ประชาธิปัตย์เร่งหาทางจบศึกภายใน หลังจากเปิดซักฟอกการบริหารงานของ สุขุมพันธ์ุ ทั้งที่อยู่พรรคเดียวกัน หรือข่าวการตั้งพรรคใหม่ หัวหน้าพรรคคนใหม่ แม้จะเป็นเรื่องดีที่ตรวจสอบกันเอง เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของพรรค รับภาพที่ออกมาไม่ดี เชื่อส่งเรื่อง ป.ป.ช.ทุกอย่างสงบ ชี้ถึงเวลาปฏิรูปพรรคเปิดทางคนรุ่นใหม่แก้ปัญหาแพ้ซ้ำซาก
นับตั้งแต่การแยกทางกันเดินของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์อย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ลาออกจากพรรคเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2556 เพื่อมาเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย หลังจากการดำเนินการในรูปของพรรคที่ไม่สามารถใช้กระบวนการตามระบบที่มีอยู่สกัดกั้นการเดินหน้าของพรรคเพื่อไทยได้
ทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์อีก 8 คน ประกอบด้วยนายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา นายอิสสระ สมชัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส.ตรัง นายวิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช นายชุมพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต ส.ส.กทม. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ อดีต ส.ส.กทม. และนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีต ส.ส.กทม. ออกมาต่อสู้ในนามคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
แม้กระบวนการต่อสู้บนท้องถนนจะทำได้สะดวกกว่าการเคลื่อนไหวในนามพรรคการเมือง แต่เป้าหมายที่จะให้พรรคเพื่อไทยหลุดพ้นไปจากความเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถกระทำได้ภายใต้การขับเคลื่อนจากภาคประชาชน จนทุกอย่างยุติลง หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557
สุเทพ-สุขุมพันธ์ุ-สุรินทร์
เป็นที่ทราบกันดีว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องรักษาภาพลักษณ์ของพรรคไว้ ไม่กล้าเดินออกนอกกรอบ ยึดในเรื่องการต่อสู้ตามระบบ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนในพรรคก็ทราบดีว่าไม่มีวันที่จะเอาชนะพรรคเพื่อไทยได้หากยังยึดตามกรอบที่มีด้วย ด้วยข้อจำกัดเรื่องคะแนนเสียงในการโหวต
แม้ระยะแรกทางพรรคประชาธิปัตย์จะเดินไปในแนวทางเดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในการคัดค้านการบริหารประเทศของพรรคเพื่อไทย แต่เมื่อถึงที่สุดแล้วหัวหน้าพรรคอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เลือกเส้นทางตามกรอบ ไม่เอาพรรคเข้ามาเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองของ กปปส. แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนในประชาธิปัตย์จำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยกับการออกมาเคลื่อนไหวของนายสุเทพ
เมื่อทุกอย่างผ่านพ้นไป พรรคเพื่อไทยพ้นจากอำนาจ มีรัฐาธิปัตย์ใหม่ที่มาจากคณะนายทหาร แต่ดูเหมือนว่าไม่ได้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะคู่แข่งทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยเติบใหญ่ขึ้นมาจากการหลุดจากอำนาจไปของพรรคเพื่อไทย
1 ปีเศษของการยึดอำนาจเริ่มเห็นรอยร้าวในพรรคประชาธิปัตย์กันมากขึ้น เริ่มกันที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เริ่มตรวจสอบการทำงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
ตามมาด้วยข่าวการตั้งพรรคใหม่ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับคุณชายสุขุมพันธ์ุ จนอดีตเลขาธิการ กปปส.ต้องออกมาปฏิเสธ ขณะที่ความเข้มข้นในการตรวจสอบการทำหน้าที่ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องการจัดซื้อกล้อง CCTV จำนวน 47,000 ตัว แต่กลับพบว่ามีการจัดซื้อจริงเพียง 12,000 ตัว กรณีการต่อสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสออกไปอีก 30 ปี ทั้งที่สัญญาเดิมยังเหลืออีก 17 ปี และโครงการติดตั้งไฟประดับบริเวณลานคนเมืองกรุงเทพมหานคร วงเงิน 39.5 ล้านบาท
