อาจารย์แพทย์หน่วยศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลรามาฯ เผยรามาฯเตรียมความพร้อมยกระดับ “Gen-v clinic” เป็น “excellence Center” หรือฮับทางด้านการผ่าตัดศัลยกรรมเพศหลากหลาย” ใน 2 ปี เพื่อช่วยให้คนเหล่านี้มีความสุขตามเพศที่ต้องการได้ แถมที่นี่เป็นศูนย์รวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่ให้บริการในราคาถูกกว่า แจงวันนี้คิวผ่าตัดแปลงเพศถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 ยืนยันคนที่แปลงเพศต้องใช้งานได้ตามเพศที่เลือก รวมไปถึงกิจกรรมทางเพศก็ต้องบรรลุเป้าหมายเหมือนคนทั่วไป!
จากการที่ Special Scoop ได้นำเสนอข่าวเรื่อง “Gen-v clinic” ดึงพ่อแม่ปลดล็อกลูกข้ามเพศฯ ภายใต้การดำเนินการของ “คลินิกเพศหลากหลายในวัยรุ่น” คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ที่จะช่วยให้ทุกครอบครัวซึ่งมีปัญหาบุตรหลาน เป็นเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ สามารถอยู่ร่วมกันและผลักดันให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้นมีด้วยกันหลายวิธีการรักษา เด็กบางคนแค่ใช้ยา แต่เด็กบางคนต้องการเปลี่ยนแปลงสรีระร่างกายเพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่ในเพศที่ต้องการได้
“ตุ๊ด อยากมีนม บางคนแค่กินยาฮอร์โมนเพศหญิง บางคนก็ฉีดนม ส่วนหญิงที่อยากเป็นชาย ก็ต้องการตัดหน้าอกออก”
ขณะที่บางคนก็ต้องการถึงขั้นแปลงเพศไปเลย
ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายของเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่ผ่านการตรวจสอบจากสหสาขาวิชาชีพแพทย์มาแล้วจึงต้องส่งต่อมาถึงมือแพทย์ศัลยกรรมเพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับเด็กเหล่านี้ได้โลดแล่นอยู่บนโลกใบนี้ในเพศที่เขาต้องการได้
ผ่าตัดแปลงเพศต้องช่วยให้ถึงจุดสุดยอดได้
พญ.งามเฉิด สิตภาหุล อาจารย์แพทย์หน่วยศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ที่ให้การดูแลใน “คลินิกเพศหลากหลายในวัยรุ่น” และเป็นมือศัลยกรรมให้กับเด็กๆ ที่เข้ามาใช้บริการของคลินิกฯ นี้ ได้อธิบายถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการทำศัลยกรรม ขั้นตอนการผ่าของทั้งเพศหญิงและเพศชาย ความเสี่ยงในการผ่าตัด รวมไปถึงการสร้างอวัยวะใหม่ขึ้นมาทดแทนตามที่เด็กต้องการ
“ที่หมอทำศัลยกรรมแปลงเพศทุกราย เราต้องยึดหลักคือการทำงานได้ ชายแปลงเป็นหญิง ต้องนั่งฉี่ได้ หญิงเป็นชาย ต้องยืนฉี่ได้ ร่วมเพศได้ รูปร่างต้องเหมาะสม ที่สำคัญ ร่วมเพศแล้วต้องมีความรู้สึก คือถึงจุดสุดยอดได้ เพื่อให้เขามีชีวิตที่มีความสุข”
อย่างไรก็ดี พญ.งามเฉิด บอกว่า กว่าจะมาถึงตรงนี้นั้น เด็กจะต้องได้รับการตรวจร่างกายและประเมินความพร้อมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจว่า สามารถจะรับการผ่าตัดตามหลักเกณฑ์ที่แพทยสภากำหนดไว้ ก็คือ เงื่อนไขแรกต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือมีอายุตั้งแต่ 18 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองร่วมด้วย และ 2. ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากจิตแพทย์จำนวน 2 ท่าน เห็นสมควรว่ามีข้อบ่งชี้ที่จะต้องทำการผ่าตัด เช่น มีจิตใจพร้อมจะรับการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
หากยึดตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาแล้ว การผ่าตัดศัลยกรรมแปลงเพศ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงถาวรต้องผ่านการประเมินจากจิตแพทย์ 2 คน ซึ่งหากชายข้ามเพศจะเข้ารับการผ่าตัดหน้าอกให้เล็กลง และผู้ชายที่แปลงเป็นหญิงข้ามเพศถ้าหากจะตัดอัณฑะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรนั้น จะต้องเข้าหลักการของแพทยสภาทั้งสิ้น
แต่หากเป็นหญิงข้ามเพศ หรือกะเทยที่จะเสริมหน้าอกนั้นไม่ต้องเข้าเงื่อนไข 2 ข้อของแพทยสภา เพราะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ถาวร กรณีมีกะเทยบางคนประสงค์จะขอถอดซิลิโคนออกในอนาคต เพื่อบวชพระให้กับพ่อแม่ ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกับการผ่าตัดศัลยกรรมตา จมูก ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงร่างกายไม่ถาวร จึงไม่เข้าเงื่อนไข 2 ข้อของแพทยสภา
ชายเป็นหญิงง่ายกว่าหญิงเป็นชาย
