคนสนิท ต้นห้อง ที่เรียกว่าพระปลัด พระครูธรรมธร พระครูวินัยธร พระครูสังฆลักษณ์ พระครูใบฎีกา เป็นทีมงานของพระผู้ใหญ่ ตรงนี้ก็น่าจะมีหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ เพราะการให้สินบนไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงแต่เป็นที่รู้กันของวงการสงฆ์เท่านั้น
ส่วนพระสงฆ์ดีๆ เราก็จะเห็นท่านภาวนา รักษาศีล มุ่งทำประโยชน์ให้กับชาวบ้าน ท่านจะไม่สนใจกับเรื่องของยศถาบรรดาศักดิ์ จะไม่วิ่งเต้นเพื่อให้ได้มา สุดท้ายสังคมก็จะได้พระที่ไม่ดีมาเป็นพระฝ่ายปกครอง ซึ่งก็เหมือนกับที่สังคมได้ตำรวจที่วิ่งเต้นเอาเงินส่งส่วยตำรวจชั้นผู้ใหญ่พากันขึ้นมาเป็นใหญ่ในวงการสีกากีได้
ดังนั้นหากต้องการเรียกศรัทธาวงการสงฆ์กลับคืนนั้น บรรดาฆราวาสที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา ควรจะต้องศึกษาพระธรรมวินัย ว่าพระสงฆ์ทำอะไรได้บ้าง และอะไรทำแล้วผิด จะได้คอยควบคุมพระสงฆ์ไม่ให้หลงทางและตัวอุบาสก อุบาสิกา ก็ต้องไม่หลงทางตามพระสงฆ์ด้วย หากมีการควบคุมกันแบบนี้พระสงฆ์ก็จะไม่กล้าทำนอกลู่นอกทาง และพระสงฆ์ก็ต้องเริ่มปรับปรุงตัวเอง เนื่องจากโยมมีการปฏิบัติและรู้ในธรรมวินัยดีกว่า ซึ่งหากพระสงฆ์รูปใด วัดใด จะมานำโยมก็ต้องรู้และปฏิบัติธรรมที่สูงกว่าจึงจะมานำได้
ปัญหาวงการสงฆ์ที่เกิดขึ้นจึงอยู่ที่ว่าต่างพากันสร้างวัดกันมากมาย แต่มีพระสงฆ์ที่หย่อนมาตรฐานเพราะพระสงฆ์ที่ไม่ดีจะไม่ยอมทำชั่วคนเดียว จะชวนพระสงฆ์รูปอื่นมาทำด้วย จึงทำให้พระสงฆ์ต่างมีพวกพ้องของตัวเองจะลงโทษอะไรก็ยาก สิ่งเหล่านี้จึงเป็นต้นเหตุให้วัดเสื่อมลง อย่างกรณีวัดพระธรรมกายก็เช่นเดียวกัน จะดูแลพระสงฆ์อย่างดี หากเจ้าอาวาสเดินทางมาจะได้ค่าเดินทาง 5,000 บาท แต่ถ้าเป็นเณรจะได้ 500 บาท
“สังเกตว่าวันเกิดพระธัมมชโยคนจะเดินทางมาร่วมมหาศาล จะมีวิธีการหาเงินอย่างใดก็ได้ จากนั้นก็นำเงินที่ได้มาใช้สร้างอำนาจ สร้างพรรคพวก”
พระดุษฎี บอกอีกว่า หากสังคมตื่นตัวหวงแหน พุทธศาสนาก็จะเกิดการฟื้นฟูขึ้นมา พระสงฆ์ก็จะลดบทบาทลงไปเรื่อยๆ และหากพระสงฆ์ประสงค์สิ่งใดก็จะต้องมีการตรวจสอบ เพราะวันนี้ได้เกิดสังฆเพศที่หนักขึ้นโดยเฉพาะการที่เจ้าอาวาสมอบหมายให้พระลูกวัดไปฉันเพล แต่ปรากฏว่าซองที่ญาติโยมถวายให้มาก็ต้องมีซองของเจ้าอาวาสด้วย