ตามมาด้วยข่าวนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เตรียมที่จะลงสมัครชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่วาระของหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน จะหมดลงก็ปาเข้าไปเดือนธันวาคม 2561 จนเจ้าตัวต้องออกมาปฏิเสธอีกเช่นกัน
เรื่องเยอะไม่เป็นผลดีต่อพรรค
นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่บ่อยครั้งนักกับการที่สมาชิกพรรคการเมืองเดียวกันออกมาตรวจสอบการทำงานของสมาชิกในพรรค ยิ่งสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าพรรคประชาธิปัตย์จะแตกหรือไม่ เมื่อถามคนในพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นเรื่องปกติหรือไม่ ได้รับคำตอบว่า
“พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีใครเป็นเจ้าของ มีความเป็นปัจเจกสูง คนในพรรคประชาธิปัตย์ทุกคนมีเสรีภาพ หากจะทำอะไรก็เป็นความรับผิดชอบเฉพาะบุคคล และเป็นเรื่องดีที่มีการตรวจสอบการทำงานกันเอง เพื่อฝ่ายหนึ่งมีข้อสงสัย อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องหาคำตอบมาชี้แจง”
ส่วนการที่สมาชิกพรรคตรวจสอบการบริหารงานของ กทม.นั้น เพื่อเป็นการสกัดการตั้งพรรคใหม่หรือไม่นั้น ตอนนี้คงไม่มีใครตอบได้ เพราะการเมืองเปลี่ยนเร็วมาก
พร้อมยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ถือว่าไม่เป็นผลดีต่อพรรค ทุกอย่างต้องจบ อย่างกรณีตรวจสอบการทำงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ ผู้ร้องได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบ ถือว่าให้หน่วยงานกลางเข้ามาทำหน้าที่แทน ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ยุติลง
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งในเวลานี้คือ ทุกพรรคไม่สามารถประชุมพรรคเพื่อแก้ปัญหาภายในพรรคได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมาย หากเป็นสถานการณ์ปกติเรื่องเหล่านี้คงมีการหาทางออกกันผ่านที่ประชุมพรรค
แน่นอนว่าข่าวคราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์ ย่อมทำให้ฝ่ายที่ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ไม่สบายใจ เพราะมีตัวเลือกในทางการเมืองเหลืออีกไม่มากนัก การแยกตัวออกไปของนายสุเทพและจะไม่กลับเข้ามาพรรคประชาธิปัตย์อีก ย่อมทำให้โอกาสที่การเลือกตั้งครั้งต่อไปพรรคเก่าแก่แห่งนี้จะได้ที่นั่งน้อยลงกว่าเดิม
“เรื่องการแยกตัวออกไปของสมาชิกพรรคนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกพรรคการเมือง เมื่อคนเก่าออกไปก็มีคนใหม่เข้ามา ในอดีตก็มีการแยกตัวออกไปอย่างกลุ่ม 10 มกราคม พรรคก็สร้างคนใหม่ขึ้นมาแทน ให้พร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งตอบไม่ได้ว่าจะมีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เราก็ต้องสรรหาคนที่พร้อมจะทำงานให้กับประชาชน” เสียงหนึ่งจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ถึงเวลาปฏิรูปพรรค
อย่างไรก็ตามแม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะมีภาพพจน์ดีเพียงใด เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ของคนชนชั้นกลาง แต่ผลการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมากลับไม่สามารถกุมเสียงข้างมากเหนือกว่าพรรคเพื่อไทยได้ นี่จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่คนในพรรคประชาธิปัตย์ต้องการที่จะแก้ไข แม้กระทั่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ยังได้ฝากให้ทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องทำการปฏิรูป
โดยก่อนที่จะเกิด กปปส. ทางพรรคก็มีความพยายามที่จะมีการปฏิรูปพรรค แต่สุดท้ายเรื่องก็เงียบไปพร้อมกับการเดินออกไปจากพรรคของผู้เสนอความคิดดังกล่าว
ถ้าให้พูดตรงๆ ว่าเลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้เพื่อไทย คงต้องมีการทบทวนข้อผิดพลาดที่ผ่านมาว่าเกิดจากอะไร และต้องปรับปรุงอะไรบ้าง จะเรียกว่าปฏิรูปหรือไม่ก็ตาม แต่ควรจะต้องมีการปรับปรุงแนวทางในการต่อสู้ แม้ภายในพรรคจะมีการพูดคุยหารือกันถึงเรื่องดังกล่าวว่า จุดอ่อนของพรรคคือการไม่สามารถเข้าถึงจุดที่ควรจะเข้าถึงได้ แต่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง
เรายังไม่ได้ลงไปถึงระดับ อบต.หรือ อบจ.เหมือนกับพรรคเพื่อไทย มุ่งแค่เพียงระดับ ส.ส.เป็นหลัก ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วการเมืองระดับท้องถิ่นนับว่าเป็นแรงหนุนที่สำคัญต่อการเมืองระดับชาติ เพราะฐานเสียงเหล่านี้จะส่งต่อไปยังการเลือกตั้งในระดับชาติ
แม้จะมีความพยายามออกนโยบายเพื่อเน้นไปที่ระดับรากหญ้า แต่ก็มักจะถูกพรรคคู่แข่งยื่นข้อเสนอที่มากกว่าออกมาทับ นโยบายที่ออกมานั้นยึดที่ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินมาก ขณะที่อีกฝ่ายไม่ได้ยึดหลักการดังกล่าว ทำเพียงเพื่อให้สามารถดึงดูดใจโดยไม่คำนึงถึงภาระอื่นๆ ที่จะตามมา สุดท้ายก็จะกลายมาเป็นภาระของคนทั้งประเทศที่ต้องแบกรับ
อย่างพรรคเพื่อไทยไม่เห็นต้องปฏิรูปพรรค เขาเป็นพรรคที่มีเจ้าของ ออกแบบและสั่งการมาจากเจ้าของพรรค ออกนโยบายที่ตรงใจรากหญ้าเพื่อดึงคะแนนเสียงให้ได้มากที่สุด แค่นี้ก็ได้มาเป็นรัฐบาลทุกครั้ง
แต่ถึงอย่างไรทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องเร่งปรับปรุงพรรคให้พร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ปรับโครงสร้าง-เพิ่มคนรุ่นใหม่
แม้จะไม่มีการกล่าวถึงจุดที่ควรต้องปรับปรุงว่าเรื่องใดสำคัญที่สุด แต่หากประเมินจากสุ้มเสียงของคนในพรรคจำนวนไม่น้อยแล้ว ตัวโครงสร้างของพรรคน่าจะเป็นปัญหามากที่สุด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภายในพรรคประชาธิปัตย์มีผู้อาวุโสที่มีบารมีเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นหลัก แม้ตัวหัวหน้าพรรคอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นคนรุ่นใหม่ และสมาชิกรุ่นใหม่อีกหลายคนที่ทราบปัญหาและมีทางออกของปัญหา แต่เรื่องสำคัญยังต้องให้ผู้ใหญ่ในพรรคเป็นคนให้ความเห็นชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาธิปัตย์จึงปรับเปลี่ยนอะไรยาก
“การแยกตัวออกมาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ว่า หากเลือกใช้แนวทางเดิมๆ ที่มีอยู่ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของบ้านเมืองได้ หากใช้แนวทางตามระบบเข้ามาแก้ปัญหา” นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ประเมิน
วันนี้การแข่งขันทางการเมืองเปลี่ยนไปจากเดิมมาก มีการนำเอาศาสตร์ทุกศาสตร์เข้ามาปรับใช้ เป้าหมายคือเพื่อให้ได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง พรรคใดที่ยังไม่ปรับตัวก็ต้องยอมรับสภาพว่าขนาดของพรรคจะเล็กลงไปเรื่อยๆ ทั้งจากสมาชิกในพรรคส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพรรคก็ต้องหาสังกัดใหม่ และนโยบายที่ไม่ตรงกับความต้องการของคนทั้งประเทศก็จะได้รับการเลือกตั้งกลับมาน้อยกว่าเดิม
การทบทวนข้อผิดพลาดที่ผ่านมาของทางพรรคอย่างจริงจัง น่าจะเป็นหนทางที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์อยู่ในสนามเลือกตั้งต่อไปได้ สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างการข่าวการชิงหัวหน้าพรรคครั้งใหม่นับว่ามีนัยต่อการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคประชาธิปัตย์ไม่น้อย
ไม่ได้หมายความว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เหมาะสม เพียงแต่สถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมามีความขัดแย้งสูง และนายอภิสิทธิ์เองก็ถูกมองว่าเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับพรรคคู่แข่ง ย่อมถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการโจมตีได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น
ประการต่อมาต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์ของพรรค ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงตัวโครงสร้างภายในพรรค หากพรรคยังยึดมั่นในแนวทางเดิมก็ยากที่จะกลับเข้ามาในฐานะแกนนำรัฐบาล ต้องเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาทำงานตามแนวทางใหม่ๆ ของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่เช่นนั้นพรรคก็จะกลายเป็นฝ่ายค้านตลอดกาล
