มรสุมหลายลูกจ่อคิวทดสอบรัฐบาลประยุทธ์ ปัญหาเศรษฐกิจ-ปากท้อง ปมอุทยานราชภักดิ์ ที่เพื่อไทยและนปช.จ้องขย่ม รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ตีปี๊บไม่เป็นประชาธิปไตย ดึงต่างชาติร่วมวง ขณะที่พรรคการเมืองใหญ่อย่างเพื่อไทยและประชาธิปัตย์เริ่มฝ่อ อนาคตการเมืองไทยได้รัฐบาลผสม ด้านทักษิณแจ้งแกนนำ “สู้เต็มร้อย” แต่ลูกพรรคทำใจครั้งหน้าอาจไม่มี “ชินวัตร” นำทัพ
การเข้ามายุติปัญหาบ้านเมืองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น จนกลายมาเป็นรัฐบาลพร้อมด้วยการชูธงการปฏิรูปในทุกภาคส่วน ทำให้คนในภาคการเมืองหวั่นไหวว่าแนวทางที่รัฐบาลปัจจุบันจะหาทางลดความเข้มแข็งของพรรคการเมืองลงผ่านกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความแข็งแกร่งของพรรคการเมืองที่มีทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคนั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงมาโดยตลอด แม้จะถูกยุบพรรคก็ตั้งขึ้นมาใหม่ส่งต่อให้เครือญาติเข้ามาสานต่อ จนต้องถูกยึดอำนาจถึง 2 ครั้งคือในปี 2549 ที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี และ 2557 มีน้องสาวคือนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่พรรคการเมืองที่มีคนในตระกูลชินวัตรเป็นผู้นำพรรค แบ่งคนไทยออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่สนับสนุนและส่วนที่ต่อต้าน มีการปะทะกันของทั้ง 2 ฝ่าย มีผู้บาดเจ็บล้มตาย จนมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดสงครามกลางเมืองจนกองทัพต้องออกมายุติปัญหา
แม้ว่าภายหลังการยึดอำนาจเมื่อปี 2557 ตลอดจนปี 2558 สถานการณ์ทางการเมืองที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ต้องรับมือนั้น นับว่าไม่ได้หนักหนา สามารถคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้อยู่ โดยเฉพาะขั้วอำนาจเก่าที่ทำได้เพียงการออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยและจัดอีเวนต์ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเครือข่ายบ้างเล็กน้อย ทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
มรสุมรัฐบาลประยุทธ์ที่ต้องเผชิญ
อย่างไรก็ตามในปี 2559 มรสุมที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ต้องเผชิญก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ภาระด้านหนึ่งคือการบริหารประเทศดูแลทุกสุขของคนไทยทั้งประเทศ อีกด้านคือการฝ่าแรงกดดันในทางการเมืองเพื่อเป้าหมายที่วางไว้นั่นคือการปฏิรูปประเทศ
แหล่งข่าวจากพรรคการเมืองกล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจถือว่าเป็นอีกโจทย์หนึ่งที่ท้าทายความสามารถในการบริหารประเทศของทุกรัฐบาล เรื่องปากท้องของคน ตอนนี้ทุกอย่างแย่ไปหมด ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งออกมีปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก กำลังซื้อในประเทศยังไม่ฟื้น รัฐบาลยังไม่สามารถปลุกความเชื่อมั่นให้กับผู้คนได้
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ยังไม่มีตัวใดฉุดความมั่นใจให้กับคนไทยได้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะมีกลุ่มต่างๆ ออกมาเรียกร้องกันมากขึ้น ตรงนี้รัฐบาลต้องเตรียมการเพื่อหาแนวทางแก้ไข
ตัวที่จะมาซ้ำเติมปัญหาปากท้องอีกคือภัยแล้ง เพราะหลายหน่วยงานคาดการณ์แล้วว่าจะเกิดภัยแล้งเหมือนกับปี 2558 ต้องไม่ลืมว่าสินค้าเกษตรถือว่าเป็นสินค้าทางการเมือง ดังนั้นรัฐบาลควรหามาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไว้รองรับ
อีกเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลคงต้องหาทางปลุกกระแสเพื่อสร้างภาพลบให้กับรัฐบาล นั่นคือเรื่องปมปัญหาในอุทยานราชภักดิ์ หลังจากที่ผลสอบของกองทัพบกออกมาระบุว่าทุกอย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่พบการทุจริต จนกระทรวงกลาโหมตั้งกรรมการตรวจสอบอีกรอบ
อุทยานราชภักดิ์มีการเปรยออกมาจากคนในรัฐบาลว่าอาจมีการทุจริต ปัญหาคือจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพราะเมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ เน้นไปที่การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน และเรื่องอุทยานฯ กำลังวนกลับไปสู่รัฐบาล
ผลการตรวจสอบของกระทรวงกลาโหมโดยพลเอกชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม ฐานะประธานคณะกรรมการสอบอุทยานราชภักดิ์ แถลงเมื่อ 30 ธันวาคม 2558 ไม่ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวมีการทุจริตหรือไม่ เพราะอยู่นอกอำนาจหน้าที่การตรวจสอบไม่สามารถชี้ได้ตรงไหนผิดหรือถูก มีหน้าที่แค่ตั้งข้อสังเกตให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอบต่อ
เมื่อทุกอย่างยังไม่ชัดเจน เรื่องนี้จะกลายเป็นปมให้พรรคเพื่อไทยและกลุ่ม นปช.เดินหน้าขยายผลในเรื่องนี้ต่อไปเรื่อยๆ ลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลลง แม้จะไม่ถึงขนาดที่ทำให้รัฐบาลนี้อยู่ไม่ได้ แต่ความนิยมในรัฐบาลจะค่อยๆ ลดลง