ส่วนความยากง่ายของการผ่าตัดแปลงเพศนั้น การเปลี่ยน “จากชายเป็นหญิง” จะง่ายกว่า “จากหญิงเป็นชาย” เห็นได้จากความนิยมในปัจจุบันคนที่แปลงเพศ “จากชายเป็นหญิง” จะมีมากกว่า และกลุ่มนี้เมื่อมาถึงมือหมอนั้น มีความครบถ้วน ทั้งการใช้ชีวิตเป็นผู้หญิง ผมยาว กินฮอร์โมนมานาน และร้อยละ 90 จะมีการเสริมหน้าอกมาแล้วตั้งแต่อายุน้อยๆ เรียกว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ครบทั้งสรีระ และเหลือเพียงขั้นตอนการประเมินเพื่อขอใบรับรองจากจิตแพทย์ ก็สามารถเข้ารับการเปลี่ยนเพศได้ทันที
“หญิงข้ามเพศ ค่อนข้างจะมีสังคมของตัวเอง รุ่นพี่มีการแนะนำรุ่นน้องในแง่มุมการใช้ชีวิตต่างๆ เช่นสอนการใช้ฮอร์โมน ใช้กันตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น ช่วงมัธยมการศึกษาต้อนต้นอายุ 13-14 ปี เรียกได้ว่าผ่านกระบวนการใช้ชีวิตเพศตรงข้ามมานานเกิน 1 ปีแน่นอน ซึ่งเมื่ออายุ 20 ปีจึงเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ ดังนั้นกลุ่มที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศเพื่อเปลี่ยนเพศชายให้เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่เมื่อเข้ารับการประเมินจากจิตแพทย์ก็ผ่าตัดได้เลย”
ส่วนการเปลี่ยน “จากหญิงเป็นชาย” ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมตัดหน้าอกกับกินฮอร์โมน และยังไม่ค่อยนิยมแปลงเพศ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่า การผ่าตัดยังไม่พัฒนาเท่าการเปลี่ยนจากชายเป็นหญิง ซึ่งการผ่าตัดจากหญิงเป็นชายนั้น แพทย์จะแนะนำให้ดำเนินการเป็น 3 ระยะ เพราะหลังการผ่าตัดอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น การรั่วของท่อปัสสาวะ
หญิงเป็นชายต้องผ่าตัด 3 ระยะ
ดังนั้นหากหญิงที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศเป็นชายนั้น ควรทำเป็น 3 ระยะ และต้องใช้เวลาห่างกันประมาณ 6 เดือน โดยในระยะแรกเป็นการผ่าตัดหน้าอก และในระยะที่ 2 ต้องดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ การสร้างท่อปัสสาวะขึ้นใหม่ โดยให้มีลักษณะที่ยาวขึ้น ตามมาด้วยการปิดช่องคลอด และการยืดท่อปัสสาวะเดิมเพื่อเตรียมต่อท่อปัสสาวะใหม่ ส่วนการผ่าตัดในระยะ 3 คือ ขั้นตอนการยกเนื้อเยื่อที่จะทำเป็นองคชาตเพื่อนำมาต่อกับอวัยวะเดิม
“ในระยะที่ 2 ของการผ่าตัด ก็จะสามารถยืนฉี่ได้เหมือนผู้ชาย และมีอวัยวะเพศชายแล้ว เพียงแต่จะมีลักษณะที่เล็กคล้ายของเด็กๆ เท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ก็จะสามารถมีอวัยวะเพศขนาดที่เหมาะตามองค์ประกอบของร่างกายซึ่งแพทย์จะบอกตั้งแต่แรกแล้วว่าจะเป็นอย่างไร”
ในขั้นตอนที่ยากที่สุด คือ การต่อเส้นเลือดและเส้นประสาท จะต้องนำเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ตำแหน่งแขนและขา ซึ่งมีเส้นประสาทและนำไปต่อที่เส้นประสาทเดิม เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปตามหลักการ 2 องค์ประกอบ คือ การทำงานและความสวยงาม ซึ่งลักษณะของความสวยงามตามมาตรฐานจะต้องมีองคชาตและมีอัณฑะ และในแง่ของการทำงานของผู้หญิงที่เป็นผู้ชายข้ามเพศ ต้องยืนฉี่ได้ ต้องรู้สึกขนาดมีเพศสัมพันธ์ได้ และต้องมีความรู้สึกถึงจุดสุดยอดได้เหมือนคนทั่วไป
อย่างไรก็ตามเนื่องจากแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน บางคนเป็นทอมแต่ไม่อยากแปลงเพศ หรือตัดหน้าอก แค่ชอบผู้หญิงด้วยกัน ไม่ชอบฝั่งตรงข้ามก็มี ทั้งนี้ไม่จำเป็นที่ทุกคนอยากผ่าตัดหรือใช้ฮอร์โมน บางคนมาขอตัดหน้าอก หรือใช้ฮอร์โมน แต่บางคนต้องการเปลี่ยนทั้งร่างกาย ซึ่งเป็นการแปลงเพศโดยชายข้ามเพศหรือหญิงข้ามเพศ คาดว่าในอนาคตอัตราการผ่าตัดจะไม่ต่างกัน เพราะประชากรของกลุ่มกะเทยและทอมมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
หมอเลือกใช้ฮอร์โมน “บล็อกเพศ” ได้
ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 13 - 14 ปี ที่อายุไม่ถึงตามเกณฑ์แพทยสภา และพ่อแม่ผู้ปกครองมารับคำปรึกษาที่คลินิกเพศหลากหลาย ในขั้นตอนแรกนั้น จิตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าเด็กมีเพศสภาพที่ไม่ตรงกับจิตใจหรือไม่ จากนั้นจะให้ใช้ชีวิตในเพศที่เด็กต้องการ เรียกว่า Real life experience ควบคู่ด้วยการให้ฮอร์โมน (Medical Change) เพื่อบล็อกไว้ตั้งแต่เด็ก ไม่ให้เข้าสู่วัยรุ่นของเพศนั้น ซึ่งเป็นอีกทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงร่างกายนอกเหนือจากการผ่าตัด (Surgical Change) ซึ่งร่างกายผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนร่างกายจะเปลี่ยน น่าอกแฟบ มีหนวดเครา ขน เสียงใหญ่ ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นชาย