นับตั้งแต่การแยกทางกันเดินของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์อย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ลาออกจากพรรคเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2556 เพื่อมาเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย หลังจากการดำเนินการในรูปของพรรคที่ไม่สามารถใช้กระบวนการตามระบบที่มีอยู่สกัดกั้นการเดินหน้าของพรรคเพื่อไทยได้
ทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์อีก 8 คน ประกอบด้วยนายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา นายอิสสระ สมชัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีต ส.ส.ตรัง นายวิทยา แก้วภราดัย อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช นายชุมพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต ส.ส.กทม. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ อดีต ส.ส.กทม. และนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีต ส.ส.กทม. ออกมาต่อสู้ในนามคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
แม้กระบวนการต่อสู้บนท้องถนนจะทำได้สะดวกกว่าการเคลื่อนไหวในนามพรรคการเมือง แต่เป้าหมายที่จะให้พรรคเพื่อไทยหลุดพ้นไปจากความเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถกระทำได้ภายใต้การขับเคลื่อนจากภาคประชาชน จนทุกอย่างยุติลง หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557
สุเทพ-สุขุมพันธ์ุ-สุรินทร์
เป็นที่ทราบกันดีว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องรักษาภาพลักษณ์ของพรรคไว้ ไม่กล้าเดินออกนอกกรอบ ยึดในเรื่องการต่อสู้ตามระบบ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนในพรรคก็ทราบดีว่าไม่มีวันที่จะเอาชนะพรรคเพื่อไทยได้หากยังยึดตามกรอบที่มีด้วย ด้วยข้อจำกัดเรื่องคะแนนเสียงในการโหวต
แม้ระยะแรกทางพรรคประชาธิปัตย์จะเดินไปในแนวทางเดียวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในการคัดค้านการบริหารประเทศของพรรคเพื่อไทย แต่เมื่อถึงที่สุดแล้วหัวหน้าพรรคอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เลือกเส้นทางตามกรอบ ไม่เอาพรรคเข้ามาเกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองของ กปปส. แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนในประชาธิปัตย์จำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยกับการออกมาเคลื่อนไหวของนายสุเทพ
เมื่อทุกอย่างผ่านพ้นไป พรรคเพื่อไทยพ้นจากอำนาจ มีรัฐาธิปัตย์ใหม่ที่มาจากคณะนายทหาร แต่ดูเหมือนว่าไม่ได้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะคู่แข่งทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยเติบใหญ่ขึ้นมาจากการหลุดจากอำนาจไปของพรรคเพื่อไทย
1 ปีเศษของการยึดอำนาจเริ่มเห็นรอยร้าวในพรรคประชาธิปัตย์กันมากขึ้น เริ่มกันที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เริ่มตรวจสอบการทำงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
ตามมาด้วยข่าวการตั้งพรรคใหม่ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับคุณชายสุขุมพันธ์ุ จนอดีตเลขาธิการ กปปส.ต้องออกมาปฏิเสธ ขณะที่ความเข้มข้นในการตรวจสอบการทำหน้าที่ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องการจัดซื้อกล้อง CCTV จำนวน 47,000 ตัว แต่กลับพบว่ามีการจัดซื้อจริงเพียง 12,000 ตัว กรณีการต่อสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสออกไปอีก 30 ปี ทั้งที่สัญญาเดิมยังเหลืออีก 17 ปี และโครงการติดตั้งไฟประดับบริเวณลานคนเมืองกรุงเทพมหานคร วงเงิน 39.5 ล้านบาท
ตามมาด้วยข่าวนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เตรียมที่จะลงสมัครชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่วาระของหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน จะหมดลงก็ปาเข้าไปเดือนธันวาคม 2561 จนเจ้าตัวต้องออกมาปฏิเสธอีกเช่นกัน