ในฝ่ายของพรรคเพื่อไทยและนปช. ประเด็นหลักที่จะกดดันรัฐบาลคือการช่วยเหลือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตอนนี้เรื่องอยู่ในกระบวนการของศาล จึงให้น้ำหนักไปที่เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมุ่งไปที่ประเด็นความไม่เป็นประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างกันอยู่ มีเนื้อหาบางประการเพื่อลดอำนาจของพรรคการเมืองที่ครอบงำในสภา
แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ค้านในสิ่งที่พรรคเพื่อไทยกำลังเรียกร้องอยู่ โดยเพื่อไทยพยายามขายประเด็นเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตย รวมถึงการทดสอบมาตรา 44 ของรัฐบาลเพื่อล่อให้มีการใช้อำนาจและมีองค์กรระหว่างประเทศที่พร้อมจะเข้ามาแทรกในเรื่องดังกล่าว รวมไปถึงท่าทีของประเทศในแถบตะวันตกที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อมาตรการดังกล่าวของรัฐบาล
ต่างประเทศกดดันมากขึ้น
ต่างประเทศจะเข้ามากดดันมากขึ้นในทุกมิติ ทั้งที่เข้ามาโดยธรรมชาติและมาจากการเตรียมการ รัฐบาลต้องอธิบายข้อข้องใจต่างๆ ให้ได้ เพราะในบางเรื่องนั้นจะมีผลกระทบตามมาหากมีการลงโทษประเทศไทย เช่น เรื่องการค้า หรือการตัดสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ
รวมไปถึงปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่อาจถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการกดดันรัฐบาลได้ อย่างกรณีผู้ต้องหาชาวพม่าในคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ที่ถูกศาลพิพากษาประหารชีวิต โดยมีกระแสต่อต้านจากชาวพม่าที่ประท้วงที่สถานทูตไทยที่ประเทศพม่า
ไม่ว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นเองหรือเกิดจากการเตรียมการของบางกลุ่มที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับระดับผู้นำของประเทศเพื่อนบ้านเรา เพราะหลายคดีที่มีชาวพม่าเป็นผู้ต้องหา ไม่ปรากฏการออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ แต่ผลที่ออกมาเช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องดีสำหรับประเทศไทย เพราะยังมีกระบวนการอุทธรณ์และฎีกาได้อีก ตรงนี้ต้องชี้แจง
นอกจากนี้กระบวนการในการปล่อยข่าวต่างๆ เพื่อจะลดความนิยมในรัฐบาลอาจจะมีออกมาเรื่อยๆ เช่น ปล่อยข่าวว่ารัฐบาลเตรียมยกเลิกสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยได้รับ อย่างข่าวจะยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เชื่อว่าในปี 2559 แนวทางการต่อสู้ของฝ่ายที่เสียผลประโยชน์คงจะออกมามากขึ้น
พรรคใหญ่ลดขนาด
สำหรับในภาคการเมืองเอง ตัวพรรคการเมืองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเช่นกัน พรรคขนาดใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์จะมีขนาดที่เล็กลง ด้านหนึ่งเป็นผลจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวทำให้ลดขนาดลง อีกปัจจัยหนึ่งคงต้องรอความชัดเจนของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะออกมาว่าจะทำให้ขนาดของพรรคการเมืองในอนาคตเล็กลงหรือไม่
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์กล่าวว่า ตอนนี้ร่างรัฐธรรมนูญชุดอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ยังไม่เสร็จและยังไม่มีผลบังคับใช้ พรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรคทั้งพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ ก็เริ่มมีแนวโน้มว่าจะค่อยๆ ลดขนาดลงอยู่แล้ว
พรรคเพื่อไทยนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า คนในครอบครัวชินวัตรที่ขึ้นมาเป็นผู้นำทั้งทักษิณ ชินวัตร สมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร การเลือกตั้งในครั้งต่อไปยังมองไม่เห็นว่าทักษิณจะเลือกใครมาเป็นจุดขายของพรรค คนในตระกูลที่ยังพอเหลืออยู่ก็ติดปัญหาเรื่องภาพลักษณ์
ที่สำคัญคือคนชนชั้นกลางไม่ไว้ใจพรรคเพื่อไทย แม้ในด้านจำนวนเสียงอาจจะไม่มาก แต่พลังของคนชนชั้นกลางถือว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในอนาคตได้ รวมถึงฝ่ายทหารเองก็มองในทิศทางเดียวกัน แม้พรรคเพื่อไทยจะได้กลับมาบริหารประเทศอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง แต่จะถูกจับตาเป็นพิเศษ การบริหารประเทศให้เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจในพรรคอาจไม่สะดวกเหมือนเดิม
เราได้พูดคุยกับคนในพรรคเพื่อไทยระดับที่ไม่ใช่แกนนำของพรรค หลายคนมองคล้ายกันว่าอนาคตของพรรคเพื่อไทยจากนี้ไปไม่สดใสเหมือนที่ผ่านมา บางส่วนเลือกที่จะหยุด บางส่วนเลือกที่จะเลิกเล่นการเมืองและมีบางส่วนที่เริ่มมองหาสังกัดใหม่ที่มีภาพลักษณ์ที่ดีกว่า และยอมรับว่าการเลือกตั้งในครั้งหน้าโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะกลับเข้ามาในสภาคงน้อยกว่าเดิม
ขณะที่คู่แข่งสำคัญในทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีโอกาสที่จะได้ที่นั่งในสภาน้อยลงเช่นกัน เห็นได้จากในช่วงปลายรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อม ส.ส.จำนวนหนึ่ง ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ในนาม กปปส.