“มีการนิมนต์พระไป 9 รูป แต่ญาติโยมต้องจัดของถวายซึ่งรวมถึงซองด้วยต้องมีทั้งหมด 10 ชุด ทำกันเช่นนี้ก็เพราะมีพระผู้ใหญ่บางกลุ่มสั่งสอนกันมา แต่เมื่อบางวัดใช้กฎว่าพระไปรับสังฆทานข้างนอก แต่เงินที่ญาติโยมถวายมาต้องเอาเข้าวัดทั้งหมด ก็ปรากฏว่าพระบางวัดไม่ยอมรับกิจนิมนต์”
สำหรับวิธีการแก้ไขนั้นพระดุษฎีย้ำว่า วัดต่างๆ ก็น่าจะเดินตามแนวทางของหลวงพ่อชา และวัดป่า ก็คือให้พระรับกิจนิมนต์ไปฉันได้ แต่ให้เงินเข้าวัดทั้งหมด หากพระต้องการอะไร มีงานก่อสร้างอะไร ก็ให้เบิกจากคลัง จึงจะทำให้มีการตรวจสอบรัดกุม มีบัญชีเรียบร้อย และพระสงฆ์ก็ไม่ต้องไปจับเงิน ก็ไม่ต้องไปมัวเมากับการแสวงหาเงินเพื่อใช้ในการซื้อสมณศักดิ์ และไม่ต้องผิดพระธรรมวินัยด้วยเช่นกัน
วิกฤตศรัทธาที่เกิดขึ้นในวงการสงฆ์และนำมาซึ่งความแตกแยกจนถึงทุกวันนี้ จะว่าไปแล้วต่างเกี่ยวโยงกับระบบการปกครองของสงฆ์ที่มีการรวมศูนย์และอยู่ในมือของคนเพียงแค่ 20 คน ซึ่งถูกเรียกว่ามหาเถรสมาคม แต่การที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งการปกครองของสงฆ์ในระดับสูง เช่นเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม หรือการจะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชได้จะต้องเป็นไปตามลำดับอาวุโสในด้านสมณศักดิ์ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวงการเครื่องแบบก็ต้องเรียกว่ามี ‘ยศ’ ถาบรรดาศักดิ์สูงสุดนั่นเอง
ดังนั้นพระสงฆ์ที่ต้องการได้สมณศักดิ์ จึงพยายามวิ่งเต้นหรือแก่งแย่งไม่ต่างไปจากแวดวงราชการที่ต้อง ‘จ่ายเงินใต้โต๊ะ’ เพื่อให้ได้สมณศักดิ์มาครอบครองซึ่งนับวันจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดามากขึ้นในวงการสงฆ์
อย่างไรก็ดีมีคำถามในกลุ่มฆราวาสว่าบรรดาพระสงฆ์ที่วิ่งเต้นใช้เงินใต้โต๊ะเพื่อให้พระรูปนั้นถูกเสนอชื่อเลื่อนสมณศักดิ์ถือว่าต้อง ‘อาบัติปาราชิก’ ขาดจากความเป็นพระหรือไม่?
และประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่าพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ที่เรากราบไหว้อยู่ตามวัดต่างๆ เหล่านี้ได้สมณศักดิ์ มาด้วยการจ่ายเงินใต้โต๊ะหรือไม่?