หลังจากผ่านกระบวนการใช้ชีวิตในเพศที่เด็กต้องการ ควบคู่ด้วยการให้ฮอร์โมน ในระยะเวลา 1 ปี จะมีการติดตามผลด้วยจากสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ว่า พ่อแม่และผู้ปกครอง สังคมที่โรงเรียนคุณครูและเพื่อน "เปิดใจ" ยอมรับหรือไม่ กระทั่งตัวเด็กเองก็ต้องค้นพบว่าใช่ตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะการใช้ชีวิตตามสภาพจิตใจของเด็ก 1 ปีจะสามารถพิสูจน์ได้ เพราะบางกรณีเพศสภาพที่ไม่ตรงนั้นอาจเกิดขึ้น เพราะความคิดเด็กในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น เด็กบางคนเรียนโรงเรียนหญิงล้วน เป็นทอมตามแฟชั่นก็มี
ความเสี่ยงหลังการผ่าตัดแปลงเพศ
พญ.งามเฉิด อธิบายว่า ในขั้นตอนการผ่าตัดร่างกายสรีระของคนคนนั้นจะต้องมีความพร้อม ที่แพทย์จะตัดสินใจผ่าแปลงเพศให้ ซึ่งจะมีข้อห้ามเหมือนการผ่าตัดทั่วไป คือ มีกลุ่มโรคประจำตัวที่จะมีผลต่อการผ่าตัด โรคเบาหวานที่ส่งผลถึงการผ่าตัดทำให้แผลหายช้า โรคความดันโลหิตที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือโรคเกล็ดเลือดต่ำ
อย่างไรก็ตามหลังการผ่าตัดคณะแพทย์จะมีการติดตามประเมินผลการรักษา โดยคนที่ได้รับการผ่าตัดจะสามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติ ตามเพศที่ต้องการ รู้สึกว่ามีชีวิตใหม่ มีความสุขทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขณะที่แพทย์ผู้ที่ทำการผ่าตัดรู้สึกว่าได้ช่วยปลดปล่อยให้คนได้อยู่ในเพศสภาพที่ตัวเองต้องการ ที่สำคัญเป็นการทำงานสร้างสรรค์สิ่งที่ดี
นอกจากนี้สิ่งที่อาจจะเกิดกับคนที่ผ่าตัดแปลงเพศ ที่พบปัญหาจากการสัมภาษณ์คนที่ผ่าตัดเปลี่ยนเพศแล้ว บางรายอาจมีปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต่อมหรือเส้นประสาทเปลี่ยนไปทำให้รู้สึกไม่เสร็จ ซึ่งจะเข้ามาพบแพทย์ให้รักษา แต่ที่มาทำศัลยกรรมแปลงเพศที่โรงพยาบาลรามาฯ ที่เปิดให้บริการมา 1 ปีนั้นยังไม่พบปัญหาว่าหลังเปลี่ยนเพศแล้วมีปัญหาเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
“สำหรับการติดตามหลังผ่าตัดไปแล้ว ต้องติดตามกันเป็นเคสไป เพราะแต่ละคนนั้นต่างกัน เช่น ชายแปลงเป็นหญิงบางคนกินฮอร์โมนติดต่อกันมานานมาก จะทำให้อวัยวะเดิมเล็กลง ซึ่งกรณีนี้เป็นสิ่งที่ทำให้การผ่าตัดแต่ละเคสจึงมีรูปร่าง รูปทรงออกมาไม่เหมือนกัน แพทย์จะมีการอธิบายให้กับคนที่จะผ่าตัดเข้าใจร่วมกันก่อน”
อย่างไรก็ดีในการผ่าตัดแปลงเพศนั้น ก็มีความเสี่ยงเหมือนการผ่าตัดทั่วไป คือมีทั้งแผลติดเชื้อ เลือดออก มีการบาดเจ็บลำไส้ หรือท่อทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะไม่ออกก็เป็นได้
ทั้งนี้ทีมแพทย์จะมีมาตรฐานการประเมินความเสี่ยงหลอดเลือดดำอุดตัน ซึ่งเป็นผลกระทบจากการกินฮอร์โมน เป็นไปในลักษณะเดียวกับคนที่กินยาคุมเป็นประจำ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1 แต้ม และหากว่าระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดนานกว่า 45 นาทีความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีก 2 แต้ม อย่างไรก็ตามแพทย์จะมีการประเมินและรู้ว่ามีความเสี่ยงระดับสูงมากหรือน้อย และจะรับการผ่าตัดได้หรือไม่ ฉะนั้นก่อนการผ่าตัดต้องหยุดกินฮอร์โมน 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือนเพื่อลดความเสี่ยง
นอกจากนี้ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศ เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตามเพศเดิม เช่น การที่ผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง คงยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะแพทย์ไม่ได้ทำการผ่าตัดออกไป ซึ่งทุกโรคมีโอกาสเกิดขึ้นได้หมด ยกเว้นโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะที่แพทย์ผ่าตัดออกไปแล้ว อย่าง มะเร็งอัณฑะ และมะเร็งองคชาต เป็นต้น
ขณะที่การผ่าตัดแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย จะไม่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ซึ่งอวัยวะที่ตัดออกจะไม่มีความเสี่ยง แต่อวัยวะที่มีอยู่ก็ยังคงมีความเสี่ยงเหมือนเดิมหรือมีโอกาสหัวล้านได้หากพ่อมีอาการ ซึ่งลักษณะกรรมพันธุ์นี้ ถ้าร่างกายเปลี่ยนเป็นเพศชายและได้รับฮอร์โมนเพศชายก็มีโอกาสที่ผมจะร่วงและกลายเป็นคนหัวล้านได้