นั่นก็คือสัญญาณที่ชัดเจนว่าภายในพรรคประชาธิปัตย์เอง สมาชิกในพรรคก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกรณีของนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่เสนอให้มีการปฏิรูปพรรค หลังจากที่เลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้พรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์
บางส่วนที่ยังอยู่ในประชาธิปัตย์ก็ใช่ว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางของประชาธิปัตย์ เพียงแต่ยังไม่แสดงตัวออกมา ในการเลือกตั้งครั้งหน้าคงมีคนของประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่งเลือกที่จะเดินออกจากพรรค แม้ว่านายสุเทพจะออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีการตั้งพรรคการเมืองร่วมกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเรื่องการเมืองนั้นทุกอย่างเกิดขึ้นได้รวดเร็วเสมอ
2 พรรคใหญ่ใช้ไม่ได้กับเมืองไทย
อดีตกรรมการการเลือกตั้งกล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นเห็นปัญหาเรื่องความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล ที่โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลผสม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นอย่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็มักจะมีพรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวออกจากการเป็นรัฐบาล จนทำให้รัฐบาลต้องล้มลง การบริหารประเทศให้ครบ 4 ปีนั้นทำได้ยาก จึงมีแนวคิดที่จะทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งขึ้น เพื่อให้บริหารประเทศต่อเนื่องไปได้
เมื่อมีการออกแบบให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งมากขึ้น กลับมาเจอปัญหาเรื่องการผูกขาดโดยพรรคการเมือง สิทธิในการลงมติต่างพรรคเป็นผู้กำหนด สมาชิกในพรรคเห็นต่างไม่ได้ จนเกิดเผด็จการทางสภาขึ้นมา
โครงการประชานิยมถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง เป็นยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อให้ได้คะแนนเสียงจนได้มาเป็นรัฐบาล ทำให้ประชาชนต่างรอความหวังของโครงการเหล่านี้ ไม่ดิ้นรนแก้ปัญหาด้วยตัวเอง จนเกิดความอ่อนแอ ขณะเดียวกันยังสร้างความเสียหายให้กับงบประมาณทั้งการรั่วไหล การทุจริตอีกมากมาย
ที่สำคัญกว่านั้นด้วยการผูกขาดของพรรคการเมือง ทำให้กลไกการตรวจสอบหรือการถ่วงดุลอำนาจในการบริหารของรัฐบาลตามระบบไม่สามารถนำมาใช้ได้ จนต้องกลายเป็นการออกมาเรียกร้องบนท้องถนน และเกิดความรุนแรงตามมาระหว่างผู้ที่คัดค้านกับผู้ที่สนับสนุนจนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง
ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 2550 จึงพยายามที่จะลดอำนาจของพรรคการเมืองลง พรรคเพื่อไทยจึงไม่เห็นด้วยและพยายามเรียกร้องให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 แทน
ในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะลดขนาดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ หรือต้องการทำให้พรรคการเมืองมีขนาดเล็กลง แต่ไปให้น้ำหนักกับพรรคการเมืองขนาดกลางมากขึ้น แต่การลดลงของเพื่อไทยและประชาธิปัตย์นั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบภายในพรรค
อีกทั้งพรรคใหญ่ในอดีตที่เข้ามาเป็นรัฐบาลอย่างพรรคความหวังใหม่ พรรคชาติไทยและพรรคเพื่อไทยนั้นเกิดจากการรวมตัวชั่วคราวของกลุ่มก้อนทางการเมืองที่เข้ามารวมกันจนได้ที่นั่งในสภามาก เมื่อใดก็ตามที่กลุ่มการเมืองที่ไม่ใช่แกนหลักของพรรคถอนตัวออกไป พรรคนั้นก็จะลดขนาดลงโดยปริยาย
พรรคเพื่อไทยก็เช่นเดียวกัน เดิมมีทั้งกลุ่มความหวังใหม่และกลุ่มของภูมิใจไทยที่เข้ามาร่วม ตอนนี้ภูมิใจไทยถอนตัวออกไป แต่ทางเพื่อไทยได้สร้างคนใหม่ขึ้นมาโดยใช้ความนิยมของพรรคเป็นจุดแข็ง วันนี้ภาพลักษณ์ของเพื่อไทยเสียหาย สมาชิกในพรรคที่แข็งแรงพอก็ต้องแสวงหาเส้นทางใหม่ๆ เพื่อก้าวเดินต่อไป
เช่นเดียวกับประชาธิปัตย์ที่ยึดในเรื่องหลักการเป็นหลัก จนทำให้เกิดความเห็นต่างของคนในพรรค จนต้องแยกตัวออกมาของทีมนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
แนวคิดร่างรัฐธรรมนูญ
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ตัวร่างรัฐธรรมนูญใหม่อยู่บนสภาพปัญหาว่าจะเดินหน้าส่งเสริมความเป็นพรรคใหญ่ต่อไป หรือจะถอยหลังลงมาบ้าง เพราะเมื่อพรรคการเมืองใหญ่ขึ้นเราได้เห็นปัญหาที่ตามมาจากการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อให้พรรคของตัวเองได้เปรียบคู่แข่งมากที่สุด ทำทุกอย่างมุ่งไปที่เป้าหมายไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณธรรม จนเกิดปัญหามีผู้ออกมาเคลื่อนไหวบนท้องถนนมากมาย มีการปะทะกันมีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
ขณะที่สภาพการเมืองในอดีตมีหลายพรรคผสมกัน อาจทำให้การบริหารประเทศไม่ราบรื่นนัก มีการสะดุด ยุบสภาเลือกตั้งกันใหม่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้สภาพการเมืองรุนแรงเหมือนในช่วงที่เกิดการส่งเสริมให้พรรคการเมืองใหญ่ขึ้น