ที่สำคัญมีหลักเกณฑ์หรือระเบียบในการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันล้วนเกี่ยวข้องกับการหาเงิน ใช้เงินจำนวนมหาศาล ซึ่งถูกกำหนดเป็นคุณสมบัติส่วนตัว ส่วนวัดและด้านสาธารณูปการซึ่งหมายถึงการก่อสร้าง การบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานหรือถาวรวัตถุมาประกอบการพิจารณาบ่งชี้ว่าพระสงฆ์รูปนั้นได้รับแรงศรัทธาจากประชาชนเพียงใด
ส่งผลให้พระสงฆ์จำนวนหนึ่งต่างพากันวุ่นวายกับการหาเงินเพื่อให้ตัวเองได้รับสมณศักดิ์ เป็นที่เชิดหน้าชูตาและมีผลประโยชน์อื่นๆ ในอนาคตตามมา
ดังนั้นแม้จะรับรู้ได้ว่า ‘สมณศักดิ์’ เป็นต้นเหตุที่ทำให้พระสงฆ์มีความประพฤติขัดต่อพระธรรมวินัยติดอยู่ในกิเลส และนำมาซึ่งความเสื่อมในวงการพระสงฆ์ก็ตาม แต่การจะยกเลิกสมณศักดิ์ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเช่นกัน เพราะสมณศักดิ์ผูกโยงกับระบบการปกครองคณะสงฆ์รวมทั้งระบบการปกครองบ้านเมือง และยังเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีวัฒนธรรมไทยและเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
สมณศักดิ์ ทำให้พระสงฆ์เกิดความโลภ-ฟุ้งเฟ้อ
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา/ปรัชญา ได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวเรื่อง สมณศักดิ์ : ข้อดีและปัญหา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บข้อมูลทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์พระสงฆ์และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นำมาจัดเรียง และวิเคราะห์ด้วยหลักตรรกะ พร้อมสังเคราะห์เพื่อให้ได้แนวคิดและความจริงของประเด็นในการวิจัยครั้งนี้
ผลการวิจัย สะท้อนให้เห็นว่าสมณศักดิ์มีทั้งข้อดีและข้อเสียแต่ยังไม่รุนแรงถึงขนาดจะต้องยกเลิกสมณศักดิ์ไปเลย โดยข้อเสียหรือปัญหาสมณศักดิ์เกิดจากพระสงฆ์ที่ได้สมณศักดิ์หรือต้องการสมณศักดิ์เกิดความโลภหรือหลงติดมัวเมาในสมณศักดิ์จนกระทำการอันไม่สมควร สร้างค่านิยมฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย เช่นการวิ่งเต้นหรือแก่งแย่งสมณศักดิ์ และเกิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับสมณศักดิ์ได้ใช้เรื่องสมณศักดิ์เป็นช่องทางในการหาผลประโยชน์จากการขอสมณศักดิ์
ในส่วนข้อดีเป็นการยกย่องและให้กำลังใจ รวมทั้งเป็นการให้รางวัลหรือตอบแทนแก่พระสงฆ์ผู้มีคุณงามความดี อีกทั้งสมณศักดิ์ยังทำให้คณะสงฆ์ได้รับการยอมรับทั้งจากพระสงฆ์ด้วยกันเองและจากประชาชน ซึ่งเป็นผลดีต่อพระศาสนาและประเทศ