ในอีกกรณี คนที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้ว ต้องการกลับไปเป็นเพศเดิม ในส่วนของคลินิกเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาฯ นั้น ยังไม่พบเคสนี้ เพราะทุกคนก่อนที่จะรับการผ่าตัด ต้องผ่านการประเมินจากจิตแพทย์แล้ว ซึ่งงานวิจัยในต่างประเทศระบุว่า อาจมีบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งการผ่าตัดจากชายกลับมาเป็นหญิงนั้น สามารถทำได้ แต่ไม่เหมือนเดิม เช่น อวัยวะเพศที่ต้องทำการประติมากรรม แพทย์จะต้องนำเนื้อที่ต้นขามาสร้างอวัยวะเพศใหม่
งานวิจัยชี้เพศสภาพอาจจะเกิดจากเซลล์สมอง
พญ.งามเฉิด ระบุว่า งานวิจัยในต่างประเทศระบุว่า คนมีเพศสภาพไม่ตรงนั้น เกิดจากเซลล์สมองและสิ่งต่างๆในร่างกายที่กำหนดมาตั้งแต่เด็ก แต่มารู้ตัวเมื่อสังคมไม่เปิดรับ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้า ด้วยการนำศพคนตายที่มีเพศไม่ตรงกับจิตใจ นำสมองของชายข้ามเพศหรือทอมมาตรวจสารเซลล์ประสาทมีลักษณะเหมือนผู้ชาย หรือของหญิงข้ามเพศไปตรวจจะมีลักษณะเหมือนผู้หญิง เป็นโครงสร้างที่เปลี่ยนไปของร่างกาย ดังนั้นครอบครัว และการเลี้ยงดู ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชากรของกะเทย เกย์ ตุ๊ด ทอมดี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก
อีกทั้งยังมีงานวิจัยหลายๆ เคส ที่นำเด็กแฝดมาแยกเลี้ยงกัน พบว่าทั้ง 2 คนมีเพศที่ไม่ตรงกับจิตใจเหมือนกัน ทั้งๆ ที่การเลี้ยงดูต่างกัน หรือขอไปเป็นบุตรบุญธรรมและเด็กเจอกันตอนโตโดยที่ไม่เคยติดต่อกันเลย ซึ่งชี้ได้ว่าไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูหรือสังคม แต่เกี่ยวกับโครงสร้างภายในร่างกายที่กำหนดมาแล้ว ซึ่งตอนนี้พยายามจะศึกษาไปถึงขั้นที่ว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรืออย่างไร แต่ชัดเจนว่าไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู แต่เริ่มเชื่อไปทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ในระยะเวลาอีก 5-10 ปีข้างหน้าอาจจะได้คำตอบมากกว่านี้
“รามาฯ” จะเป็นฮับในการทำศัลยกรรมเพศหลากหลาย
พญ.งามเฉิด บอกด้วยว่า ที่คลินิกฯได้รับการตอบรับที่ดี แต่การผ่าตัดสามารถทำได้อาทิตย์ละ 1 คนและโดยเฉลี่ย 1 เดือนจะผ่าตัดได้ 4 คน ทำให้มีคนมารอจองคิวรับการผ่าตัดแปลงเพศที่โรงพยาบาลรามาฯ ยาวจนถึงเดือนพฤศจิกายน ในปี 2559 ดังนั้น ทางคณะแพทย์ โรงพยาบาลรามาฯ มีการวางแผนไว้ว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า จะขยาย โดยการยกระดับคลินิกเพศหลากหลายขึ้นเป็น “excellence Center” หรือ “ฮับทางด้านการผ่าตัดศัลยกรรมเพศหลากหลาย” เพื่อดูแลกลุ่มคนที่ต้องการข้ามเพศ ทั้งหญิงข้ามเพศ และชายข้ามเพศ ต่อไป
นโยบายนี้เป็นการสานต่อจากที่โรงพยาบาลเอกชนของเมืองไทยเป็น “เมดิคัลฮับ” ด้านการแปลงเพศ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกอยู่แล้ว ดังนั้นในฐานะที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นโรงเรียนแพทย์ จึงได้วางเป้าหมายจะเป็น excellence Center “ศูนย์ความเป็นเลิศทางเพศหลากหลาย” ด้วยเช่นกัน
ส่วนความพร้อมในการจะไปสู่เป้าหมาย ขณะนี้อยู่ในขั้นที่มีการประชุมแพทย์กับแพทย์ที่เกี่ยวข้องทุกเดือน อีกทั้งมีการสื่อสารให้คนรับรู้ว่าสามารถรับคำแนะนำที่โรงพยาบาลรามาฯ ได้ และในอนาคตจะเป็น One Stop Service ด้านศัลยกรรมแปลงเพศ โดยจะเพิ่มความสะดวก จัดให้มีทีมแพทย์ด้านจิตแพทย์ ฮอร์โมน การผ่าตัด ให้คำปรึกษาที่นี่ โดยจากเดิมรับให้คำแนะนำคนอายุ 20 ปีขยายเป็น 30 ปี ขณะที่คนอายุ 30 ปีขึ้นไปนั้นมีการดูแลในคลินิกอายุรกรรมที่ดูแลกลุ่มคนที่เป็นผู้ใหญ่โดยตรง รวมถึงขยายเวลาจากที่เปิดให้บริการเฉพาะในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน และในอนาคตนั้นเตรียมขยายเปิดให้บริการเพิ่มในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนได้ทุกวัน
สิ่งสำคัญของการก้าวสู่ “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเพศหลากหลาย” ได้นั้น ต้องมีผลงานด้านการวิจัย การศึกษาที่จะนำไปพัฒนาสังคมที่ดี โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางด้านการบริการวิชาการ ในทุกๆ ด้านตลอดเวลา ซึ่งแนวโน้มนี้เป็นไปในลักษณะเดียวกับการเปิดคลินิกดูแลกลุ่มคนไข้โรคเบาหวาน
พญ.งามเฉิด ย้ำว่าอยากให้สังคมมองเห็นและเข้าใจว่า การดูแลคนกลุ่มที่มีเพศไม่ตรงกับจิตใจ ไม่ได้เป็นการศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงาม แต่อยากให้สังคมมองว่าการมาหาแพทย์เพื่อทำศัลยกรรมแปลงเพศ เป็นสิ่งที่ทำให้คนกลุ่มนี้สามารถเปลี่ยนสู่เพศที่เป็นอยู่อย่างแท้จริง เช่นเดียวกับการดูแลคนไข้โรคเบาหวาน ฯลฯ เพราะการที่คนไม่มีความสุขก็เหมือนการมีทุกข์บนเพศสภาพที่เป็นอยู่