โจทย์ในตอนนี้คือต้องหาทางออกเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงในทางการเมืองเหมือนที่เพื่อไทยรักษาอำนาจและช่วงชิงอำนาจ แต่ก็ต้องไม่ทำให้โครงสร้างใหม่ทำเอาประเทศเดินหน้าไม่ได้เหมือนยุคก่อนๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่ต้องออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อตอบโจทย์เหล่านี้
อนาคตรัฐบาลผสม
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า ทิศทางของพรรคการเมืองจากนี้ไปนั้นมีโอกาสที่จะลดขนาดลง โดยเฉพาะ 2 พรรคใหญ่อย่างเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ เพราะที่ผ่านมาหลายฝ่ายเห็นปัญหาของพรรคใหญ่ที่มีเรื่องของการผูกขาดและเมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นมาจะมีความขัดแย้งสูง
ความหวังที่จะเห็นว่าประเทศไทยจะมีโครงสร้างของพรรคการเมืองเพียง 2 พรรคใหญ่แบบสหรัฐอเมริกาคงเป็นไปได้ยาก ด้วยความแตกต่างกันในทางบริบท เพราะก่อให้เกิดการผูกขาดในทางการเมือง
โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับการมีหลายพรรค ไม่อยากเรียกว่าเป็นการถอยหลังกลับไปเหมือนอดีต พรรคขนาดกลางและเล็กจะมีความคล่องตัวกว่า เพราะพรรคใหญ่ในเมืองไทยไม่ใช่สถาบันเหมือนในต่างประเทศ มีเจ้าของพรรคเป็นผู้กำหนดทิศทาง ส.ส.ในพรรคไม่แตกต่างจากหุ่นยนต์ต้องปฏิบัติตามแนวทางของพรรค สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นวิวัฒนาการของสังคม
ในอนาคตการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นการรวมตัวของ 3-4 พรรค ตัว ส.ส.มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น มีบทบาทมากขึ้น มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดีขึ้น แม้ว่าโครงสร้างของรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลผสม มีโอกาสที่รัฐบาลจะอยู่ไม่ครบเทอมเหมือนอดีตที่ผ่านมา จากการแยกตัวของพรรคร่วมรัฐบาล ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น หากมีเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน รัฐบาลไหนก็อยู่ไม่ได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาในการบริหารประเทศของรัฐบาลและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่จะช่วยกันเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
สอดคล้องกับฝ่ายการเมืองพรรคหนึ่งที่ประเมินว่า โฉมหน้าของการเมืองไทยจากนี้ไปมีแนวทางคล้ายกับของเยอรมันที่เป็นรัฐบาลผสม อาจเกิดการรวมตัวของพรรคการเมืองราว 3 พรรค เพื่อกุมเสียงในสภาให้ได้ราว 60% เพื่อการจัดตั้งรัฐบาล
ที่ผ่านมาพรรคขนาดกลางๆ ก็มักจะถูกเลือกให้เข้าไปร่วมกับพรรคใหญ่เพื่อความมั่นคงอยู่เสมอ เช่นพรรคชาติไทยพัฒนาของตระกูลศิลปอาชา
ส่วนข้อกังวลว่าเมื่อรัฐบาลในอนาคตจะเป็นรัฐบาลผสมแล้วจะมีปัญหาด้านเสถียรภาพในการบริหารประเทศไม่ต่อเนื่องนั้น ทุกอย่างต้องอยู่ที่เจตนาของพรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล หากตั้งใจจริงทำงานด้วยความโปร่งใส ปราศจากเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน เชื่อว่าจะสามารถทำงานได้ครบวาระ 4 ปี
อดีตการตรวจสอบจากภาคประชาชนและหน่วยงานอิสระต่างๆ ยังไม่เข้มแข็งเท่าทุกวันนี้ ดังนั้นภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน พรรคการเมืองก็ต้องไตร่ตรองให้ดีว่าต้องการจะอยู่บนเส้นทางการเมืองสั้นหรือยาว และพร้อมจะถูกดำเนินคดีหรือไม่เมื่อตรวจสอบพบการกระทำผิด
ทักษิณสู้เต็มร้อย
สมาชิกพรรคเพื่อไทยยอมรับว่า ภายใต้สถานการณ์นี้พรรคเพื่อไทยทำได้เพียงแค่การเดินเกมทางการเมืองเท่านั้น ชูเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตยหรือตอบโต้ในเรื่องคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ว่าเป็นการกลั่นแกล้ง
“ทราบมาว่าคุณทักษิณสั่งการผ่านแกนนำว่ายังคงสู้เต็มร้อย รอจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งประเมินกันแล้วว่าถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยก็ยังคงกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งตอนนี้เลือกที่จะใช้เกมทางการเมืองเข้ามาเป็นแนวทางหลัก”
ส่วนเรื่องมวลชนในปีกของ นปช.นั้น ไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก แนวร่วมจำนวนไม่น้อยหายไปด้านหนึ่งคือกลัวกฎหมาย อีกด้านหนึ่งจากกรณีที่ผ่านมาแนวร่วมในระดับล่างต้องต่อสู้คดีความกันเอง และคำพิพากษาที่ออกมาค่อนข้างหนักอย่างที่อุบลราชธานี
เขาประเมินต่อไปว่า แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะมีโอกาสกลับมาในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่คงไม่สามารถกุมเสียงได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนครั้งก่อนๆ และโอกาสที่คนในตระกูลชินวัตรจะกลับมานำทัพอีกครั้งคงเป็นไปได้ยาก ด้านหนึ่งคือคนในตระกูลนี้เหลือตัวที่จะลงสนามการเมืองน้อย ที่มีอยู่ก็ติดขัดในเรื่องภาพลักษณ์ อีกด้านหนึ่งเชื่อว่าฝ่ายที่กุมอำนาจคงไม่ปล่อยให้เพื่อไทยทำงานได้สะดวกนัก