ในงานวิจัยยังเสนอแนะให้มีการปรับปรุงในเรื่องสมณศักดิ์ ด้วยการปรับปรุงวิธีการพิจารณาสมณศักดิ์โดยให้พระสงฆ์และคฤหัสถ์มาร่วมกันทำ และใช้ระบบการกลั่นกรองตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความเหมาะสมอย่างแท้จริงและป้องกันการวิ่งเต้นหรือเล่นพวก อีกทั้งจะต้องปรับปรุงเกณฑ์การพิจารณาสมณศักดิ์ให้กว้างและเป็นธรรมมากขึ้น ด้วยการเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่มีผลงานด้านต่างๆ ได้รับสมณศักดิ์ด้วยแม้ไม่มีตำแหน่งบริหาร ซึ่งไม่ควรจะผูกโยงกับตำแหน่งบริหารเป็นหลักอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องปลูกฝังอบรมให้พระสงฆ์มีค่านิยมที่เหมาะสมและต้องควบคุมตรวจสอบพฤติกรรมและการทำงานของพระสงฆ์ผู้ได้รับสมณศักดิ์ด้วยเช่นกัน
ในงานวิจัย ยังระบุชัดเจนว่า ปัญหาของสมณศักดิ์มีความเกี่ยวโยงกับระบบการปกครองของคณะสงฆ์และระบบการปกครองคณะสงฆ์ที่รัฐสร้างขึ้นมานี้ทำให้เกิดปัญหามากกว่าสมณศักดิ์ เพราะเป็นที่มาของความแตกต่าง อำนาจและผลประโยชน์ ซึ่งทำให้พระสงฆ์เกิดกิเลส จนนำไปสู่การประพฤติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
ดังนั้นจึงควรศึกษาวิจัยถึงแนวทางการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบการปกครองคณะสงฆ์และสนับสนุนพระสงฆ์ให้ช่วยทำงานพระศาสนาอย่างจริงจังและมีคุณภาพมากขึ้น
มหาเถรสมาคมไม่โปร่งใสแนะรื้อทั้งระบบ
ศ.ดร.วัชระ ให้ความเห็นต่องานวิจัยเพิ่มเติมว่า ระบบการปกครองของคณะสงฆ์ที่ทำให้เกิดปัญหานั้น เป็นเรื่องของโครงสร้างหรือระบบการปกครองคณะสงฆ์ทั้งหมดที่มีระบบรวมศูนย์อำนาจ แต่หากจะพูดถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบการปกครองก็คือ มหาเถรสมาคม เพราะมีอำนาจสูงสูดและเบ็ดเสร็จ การมีอำนาจเบ็ดเสร็จและการขาดระบบการพิจารณาตัดสินที่ได้มาตรฐานหรือมีความโปร่งใสและยุติธรรมที่เพียงพอทำให้บางครั้งการพิจารณาอาจขาดประสิทธิภาพหรือความเป็นธรรม
“เราต้องได้ฆราวาสที่มีความรู้และเป็นคนกลางเข้าไปร่วมในการพิจารณาการปรับหลักเกณฑ์และกระบวนการพิจารณาสมณศักดิ์ให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นไม่โยงสมณศักดิ์กับตำแหน่งบริหารอย่างปัจจุบัน และให้ชุมชนหรือประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอชื่อผู้สมควรได้รับสมณศักดิ์”
อีกทั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับหลักเกณฑ์การให้สมณศักดิ์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผลงานด้านการก่อสร้างหรือการบริจาคเงินเสมอไป หากมีผลงานด้านอื่น เช่นการเผยแผ่ ก็ควรมีสิทธิ์ได้รับสมณศักดิ์