ดังนั้นการที่บุคลากรทางการแพทย์และสังคมต้องร่วมเปิดใจให้เขาได้มีความสุขและอยู่ในเพศสภาพที่ตรงกับจิตใจนั้น ก็ถือเป็นการช่วยเหลือสังคมเช่นกัน
จากการที่ Special Scoop ได้นำเสนอข่าวเรื่อง “Gen-v clinic” ดึงพ่อแม่ปลดล็อกลูกข้ามเพศฯ ภายใต้การดำเนินการของ “คลินิกเพศหลากหลายในวัยรุ่น” คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ที่จะช่วยให้ทุกครอบครัวซึ่งมีปัญหาบุตรหลาน เป็นเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ สามารถอยู่ร่วมกันและผลักดันให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้นมีด้วยกันหลายวิธีการรักษา เด็กบางคนแค่ใช้ยา แต่เด็กบางคนต้องการเปลี่ยนแปลงสรีระร่างกายเพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่ในเพศที่ต้องการได้
“ตุ๊ด อยากมีนม บางคนแค่กินยาฮอร์โมนเพศหญิง บางคนก็ฉีดนม ส่วนหญิงที่อยากเป็นชาย ก็ต้องการตัดหน้าอกออก”
ขณะที่บางคนก็ต้องการถึงขั้นแปลงเพศไปเลย
ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายของเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่ผ่านการตรวจสอบจากสหสาขาวิชาชีพแพทย์มาแล้วจึงต้องส่งต่อมาถึงมือแพทย์ศัลยกรรมเพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับเด็กเหล่านี้ได้โลดแล่นอยู่บนโลกใบนี้ในเพศที่เขาต้องการได้
ผ่าตัดแปลงเพศต้องช่วยให้ถึงจุดสุดยอดได้
พญ.งามเฉิด สิตภาหุล อาจารย์แพทย์หน่วยศัลยกรรมตกแต่ง โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ที่ให้การดูแลใน “คลินิกเพศหลากหลายในวัยรุ่น” และเป็นมือศัลยกรรมให้กับเด็กๆ ที่เข้ามาใช้บริการของคลินิกฯ นี้ ได้อธิบายถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการทำศัลยกรรม ขั้นตอนการผ่าของทั้งเพศหญิงและเพศชาย ความเสี่ยงในการผ่าตัด รวมไปถึงการสร้างอวัยวะใหม่ขึ้นมาทดแทนตามที่เด็กต้องการ
“ที่หมอทำศัลยกรรมแปลงเพศทุกราย เราต้องยึดหลักคือการทำงานได้ ชายแปลงเป็นหญิง ต้องนั่งฉี่ได้ หญิงเป็นชาย ต้องยืนฉี่ได้ ร่วมเพศได้ รูปร่างต้องเหมาะสม ที่สำคัญ ร่วมเพศแล้วต้องมีความรู้สึก คือถึงจุดสุดยอดได้ เพื่อให้เขามีชีวิตที่มีความสุข”
อย่างไรก็ดี พญ.งามเฉิด บอกว่า กว่าจะมาถึงตรงนี้นั้น เด็กจะต้องได้รับการตรวจร่างกายและประเมินความพร้อมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจว่า สามารถจะรับการผ่าตัดตามหลักเกณฑ์ที่แพทยสภากำหนดไว้ ก็คือ เงื่อนไขแรกต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือมีอายุตั้งแต่ 18 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองร่วมด้วย และ 2. ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากจิตแพทย์จำนวน 2 ท่าน เห็นสมควรว่ามีข้อบ่งชี้ที่จะต้องทำการผ่าตัด เช่น มีจิตใจพร้อมจะรับการผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
หากยึดตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาแล้ว การผ่าตัดศัลยกรรมแปลงเพศ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงถาวรต้องผ่านการประเมินจากจิตแพทย์ 2 คน ซึ่งหากชายข้ามเพศจะเข้ารับการผ่าตัดหน้าอกให้เล็กลง และผู้ชายที่แปลงเป็นหญิงข้ามเพศถ้าหากจะตัดอัณฑะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรนั้น จะต้องเข้าหลักการของแพทยสภาทั้งสิ้น
แต่หากเป็นหญิงข้ามเพศ หรือกะเทยที่จะเสริมหน้าอกนั้นไม่ต้องเข้าเงื่อนไข 2 ข้อของแพทยสภา เพราะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ถาวร กรณีมีกะเทยบางคนประสงค์จะขอถอดซิลิโคนออกในอนาคต เพื่อบวชพระให้กับพ่อแม่ ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกับการผ่าตัดศัลยกรรมตา จมูก ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงร่างกายไม่ถาวร จึงไม่เข้าเงื่อนไข 2 ข้อของแพทยสภา
ชายเป็นหญิงง่ายกว่าหญิงเป็นชาย
ส่วนความยากง่ายของการผ่าตัดแปลงเพศนั้น การเปลี่ยน “จากชายเป็นหญิง” จะง่ายกว่า “จากหญิงเป็นชาย” เห็นได้จากความนิยมในปัจจุบันคนที่แปลงเพศ “จากชายเป็นหญิง” จะมีมากกว่า และกลุ่มนี้เมื่อมาถึงมือหมอนั้น มีความครบถ้วน ทั้งการใช้ชีวิตเป็นผู้หญิง ผมยาว กินฮอร์โมนมานาน และร้อยละ 90 จะมีการเสริมหน้าอกมาแล้วตั้งแต่อายุน้อยๆ เรียกว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ครบทั้งสรีระ และเหลือเพียงขั้นตอนการประเมินเพื่อขอใบรับรองจากจิตแพทย์ ก็สามารถเข้ารับการเปลี่ยนเพศได้ทันที