“เชื่อว่าก่อนที่ คสช.จะพ้นอำนาจไป คดีของยิ่งลักษณ์คงต้องได้ข้อสรุปก่อน นั่นหมายความว่าโอกาสกลับมาของคนในตระกูลชินวัตรในสนามการเมืองคงไม่มีอีกต่อไป”
การเข้ามายุติปัญหาบ้านเมืองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น จนกลายมาเป็นรัฐบาลพร้อมด้วยการชูธงการปฏิรูปในทุกภาคส่วน ทำให้คนในภาคการเมืองหวั่นไหวว่าแนวทางที่รัฐบาลปัจจุบันจะหาทางลดความเข้มแข็งของพรรคการเมืองลงผ่านกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความแข็งแกร่งของพรรคการเมืองที่มีทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคนั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงมาโดยตลอด แม้จะถูกยุบพรรคก็ตั้งขึ้นมาใหม่ส่งต่อให้เครือญาติเข้ามาสานต่อ จนต้องถูกยึดอำนาจถึง 2 ครั้งคือในปี 2549 ที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี และ 2557 มีน้องสาวคือนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่พรรคการเมืองที่มีคนในตระกูลชินวัตรเป็นผู้นำพรรค แบ่งคนไทยออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่สนับสนุนและส่วนที่ต่อต้าน มีการปะทะกันของทั้ง 2 ฝ่าย มีผู้บาดเจ็บล้มตาย จนมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดสงครามกลางเมืองจนกองทัพต้องออกมายุติปัญหา
แม้ว่าภายหลังการยึดอำนาจเมื่อปี 2557 ตลอดจนปี 2558 สถานการณ์ทางการเมืองที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ต้องรับมือนั้น นับว่าไม่ได้หนักหนา สามารถคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้อยู่ โดยเฉพาะขั้วอำนาจเก่าที่ทำได้เพียงการออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยและจัดอีเวนต์ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเครือข่ายบ้างเล็กน้อย ทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
มรสุมรัฐบาลประยุทธ์ที่ต้องเผชิญ
อย่างไรก็ตามในปี 2559 มรสุมที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ต้องเผชิญก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ภาระด้านหนึ่งคือการบริหารประเทศดูแลทุกสุขของคนไทยทั้งประเทศ อีกด้านคือการฝ่าแรงกดดันในทางการเมืองเพื่อเป้าหมายที่วางไว้นั่นคือการปฏิรูปประเทศ
แหล่งข่าวจากพรรคการเมืองกล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจถือว่าเป็นอีกโจทย์หนึ่งที่ท้าทายความสามารถในการบริหารประเทศของทุกรัฐบาล เรื่องปากท้องของคน ตอนนี้ทุกอย่างแย่ไปหมด ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งออกมีปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก กำลังซื้อในประเทศยังไม่ฟื้น รัฐบาลยังไม่สามารถปลุกความเชื่อมั่นให้กับผู้คนได้
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ยังไม่มีตัวใดฉุดความมั่นใจให้กับคนไทยได้ และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะมีกลุ่มต่างๆ ออกมาเรียกร้องกันมากขึ้น ตรงนี้รัฐบาลต้องเตรียมการเพื่อหาแนวทางแก้ไข
ตัวที่จะมาซ้ำเติมปัญหาปากท้องอีกคือภัยแล้ง เพราะหลายหน่วยงานคาดการณ์แล้วว่าจะเกิดภัยแล้งเหมือนกับปี 2558 ต้องไม่ลืมว่าสินค้าเกษตรถือว่าเป็นสินค้าทางการเมือง ดังนั้นรัฐบาลควรหามาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไว้รองรับ
อีกเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลคงต้องหาทางปลุกกระแสเพื่อสร้างภาพลบให้กับรัฐบาล นั่นคือเรื่องปมปัญหาในอุทยานราชภักดิ์ หลังจากที่ผลสอบของกองทัพบกออกมาระบุว่าทุกอย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่พบการทุจริต จนกระทรวงกลาโหมตั้งกรรมการตรวจสอบอีกรอบ
อุทยานราชภักดิ์มีการเปรยออกมาจากคนในรัฐบาลว่าอาจมีการทุจริต ปัญหาคือจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพราะเมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ เน้นไปที่การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชัน และเรื่องอุทยานฯ กำลังวนกลับไปสู่รัฐบาล
ผลการตรวจสอบของกระทรวงกลาโหมโดยพลเอกชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม ฐานะประธานคณะกรรมการสอบอุทยานราชภักดิ์ แถลงเมื่อ 30 ธันวาคม 2558 ไม่ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวมีการทุจริตหรือไม่ เพราะอยู่นอกอำนาจหน้าที่การตรวจสอบไม่สามารถชี้ได้ตรงไหนผิดหรือถูก มีหน้าที่แค่ตั้งข้อสังเกตให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอบต่อ
เมื่อทุกอย่างยังไม่ชัดเจน เรื่องนี้จะกลายเป็นปมให้พรรคเพื่อไทยและกลุ่ม นปช.เดินหน้าขยายผลในเรื่องนี้ต่อไปเรื่อยๆ ลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลลง แม้จะไม่ถึงขนาดที่ทำให้รัฐบาลนี้อยู่ไม่ได้ แต่ความนิยมในรัฐบาลจะค่อยๆ ลดลง