ดังนั้นพระสงฆ์ที่ดีควรได้รับการผลักดันให้ได้รับสมณศักดิ์ เช่น พระที่ปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยอย่างพระป่าหรือพระกรรมฐาน หรือพระที่สร้างผลงานที่มีประโยชน์แก่สังคมหรือพระศาสนาอย่างพระที่ช่วยพัฒนาชุมชน รวมไปถึงพระที่เผยแผ่พระศาสนาจนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
สำหรับวิธีการผลักดันให้พระสงฆ์ที่ดีได้รับสมณศักดิ์จึงเป็นเรื่องที่สังคมชาวพุทธทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งชาวบ้านช่วยกันผลักดันให้มีการปรับแก้หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาสมณศักดิ์ หรือประชาชน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ช่วยกันทำเรื่องเสนอให้มีการแต่งตั้งสมณศักดิ์แก่พระที่เห็นว่าสมควรได้รับสมณศักดิ์ หรือหากมีองค์กรที่ชาวพุทธร่วมกันจัดตั้งขึ้นที่มีพลังเพียงพอ องค์กรนี้อาจช่วยเลือกสรรและเสนอชื่อให้คณะสงฆ์พิจารณาให้สมณศักดิ์ รวมทั้งช่วยตรวจสอบพฤติกรรมของพระโดยทั่วไป หากพบพระไม่ดี ประพฤติไม่ถูกต้อง
“พระที่ประพฤติไม่ถูกต้อง นอกจากเราจะร้องเรียนให้มีการดำเนินการทางวินัยแล้ว ยังอาจช่วยกันต่อต้านไม่ให้มีการแต่งตั้งหรือเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระพวกนี้ได้ด้วย เช่นกรณีพระสงฆ์ระดับเจ้าคณะจังหวัดที่ตกเป็นข่าวคลิปฉาวในเวลานี้”
สร้างค่านิยมใหม่ไม่ถวายของมีค่าให้เป็นส่วนตัวพระสงฆ์
ส่วนในเรื่องของการถวายสิ่งของให้กับพระผู้ใหญ่เช่นการถวายรถยนต์ เงินจำนวนมากๆ นั้น ก็มีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธีแม้จะเป็นเรื่องที่ยากลำบากก็ตาม เช่น คณะสงฆ์ออกระเบียบไม่ให้ถวายสิ่งของมีค่าอย่างรถยนต์ ซึ่งคณะสงฆ์ร่วมกับประชาชนทุกภาคส่วนต้องสร้างค่านิยมใหม่ที่จะไม่ถวายของมีค่าให้เป็นสมบัติส่วนตัวแก่พระสงฆ์ เน้นถวายวัด และจะต้องคอยตรวจสอบไม่ให้มีการเอาของวัดไปใช้ส่วนตัว
“พระสงฆ์ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจควรทำตัวเป็นแบบอย่างในการไม่รับสิ่งของมีค่า รวมทั้งเงินที่มีผู้มอบให้เป็นสมบัติส่วนตัว หากรับก็ควรให้เป็นสมบัติส่วนกลางของวัด และผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้งานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมได้”
ขาดกลไกคาน “ระบบอุปภัมภ์” ในวงการสงฆ์