เรื่องเยอะไม่เป็นผลดีต่อพรรค
นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่บ่อยครั้งนักกับการที่สมาชิกพรรคการเมืองเดียวกันออกมาตรวจสอบการทำงานของสมาชิกในพรรค ยิ่งสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าพรรคประชาธิปัตย์จะแตกหรือไม่ เมื่อถามคนในพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นเรื่องปกติหรือไม่ ได้รับคำตอบว่า
“พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีใครเป็นเจ้าของ มีความเป็นปัจเจกสูง คนในพรรคประชาธิปัตย์ทุกคนมีเสรีภาพ หากจะทำอะไรก็เป็นความรับผิดชอบเฉพาะบุคคล และเป็นเรื่องดีที่มีการตรวจสอบการทำงานกันเอง เพื่อฝ่ายหนึ่งมีข้อสงสัย อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องหาคำตอบมาชี้แจง”
ส่วนการที่สมาชิกพรรคตรวจสอบการบริหารงานของ กทม.นั้น เพื่อเป็นการสกัดการตั้งพรรคใหม่หรือไม่นั้น ตอนนี้คงไม่มีใครตอบได้ เพราะการเมืองเปลี่ยนเร็วมาก
พร้อมยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ถือว่าไม่เป็นผลดีต่อพรรค ทุกอย่างต้องจบ อย่างกรณีตรวจสอบการทำงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ ผู้ร้องได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบ ถือว่าให้หน่วยงานกลางเข้ามาทำหน้าที่แทน ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ยุติลง
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งในเวลานี้คือ ทุกพรรคไม่สามารถประชุมพรรคเพื่อแก้ปัญหาภายในพรรคได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมาย หากเป็นสถานการณ์ปกติเรื่องเหล่านี้คงมีการหาทางออกกันผ่านที่ประชุมพรรค
แน่นอนว่าข่าวคราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์ ย่อมทำให้ฝ่ายที่ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ไม่สบายใจ เพราะมีตัวเลือกในทางการเมืองเหลืออีกไม่มากนัก การแยกตัวออกไปของนายสุเทพและจะไม่กลับเข้ามาพรรคประชาธิปัตย์อีก ย่อมทำให้โอกาสที่การเลือกตั้งครั้งต่อไปพรรคเก่าแก่แห่งนี้จะได้ที่นั่งน้อยลงกว่าเดิม
“เรื่องการแยกตัวออกไปของสมาชิกพรรคนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกพรรคการเมือง เมื่อคนเก่าออกไปก็มีคนใหม่เข้ามา ในอดีตก็มีการแยกตัวออกไปอย่างกลุ่ม 10 มกราคม พรรคก็สร้างคนใหม่ขึ้นมาแทน ให้พร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งตอบไม่ได้ว่าจะมีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เราก็ต้องสรรหาคนที่พร้อมจะทำงานให้กับประชาชน” เสียงหนึ่งจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ถึงเวลาปฏิรูปพรรค
อย่างไรก็ตามแม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะมีภาพพจน์ดีเพียงใด เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ของคนชนชั้นกลาง แต่ผลการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมากลับไม่สามารถกุมเสียงข้างมากเหนือกว่าพรรคเพื่อไทยได้ นี่จึงเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่คนในพรรคประชาธิปัตย์ต้องการที่จะแก้ไข แม้กระทั่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ยังได้ฝากให้ทางพรรคประชาธิปัตย์ต้องทำการปฏิรูป
โดยก่อนที่จะเกิด กปปส. ทางพรรคก็มีความพยายามที่จะมีการปฏิรูปพรรค แต่สุดท้ายเรื่องก็เงียบไปพร้อมกับการเดินออกไปจากพรรคของผู้เสนอความคิดดังกล่าว
ถ้าให้พูดตรงๆ ว่าเลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้เพื่อไทย คงต้องมีการทบทวนข้อผิดพลาดที่ผ่านมาว่าเกิดจากอะไร และต้องปรับปรุงอะไรบ้าง จะเรียกว่าปฏิรูปหรือไม่ก็ตาม แต่ควรจะต้องมีการปรับปรุงแนวทางในการต่อสู้ แม้ภายในพรรคจะมีการพูดคุยหารือกันถึงเรื่องดังกล่าวว่า จุดอ่อนของพรรคคือการไม่สามารถเข้าถึงจุดที่ควรจะเข้าถึงได้ แต่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง
เรายังไม่ได้ลงไปถึงระดับ อบต.หรือ อบจ.เหมือนกับพรรคเพื่อไทย มุ่งแค่เพียงระดับ ส.ส.เป็นหลัก ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วการเมืองระดับท้องถิ่นนับว่าเป็นแรงหนุนที่สำคัญต่อการเมืองระดับชาติ เพราะฐานเสียงเหล่านี้จะส่งต่อไปยังการเลือกตั้งในระดับชาติ
แม้จะมีความพยายามออกนโยบายเพื่อเน้นไปที่ระดับรากหญ้า แต่ก็มักจะถูกพรรคคู่แข่งยื่นข้อเสนอที่มากกว่าออกมาทับ นโยบายที่ออกมานั้นยึดที่ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการและไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินมาก ขณะที่อีกฝ่ายไม่ได้ยึดหลักการดังกล่าว ทำเพียงเพื่อให้สามารถดึงดูดใจโดยไม่คำนึงถึงภาระอื่นๆ ที่จะตามมา สุดท้ายก็จะกลายมาเป็นภาระของคนทั้งประเทศที่ต้องแบกรับ
อย่างพรรคเพื่อไทยไม่เห็นต้องปฏิรูปพรรค เขาเป็นพรรคที่มีเจ้าของ ออกแบบและสั่งการมาจากเจ้าของพรรค ออกนโยบายที่ตรงใจรากหญ้าเพื่อดึงคะแนนเสียงให้ได้มากที่สุด แค่นี้ก็ได้มาเป็นรัฐบาลทุกครั้ง
แต่ถึงอย่างไรทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องเร่งปรับปรุงพรรคให้พร้อมสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ปรับโครงสร้าง-เพิ่มคนรุ่นใหม่
แม้จะไม่มีการกล่าวถึงจุดที่ควรต้องปรับปรุงว่าเรื่องใดสำคัญที่สุด แต่หากประเมินจากสุ้มเสียงของคนในพรรคจำนวนไม่น้อยแล้ว ตัวโครงสร้างของพรรคน่าจะเป็นปัญหามากที่สุด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภายในพรรคประชาธิปัตย์มีผู้อาวุโสที่มีบารมีเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นหลัก แม้ตัวหัวหน้าพรรคอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นคนรุ่นใหม่ และสมาชิกรุ่นใหม่อีกหลายคนที่ทราบปัญหาและมีทางออกของปัญหา แต่เรื่องสำคัญยังต้องให้ผู้ใหญ่ในพรรคเป็นคนให้ความเห็นชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาธิปัตย์จึงปรับเปลี่ยนอะไรยาก
“การแยกตัวออกมาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ว่า หากเลือกใช้แนวทางเดิมๆ ที่มีอยู่ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของบ้านเมืองได้ หากใช้แนวทางตามระบบเข้ามาแก้ปัญหา” นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ประเมิน
วันนี้การแข่งขันทางการเมืองเปลี่ยนไปจากเดิมมาก มีการนำเอาศาสตร์ทุกศาสตร์เข้ามาปรับใช้ เป้าหมายคือเพื่อให้ได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง พรรคใดที่ยังไม่ปรับตัวก็ต้องยอมรับสภาพว่าขนาดของพรรคจะเล็กลงไปเรื่อยๆ ทั้งจากสมาชิกในพรรคส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพรรคก็ต้องหาสังกัดใหม่ และนโยบายที่ไม่ตรงกับความต้องการของคนทั้งประเทศก็จะได้รับการเลือกตั้งกลับมาน้อยกว่าเดิม
การทบทวนข้อผิดพลาดที่ผ่านมาของทางพรรคอย่างจริงจัง น่าจะเป็นหนทางที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์อยู่ในสนามเลือกตั้งต่อไปได้ สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างการข่าวการชิงหัวหน้าพรรคครั้งใหม่นับว่ามีนัยต่อการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคประชาธิปัตย์ไม่น้อย
ไม่ได้หมายความว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เหมาะสม เพียงแต่สถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมามีความขัดแย้งสูง และนายอภิสิทธิ์เองก็ถูกมองว่าเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงกับพรรคคู่แข่ง ย่อมถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการโจมตีได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น
ประการต่อมาต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์ของพรรค ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงตัวโครงสร้างภายในพรรค หากพรรคยังยึดมั่นในแนวทางเดิมก็ยากที่จะกลับเข้ามาในฐานะแกนนำรัฐบาล ต้องเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาทำงานตามแนวทางใหม่ๆ ของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่เช่นนั้นพรรคก็จะกลายเป็นฝ่ายค้านตลอดกาล