ในฝ่ายของพรรคเพื่อไทยและนปช. ประเด็นหลักที่จะกดดันรัฐบาลคือการช่วยเหลือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตอนนี้เรื่องอยู่ในกระบวนการของศาล จึงให้น้ำหนักไปที่เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมุ่งไปที่ประเด็นความไม่เป็นประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างกันอยู่ มีเนื้อหาบางประการเพื่อลดอำนาจของพรรคการเมืองที่ครอบงำในสภา
แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ค้านในสิ่งที่พรรคเพื่อไทยกำลังเรียกร้องอยู่ โดยเพื่อไทยพยายามขายประเด็นเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตย รวมถึงการทดสอบมาตรา 44 ของรัฐบาลเพื่อล่อให้มีการใช้อำนาจและมีองค์กรระหว่างประเทศที่พร้อมจะเข้ามาแทรกในเรื่องดังกล่าว รวมไปถึงท่าทีของประเทศในแถบตะวันตกที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อมาตรการดังกล่าวของรัฐบาล
ต่างประเทศกดดันมากขึ้น
ต่างประเทศจะเข้ามากดดันมากขึ้นในทุกมิติ ทั้งที่เข้ามาโดยธรรมชาติและมาจากการเตรียมการ รัฐบาลต้องอธิบายข้อข้องใจต่างๆ ให้ได้ เพราะในบางเรื่องนั้นจะมีผลกระทบตามมาหากมีการลงโทษประเทศไทย เช่น เรื่องการค้า หรือการตัดสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ
รวมไปถึงปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่อาจถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการกดดันรัฐบาลได้ อย่างกรณีผู้ต้องหาชาวพม่าในคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ที่ถูกศาลพิพากษาประหารชีวิต โดยมีกระแสต่อต้านจากชาวพม่าที่ประท้วงที่สถานทูตไทยที่ประเทศพม่า
ไม่ว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นเองหรือเกิดจากการเตรียมการของบางกลุ่มที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับระดับผู้นำของประเทศเพื่อนบ้านเรา เพราะหลายคดีที่มีชาวพม่าเป็นผู้ต้องหา ไม่ปรากฏการออกมาเคลื่อนไหวเช่นนี้ แต่ผลที่ออกมาเช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องดีสำหรับประเทศไทย เพราะยังมีกระบวนการอุทธรณ์และฎีกาได้อีก ตรงนี้ต้องชี้แจง
นอกจากนี้กระบวนการในการปล่อยข่าวต่างๆ เพื่อจะลดความนิยมในรัฐบาลอาจจะมีออกมาเรื่อยๆ เช่น ปล่อยข่าวว่ารัฐบาลเตรียมยกเลิกสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยได้รับ อย่างข่าวจะยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เชื่อว่าในปี 2559 แนวทางการต่อสู้ของฝ่ายที่เสียผลประโยชน์คงจะออกมามากขึ้น
พรรคใหญ่ลดขนาด
สำหรับในภาคการเมืองเอง ตัวพรรคการเมืองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเช่นกัน พรรคขนาดใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์จะมีขนาดที่เล็กลง ด้านหนึ่งเป็นผลจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวทำให้ลดขนาดลง อีกปัจจัยหนึ่งคงต้องรอความชัดเจนของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะออกมาว่าจะทำให้ขนาดของพรรคการเมืองในอนาคตเล็กลงหรือไม่
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์กล่าวว่า ตอนนี้ร่างรัฐธรรมนูญชุดอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ยังไม่เสร็จและยังไม่มีผลบังคับใช้ พรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรคทั้งพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ ก็เริ่มมีแนวโน้มว่าจะค่อยๆ ลดขนาดลงอยู่แล้ว
พรรคเพื่อไทยนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า คนในครอบครัวชินวัตรที่ขึ้นมาเป็นผู้นำทั้งทักษิณ ชินวัตร สมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร การเลือกตั้งในครั้งต่อไปยังมองไม่เห็นว่าทักษิณจะเลือกใครมาเป็นจุดขายของพรรค คนในตระกูลที่ยังพอเหลืออยู่ก็ติดปัญหาเรื่องภาพลักษณ์
ที่สำคัญคือคนชนชั้นกลางไม่ไว้ใจพรรคเพื่อไทย แม้ในด้านจำนวนเสียงอาจจะไม่มาก แต่พลังของคนชนชั้นกลางถือว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในอนาคตได้ รวมถึงฝ่ายทหารเองก็มองในทิศทางเดียวกัน แม้พรรคเพื่อไทยจะได้กลับมาบริหารประเทศอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง แต่จะถูกจับตาเป็นพิเศษ การบริหารประเทศให้เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจในพรรคอาจไม่สะดวกเหมือนเดิม
เราได้พูดคุยกับคนในพรรคเพื่อไทยระดับที่ไม่ใช่แกนนำของพรรค หลายคนมองคล้ายกันว่าอนาคตของพรรคเพื่อไทยจากนี้ไปไม่สดใสเหมือนที่ผ่านมา บางส่วนเลือกที่จะหยุด บางส่วนเลือกที่จะเลิกเล่นการเมืองและมีบางส่วนที่เริ่มมองหาสังกัดใหม่ที่มีภาพลักษณ์ที่ดีกว่า และยอมรับว่าการเลือกตั้งในครั้งหน้าโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะกลับเข้ามาในสภาคงน้อยกว่าเดิม
ขณะที่คู่แข่งสำคัญในทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีโอกาสที่จะได้ที่นั่งในสภาน้อยลงเช่นกัน เห็นได้จากในช่วงปลายรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อม ส.ส.จำนวนหนึ่ง ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ในนาม กปปส.