ศ.ดร.วัชระ บอกอีกว่า จากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่นั้น เชื่อว่าการจ่ายเงินเพื่อซื้อสมณศักดิ์โดยตรงคงมีน้อย แต่ถ้าจะมีการวิ่งเต้นของพระสงฆ์น่าจะเป็นการเอาใจพระผู้ใหญ่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นถวายเงินพระผู้ใหญ่ที่มาร่วมงานที่พระสงฆ์รูปนั้นจัดขึ้น ถวายสิ่งของมีค่าอย่างรถยนต์
“การวิ่งเต้นในลักษณะนี้เพื่อให้ได้สมณศักดิ์ยังมีอยู่ แต่จะเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ เป็นเรื่องที่บอกยาก และการวิ่งเต้นคงมีทุกระดับ แต่จะบอกว่าระดับใดมาก ระดับใดน้อย คงบอกไม่ได้เพราะไม่มีหลักฐานข้อมูลในเรื่องนี้ แต่ถ้าคิดตามหลักตรรกะ ตำแหน่งยิ่งสูง ก็น่าจะยิ่งมีการวิ่งเต้นมาก เพราะตำแหน่งมีน้อยและผลประโยชน์มีมาก”
ขณะเดียวกัน ศ.ดร.วัชระ ย้ำว่า ระบบการปกครองคณะสงฆ์ที่มีลักษณะรวมศูนย์และเป็นระบบอุปถัมภ์ รวมทั้งไม่มีกลไกที่จะมาช่วยคานอำนาจและทำให้เกิดความโปร่งใสยุติธรรม ทำให้ผู้มีอำนาจอาจขาดมาตรฐานหรือความเป็นธรรมในการพิจารณาสมณศักดิ์เพราะถูกผลประโยชน์ครอบงำ และอำนาจกับผลประโยชน์นี่เองที่ทำให้พระบางรูปวิ่งเต้นต้องการสมณศักดิ์ จึงควรปรับแก้ระบบการปกครองคณะสงฆ์หรืออย่างน้อยปรับแก้กลไกในการบริหารและการพิจารณาสมณศักดิ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดผลประโยชน์ต่อพระศาสนารวมทั้งป้องกันการวิ่งเต้น ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชนและประชาชนชาวพุทธทุกคนต้องร่วมมือกันจึงจะประสบความสำเร็จ
แหล่งเงินของพระสงฆ์ใช้ซื้อสมณศักดิ์
ด้าน พระดุษฎี เมธังกุโร เจ้าอาวาสวัดทุ่งไผ่ อ.เมือง จ.ชุมพร ซึ่งเป็นพระธรรมวิทยากรและพระวิปัสสนาจารย์ กล่าวว่า สมณศักดิ์ คือตัวปัญหา และวงการพระสงฆ์ก็มีการวิ่งเต้นไม่ได้ต่างจากฆราวาส บางรูปไม่มีเงิน ก็จะใช้วิธีการตั้งก่อนแล้วส่งส่วยหรือผ่อนชำระภายหลัง และเงินที่ใช้ในการซื้อสมณศักดิ์ ก็มีที่มาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ 1.กิจนิมนต์ 2.การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ซึ่งการปลุกเสกของขลังก็มีคณะรับเหมาปลุกเสก ใช้ชื่อเสียงของวัด เมื่อเสร็จพิธีกรรมก็จะมีการแบ่งค่าใช้จ่ายให้วัด เช่น ค่าเกจิอาจารย์ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ 3.รายได้จากตลาดนัดที่จัดในบริเวณพื้นที่ของวัด 4.จากการจัดงานศพ ซึ่งปัจจุบันไม่มีธรรมะ มีแต่กิจกรรมต่างๆ ค่าใช้จ่ายแต่ละงานเป็นหลักแสน 5.รายได้จากตู้บริจาค ยิ่งวัดใดมีชื่อเสียงโด่งดัง มีพระศักดิ์สิทธิ์ เงินบริจาคก็จะมหาศาล 6.การก่อสร้างภายในวัด ก็มีช่องทางทำเงิน พวกนี้จะใช้วิธีการเข้ามาเสนอให้สร้างศาลา สร้างเมรุ โดยตั้งงบสูงกว่าค่าใช้จ่ายจริง