“หญิงข้ามเพศ ค่อนข้างจะมีสังคมของตัวเอง รุ่นพี่มีการแนะนำรุ่นน้องในแง่มุมการใช้ชีวิตต่างๆ เช่นสอนการใช้ฮอร์โมน ใช้กันตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น ช่วงมัธยมการศึกษาต้อนต้นอายุ 13-14 ปี เรียกได้ว่าผ่านกระบวนการใช้ชีวิตเพศตรงข้ามมานานเกิน 1 ปีแน่นอน ซึ่งเมื่ออายุ 20 ปีจึงเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ ดังนั้นกลุ่มที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศเพื่อเปลี่ยนเพศชายให้เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่เมื่อเข้ารับการประเมินจากจิตแพทย์ก็ผ่าตัดได้เลย”
ส่วนการเปลี่ยน “จากหญิงเป็นชาย” ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมตัดหน้าอกกับกินฮอร์โมน และยังไม่ค่อยนิยมแปลงเพศ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่า การผ่าตัดยังไม่พัฒนาเท่าการเปลี่ยนจากชายเป็นหญิง ซึ่งการผ่าตัดจากหญิงเป็นชายนั้น แพทย์จะแนะนำให้ดำเนินการเป็น 3 ระยะ เพราะหลังการผ่าตัดอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น การรั่วของท่อปัสสาวะ
หญิงเป็นชายต้องผ่าตัด 3 ระยะ
ดังนั้นหากหญิงที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศเป็นชายนั้น ควรทำเป็น 3 ระยะ และต้องใช้เวลาห่างกันประมาณ 6 เดือน โดยในระยะแรกเป็นการผ่าตัดหน้าอก และในระยะที่ 2 ต้องดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ การสร้างท่อปัสสาวะขึ้นใหม่ โดยให้มีลักษณะที่ยาวขึ้น ตามมาด้วยการปิดช่องคลอด และการยืดท่อปัสสาวะเดิมเพื่อเตรียมต่อท่อปัสสาวะใหม่ ส่วนการผ่าตัดในระยะ 3 คือ ขั้นตอนการยกเนื้อเยื่อที่จะทำเป็นองคชาตเพื่อนำมาต่อกับอวัยวะเดิม
“ในระยะที่ 2 ของการผ่าตัด ก็จะสามารถยืนฉี่ได้เหมือนผู้ชาย และมีอวัยวะเพศชายแล้ว เพียงแต่จะมีลักษณะที่เล็กคล้ายของเด็กๆ เท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ก็จะสามารถมีอวัยวะเพศขนาดที่เหมาะตามองค์ประกอบของร่างกายซึ่งแพทย์จะบอกตั้งแต่แรกแล้วว่าจะเป็นอย่างไร”
ในขั้นตอนที่ยากที่สุด คือ การต่อเส้นเลือดและเส้นประสาท จะต้องนำเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ตำแหน่งแขนและขา ซึ่งมีเส้นประสาทและนำไปต่อที่เส้นประสาทเดิม เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปตามหลักการ 2 องค์ประกอบ คือ การทำงานและความสวยงาม ซึ่งลักษณะของความสวยงามตามมาตรฐานจะต้องมีองคชาตและมีอัณฑะ และในแง่ของการทำงานของผู้หญิงที่เป็นผู้ชายข้ามเพศ ต้องยืนฉี่ได้ ต้องรู้สึกขนาดมีเพศสัมพันธ์ได้ และต้องมีความรู้สึกถึงจุดสุดยอดได้เหมือนคนทั่วไป
อย่างไรก็ตามเนื่องจากแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน บางคนเป็นทอมแต่ไม่อยากแปลงเพศ หรือตัดหน้าอก แค่ชอบผู้หญิงด้วยกัน ไม่ชอบฝั่งตรงข้ามก็มี ทั้งนี้ไม่จำเป็นที่ทุกคนอยากผ่าตัดหรือใช้ฮอร์โมน บางคนมาขอตัดหน้าอก หรือใช้ฮอร์โมน แต่บางคนต้องการเปลี่ยนทั้งร่างกาย ซึ่งเป็นการแปลงเพศโดยชายข้ามเพศหรือหญิงข้ามเพศ คาดว่าในอนาคตอัตราการผ่าตัดจะไม่ต่างกัน เพราะประชากรของกลุ่มกะเทยและทอมมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
หมอเลือกใช้ฮอร์โมน “บล็อกเพศ” ได้
ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 13 - 14 ปี ที่อายุไม่ถึงตามเกณฑ์แพทยสภา และพ่อแม่ผู้ปกครองมารับคำปรึกษาที่คลินิกเพศหลากหลาย ในขั้นตอนแรกนั้น จิตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าเด็กมีเพศสภาพที่ไม่ตรงกับจิตใจหรือไม่ จากนั้นจะให้ใช้ชีวิตในเพศที่เด็กต้องการ เรียกว่า Real life experience ควบคู่ด้วยการให้ฮอร์โมน (Medical Change) เพื่อบล็อกไว้ตั้งแต่เด็ก ไม่ให้เข้าสู่วัยรุ่นของเพศนั้น ซึ่งเป็นอีกทางเลือกในการเปลี่ยนแปลงร่างกายนอกเหนือจากการผ่าตัด (Surgical Change) ซึ่งร่างกายผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนร่างกายจะเปลี่ยน น่าอกแฟบ มีหนวดเครา ขน เสียงใหญ่ ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นชาย