นั่นก็คือสัญญาณที่ชัดเจนว่าภายในพรรคประชาธิปัตย์เอง สมาชิกในพรรคก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกรณีของนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่เสนอให้มีการปฏิรูปพรรค หลังจากที่เลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้พรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์
บางส่วนที่ยังอยู่ในประชาธิปัตย์ก็ใช่ว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางของประชาธิปัตย์ เพียงแต่ยังไม่แสดงตัวออกมา ในการเลือกตั้งครั้งหน้าคงมีคนของประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่งเลือกที่จะเดินออกจากพรรค แม้ว่านายสุเทพจะออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีการตั้งพรรคการเมืองร่วมกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเรื่องการเมืองนั้นทุกอย่างเกิดขึ้นได้รวดเร็วเสมอ
2 พรรคใหญ่ใช้ไม่ได้กับเมืองไทย
อดีตกรรมการการเลือกตั้งกล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นเห็นปัญหาเรื่องความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล ที่โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลผสม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นอย่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็มักจะมีพรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวออกจากการเป็นรัฐบาล จนทำให้รัฐบาลต้องล้มลง การบริหารประเทศให้ครบ 4 ปีนั้นทำได้ยาก จึงมีแนวคิดที่จะทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งขึ้น เพื่อให้บริหารประเทศต่อเนื่องไปได้
เมื่อมีการออกแบบให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งมากขึ้น กลับมาเจอปัญหาเรื่องการผูกขาดโดยพรรคการเมือง สิทธิในการลงมติต่างพรรคเป็นผู้กำหนด สมาชิกในพรรคเห็นต่างไม่ได้ จนเกิดเผด็จการทางสภาขึ้นมา
โครงการประชานิยมถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง เป็นยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อให้ได้คะแนนเสียงจนได้มาเป็นรัฐบาล ทำให้ประชาชนต่างรอความหวังของโครงการเหล่านี้ ไม่ดิ้นรนแก้ปัญหาด้วยตัวเอง จนเกิดความอ่อนแอ ขณะเดียวกันยังสร้างความเสียหายให้กับงบประมาณทั้งการรั่วไหล การทุจริตอีกมากมาย
ที่สำคัญกว่านั้นด้วยการผูกขาดของพรรคการเมือง ทำให้กลไกการตรวจสอบหรือการถ่วงดุลอำนาจในการบริหารของรัฐบาลตามระบบไม่สามารถนำมาใช้ได้ จนต้องกลายเป็นการออกมาเรียกร้องบนท้องถนน และเกิดความรุนแรงตามมาระหว่างผู้ที่คัดค้านกับผู้ที่สนับสนุนจนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง
ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 2550 จึงพยายามที่จะลดอำนาจของพรรคการเมืองลง พรรคเพื่อไทยจึงไม่เห็นด้วยและพยายามเรียกร้องให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 แทน
ในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะลดขนาดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ หรือต้องการทำให้พรรคการเมืองมีขนาดเล็กลง แต่ไปให้น้ำหนักกับพรรคการเมืองขนาดกลางมากขึ้น แต่การลดลงของเพื่อไทยและประชาธิปัตย์นั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบภายในพรรค
อีกทั้งพรรคใหญ่ในอดีตที่เข้ามาเป็นรัฐบาลอย่างพรรคความหวังใหม่ พรรคชาติไทยและพรรคเพื่อไทยนั้นเกิดจากการรวมตัวชั่วคราวของกลุ่มก้อนทางการเมืองที่เข้ามารวมกันจนได้ที่นั่งในสภามาก เมื่อใดก็ตามที่กลุ่มการเมืองที่ไม่ใช่แกนหลักของพรรคถอนตัวออกไป พรรคนั้นก็จะลดขนาดลงโดยปริยาย
พรรคเพื่อไทยก็เช่นเดียวกัน เดิมมีทั้งกลุ่มความหวังใหม่และกลุ่มของภูมิใจไทยที่เข้ามาร่วม ตอนนี้ภูมิใจไทยถอนตัวออกไป แต่ทางเพื่อไทยได้สร้างคนใหม่ขึ้นมาโดยใช้ความนิยมของพรรคเป็นจุดแข็ง วันนี้ภาพลักษณ์ของเพื่อไทยเสียหาย สมาชิกในพรรคที่แข็งแรงพอก็ต้องแสวงหาเส้นทางใหม่ๆ เพื่อก้าวเดินต่อไป
เช่นเดียวกับประชาธิปัตย์ที่ยึดในเรื่องหลักการเป็นหลัก จนทำให้เกิดความเห็นต่างของคนในพรรค จนต้องแยกตัวออกมาของทีมนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
แนวคิดร่างรัฐธรรมนูญ
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ตัวร่างรัฐธรรมนูญใหม่อยู่บนสภาพปัญหาว่าจะเดินหน้าส่งเสริมความเป็นพรรคใหญ่ต่อไป หรือจะถอยหลังลงมาบ้าง เพราะเมื่อพรรคการเมืองใหญ่ขึ้นเราได้เห็นปัญหาที่ตามมาจากการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อให้พรรคของตัวเองได้เปรียบคู่แข่งมากที่สุด ทำทุกอย่างมุ่งไปที่เป้าหมายไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณธรรม จนเกิดปัญหามีผู้ออกมาเคลื่อนไหวบนท้องถนนมากมาย มีการปะทะกันมีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
ขณะที่สภาพการเมืองในอดีตมีหลายพรรคผสมกัน อาจทำให้การบริหารประเทศไม่ราบรื่นนัก มีการสะดุด ยุบสภาเลือกตั้งกันใหม่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้สภาพการเมืองรุนแรงเหมือนในช่วงที่เกิดการส่งเสริมให้พรรคการเมืองใหญ่ขึ้น