“ยกตัวอย่างให้ฟังมีการตั้งงบ 5 ล้านแต่ค่าก่อสร้างจริงเพียง 3 ล้าน เค้าเอาส่วนต่างมาตอบแทน เจ้าอาวาสไม่ต้องทำอะไร แค่ดำริว่าจะสร้าง เงินบริจาคก็จะเข้ามาเอง ตรงนี้เป็นขบวนการเหลือบที่มาทำลายศาสนา ไม่ตรงไปตรงมากับศรัทธาญาติโยม เหมือนกับที่วัดธรรมกายมอมเมาให้ทำบุญ จะได้ขึ้นสวรรค์ ทำแล้วได้กลับมาสามเท่าสิบเท่า อยากรวยก็ต้องทำบุญกัน”
ดังนั้นเงินที่ได้มาหรือหามาก็จะถูกใช้ไปในการซื้อสมณศักดิ์ โดยใช้วิธีการนิมนต์พระผู้ใหญ่เช่น นิมนต์เจ้าคณะจังหวัดมาที่วัดก็ถวาย 3 หมื่นบาท หากนิมนต์ชั้นสมเด็จก็ต้องถวาย 5 หมื่น ซึ่งเมื่อพระผู้ใหญ่เปิดซองออกมาก็จะเห็นจำนวนเงินที่ผิดปกติเพียงแค่นิมนต์มาฉันเพล
“จำนวนเงินที่ถวาย ก็บอกเป็นนัยอยู่แล้วว่าต้องเอื้อเฟื้อ เมตตา และนี่เป็นการติดสินบนแบบถูกต้องตามธรรมเนียม ไม่ใช่การถวายด้วยศรัทธาตามโบราณ และหากพระผู้ใหญ่รับเงินไปแล้ว ก็ช่วยไม่ได้ เพราะเป็นการต่างตอบแทน”
เจ้าอาวาสเมืองนนท์ใช้เงิน 3 ล้านซื้อตำแหน่ง
พระดุษฎี บอกว่า พระสงฆ์ต่างก็รู้ว่าการจะได้สมณศักดิ์มาก็ต้องใช้เงิน และหากสามารถเลื่อนชั้นเป็นพระผู้ใหญ่ได้แม้นเพียงชั้นเจ้าคุณ ก็จะมีเงินเข้ามามาก จึงเปรียบเสมือนเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มวุฒิ เพิ่มฐานะทางสังคมของวงการสงฆ์ ซึ่งไม่ต่างจากการจบปริญญาโท ปริญญาเอกของฆราวาส ที่ทำให้ได้เงินเดือนมากขึ้น
“เรื่องนี้รู้ในวงการสงฆ์ และข้อมูลพวกนี้เกิดจากการคุยกันของพระด้วยกันเอง ว่าได้ตำแหน่งแต่ไม่มีเงินจะมาฉลอง เพราะเงินเอาไปใช้ในการวิ่งเต้นหมดแล้ว เจ้าคณะจังหวัดใช้เงินเป็นล้าน บางพื้นที่ต้องสองสามล้าน เพราะเจ้าคณะจังหวัดมีอำนาจสูงมาก มีการเรียกเงินทั่วไปหมด เจ้าอาวาสก็หลักแสน ตำบล อำเภอ มีการวิ่งไปหมด แต่ที่โด่งดังและรู้กันในวงสงฆ์ มีเจ้าอาวาสวัดดังในจังหวัดนนท์ ต้องใช้เงินถึง 3 ล้านบาทซื้อตำแหน่ง แต่วัดนี้มีคนขึ้นเยอะ รายได้ดี”
สมณศักดิ์ชั้นแรกสุดคือเป็นพระครู เรียกว่าเป็นพระฐานานุกรม เทียบเหมือนคนสนิท ต้นห้อง ที่เรียกว่าพระปลัด พระครูธรรมธร พระครูวินัยธร พระครูสังฆลักษณ์ พระครูใบฎีกา เป็นทีมงานของพระผู้ใหญ่ ตรงนี้ก็น่าจะมีหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ เพราะการให้สินบนไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงแต่เป็นที่รู้กันของวงการสงฆ์เท่านั้น