หลังจากผ่านกระบวนการใช้ชีวิตในเพศที่เด็กต้องการ ควบคู่ด้วยการให้ฮอร์โมน ในระยะเวลา 1 ปี จะมีการติดตามผลด้วยจากสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ว่า พ่อแม่และผู้ปกครอง สังคมที่โรงเรียนคุณครูและเพื่อน "เปิดใจ" ยอมรับหรือไม่ กระทั่งตัวเด็กเองก็ต้องค้นพบว่าใช่ตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะการใช้ชีวิตตามสภาพจิตใจของเด็ก 1 ปีจะสามารถพิสูจน์ได้ เพราะบางกรณีเพศสภาพที่ไม่ตรงนั้นอาจเกิดขึ้น เพราะความคิดเด็กในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น เด็กบางคนเรียนโรงเรียนหญิงล้วน เป็นทอมตามแฟชั่นก็มี
ความเสี่ยงหลังการผ่าตัดแปลงเพศ
พญ.งามเฉิด อธิบายว่า ในขั้นตอนการผ่าตัดร่างกายสรีระของคนคนนั้นจะต้องมีความพร้อม ที่แพทย์จะตัดสินใจผ่าแปลงเพศให้ ซึ่งจะมีข้อห้ามเหมือนการผ่าตัดทั่วไป คือ มีกลุ่มโรคประจำตัวที่จะมีผลต่อการผ่าตัด โรคเบาหวานที่ส่งผลถึงการผ่าตัดทำให้แผลหายช้า โรคความดันโลหิตที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือโรคเกล็ดเลือดต่ำ
อย่างไรก็ตามหลังการผ่าตัดคณะแพทย์จะมีการติดตามประเมินผลการรักษา โดยคนที่ได้รับการผ่าตัดจะสามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติ ตามเพศที่ต้องการ รู้สึกว่ามีชีวิตใหม่ มีความสุขทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขณะที่แพทย์ผู้ที่ทำการผ่าตัดรู้สึกว่าได้ช่วยปลดปล่อยให้คนได้อยู่ในเพศสภาพที่ตัวเองต้องการ ที่สำคัญเป็นการทำงานสร้างสรรค์สิ่งที่ดี
นอกจากนี้สิ่งที่อาจจะเกิดกับคนที่ผ่าตัดแปลงเพศ ที่พบปัญหาจากการสัมภาษณ์คนที่ผ่าตัดเปลี่ยนเพศแล้ว บางรายอาจมีปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต่อมหรือเส้นประสาทเปลี่ยนไปทำให้รู้สึกไม่เสร็จ ซึ่งจะเข้ามาพบแพทย์ให้รักษา แต่ที่มาทำศัลยกรรมแปลงเพศที่โรงพยาบาลรามาฯ ที่เปิดให้บริการมา 1 ปีนั้นยังไม่พบปัญหาว่าหลังเปลี่ยนเพศแล้วมีปัญหาเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
“สำหรับการติดตามหลังผ่าตัดไปแล้ว ต้องติดตามกันเป็นเคสไป เพราะแต่ละคนนั้นต่างกัน เช่น ชายแปลงเป็นหญิงบางคนกินฮอร์โมนติดต่อกันมานานมาก จะทำให้อวัยวะเดิมเล็กลง ซึ่งกรณีนี้เป็นสิ่งที่ทำให้การผ่าตัดแต่ละเคสจึงมีรูปร่าง รูปทรงออกมาไม่เหมือนกัน แพทย์จะมีการอธิบายให้กับคนที่จะผ่าตัดเข้าใจร่วมกันก่อน”
อย่างไรก็ดีในการผ่าตัดแปลงเพศนั้น ก็มีความเสี่ยงเหมือนการผ่าตัดทั่วไป คือมีทั้งแผลติดเชื้อ เลือดออก มีการบาดเจ็บลำไส้ หรือท่อทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะไม่ออกก็เป็นได้
ทั้งนี้ทีมแพทย์จะมีมาตรฐานการประเมินความเสี่ยงหลอดเลือดดำอุดตัน ซึ่งเป็นผลกระทบจากการกินฮอร์โมน เป็นไปในลักษณะเดียวกับคนที่กินยาคุมเป็นประจำ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1 แต้ม และหากว่าระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดนานกว่า 45 นาทีความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีก 2 แต้ม อย่างไรก็ตามแพทย์จะมีการประเมินและรู้ว่ามีความเสี่ยงระดับสูงมากหรือน้อย และจะรับการผ่าตัดได้หรือไม่ ฉะนั้นก่อนการผ่าตัดต้องหยุดกินฮอร์โมน 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือนเพื่อลดความเสี่ยง
นอกจากนี้ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศ เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตามเพศเดิม เช่น การที่ผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง คงยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะแพทย์ไม่ได้ทำการผ่าตัดออกไป ซึ่งทุกโรคมีโอกาสเกิดขึ้นได้หมด ยกเว้นโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะที่แพทย์ผ่าตัดออกไปแล้ว อย่าง มะเร็งอัณฑะ และมะเร็งองคชาต เป็นต้น
ขณะที่การผ่าตัดแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย จะไม่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ซึ่งอวัยวะที่ตัดออกจะไม่มีความเสี่ยง แต่อวัยวะที่มีอยู่ก็ยังคงมีความเสี่ยงเหมือนเดิมหรือมีโอกาสหัวล้านได้หากพ่อมีอาการ ซึ่งลักษณะกรรมพันธุ์นี้ ถ้าร่างกายเปลี่ยนเป็นเพศชายและได้รับฮอร์โมนเพศชายก็มีโอกาสที่ผมจะร่วงและกลายเป็นคนหัวล้านได้
ในอีกกรณี คนที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้ว ต้องการกลับไปเป็นเพศเดิม ในส่วนของคลินิกเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาฯ นั้น ยังไม่พบเคสนี้ เพราะทุกคนก่อนที่จะรับการผ่าตัด ต้องผ่านการประเมินจากจิตแพทย์แล้ว ซึ่งงานวิจัยในต่างประเทศระบุว่า อาจมีบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งการผ่าตัดจากชายกลับมาเป็นหญิงนั้น สามารถทำได้ แต่ไม่เหมือนเดิม เช่น อวัยวะเพศที่ต้องทำการประติมากรรม แพทย์จะต้องนำเนื้อที่ต้นขามาสร้างอวัยวะเพศใหม่