โจทย์ในตอนนี้คือต้องหาทางออกเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงในทางการเมืองเหมือนที่เพื่อไทยรักษาอำนาจและช่วงชิงอำนาจ แต่ก็ต้องไม่ทำให้โครงสร้างใหม่ทำเอาประเทศเดินหน้าไม่ได้เหมือนยุคก่อนๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่ต้องออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อตอบโจทย์เหล่านี้
อนาคตรัฐบาลผสม
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า ทิศทางของพรรคการเมืองจากนี้ไปนั้นมีโอกาสที่จะลดขนาดลง โดยเฉพาะ 2 พรรคใหญ่อย่างเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ เพราะที่ผ่านมาหลายฝ่ายเห็นปัญหาของพรรคใหญ่ที่มีเรื่องของการผูกขาดและเมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองขึ้นมาจะมีความขัดแย้งสูง
ความหวังที่จะเห็นว่าประเทศไทยจะมีโครงสร้างของพรรคการเมืองเพียง 2 พรรคใหญ่แบบสหรัฐอเมริกาคงเป็นไปได้ยาก ด้วยความแตกต่างกันในทางบริบท เพราะก่อให้เกิดการผูกขาดในทางการเมือง
โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับการมีหลายพรรค ไม่อยากเรียกว่าเป็นการถอยหลังกลับไปเหมือนอดีต พรรคขนาดกลางและเล็กจะมีความคล่องตัวกว่า เพราะพรรคใหญ่ในเมืองไทยไม่ใช่สถาบันเหมือนในต่างประเทศ มีเจ้าของพรรคเป็นผู้กำหนดทิศทาง ส.ส.ในพรรคไม่แตกต่างจากหุ่นยนต์ต้องปฏิบัติตามแนวทางของพรรค สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นวิวัฒนาการของสังคม
ในอนาคตการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นการรวมตัวของ 3-4 พรรค ตัว ส.ส.มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น มีบทบาทมากขึ้น มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดีขึ้น แม้ว่าโครงสร้างของรัฐบาลจะเป็นรัฐบาลผสม มีโอกาสที่รัฐบาลจะอยู่ไม่ครบเทอมเหมือนอดีตที่ผ่านมา จากการแยกตัวของพรรคร่วมรัฐบาล ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น หากมีเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน รัฐบาลไหนก็อยู่ไม่ได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาในการบริหารประเทศของรัฐบาลและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่จะช่วยกันเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
สอดคล้องกับฝ่ายการเมืองพรรคหนึ่งที่ประเมินว่า โฉมหน้าของการเมืองไทยจากนี้ไปมีแนวทางคล้ายกับของเยอรมันที่เป็นรัฐบาลผสม อาจเกิดการรวมตัวของพรรคการเมืองราว 3 พรรค เพื่อกุมเสียงในสภาให้ได้ราว 60% เพื่อการจัดตั้งรัฐบาล
ที่ผ่านมาพรรคขนาดกลางๆ ก็มักจะถูกเลือกให้เข้าไปร่วมกับพรรคใหญ่เพื่อความมั่นคงอยู่เสมอ เช่นพรรคชาติไทยพัฒนาของตระกูลศิลปอาชา
ส่วนข้อกังวลว่าเมื่อรัฐบาลในอนาคตจะเป็นรัฐบาลผสมแล้วจะมีปัญหาด้านเสถียรภาพในการบริหารประเทศไม่ต่อเนื่องนั้น ทุกอย่างต้องอยู่ที่เจตนาของพรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล หากตั้งใจจริงทำงานด้วยความโปร่งใส ปราศจากเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน เชื่อว่าจะสามารถทำงานได้ครบวาระ 4 ปี
อดีตการตรวจสอบจากภาคประชาชนและหน่วยงานอิสระต่างๆ ยังไม่เข้มแข็งเท่าทุกวันนี้ ดังนั้นภายใต้สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน พรรคการเมืองก็ต้องไตร่ตรองให้ดีว่าต้องการจะอยู่บนเส้นทางการเมืองสั้นหรือยาว และพร้อมจะถูกดำเนินคดีหรือไม่เมื่อตรวจสอบพบการกระทำผิด
ทักษิณสู้เต็มร้อย
สมาชิกพรรคเพื่อไทยยอมรับว่า ภายใต้สถานการณ์นี้พรรคเพื่อไทยทำได้เพียงแค่การเดินเกมทางการเมืองเท่านั้น ชูเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตยหรือตอบโต้ในเรื่องคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ว่าเป็นการกลั่นแกล้ง
“ทราบมาว่าคุณทักษิณสั่งการผ่านแกนนำว่ายังคงสู้เต็มร้อย รอจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งประเมินกันแล้วว่าถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยก็ยังคงกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งตอนนี้เลือกที่จะใช้เกมทางการเมืองเข้ามาเป็นแนวทางหลัก”
ส่วนเรื่องมวลชนในปีกของ นปช.นั้น ไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก แนวร่วมจำนวนไม่น้อยหายไปด้านหนึ่งคือกลัวกฎหมาย อีกด้านหนึ่งจากกรณีที่ผ่านมาแนวร่วมในระดับล่างต้องต่อสู้คดีความกันเอง และคำพิพากษาที่ออกมาค่อนข้างหนักอย่างที่อุบลราชธานี
เขาประเมินต่อไปว่า แม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะมีโอกาสกลับมาในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่คงไม่สามารถกุมเสียงได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนครั้งก่อนๆ และโอกาสที่คนในตระกูลชินวัตรจะกลับมานำทัพอีกครั้งคงเป็นไปได้ยาก ด้านหนึ่งคือคนในตระกูลนี้เหลือตัวที่จะลงสนามการเมืองน้อย ที่มีอยู่ก็ติดขัดในเรื่องภาพลักษณ์ อีกด้านหนึ่งเชื่อว่าฝ่ายที่กุมอำนาจคงไม่ปล่อยให้เพื่อไทยทำงานได้สะดวกนัก
“เชื่อว่าก่อนที่ คสช.จะพ้นอำนาจไป คดีของยิ่งลักษณ์คงต้องได้ข้อสรุปก่อน นั่นหมายความว่าโอกาสกลับมาของคนในตระกูลชินวัตรในสนามการเมืองคงไม่มีอีกต่อไป”