ส่วนพระสงฆ์ดีๆ เราก็จะเห็นท่านภาวนา รักษาศีล มุ่งทำประโยชน์ให้กับชาวบ้าน ท่านจะไม่สนใจกับเรื่องของยศถาบรรดาศักดิ์ จะไม่วิ่งเต้นเพื่อให้ได้มา สุดท้ายสังคมก็จะได้พระที่ไม่ดีมาเป็นพระฝ่ายปกครอง ซึ่งก็เหมือนกับที่สังคมได้ตำรวจที่วิ่งเต้นเอาเงินส่งส่วยตำรวจชั้นผู้ใหญ่พากันขึ้นมาเป็นใหญ่ในวงการสีกากีได้
ดังนั้นหากต้องการเรียกศรัทธาวงการสงฆ์กลับคืนนั้น บรรดาฆราวาสที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา ควรจะต้องศึกษาพระธรรมวินัย ว่าพระสงฆ์ทำอะไรได้บ้าง และอะไรทำแล้วผิด จะได้คอยควบคุมพระสงฆ์ไม่ให้หลงทางและตัวอุบาสก อุบาสิกา ก็ต้องไม่หลงทางตามพระสงฆ์ด้วย หากมีการควบคุมกันแบบนี้พระสงฆ์ก็จะไม่กล้าทำนอกลู่นอกทาง และพระสงฆ์ก็ต้องเริ่มปรับปรุงตัวเอง เนื่องจากโยมมีการปฏิบัติและรู้ในธรรมวินัยดีกว่า ซึ่งหากพระสงฆ์รูปใด วัดใด จะมานำโยมก็ต้องรู้และปฏิบัติธรรมที่สูงกว่าจึงจะมานำได้
ปัญหาวงการสงฆ์ที่เกิดขึ้นจึงอยู่ที่ว่าต่างพากันสร้างวัดกันมากมาย แต่มีพระสงฆ์ที่หย่อนมาตรฐานเพราะพระสงฆ์ที่ไม่ดีจะไม่ยอมทำชั่วคนเดียว จะชวนพระสงฆ์รูปอื่นมาทำด้วย จึงทำให้พระสงฆ์ต่างมีพวกพ้องของตัวเองจะลงโทษอะไรก็ยาก สิ่งเหล่านี้จึงเป็นต้นเหตุให้วัดเสื่อมลง อย่างกรณีวัดพระธรรมกายก็เช่นเดียวกัน จะดูแลพระสงฆ์อย่างดี หากเจ้าอาวาสเดินทางมาจะได้ค่าเดินทาง 5,000 บาท แต่ถ้าเป็นเณรจะได้ 500 บาท
“สังเกตว่าวันเกิดพระธัมมชโยคนจะเดินทางมาร่วมมหาศาล จะมีวิธีการหาเงินอย่างใดก็ได้ จากนั้นก็นำเงินที่ได้มาใช้สร้างอำนาจ สร้างพรรคพวก”
พระดุษฎี บอกอีกว่า หากสังคมตื่นตัวหวงแหน พุทธศาสนาก็จะเกิดการฟื้นฟูขึ้นมา พระสงฆ์ก็จะลดบทบาทลงไปเรื่อยๆ และหากพระสงฆ์ประสงค์สิ่งใดก็จะต้องมีการตรวจสอบ เพราะวันนี้ได้เกิดสังฆเพศที่หนักขึ้นโดยเฉพาะการที่เจ้าอาวาสมอบหมายให้พระลูกวัดไปฉันเพล แต่ปรากฏว่าซองที่ญาติโยมถวายให้มาก็ต้องมีซองของเจ้าอาวาสด้วย
“มีการนิมนต์พระไป 9 รูป แต่ญาติโยมต้องจัดของถวายซึ่งรวมถึงซองด้วยต้องมีทั้งหมด 10 ชุด ทำกันเช่นนี้ก็เพราะมีพระผู้ใหญ่บางกลุ่มสั่งสอนกันมา แต่เมื่อบางวัดใช้กฎว่าพระไปรับสังฆทานข้างนอก แต่เงินที่ญาติโยมถวายมาต้องเอาเข้าวัดทั้งหมด ก็ปรากฏว่าพระบางวัดไม่ยอมรับกิจนิมนต์”
สำหรับวิธีการแก้ไขนั้นพระดุษฎีย้ำว่า วัดต่างๆ ก็น่าจะเดินตามแนวทางของหลวงพ่อชา และวัดป่า ก็คือให้พระรับกิจนิมนต์ไปฉันได้ แต่ให้เงินเข้าวัดทั้งหมด หากพระต้องการอะไร มีงานก่อสร้างอะไร ก็ให้เบิกจากคลัง จึงจะทำให้มีการตรวจสอบรัดกุม มีบัญชีเรียบร้อย และพระสงฆ์ก็ไม่ต้องไปจับเงิน ก็ไม่ต้องไปมัวเมากับการแสวงหาเงินเพื่อใช้ในการซื้อสมณศักดิ์ และไม่ต้องผิดพระธรรมวินัยด้วยเช่นกัน