งานวิจัยชี้เพศสภาพอาจจะเกิดจากเซลล์สมอง
พญ.งามเฉิด ระบุว่า งานวิจัยในต่างประเทศระบุว่า คนมีเพศสภาพไม่ตรงนั้น เกิดจากเซลล์สมองและสิ่งต่างๆในร่างกายที่กำหนดมาตั้งแต่เด็ก แต่มารู้ตัวเมื่อสังคมไม่เปิดรับ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้า ด้วยการนำศพคนตายที่มีเพศไม่ตรงกับจิตใจ นำสมองของชายข้ามเพศหรือทอมมาตรวจสารเซลล์ประสาทมีลักษณะเหมือนผู้ชาย หรือของหญิงข้ามเพศไปตรวจจะมีลักษณะเหมือนผู้หญิง เป็นโครงสร้างที่เปลี่ยนไปของร่างกาย ดังนั้นครอบครัว และการเลี้ยงดู ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชากรของกะเทย เกย์ ตุ๊ด ทอมดี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก
อีกทั้งยังมีงานวิจัยหลายๆ เคส ที่นำเด็กแฝดมาแยกเลี้ยงกัน พบว่าทั้ง 2 คนมีเพศที่ไม่ตรงกับจิตใจเหมือนกัน ทั้งๆ ที่การเลี้ยงดูต่างกัน หรือขอไปเป็นบุตรบุญธรรมและเด็กเจอกันตอนโตโดยที่ไม่เคยติดต่อกันเลย ซึ่งชี้ได้ว่าไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูหรือสังคม แต่เกี่ยวกับโครงสร้างภายในร่างกายที่กำหนดมาแล้ว ซึ่งตอนนี้พยายามจะศึกษาไปถึงขั้นที่ว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรืออย่างไร แต่ชัดเจนว่าไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู แต่เริ่มเชื่อไปทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ในระยะเวลาอีก 5-10 ปีข้างหน้าอาจจะได้คำตอบมากกว่านี้
“รามาฯ” จะเป็นฮับในการทำศัลยกรรมเพศหลากหลาย
พญ.งามเฉิด บอกด้วยว่า ที่คลินิกฯได้รับการตอบรับที่ดี แต่การผ่าตัดสามารถทำได้อาทิตย์ละ 1 คนและโดยเฉลี่ย 1 เดือนจะผ่าตัดได้ 4 คน ทำให้มีคนมารอจองคิวรับการผ่าตัดแปลงเพศที่โรงพยาบาลรามาฯ ยาวจนถึงเดือนพฤศจิกายน ในปี 2559 ดังนั้น ทางคณะแพทย์ โรงพยาบาลรามาฯ มีการวางแผนไว้ว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า จะขยาย โดยการยกระดับคลินิกเพศหลากหลายขึ้นเป็น “excellence Center” หรือ “ฮับทางด้านการผ่าตัดศัลยกรรมเพศหลากหลาย” เพื่อดูแลกลุ่มคนที่ต้องการข้ามเพศ ทั้งหญิงข้ามเพศ และชายข้ามเพศ ต่อไป
นโยบายนี้เป็นการสานต่อจากที่โรงพยาบาลเอกชนของเมืองไทยเป็น “เมดิคัลฮับ” ด้านการแปลงเพศ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกอยู่แล้ว ดังนั้นในฐานะที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นโรงเรียนแพทย์ จึงได้วางเป้าหมายจะเป็น excellence Center “ศูนย์ความเป็นเลิศทางเพศหลากหลาย” ด้วยเช่นกัน
ส่วนความพร้อมในการจะไปสู่เป้าหมาย ขณะนี้อยู่ในขั้นที่มีการประชุมแพทย์กับแพทย์ที่เกี่ยวข้องทุกเดือน อีกทั้งมีการสื่อสารให้คนรับรู้ว่าสามารถรับคำแนะนำที่โรงพยาบาลรามาฯ ได้ และในอนาคตจะเป็น One Stop Service ด้านศัลยกรรมแปลงเพศ โดยจะเพิ่มความสะดวก จัดให้มีทีมแพทย์ด้านจิตแพทย์ ฮอร์โมน การผ่าตัด ให้คำปรึกษาที่นี่ โดยจากเดิมรับให้คำแนะนำคนอายุ 20 ปีขยายเป็น 30 ปี ขณะที่คนอายุ 30 ปีขึ้นไปนั้นมีการดูแลในคลินิกอายุรกรรมที่ดูแลกลุ่มคนที่เป็นผู้ใหญ่โดยตรง รวมถึงขยายเวลาจากที่เปิดให้บริการเฉพาะในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน และในอนาคตนั้นเตรียมขยายเปิดให้บริการเพิ่มในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนได้ทุกวัน
สิ่งสำคัญของการก้าวสู่ “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเพศหลากหลาย” ได้นั้น ต้องมีผลงานด้านการวิจัย การศึกษาที่จะนำไปพัฒนาสังคมที่ดี โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางด้านการบริการวิชาการ ในทุกๆ ด้านตลอดเวลา ซึ่งแนวโน้มนี้เป็นไปในลักษณะเดียวกับการเปิดคลินิกดูแลกลุ่มคนไข้โรคเบาหวาน
พญ.งามเฉิด ย้ำว่าอยากให้สังคมมองเห็นและเข้าใจว่า การดูแลคนกลุ่มที่มีเพศไม่ตรงกับจิตใจ ไม่ได้เป็นการศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงาม แต่อยากให้สังคมมองว่าการมาหาแพทย์เพื่อทำศัลยกรรมแปลงเพศ เป็นสิ่งที่ทำให้คนกลุ่มนี้สามารถเปลี่ยนสู่เพศที่เป็นอยู่อย่างแท้จริง เช่นเดียวกับการดูแลคนไข้โรคเบาหวาน ฯลฯ เพราะการที่คนไม่มีความสุขก็เหมือนการมีทุกข์บนเพศสภาพที่เป็นอยู่
ดังนั้นการที่บุคลากรทางการแพทย์และสังคมต้องร่วมเปิดใจให้เขาได้มีความสุขและอยู่ในเพศสภาพที่ตรงกับจิตใจนั้น ก็ถือเป็นการช่วยเหลือสังคมเช่นกัน